รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000597
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาสื่อเทคโนโลยี Augmented Reality จากวรรณกรรมเรื่องเล่าศาลเจ้าจีนริมน้ำปิง เขตจังหวัดนครสวรรค์ในรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่นสำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Development of Augmented Reality technology from the literature and stories of Chinese shrines by the Ping River Nakhon Sawan Province in Local Literature Course for High School Level
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การพัฒนาสื่อเทคโนโลยี Augmented Reality, วรรณกรรมเรื่องเล่าศาลเจ้าจีนริมน้ำปิง
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :50000
งบประมาณทั้งโครงการ :50,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :17 มกราคม 2565
วันสิ้นสุดโครงการ :16 มกราคม 2566
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยเพื่อการเรียนการสอน
กลุ่มสาขาวิชาการ :มนุษยศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ชาวจีนในสมัยก่อนเดินทางมาค้าขายกับประเทศไทยโดยใช้เส้นทางการคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก โดยจะอัญเชิญเทพเจ้าที่ตนนับถือติดตัวมาเพื่อปกป้องคุ้มครองให้การเดินทางปลอดภัยด้วย เมื่อมีทำเลเหมาะสมกับการประกอบอาชีพมักตั้งถิ่นฐานรวมตัวอยู่กันเป็นกลุ่มซึ่งมักจะอยู่ริมแม่น้ำ เพื่อความสะดวกต่อการคมนาคม ต่อมามีรายได้จากการประกอบอาชีพจึงคิดตั้งศาลเพื่อประดิษฐานรูปเคารพเทพเจ้าที่ตนนับถือซึ่งมักจะตั้งบริเวณริมแม่น้ำ จังหวัดนครสวรรค์มีชาวจีนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นจำนวนมากซึ่งกระจายตัวตามอำเภอต่าง ๆ โดยเฉพาะในเขตอำเภอที่แม่น้ำปิงไหลผ่านคือ อำเภอบรรพตพิสัย อำเภอเก้าเลี้ยว และ อำเภอเมืองนครสวรรค์ ดังจะเห็นได้จากมีการตั้งศาลเจ้าประจำชุมชนขึ้นหลายศาล ศาลเจ้าแต่ละแห่งย่อมจะมีเรื่องเล่าประจำถิ่นที่แสดงให้เห็นถึงความผูกพันระหว่างองค์เทพที่นับถือกับชุมชนและสายน้ำอันเป็นเส้นทางคมนาคมหลักในสมัยก่อน เรื่องเล่าเหล่านี้ย่อมแสดงให้เห็นถึงความเชื่อ ความศรัทธา และร่องรอยของการเดิน ตลอดจนภาพสะท้อนในการดำเนินชีวิต จึงควรค่าแก่การศึกษา โดยในระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานมีรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่นเป็นรายวิชาเลือกในกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีขึ้นสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายเพื่อให้นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ เห็นคุณค่าและร่วมมือในการอนุรักษ์วรรณกรรมท้องถิ่น ตลอดจนสามารถนำเสนอวรรณกรรมท้องถิ่นในรูปแบบต่างๆ จากเหตุข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจนำวรรณกรรมเรื่องเล่าจากศาลเจ้าจีนมาจัดทำในรูปแบบสื่อเทคโนโลยี Augmented Reality เพื่อให้นักเรียนได้เข้าถึงสื่อการเรียนรู้ได้เหมาะกับสภาพการณ์ปัจจุบันโดยเฉพาะในช่วงที่เกิดภาวะโรคระบาดโควิด-19 นักเรียนไม่สามารถเดินทางไปเรียนรู้ในสถานที่จริงได้
จุดเด่นของโครงการ :สื่อเทคโนโลยี Augmented Reality ที่สร้างวรรณกรรมเรื่องเล่าจากศาลเจ้าจีนในท้องถิ่น
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาวรรณกรรมเรื่องเล่าจากศาลเจ้าจีนที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงในจังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของสื่อเทคโนโลยี Augmented Reality ประกอบการเรียนรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่นสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการเรียนด้วยสื่อเทคโนโลยี Augmented Reality
ขอบเขตของโครงการ :1. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1.1 ประชากร นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 1.2 กลุ่มตัวอย่าง นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่อยู่ในเขตอำเภอที่แม่น้ำปิงไหลผ่านและเรียนรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่นโดยเลือกแบบเจาะจง 2. ขอบเขตด้านเนื้อหา วรรณกรรมเรื่องเล่าจากศาลเจ้าจีนที่ตั้งอยู่บริเวณริมแม่น้ำปิงของจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอบรรพตพิสัย คือ ศาลเจ้าส้มเสี้ยว อำเภอเก้าเลี้ยว คือ ศาลเจ้าพ่อ-เจ้าแม่เก้าเลี้ยว อำเภอเมืองนครสวรรค์ คือ ศาลเจ้าหน้าผา 3. ขอบเขตด้านตัวแปร 3.1 ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับความเหมาะสมของสื่อเทคโนโลยี Augmented Reality จากวรรณกรรมเรื่องเล่าศาลเจ้าจีนริมน้ำปิงในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 3.2 ประสิทธิภาพของสื่อสื่อเทคโนโลยี Augmented Reality
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้วรรณกรรมเรื่องเล่าจากศาลเจ้าจีนที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงในจังหวัดนครสวรรค์ 2. ได้สื่อเทคโนโลยี Augmented Reality ประกอบการเรียนรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่นสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย 3. ได้สื่อการเรียนรู้เกี่ยวกับท้องถิ่นที่เหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบันให้แก่นักเรียน 4. เห็นคุณค่าของวรรณกรรมเรื่องเล่าท้องถิ่นตลอดจนมีความเข้าใจในท้องถิ่นและรักท้องถิ่น 5. สืบทอดวรรณกรรมเรื่องเล่าท้องถิ่น
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ชาวจีนในสมัยก่อนเดินทางมาค้าขายกับประเทศไทยโดยใช้เส้นทางการคมนาคมทางน้ำเป็นหลัก โดยจะอัญเชิญเทพเจ้าที่ตนนับถือติดตัวมาเพื่อปกป้องคุ้มครองให้การเดินทางปลอดภัยด้วย เมื่อมีทำเลเหมาะสมกับการประกอบอาชีพมักตั้งถิ่นฐานรวมตัวอยู่กันเป็นกลุ่มซึ่งมักจะอยู่ริมแม่น้ำ เพื่อความสะดวกต่อการคมนาคม ต่อมามีรายได้จากการประกอบอาชีพจึงคิดตั้งศาลเพื่อประดิษฐานรูปเคารพเทพเจ้าที่ตนนับถือซึ่งมักจะตั้งบริเวณริมแม่น้ำ จังหวัดนครสวรรค์มีชาวจีนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นจำนวนมากซึ่งกระจายตัวตามอำเภอต่าง ๆ โดยเฉพาะในเขตอำเภอที่แม่น้ำปิงไหลผ่านคือ อำเภอบรรพตพิสัย อำเภอเก้าเลี้ยว และ อำเภอเมืองนครสวรรค์ ดังจะเห็นได้จากมีการตั้งศาลเจ้าประจำชุมชนขึ้นหลายศาล
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :นำวรรณกรรมเรื่องเล่าจากศาลเจ้าจีนที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงในจังหวัดนครสวรรค์มาพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบสื่อเทคโนโลยี Augmented Reality ประกอบการเรียนรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่นสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. ศึกษาและเก็บข้อมูลวรรณกรรมเรื่องเล่าศาลเจ้าจีนริมน้ำปิงในเขตจังหวัดนครสวรรค์ แล้วนำมาวิเคราะห์ตามวิธีการศึกษาวรรณกรรม 2. สร้างสื่อเทคโนโลยี Augmented Reality จากวรรณกรรมเรื่องเล่าศาลเจ้าจีนริมน้ำปิงในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 3. นำสื่อเทคโนโลยี Augmented Reality จากวรรณกรรมเรื่องเล่าศาลเจ้าจีนริมน้ำปิงในเขตจังหวัดนครสวรรค์ไปทดลองใช้กับนักเรียนที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างและหาประสิทธิภาพ 4. นำผลที่ได้ไปปรับปรุงสื่อเทคโนโลยี Augmented Reality จากวรรณกรรมเรื่องเล่าศาลเจ้าจีนริมน้ำปิงในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 5. นำสื่อเทคโนโลยี Augmented Reality จากวรรณกรรมเรื่องเล่าศาลเจ้าจีนริมน้ำปิงในเขตจังหวัดนครสวรรค์ไปใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง 6. วิเคราะห์และสรุปผลการใช้สื่อเทคโนโลยี Augmented Reality จากวรรณกรรมเรื่องเล่าศาลเจ้าจีนริมน้ำปิงในเขตจังหวัดนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :วรรณกรรมเรื่องเล่าจากศาลเจ้าจีนที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำปิงในจังหวัดนครสวรรค์มาพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบสื่อเทคโนโลยี Augmented Reality ประกอบการเรียนรายวิชาวรรณกรรมท้องถิ่นสำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย
จำนวนเข้าชมโครงการ :78 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายชูชาติ คุ้มขำ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด