รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000594
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว วิถีชุมชนบ้านคลองคาง จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Development of Training Courses for Local Youth Guides to Promote the Lifestyle Tourism in Khlong khang Village, Nakhon Sawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :หลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่น, การท่องเที่ยววิถีชุมชน, ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ
ลักษณะโครงการวิจัย :แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :-
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :50000
งบประมาณทั้งโครงการ :50,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :10 ธันวาคม 2562
วันสิ้นสุดโครงการ :11 ธันวาคม 2563
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :มนุษยศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการศึกษา
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับนานาชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ความสาคัญและความเป็นมา ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก อีกทั้งภาษาอังกฤษยังมีบทบาทที่สาคัญ มากในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ด้านการศึกษา ด้านการแพทย์ ด้านวิทยาศาสตร์ ด้านธุรกิจ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านการติดต่อสื่อสาร เนื่องจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ได้รับการยอมรับให้เป็นภาษาสากล (International Language) ที่ใช้ในการสื่อสารระดับนานาชาติ นอกจากนี้องค์กรทั้งในประเทศไทยหรือต่างประเทศ ได้นา ภาษาอังกฤษมาเป็นตัวกาหนดคุณสมบัติที่จะรับพนักงานเข้าทางาน ดังนั้นผู้ที่มีทักษะการใช้ภาษาอังกฤษใน ระดับที่ดี จะมีโอกาสถูกจ้างงานมากกว่าคนทั่วไป หรือมีโอกาสที่จะได้รับเงินเดือน หรืออัตราค่าจ้างที่สูงกว่า จึงส่งผลให้ผู้คนส่วนใหญ่พยายามที่จะเรียนรู้หรือฝึกฝนทักษะภาษาอังกฤษเพื่อให้ตนเองสามารถใช้ ภาษาอังกฤษในการในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสอดคล้องกับ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ได้ระบุถึงความสาคัญของภาษาต่างประเทศว่าการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศมี ความสาคัญและจาเป็นอย่างยิ่งในชีวิตประจาวัน เนื่องจากเป็นเครื่องมือสาคัญในการติดต่อสื่อสาร การศึกษา การแสวงหาความรู้ และการประกอบอาชีพ (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551, น. 10) แต่อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันว่าการเรียนภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยนั้น ผู้เรียนยังไม่ สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้ดีเท่าที่ควร ทั้งนี้อาจจะมาจากหลายสาเหตุ เช่น จานวนผู้เรียนในแต่ ละชั้นเรียนมีมากเกินไป อยู่ในสิ่งแวดล้อมที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจาวัน มีโอกาสและความจาเป็นใน การใช้ภาษาอังกฤษติดต่อกับชาวต่างชาติน้อย รวมถึงขาดความกล้าแสดงออก อีกทั้งการสอนภาษาอังกฤษใน โรงเรียนส่วนใหญ่เน้นโครงสร้างทางไวยากรณ์ ไม่เน้นทักษะการสื่อสารในชีวิตประจาวัน เช่น การทักทาย การ บอกเส้นทาง การซื้อของ เป็นต้น ซึ่งสาเหตุดังกล่าวนี้ อาจส่งผลให้นักเรียนไม่สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการ สื่อสารขั้นพื้นฐานได้ ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เป็นอุตสาหกรรมที่ทารายได้หลักให้กับประเทศ และ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยมีแนวโน้มในการเติบโตที่สูงขึ้น สาหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว องค์ประกอบที่สาคัญที่จะขาดไม่ได้คือมัคคุเทศก์ เนื่องจากมัคคุเทศก์เป็นผู้ใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวมากที่สุด และเป็นผู้ทีจะทาให้นักท่องเที่ยเกิดความประทับใจต่อการท่องเที่ยวได้ การท่องเที่ยวของประเทศหรือชุมชน นั้นก็ย่อมดีด้วย เพราะนักท่องเที่ยวจะมีความรู้สึกประทับใจและมีความพึงพอใจในการท่องเที่ยวในท้องถิ่นนั้น ๆ จะเห็นได้ว่ามัคคุเทศก์มีความสาคัญต่อการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา การ ท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ได้ส่งเสริมแผนการตลาดของการท่องเที่ยวภายใต้แนวคิด “ปีท่องเที่ยววิถีไทย” (2015 Discovery Thainess Year) ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับวิถีชีวิตของผู้คนอย่างแท้จริง โดยเน้นรูปแบบ 2 การท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตของชุมชน (อมรรัตน์ จิรันดร, 2563) เพื่อให้สอดคล้องกับวิถีการดาเนินชีวิตของ ชาวบ้านในชุมชน อันจะส่งผลต่อการสร้างอาชีพและรายได้ในชุมชนนั้น ๆ ความสาคัญในการผลิตบุคลากรทางการท่องเที่ยวโดยเฉพาะการท่องเที่ยวชุมชนโดยชุมชน นั่นก็คือ มัคคุเทศก์ท้องถิ่น ที่ทาหน้าที่ต้อนรับนักท่องเที่ยว โดยการให้คาแนะนา ข้อมูลด้านวัฒนธรรมท้องถิ่น สร้าง ความเข้าใจในประวัติความเป็นมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมัคคุเทศก์เป็นบุคคลในท้องถิ่นแล้ว จะมีความเข้าใจ ในบริบทชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่ จึงกล่าวได้ว่าเยาวชนในชุมชนนั้น เป็นกลุ่มเป้าหมายที่จะสามารถพัฒนาใ ห้ เป็นยุวมัคคุเทศก์ท้องถิ่น เพื่อจะได้นาความรู้ไปใช้ในการสร้างงาน และรายได้พิเศษ อีกทั้งยังเป็นการปลูก จิตสานึกรักท้องถิ่นของตน อันจะเป็นประโยชน์กับชุมชน และเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนให้มีความรู้ ความสามารถ และได้รับการฝึก ปฏิบัติทักษะเฉพาะด้านในการเป็นยุวมัคคุเทศก์เพื่อการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีท้องถิ่น และส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนได้ศึกษาประวัติหรือเรื่องราวในท้องถิ่น ตลอดจนวัฒนธรรม ประเพณี สถานที่ท่องเที่ยวของชุมชน ชุมชนวัดคลองคางตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 ตาบลบึงเสนาท อาเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ตั้งชุมชนเป็นที่ ราบลุ่มอยู่ริมแม่น้าปิง ชาวบ้านส่วนมากประกอบอาชีพเกษตรกร บ้านคลองคางมีสถานที่ท่องเที่ยวที่สาคัญ ได้แก่ ตลาดท่าเรือคลองคางซึ่งเป็นตลาดวิถีชุมชนชาวบ้าน นอกจากนี้ยังมีกลุ่มอาชีพนวดแผนไทย (วัดคลอง คาง) เป็นบริการนวดแผนไทยเพื่อสุขภาพ จะเห็นได้ว่าในชุมชนบ้านคลองคาง มีทรัพยากรทางวัฒนธรรมให้ เที่ยวชมและเรียนรู้ได้มากมาย ปัญหาของชุมชนบ้านคลองคาง คือขาดมัคคุเทศก์ที่สามารถสื่อสารและต้อนรับ นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวชมวิถีชีวิตเชิงวัฒนธรรมที่หลากหลายที่เป็นศักยภาพด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวของ ชุมชนได้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารให้กับยุวชนใน ชุมชน รวมถึงเป็นการสร้างรายได้ให้ชุมชนและท้องถิ่น ส่งเสริมให้ยุวชนเกิดความรักและภาคภูมิใจอันจะส่งผล ต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จากที่กล่าวมา คณะผู้วิจัย จึงเห็นความสาคัญของการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ที่ ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง และชุมชนบ้านคลองคางนั้น ยังไม่มีมัคคุเทศก์ในการต้อนรับ นักท่องเที่ยว ดังนั้นการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว วิถีชุมชนบ้านคลองคาง จะมีส่วนช่วยในการพัฒนาสมรรถนะการเป็นยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่มีทักษะการใช้ ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและเพื่อการนาเที่ยวสูงขึ้น และส่งเสริมให้ชุมชนมีการสร้างรายได้จากการ ท่องเที่ยวเพิ่มมากยิ่งขึ้น
จุดเด่นของโครงการ :ได้หลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่อง เที่ยววิถีชุมชนที่ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ โครงสร้างเนื้อหา กิจกรรม สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและ ประเมินผล
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาบริบทและศักยภาพของท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่าง ยั่งยืน 2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลอง คาง อาเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ 3 3. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและประเมินหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการ ท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง อาเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :ขอบเขตของการวิจัย 1. การวิจัยนี้มุ่งบริบทและศักยภาพของท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่าง ยั่งยืนใน 4 ประเด็นดังนี้ 1) ด้านท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตชุมชน 2) ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3) ด้านการ ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ 4) การท่องเที่ยวเพื่อการนันทนาการ 2. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนครอบคลุม เนื้อหาในด้านหลักการ วัตถุประสงค์ โครงสร้างเนื้อหา กิจกรรม สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและ ประเมินผล 3. กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและทดลองใช้หลักสูตรเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตร แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเป้าหมายในขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร ได้แก่ ผู้นาชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ตัวแทน กลุ่มอาชีพต่าง ๆในชุมชนบ้านคลองคาง 2) กลุ่มเป้าหมายในการทดลองใช้และศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตร คือ ยุวชนในชุมชนบ้านคลอง คาง ซึ่งได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดคลองคาง(แดงประชานุกูล) สังกัดสานักงานเขต พื้นที่ประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :ประโยชน์และความสาคัญ 1. การวิจัยครั้งนี้ทาให้ได้หลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่อง เที่ยววิถีชุมชนที่ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ โครงสร้างเนื้อหา กิจกรรม สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและ ประเมินผล 2. ยุวชนในชุมชนบ้านคลองคางได้รับการพัฒนาและส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและ สมรรถนะการเป็นมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืน 3. เป็นแนวทางในการพัฒนาหลักสูตรเพื่อส่งเสริมทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสาหรับยุวชน มัคคุเทศก์ในชุมชนท้องถิ่นอื่น ๆ 4. ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนาไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการในระดับชาติหรือนานาชาติ ได้
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้าน คลองคาง จังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจในแนวคิดและ ทฤษฎี ตลอดจนผลการวิจัยต่าง ๆ และนาเสนอสรุปเป็นประเด็นสาคัญดังนี้ 1. แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 1.1 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับหลักสูตร 1.2 การพัฒนาหลักสูตร 1.3 องค์ประกอบของหลักสูตร 1.4 การนาหลักสูตรไปใช้ 1.5 การประเมินหลักสูตร 2. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ 2.1 ความหมายและความสาคัญของภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ 2.2 ลักษณะของภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ 2.3 ประเภทของภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ 3. แนวคิดการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3.1 ความหมายของความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3.2 วิธีการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3.3 ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3.4 การวัดและประเมินความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 4. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบประสบการณ์ (Experiential Learning Cycle Theory) ของ Kolb 4.1 ความสาคัญของการเรียนรู้แบบประสบการณ์ 4.2 ลักษณะสาคัญของการจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ 4.3 การประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ 5. แนวคิดการพัฒนาสมรรถนะมัคคุเทศก์ 5.1 บทบาทของยุวชนมัคคุเทศก์ 5.2 การพัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์ 6. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน - การท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตชุมชน - การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม -การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การพัฒนาศักยภาพยุวชนมัคคุเทศก์ - ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ - ทักษะการนาเสนอโดยใช้ภาษาอังกฤษ - ทักษะการคิดและการแก้ปัญหา
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการ ท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางจังหวัดนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะเพื่อศึกษาบริบทและศักยภาพ ของท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษที่ใช้ ฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและ ประเมินหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง การ ดาเนินการวิจัยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา (Research and Development) ใช้วิธีการเก็บข้อมูลแบบ ผสานวิธี (Mixed Method) กล่าวคือใช้วิธีเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) และวิธีเชิงปริมาณ (Quantitative Method) ซึ่งมีรายละเอียดของการดาเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาบริบทและศักยภาพของท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลอง คางอย่างยั่งยืน การดาเนินงานในขั้นตอนนี้เป็นการศึกษาค้นคว้าเอกสาร งานวิจัย และการสัมภาษณ์กลุ่ม(Group Interview) ผู้บริหารการศึกษา ครู ผู้นาชุมชน และตัวแทนกลุ่มอาชีพเกี่ยวกับบริบทและศักยภาพของชุมชน เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร และสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการของประชาชนและ ตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในชุมชนเกี่ยวกับเนื้อหาและกิจกรรมในหลักสูตร จากนั้นสังเคราะห์ข้อมูลการศึกษา บริบทและความต้องการเพื่อกาหนดเป็นกรอบเนื้อหาของหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ที่ส่งเสริมการ ท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง มีรายละเอียดการดาเนินการวิจัยดังนี้ ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรในการวิจัย ได้แก่ ผู้นาชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษา เจ้าอาวาสวัด ครู และตัวแทนกลุ่ม อาชีพต่าง ๆ ในชุมชนบ้านคลองคาง อาเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยแบ่งเป็น 2 กลุ่มตามลักษณะการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ 1. กลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์กลุ่ม(Group Interview) ได้แก่ ผู้นาชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษา เจ้าอาวาสวัด ครู และตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในชุมชนบ้านคลองคาง อาเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จานวน 19 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยมีเกณฑ์การพิจารณาจากผู้ที่มีส่วนร่วมและมีบทบาทสาคัญเกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆของชุมชนในด้านการพัฒนาคุณภาพชีวิตและการพัฒนา อาชีพในชุมชน 2. กลุ่มตัวอย่างในการสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับเนื้อหาในหลักสูตร ได้แก่ ครู ผู้ปกครอง ประชาชนและตัวแทนกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ในชุมชนรวม 56 คน ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) พิจารณาจากผู้ที่มีความพร้อมและมีความยินดีในการตอบแบบสอบถามในการวิจัย เครื่องมือและการพัฒนาเครื่องมือการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยในขั้นตอนนี้ มีจานวน 2 ฉบับ ได้แก่ 1. แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับบริบท ศักยภาพและความต้องการของชุมชน ซึ่งมีลักษณะเป็นข้อคาถามปลายเปิด จานวน 4 ข้อ 2. แบบสอบถามข้อมูลบริบท ศักยภาพ และความต้องการของชุมชน เป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ จานวน 5 ด้าน รวม 25 ข้อ การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคณะผู้วิจัยได้ดาเนินการดังนี้ 1. ศึกษาเอกสารและงานวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาเครื่องมือการวิจัย และการสร้างเครื่องมือเพื่อ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของชุมชน เพื่อกาหนดลักษณะ และขอบเขตประเด็นเนื้อหาในการ พัฒนาเครื่องมือการวิจัย 2. ออกแบบและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยตามลักษณะการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยเป็น 2 ฉบับ ดังนี้ 2.1 แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับบริบท ศักยภาพและความต้องการของชุมชน ซึ่งมี ลักษณะเป็นข้อคาถามปลายเปิด จานวน 4 ข้อ ดังนี้ 1) ท่านอยากแนะนาสถานที่สาคัญอะไรในชุมชนของท่าน เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว 2) ท่านคิดว่า จุดแข็ง หรือข้อดีของชุมชนของท่าน ที่ช่วยสนับสนุนการท่องเที่ยวในชุมชนบ้านคลอง คาง มี อะไรบ้าง 3) ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรต่อการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษที่ใช้ในการฝึกอบรมยุวชน มัคคุเทศก์เพื่อ ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง จังหวัดนครสวรรค์ 4) ทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารของนักเรียนในชุมชนบ้านคลองคาง จาเป็นต้องพัฒนา ด้านใดเพิ่มเติมบ้าง 2.2 แบบสอบถามข้อมูลบริบท ศักยภาพ และความต้องการของชุมชน เป็นแบบมาตราส่วน ประมาณค่า 5 ระดับ จานวน 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านทักษะทางภาษาอังกฤษ 2) ด้านหลักการมัคคุเทศก์ 3) ด้านบริบทชุมชน 4) ด้านการนาไปประยุกต์ใช้ และ 5) ด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ รวม 25 ข้อ 3. นาเครื่องมือการวิจัยที่พัฒนาขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญพิจารณาความเหมาะสมของข้อคาถาม จากนั้นนาผล การพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ 3 คนมาคานวณหาค่าดัชนีความสอดคล้องเหมาะสมของข้อคาถาม (IOC) มีค่า ดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.67 -1.00 (รายละเอียดปรากฏในภาคผนวก ค) โดยผู้เชี่ยวชาญมีคาแนะนา เกี่ยวกับการใช้ภาษาที่ต้องสื่อความหมายให้ชัดเจน และข้อคาถามบางข้อมีความยาวมากเกินไป รวมทั้งบางข้อ เป็นข้อคาถามที่อาจมีความซ้าซ้อน ผู้วิจัยจึงได้ปรับปรุงตามคาแนะนาของผู้เชี่ยวชาญ 4. จัดพิมพ์เครื่องมือการวิจัยฉบับสมบูรณ์เพื่อนาไปใช้ในเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยต่อไป การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลการศึกษาบริบท ความต้องและศักยภาพของท้องถิ่นคณะผู้วิจัยดาเนินการ ดังนี้ 1. คณะผู้วิจัยติดต่อประสานงานและสร้างความเข้าใจกับผู้นาชุมชน ผู้บริหารแ ละครูในโรงเรียน เกี่ยวกับวัตถุประสงค์และวิธีดาเนินการวิจัย และร่วมกับผู้นาชุมชนในการพิจารณาเลือกกลุ่มตัวอย่างในการ วิจัยเพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างครอบคลุมรอบด้าน 2. ประสานขอหนังสือจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ถึงกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเพื่อขอ ความอนุเคราะห์เก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัย โดยในการสัมภาษณ์กลุ่มผู้วิจัยได้นัดหมายและดาเนินการ สัมภาษณ์โดยใช้สถานที่บริเวณศาลาอเนกประสงค์ของวัดคลองคาง เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2562 3. ดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ปกครอง ประชาชนและตัวแทนกลุ่มอาชีพโดยใช้ แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการ โดยผู้วิจัยและผู้ช่วยนักวิจัยได้ดาเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วย ตนเองในระหว่างวันที่ 8-15 มกราคม 2563 4. ตรวจสอบความสมบูรณ์ของแบบสอบถามเพื่อนาไปวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป การวิเคราะห์ข้อมูล 1. ข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์กลุ่มใช้การสรุปเชื่อมโยงประเด็นที่มีความสอดคล้องเชื่อมกันโดยใช้การ สรุปอุปนัย (Inductive analysis) (จุมพล หนิมพานิช, 2550 : 445) ร่วมกับการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) (พิชิต ฤทธิ์จรูญ, 2559: 224) เพื่อสร้างข้อสรุปโดยดาเนินการดังนี้ 1) การพิจาณาข้อมูลการวิจัยที่ ได้จากการสัมภาษณ์กลุ่ม 2) จัดกลุ่มของประเภทประเด็นที่สาคัญ 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ของประเด็นต่างๆ 4) สรุปเชื่อมโยงประเด็นต่างๆตามคาถามหรือวัตถุประสงค์การวิจัยและนาเสนอในรูปความเรียง 2. วิเคราะห์ข้อมูลจากการสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการเกี่ยวกับเนื้อหาและกิจกรรม ในการพัฒนาหลักสูตร โดยการหาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน จากนั้นนามาแปลผลโดยเทียบกับ เกณฑ์ ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2546: 162) คะแนนเฉลี่ย 4.51-5.00 หมายถึง มากที่สุด คะแนนเฉลี่ย 3.51-4.50 หมายถึง มาก คะแนนเฉลี่ย 2.51-3.50 หมายถึง ปานกลาง คะแนนเฉลี่ย 1.51-2.50 หมายถึง น้อย คะแนนเฉลี่ย 1.00-1.50 หมายถึง น้อยที่สุด ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลอง คาง การดาเนินงานวิจัยในขั้นตอนนี้ดาเนินการโดยสังเคราะห์ข้อมูลจากศึกษาบริบทและความต้องการ ของชุมชนเพื่อกาหนดเป็นกรอบเนื้อหาและองค์ประกอบในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง โดยมีขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมดังนี้ 1. ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม การส่งเสริมและพัฒนาทักษะการใ ช้ ภาษาอังกฤษโดยใช้ประสบการณ์ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศ สมรรถนะและคุณลักษณะของมัคคุเทศก์ และการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม เพื่อกาหนดกรอบเนื้อหาและ องค์ประกอบหลักสูตรของหลักสูตรฝึกอบรม 2. สังเคราะห์ข้อมูลจากการศึกษาเอกสารและข้อมูลจากการศึกษาบริบทและความต้องการของ ชุมชนในการกาหนดกรอบเนื้อหาของหลักสูตร 3. ออกแบบหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลอง คางตามองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการเรียนรู้ สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และ การวัดและประเมินผล โดยการกาหนดเนื้อหา สาระสาคัญ และระยะเวลาการฝึกอบรม 4. ร่างหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นตามองค์ประกอบของหลักสูตรที่ได้ออกแบบไว้ จากนั้นนาร่างหลักให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตร และด้านการสอนภาษาอังกฤษ จานวน 5 คน เพื่อ ประเมินคุณภาพด้านความถูกต้องเหมาะสมขององค์ประกอบและรายละเอียดเนื้อหาในหลักสูตร (รายละเอียด ผู้เชี่ยวชาญ ปรากฏในภาคผนวก ก ) โดยใช้แบบประเมินคุณภาพหลักสูตรแบบมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ กาหนดค่าเฉลี่ยตั้งแต่ 3.51 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานไม่เกิน 1.00 เป็นเกณฑ์พิจารณาว่าหลักสูตรฝึกอบรมมี คุณภาพสามารถนาไปใช้ได้ 5. นาผลการประเมินคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมของผู้เชี่ยวชาญมาพิจารณาปรับปรุงหลักสูตรตาม ข้อเสนอแนะก่อนนาไปทดลองใช้เพื่อพัฒนาสมรรถนะให้กับยุวชนมัคคุเทศก์ซึ่งเป็นเด็กนักเรียนระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดคลองคาง (แดงประชานุกูล) ต่อไป แหล่งข้อมูล ในขั้นตอนนี้กาหนดแหล่งผู้ให้ข้อมูลการวิจัยเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรและด้านการ สอนภาษาอังกฤษเพื่อประเมินคุณภาพด้านความถูกต้องเหมาะสมของหลักสูตรฝึกอบรม ซึ่งได้จากการเลือก แบบเจาะจง (Purposive Sampling) พิจารณาจากผู้ที่มีประสบการในการท าวิจัยและการสอนใน สถาบันอุดมศึกษาในสาขาวิชาหลักสูตรและการสอน จานวน 2 และสาขาการสอนภาษาอังกฤษ จานวน 2 คน สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา จานวน 1 คน รวม 5 คน เครื่องมือและการพัฒนาเครื่องมือการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยในขั้นตอนนี้มีจานวน 1 ฉบับ ได้แก่ แบบประเมิน คุณภาพหลักสูตรด้านความถูกต้องและเหมาะสมโดยผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จานวน 6 ด้าน รวม 29 ข้อ มีค่าความเที่ยงตรง (Validity) ด้วยเทคนิค IOC เท่ากับ 0.67-1.00 การพัฒนาเครื่องมือการวิจัยคณะผู้วิจัยดาเนินการตามขั้นตอนดังนี้ 1. ศึกษาเอกสารเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือการประเมินหลักสูตรจากเอกสาร ตาราและงานวิจัย จากนั้นออกแบบเครื่องมือมีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จานวน 6 ด้าน รวม 29 ข้อ 2. นาเครื่องมือการวิจัยที่พัฒนาขึ้นให้ผู้เชี่ยวชาญจานวน 3 คน พิจารณาความเหมาะสมของข้อ คาถามโดยใช้การคานวณหาค่าดัชนีความสอดคล้องเหมาะสมของข้อคาถาม (IOC) ซึ่งข้อคาถาม มีค่าดัชนี ความสอดคล้องระหว่าง 0.67 -1.00 (รายละเอียดปรากฏในภาคผนวก ค) 3. ปรับปรุงแก้ไขตามคาแนะนาของผู้เชี่ยวชาญและนาไปใช้ในการประเมินหลักสูตรต่อไป การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยในขั้นตอนนี้ดาเนินการดังนี้ 1. ติดต่อขอความอนุเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญในการประเมินคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น 2. ประสานขอหนังสือขอความอนุเคราะห์ผู้เชี่ยวชาญในการประเมินหลักสูตรจากคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์นาส่งถึงผู้เชี่ยวชาญพร้อมร่างหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์และแบบประเมินหลักสูตร ฝึกอบรม รวมทั้งนัดหมายวันเวลาในการรับฟังข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ 3. ประสานเพื่อรับผลการประเมินหลักสูตรฝึกอบรมและรับฟังข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อนามาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรฝึกอบรมให้มีความถูกต้องสมบูรณ์ตามข้อแนะนาของผู้เชี่ยวชาญ 4. นาข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญมาปรับปรุงแก้ไขหลักสูตรฝึกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญมีข้อเสนอแนะ เกี่ยวกับการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับเนื้อหาและจุดประสงค์ของหลักสูตร การวิเคราะห์ข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินคุณภาพหลักสูตรฝึกอบรมใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และเทียบกับเกณฑ์ดังนี้ (บุญชม ศรีสะอาด, 2556: 121) 4.51-5.00 มีคุณภาพในระดับมากที่สุด 3.51-4.50 มีคุณภาพในระดับมาก 2.51-3.50 มีคุณภาพในระดับปานกลาง 1.51-2.50 มีคุณภาพในระดับน้อย 1.00-1.50 มีคุณภาพในระดับน้อยที่สุด ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้และประเมินหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการ ท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง อาเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ หลังจากคณะผู้วิจัยได้ปรับปรุงหลักสูตรตามคาแนะนาของผู้เชี่ยวชาญแล้ว ได้นาหลักสูตรไปทดลองใช้ กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านคลองคาง จานวน 25 คน ซึ่งเป็นยุวชนในท้องถิ่น โดยผู้วิจัย ได้ออกแบบตามกรอบกระบวนการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-Experimental Research Design) แบบ แผนกลุ่มเดียวทดสอบก่อน-หลัง (One Group Pretest Posttest Design) โดยการอบรมในห้องเรียนและการ ฝึกปฏิบัติใช้ทักษะภาษาอังกฤษในสถานการณ์จริง ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดคลองคาง (แดงประชานุกูล) อาเภอ เมือง จังหวัดนครสวรรค์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ผู้ปกครอง และนักเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดคลองคาง (แดงประชานุกูล) อาเภอ เมือง จังหวัดนครสวรรค์ ที่กาลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 จานวน 25 คน ได้มาโดยวิธีการ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยความสมัครใจ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรประกอบด้วย ผู้บริหาร สถานศึกษา ครู ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ผู้ปกครอง และนักเรียน จานวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยและเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ 1. ชุดหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง จานวน 40 ชั่วโมง โดยจัดทาเป็นรูปแบบเอกสารการเรียนรู้ ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ และสื่อการ เรียนรู้ที่จัดลาดับตามความเหมาะสมของเนื้อหาในหลักสูตร 2. แบบวัดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร มีลักษณะเป็นข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก จานวน 35 ข้อ โดยผ่านการตรวจสอบคุณภาพด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ (IOC) จานวน 3 ท่าน ระหว่าง 0.67-1.00 วิเคราะห์ค่าอานาจจาแนกรายข้อโดยวิธีการของ B-Index มีค่าอานาจจาแนก ระหว่าง 0.23-0.65 ค่าความยาก ระหว่าง 0.44-0.78 วิเคราะห์หาค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ โดยใช้สูตรของ Lovett ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.86 3. แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้หลักสูตรโดยเป็นข้อคาถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ โดยแบ่งเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม ตอนที่ 2 คาถามเกี่ยวกับ ความพึงพอใจของผู้ใช้หลักสูตร และ ตอนที่ 3 คาถามเกี่ยวกับข้อเสนอแนะอื่น ๆ การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยในขั้นตอนนี้ผู้วิจัยออกแบบตามกระบวนการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-Experimental Research Design) แบบแผนกลุ่มเดียวทดสอบก่อน -หลัง (One Group Pretest Posttest Design) โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. ประสานการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัยโดยทาหนังสือจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถึงผู้อานวยการโรงเรียนวัดคลองคางเพื่อความอนุเคราะห์เก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย และประสานนัดหมายวัน เวลาในการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม 2. ผู้วิจัยชี้แจงทาความเข้าใจและชี้แจงวัตถุประสงค์การฝึกอบรมกับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างจากนั้นให้ กลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 ทาแบบวัดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร จานวน 35 ข้อเพื่อเก็บข้อมูลก่อนเรียน 3. ดาเนินการฝึกอบรมตามหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์จานวน 8 หน่วย รวมระยะเวลาใน การทดลองใช้หลักสูตร 40 ชั่วโมง ระหว่างเดือนกรกฎาคม ถึงเดือน กันยายน 2563 4. หลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรมให้กลุ่มตัวอย่างทาแบบวัดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารซึ่ง เป็นแบบทดสอบฉบับเดียวกับก่อนการฝึกอบรม เพื่อนาไปเปรียบเทียบกับการทดสอบก่อนเรียน 5. ประเมินความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรมโดยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตร ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ผู้ปกครอง และนักเรียน จานวน 60 คน ตอบแบบ ประมินความพึงพอใจต่อการใช้หลักสูตร
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและศักยภาพของท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว วิถีชุมชนบ้านคลองคาง 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นฯ และ 3) ทดลองใช้และประเมิน หลักสูตรฝึกอบรมฯ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมัคคุเทศก์ ผู้นาชุมชน ผู้บริหาร สถานศึกษา ครู ตัวแทนกลุ่มอาชีพ รวม19 คน โดยเลือกแบบเจาะจง 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอน ภาษาอังกฤษ จานวน 5 คน และ 3) ยุวชนท้องถิ่นซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัด คลองคาง รวม 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ 1) แบบสอบถามข้อมูลบริบทและศักยภาพของท้องถิ่น เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับบริบท ศักยภาพและ ความต้องการของชุมชน 3) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 4) แบบทดสอบวัดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็น ข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และ 5) แบบประเมินคุณภาพหลักสูตร เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการทดสอบที กรณีกลุ่ม ตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุ
จำนวนเข้าชมโครงการ :285 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวธิดากุล บุญรักษา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางสาวพรพรรณ โพธิสุวรรณ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด