รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000596
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาสื่อการเรียนรู้บอร์ดเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถการเรียนรู้หลักภาษาและการใช้ภาษาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The development of board games as instructional media to facilitate the junior high school students’s capabilities in fundamentals of Thai language learning
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :บอร์ดเกมการศึกษา, หลักภาษาและการใช้ภาษา
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชาภาษาไทย (ยกเลิก)
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :50000
งบประมาณทั้งโครงการ :50,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :17 มกราคม 2565
วันสิ้นสุดโครงการ :16 มกราคม 2566
ประเภทของโครงการ :การวิจัยพื้นฐาน
กลุ่มสาขาวิชาการ :มนุษยศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพ และเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสาร เพื่อสร้างความเข้าใจ และความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ภาษาไทยมีลักษณะพิเศษ มีระเบียบ มีกฎเกณฑ์เพื่อสร้างมาตรฐานเพื่อให้เป็นระเบียบแบบแผนเดียวกัน เราทุกคนจึงควรจะต้องเรียนรู้ เพื่อประโยชน์ในการใช้ภาษา และมีความภาคภูมิใจในภาษาไทยอันเป็นภาษาประจำชาติ การจัดกระบวนการเรียนรู้สาระการเรียนรู้ภาษาไทยมีความสำคัญต่อระบบการสื่อสารหรือสื่อความหมายในชีวิตจริง เริ่มด้วยการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ถึงทักษะ ความจำเป็นของธรรมชาติสาระการเรียนรู้ภาษาไทย คือ ทักษะการฟัง ทักษะการดู ทักษะการอ่าน ทักษะการเขียน ทักษะการพูด การจัดกระบวนการเรียนรู้ จึงมีความจำเป็นมากที่จะให้ผู้เรียนมีทักษะการใช้ภาษาอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล การจัดการศึกษาโดยใช้สื่อการเรียนรู้จัดเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ให้มีความสอดคล้องกับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในปัจจุบัน เป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้สอนจะต้องมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสื่อการเรียนรู้ให้เป็นสื่อการเรียนรู้ใหม่แตกต่าง และน่าสนใจกว่าสื่อการเรียนรู้เดิมที่มีอยู่ เพื่อกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น และความสนใจ (กิ่งกาญจน์ บูรณสินวัฒนกูล, 2562) บอร์ดเกมหรือเกมกระดานเป็นสื่อและนวัตกรรมการเรียนรู้ที่น่าสนใจรูปแบบหนึ่งที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ได้ เนื่องจากบอร์ดเกมเป็นสื่อที่มีหลายประเภท หลายรูปแบบ เป็นเกมที่ใช้การ์ด หรือใช้ชิ้นส่วน หรือตัวหมากวางไว้บนพื้นที่เล่น เคลื่อนที่บนพื้นที่เล่น มีทั้งแบบที่มีกติกาง่าย ๆ จนถึงเกมที่มีกติกาซับซ้อน ต้องใช้แผนการหรือยุทธวิธีเข้าช่วยจึงจะบรรลุจุดประสงค์ของการเล่นนั้น (ศิวนิต อรรถวุฒิกุล, 2555) ฉะนั้นบอร์ดเกมจึงหมายถึง เกมประเภทหนึ่งที่ใช้ตัวหมาก การ์ด หรือโมเดลต่าง ๆ นำมาเล่นบนกระดานซึ่งจะมีผิวหน้าหรือรูปภาพเฉพาะที่ออกแบบมาเพื่อเล่นเกมนั้น ๆ ทั้งนี้ในการเล่นบอร์ดเกมนอกจากผู้เล่นจะได้รับความสนุกสนานและความบันเทิงแล้ว ผู้เล่นยังได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์ การวางแผน การตัดสินใจ ปัจจุบันได้มีการนำบอร์ดเกมมาใช้ในระบบการศึกษามากขึ้น ด้วยการนำแนวคิดของบอร์ดเกมแต่ละเกมมาบูรณาการหรือประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น ประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส อาร์เจนตินา หรือญี่ปุ่น ได้นำแนวคิดของเกมเศรษฐี (Monopoly) เข้ามาใช้ในการจัดบูรณาการการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นคณิตศาสตร์ ภูมิศาสตร์ หรือสังคมศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนเกิดมโนทัศน์ในหลายวิชาดังกล่าว (Hinebaugh, 2009) ดังที่ Crews (2011) ได้กล่าวว่า หากผู้สอนนำแนวคิดของบอร์ดเกมมาประยุกต์ใช้เข้ากับเนื้อหารายวิชา จะช่วยให้ผู้เรียนเกิดประสบการณ์การเรียนรู้แนวคิดของรายวิชานั้นผ่านการเล่นเกมด้วยความสนุกสนานอันช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และบรรลุวัตถุประสงค์การเรียนในแต่ละครั้งได้เป็นอย่างดี
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :เพื่อพัฒนาและประเมินคุณภาพสื่อการเรียนรู้บอร์ดเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมความสามารถการเรียนรู้หลักภาษาและการใช้ภาษาสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
ขอบเขตของโครงการ :-
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :บอร์ดเกมเพื่อส่งเสริมความสามารถการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ชุดหลักภาษาและการใช้ภาษา จำนวน 1 ชุด
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :1. แนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบและการพัฒนาเกมการศึกษา การเลือกใช้เกมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ผู้สอนจำเป็นต้องคำนึงถึงองค์ประกอบ (ศิวนิต อรรถวุฒิกุล, 2555: 96 – 97; ศยามน อินสะอาด, 2557: 4; ทิศนา แขมมณี, 2557: 365) ดังต่อไปนี้ (1) ผู้สอนและผู้เรียน (2) เกม และกฎ กติกาการเล่นเกม (3) วิธีการเล่นเกม (4) การอภิปรายเกี่ยวกับผลการเล่น วิธีการเล่น และพฤติกรรมการเล่นของผู้เล่นหลังการเล่น และ (5) ผลการเรียนรู้ของผู้เรียน ดังนั้นการประยุกต์ใช้สื่อการเรียนรู้บอร์ดเกมการศึกษาเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้นอกจากต้องคำนึงถึงองค์ประกอบดังกล่าวแล้วควรคำนึงถึงหลักในการออกแบบเกมการศึกษา (เยาวพา เดชะคุปต์, 2546; อัจฉรา ชีวพันธ์, 2545) ดังต่อไปนี้ (1) จุดมุ่งหมายในการเล่น ผู้สอนต้องกำหนดจุดมุ่งหมายของเกมให้สอดคล้องกับ 5 จุดมุ่งหมายของรายวิชาที่ผู้สอนกำหนด และพัฒนาเกมให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ผู้สอนตั้งไว้ ตลอดจนควรให้ผู้เรียนได้แสดงออกซึ่งความสามารถของตนเองให้มากที่สุด (2) พัฒนาเกมให้สอดคล้องกับหลักจิตวิทยาและพัฒนาการของผู้เรียน ทั้งอายุ ร่างกาย ความสนใจ และความสามารถของผู้เรียน (3) กติกาการเล่น ต้องไม่ยุ่งยากและซับซ้อน ใช้เทคนิคสูง หรือใช้เวลาในการเล่นนานจนเกินไป และควรมีรายละเอียดในการชี้แจงเกมการศึกษาก่อนเล่น (4) กำหนดวัสดุอุปกรณ์ สถานที่ จำนวนคนในการเล่นเกม กล่าวคือ วัสดุ อุปกรณ์ สถานที่ต้องมีความปลอดภัยและไม่เป็นอันตรายต่อผู้เรียน และควรเลือกเกมที่ทุกคนสามารถเข้าร่วมเกมได้มากที่สุด (5) เกมการศึกษาต้องมีความถูกต้อง ผู้สอนต้องพิจารณาให้รอบคอบ ทดลองเล่นด้วยตนเองก่อนแล้วแก้ไขปรับปรุง (6) ให้ผู้เรียนเล่นเกมการศึกษา แต่ละครั้งตามความเหมาะสมกับเวลา และความสนใจ (7) ควรมีเกมการศึกษาหลายรูปแบบ เพื่อให้เกิดความรู้อย่างกว้างขวางและส่งเสริมทักษะ การคิดสร้างสรรค์อีกทั้งผู้สอนจะต้องคำนึงถึงลักษณะของเกมการศึกษาที่ดี (สาโรจน์ โคภีรักข์, 2546: 104; ทิศนา แขมมณี, 2557: 368) กล่าวคือ การออกแบบเกมผู้สอนจะต้องออกแบบเกมโดยสร้างสถานการณ์ขึ้นมาให้ผู้เรียนได้เข้าไปอยู่ในสถานการณ์ ด้วยการมีส่วนร่วมในกิจกรรมนั้น อันเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยความสนุกสนาน มีความสัมพันธ์อันดีต่อกัน ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้นั้นด้วยตนเอง 2. แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบระบบพัฒนาเกมการศึกษาโดยใช้หลัก ADDIE Model ตามแนวคิดของ Kruse ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้นำหลักการออกแบบเชิงระบบของ ADDIE Model มาใช้ในการออกแบบระบบสื่อการเรียนรู้บอร์ดเกมการศึกษา (Kruse, 2014; ศยามน อินสะอาด, 2557: 82 - 83) ดังต่อไปนี้ (1) การวิเคราะห์ (Analysis) ผู้พัฒนาสื่อเกมจะต้องวิเคราะห์หลักสูตร เนื้อหารายวิชา กลุ่มเป้าหมาย หรือความจำเป็นในการสร้างเกมและสถานการณ์จำลอง หรือการนำเกมและสถานการณ์จำลองไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน (2) การออกแบบ (Design) ขั้นตอนการออกแบบเป็นการใช้ผลลัพธ์จากขั้นตอนการวิเคราะห์ เพื่อวางแผนกลยุทธ์สำหรับพัฒนาสื่อเกมและสถานการณ์จำลองเพื่อการสอน (3) การพัฒนา (Development) ขั้นตอนการพัฒนาเป็นการต่อยอดมาจากขั้นตอนการออกแบบ โดยเริ่มจากการเขียน Script หรือ Storyboard ซึ่งเปรียบเสมือนการร่างพิมพ์เขียวของสื่อเกมและ/หรือสถานการณ์จำลอง เพื่อเป็นต้นแบบให้ฝ่ายผลิตทำการผลิตสื่อ (4) การนำไปใช้ (Implement) ขั้นตอนการนำไปใช้เป็นการนำสื่อเกมและ/หรือสถานการณ์จำลองไปใช้งานจริง (5) การประเมินผล (Evaluation) ขั้นตอนการประเมินผล เป็นการวัดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของสื่อการเรียนการสอน โดยพิจารณาจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนและความคิดเห็นที่มีต่อการเรียน เพื่อนำผลที่ได้มาทำการปรับปรุงแก้ไขสื่อให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น กรอบการวิจัย จากการนำเสนอแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยสามารถสรุปกรอบแนวคิดใน การวิจัยได้ ดังนี้ 1. แนวคิดเกี่ยวกับองค์ประกอบและการพัฒนาเกมการศึกษา 1.1 ขั้นตอนการพัฒนาสื่อการเรียนรู้แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาเกมการศึกษา 1.1.1 จุดมุ่งหมายในการเล่น 1.1.2 พัฒนาเกมให้สอดคล้องกับหลักจิตวิทยาและพัฒนาการของผู้เรียน 1.1.3 กำหนดกติกา และรายละเอียดในการชี้แจงเกมการศึกษาก่อนเล่น 1.1.4 กำหนดวัสดุ อุปกรณ์สถานที่ จำนวนคนในการเล่นเกม 1.1.5 เกมการศึกษาต้องมีความถูกต้อง 1.1.6 ผู้เรียนเกมการศึกษาตามความเหมาะสมของเวลา และความสนใจ 1.1.7 ควรมีเกมการศึกษาหลายรูปแบบ เพื่อให้เกิดความรู้อย่างกว้างขวางและส่งเสริมทักษะ การคิดสร้างสรรค์ 1.2 ขั้นตอนการพัฒนาสื่อการเรียนรู้บอร์ดเกมการศึกษา ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ ขั้นที่ 3 การเชื่อมโยงเนื้อหาสู่บอร์ดเกม การศึกษา ขั้นที่ 4 การสร้างบอร์ดเกมการศึกษาต้นแบบการเรียนรู้ ขั้นที่ 5 การพัฒนาบอร์ดเกมการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ ขั้นที่ 6 การกำหนดแนวทางการวัดและประเมินผล 2. แนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบระบบพัฒนาเกมการศึกษาโดยใช้หลัก ADDIE Model ตามแนวคิดของ Kruse 2.1 การวิเคราะห์ (Analysis) 2.2 การออกแบบ (Design) 2.3 การพัฒนา (Development) 2.4 การนำไปใช้ (Implement) 2.5 การประเมินผล (Evaluation)
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ขั้นที่ 2 การกำหนดจุดประสงค์การเรียนรู้ จากการศึกษาเนื้อหาและมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ขั้นที่ 3 การเชื่อมโยงเนื้อหาสู่บอร์ดเกมการศึกษาให้สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ขั้นที่ 4 การสร้างบอร์ดเกมต้นแบบการเรียนรู้ในวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ขั้นที่ 5 การพัฒนาบอร์ดเกมเพื่อการเรียนรู้ในวิชาภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ขั้นที่ 6 การกำหนดแนวทางการวัดและประเมินผล
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :77 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางชนิกา พรหมมาศ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด