รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000593
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตแป้งกล้วย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : 
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :แป้งกล้วย, เครื่องบด, เพิ่มศักยภาพการผลิต, วิสาหกิจชุมชน
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :10000
งบประมาณทั้งโครงการ :10,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :10 พฤศจิกายน 2564
วันสิ้นสุดโครงการ :20 มิถุนายน 2565
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
กลุ่มวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :จากการลงพื้นที่สำรวจการผลิตสินค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ นั้นพบว่าผลผลิตสินค้าของทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่น่าสนใจ คือ การผลิตแป้งกล้วย เนื่องจากมีความต้องการของลูกค้ากลุ่มแปรรูปอาหารจำนวนมาก โดยแป้งกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำกล้วยดิบมาแปรรูปเป็นแป้ง เพื่อเป็นการถนอมอาหารและสามารถนำไปเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆ เช่น ขนมอบ และขนมไทย มีคุณค่าทางโภชนาการในระดับสูง เช่น แป้ง โปรตีน ไขมัน วิตามิน และอื่นๆ อีกมากมาย มีการนำกล้วยดิบมาใช้เป็นยาโดยทําให้แห้งแล้วบดผสมกับน้ำหรือน้ำผึ้ง เพื่อป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร แก้ท้องเสีย ซึ่งคุณภาพของแป้งกล้วยจะขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการผลิต ความสะอาด และความสุกของกล้วย เป็นต้น ปัจจุบันทางกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ได้เริ่มการผลิตแป้งกล้วย ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมจากกลุ่มลูกค้าและเป็นสินค้าหนึ่งที่น่าสนใจเนื่องจากลูกค้ามีความต้องการจำนวนมาก แต่ติดปัญหาด้านการขาดแคลนเครื่องมือและอุปกรณ์การบดแป้งกล้วยที่สามารถผลิตแป้งกล้วยได้เพียงพอกับความต้องการของลูกค้า เนื่องจากผู้ผลิตได้ดำเนินการบดแป้งกล้วยด้วยเครื่องจักรขนาดเล็กและขาดทักษะการผลิตแป้งกล้วยที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นจุดด้อยของศักยภาพการผลิตแป้งกล้วยเพื่อจำหน่ายให้กับกลุ่มลูกค้าของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนแห่งนี้ อย่างไรก็ตามในกระบวนการบดแป้งกล้วยส่วนใหญ่ใช้แรงงานคน และยังไม่สามารถผลิตได้เท่ากับที่ตลาดต้องการ ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อช่วยในการผลิตแป้งกล้วย ลดการใช้แรงงานคน และการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแป้งกล้วยให้ได้ปริมาณมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของตลาดที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์ได้ตามต้องการต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :2.1 เพื่อศึกษาปัญหาและข้อจำกัดของการผลิตแป้งกล้วยของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน 2.2 เพื่อศึกษาและพัฒนาเครื่องบดแป้งกล้วยของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน 2.3 เพื่อศึกษาความคุ้มค่าของการพัฒนาเครื่องบดแป้งกล้วยของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน
ขอบเขตของโครงการ :1. ศึกษาปัญหาและข้อจำกัดของกิจกรรมการผลิตแป้งกล้วย ตั้งแต่ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ภายในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน 2. เกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ (อ.เก้าเลี้ยว) 3. ออกแบบและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตแป้งกล้วยที่เพียงพอต่อระดับความต้องการสินค้า 4. ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มศักยภาพในการผลิตแป้งกล้วย 5.ได้เทคโนโลยีและเครื่องจักรที่เหมาะสมสำหรับการผลิตแป้งกล้วย 6. เกษตรกรสามารถดำเนินการผลิตแป้งกล้วยได้อย่างมีประสิทธิภาพได้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1.ได้เครื่องบดแป้งกล้วยจำนวน 1 เครื่อง 2. ได้เรียนรู้ขั้นตอนการพัฒนาเครื่องจักร
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :4.1 แป้งกล้วย แป้งกล้วยสามารถเตรียมได้จากกล้วยหลายชนิด ซึ่งลักษณะทั่วไปและคุณสมบัติของแป้งกล้วย มีดังนี้ 4.1.1 ลักษณะทั่วไปของแป้งกล้วย แป้งกล้วยสามารถผลิตได้จากจากกล้วยหลายชนิด เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม และกล้วยไข่ เป็นต้น แป้งกล้วยเป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำผลกล้วยมาปอกเปลือก อาจนึ่งหรือลวกก่อนปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้นบาง ทำให้แห้งโดยใช้ความร้อนจากแสงอาทิตย์หรือแหล่งพลังงานอื่น บดให้ละเอียด ร่อนผ่านตะแกรง (สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, 2563) แป้งกล้วยจะมีกลิ่นเฉพาะตัว มีคุณสมบัติทางกายภาพที่ดีรวมตัวกับน้ำได้ดี คือ เมื่อได้รับความร้อนจะพองตัวใส เมื่อปล่อยให้เย็นจะเกิดลักษณะคล้ายวุ้น เนื่องจากเป็นแป้งที่มีอะไมโลสสูง ทำให้มีคุณสมบัติพิเศษเหมาะที่จะนำมาทดแทนแป้งสาลีในผลิตภัณฑ์ขนมอบกรอบได้ดี บางชนิดของผลิตภัณฑ์สามารถทดแทนได้สูงถึงร้อยละ 80 โดยคุณภาพของแป้งกล้วย จะขึ้นอยู่กับกรรมวิธีการผลิต ความสะอาด และความสุกของกล้วยเป็นสำคัญ กล้วยดิบจะมีปริมาณแป้งและแทนนินสูง ปริมาณน้ำตาลน้อย การสุกของกล้วยทำให้คุณค่าทางอาหารเปลี่ยนแปลงไป แป้งกล้วยที่ผลิตโดยกรรมวิธีอบแห้ง หรือผึ่งแดดจนแห้งที่อุณหภูมิ 55 – 60 องศาเซลเซียส สีของแป้งที่ได้จะไม่ขาวเหมือนแป้งจากธัญพืชประเภทหัว เนื่องจากไม่ได้ผ่านกระบวนการฟอกสีของแป้งกล้วยที่มีสีไม่ขาว อาจมีผลต่อการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหารบางชนิด ซึ่งส่งผลต่อการยอมรับของผู้บริโภค ดังนั้นจึงใช้แป้งกล้วยในการทำผลิตภัณฑ์ที่มีสีค่อนไปทางสีน้ำตาล เช่น ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ การที่แป้งกล้วยมีสีน้ำตาลเป็นปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ (enzymatic browning reaction) สำหรับในแป้งกล้วยเกี่ยวข้องกับเอนไซม์โพลีฟีนอลออกซิเดส (polyphenol oxidase: PPO) ที่ไปเร่งให้สารประกอบฟีนอลในผักและผลไม้ เกิดการออกซิเดชั่นกับออกซิเจนในอากาศ โดยเอนไซม์นี้พบได้ในแครอท อโวคาโด แอปเปิ้ล มันฝรั่ง และกล้วย เป็นต้น (Selvarajoh, et.al, 2000) ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังการปอกเปลือกและการลดขนาดผักและผลไม้การเกิดสีน้ำตาลทำให้เกิดกลิ่นรสผิดปกติและส่งผลเสียต่อคุณค่าทางอาหาร การเกิดสีน้ำตาลปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นได้มีองค์ประกอบที่สำคัญ คือ สารประกอบฟีนอล (phenolic compounds) เอนไซม์ ออกซิเจน และค่าความเป็นกรด-ด่าง ที่เหมาะสมต่อการทำงานของเอนไซม์ฟีนอเลส ระหว่าง 5-7 การป้องกันปฏิกิริยาการเกิดสีน้ำตาลที่เกี่ยวข้องกับเอนไซม์ สามารถทำได้หลายวิธี(พิมพ์เพ็ญ และนิธิยา รัตนาปนนท์, 2563) ดังนี้ 4.1.1.1 การทำให้เอนไซม์เสียสภาพธรรมชาติ (protein denaturation) ด้วยวิธีการต่าง ๆ ได้แก่ 1) การใช้ความร้อน เช่น การลวกโดยใช้ความร้อนระยะเวลาสั้นเพื่อให้เอนไซม์สูญเสียสภาพธรรมชาติ 2) การปรับให้เป็นกรด เพื่อให้ค่าความเป็นกรด-ด่างไม่เหมาะสมต่อการทำงานของเอนไซม์ฟีนอเลสที่ค่าความเป็นกรด-ด่าง ประมาณ 3 หรือต่ำกว่าเอนไซม์จะถูกยับยั้งการทำงานและสูญเสียสภาพธรรมชาติการใช้กรดอินทรีย์ เช่น กรดซิตริก (citric acid) กรดมาลิก (malic acid) และกรดฟอสฟอริก (phosphoric acid) สามารถทำให้ค่าความเป็นกรด-ด่าง ลดลงให้อยู่ระหว่าง 3 หรือต่ำกว่าได้ 4.1.1.2 การใช้สารรีดิวซิงเอเจนต์ (reducing agent) เพื่อรีดิวซ์ o-quinone กลับเป็นสารประกอบฟีนอล แลพไม่มีสี สารรีดิวซิงเอเจนต์ เช่น สารซัลไฟต์ กรดอิริทอร์เบต และเกลือของกรดอิริทอร์เบต 4.1.1.3 การป้องกันไม่ให้สัมผัสกับออกซิเจน เช่น การจุ่มผักและผลไม้ในน้ำเชื่อม หรือน้ำเกลือ หรือการบรรจุแบบสูญญากาศ (vacuum packaging) หรือการดัดแปรสภาพบรรยากาศ (modified atmosphere packaging, MAP) แป้งกล้วยตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, 2563) คือ แป้งกล้วยต้องเป็นผงละเอียด แห้ง ไม่จับตัวเป็นก้อน สีต้องมีสีที่ดีตามธรรมชาติของแป้งกล้วย กลิ่น (flavoring agent) ต้องมีกลิ่น (flavoring agent) ที่ดีตามธรรมชาติของแป้งกล้วยปราศจากกลิ่นอื่นที่ไม่พึงประสงค์ เช่น กลิ่นอับ กลิ่นหืน สิ่งแปลกปลอม ต้องไม่พบสิ่งแปลกปลอมที่ไม่ใช่ส่วนประกอบที่ใช้ เช่น เส้นผม ดิน ทราย กรวด ชิ้นส่วน หรือสิ่งปฏิกูลจากสัตว์ความชื้น ต้องไม่เกินร้อยละ 12 โดยน้ำหนัก จุลินทรีย์ ยีสต์ และรา ต้องไม่เกิน 500 โคโลนีต่อตัวอย่าง 1 กรัม บรรจุแป้งกล้วยในภาชนะบรรจุที่สะอาด ปิดได้สนิท และสามารถป้องกันการปนเปื้อนจากสิ่งสกปรกภายนอกได้ น้ำหนักสุทธิของแป้งกล้วยในแต่ละภาชนะบรรจุต้องไม่น้อยกว่าที่ระบุไว้ที่ฉลาก สำหรับภาชนะบรรจุแป้งกล้วยอย่างน้อยต้องมีเลข อักษร หรือเครื่องหมาย แจ้งรายละเอียดต่อไปนี้ให้เห็นได้ง่ายและชัดเจน ได้แก่ ชื่อผลิตภัณฑ์ ชนิด และปริมาณ วัตถุเจือปนอาหารส่วนประกอบที่สำคัญน้ำหนักสุทธิ วัน เดือน ปีที่ผลิต และวัน เดือน ปีที่หมดอายุ หรือข้อความว่า "ควรบริโภคก่อน (วัน เดือน ปี) "ข้อแนะนำในการบริโภคและการเก็บรักษา ชื่อผู้ทำหรือสถานที่ทำ พร้อมสถานที่ตั้ง หรือเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียน ในกรณีที่ใช้ภาษาต่างประเทศ ต้องมีความหมายตรงกับภาษาไทยที่กำหนดไว้ข้างต้น 4.1.2 คุณสมบัติของแป้งกล้วย แป้งกล้วยดิบมีสมบัติเป็นแป้งที่ต้านทานการย่อยสลายด้วยเอนไซม์ (Resistant starch, RS) คุณสมบัตินี้เหมือนกับเส้นใยอาหารที่มีประโยชน์ต่อระบบขับถ่ายและระบบหมุนเวียนเลือด แป้งที่ต้านทานการย่อยสลายด้วยเอนไซม์นี้จะไม่ถูกย่อยสลายด้วยเอนไซม์ในลำไส้เล็ก แต่จะผ่านมาถึงลำไส้ใหญ่และถูกหมักโดยจุลินทรีย์ได้เป็นกรดไขมันสายสั้นๆ เช่น อะซิเตท บิวทิเรต และโพรพิโอเนต ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อจุลินทรีย์กลุ่มโพรไบโอติก (Sajilata, et.al, 2006) กรดไขมันที่เกิดขึ้นสามารถถูกดูดซึมภายในลำไส้ใหญ่และขนส่งไปยังตับ กรดไขมันจะไปยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค เพิ่มปริมาณของเหลว และปรับสภาวะความเป็นกรด-ด่าง ในลำไส้ใหญ่ให้ต่ำลง โดยมีรายงานบทบาทของกรดไขมันบิวทิเรตที่ช่วยปรับสภาวะลำไส้ใหญ่ส่วนปลายให้ดีขึ้น โดยจะยับยังการเจริญของเซลล์ที่ถูกทำให้เปลี่ยนไป (transformed cell) ซึ่งมีบทบาทในการป้องกันมะเร็งลำไส้ใหญ่ (Alexander, 1995; Ferguson, et.al, 2000) การบริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของแป้งที่ต้านทานการย่อยสลายด้วยเอนไซม์จะช่วยป้องกันหรือลดสภาวะโรคอ้วน มีบทบาทในการลดคลอเรสเตอรอลในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน (กุหลาบ สิทธิสวนจิ, 2553) แป้งที่ต้านทานการย่อยสลายด้วยเอนไซม์สามารถแบ่งได้ 4 ประเภท ตามความสามารถในการถูกย่อยสลาย ดังนี้ 4.1.2.1 ประเภทที่ 1 physically inaccessible (RS1) แป้งที่มีลักษณะทางกายภาพขัดขวางการทำงานของเอนไซม์พบได้ในเมล็ดธัญพืชที่ผ่านการบดเพียงบางส่วน พืชตระกูลถั่วและผัก 4.1.2.2 ประเภทที่ 2 resistant granular starch (RS2) เม็ดแป้งดิบที่ทนต่อการทำงานของเอนไซม์ (raw or ungelatinized starch) เป็นแป้งที่ยังไม่ผ่านกระบวนการทำให้สุก พบในเม็ดแป้งกล้วยดิบ เม็ดแป้งมันฝรั่งดิบ และแป้งที่มีอไมโลสสูง 4.1.2.3 ประเภทที่ 3 retrograded starch (RS3) แป้งคืนตัว พบในอาหารที่ให้ความร้อนจนเกิดเจลาทิไนซ์ เมื่อถูกทำให้เย็นตัวลง จะเกิดการจัดเรียงตัวของอะไมโลสใหม่ เช่น มันฝรั่งที่ต้มแล้วทำให้เย็น เปลือกขนมปัง คอร์นเฟลคส์ 4.1.2.4 ประเภทที่ 4 chemically modification starch (RS4) แป้งที่มีโครงสร้างเกิดจากการดัดแปรโดยใช้สารเคมีในการครอสลิงค์ (crosslinked starch) ทำให้โครงสร้างแป้งเกิดพันธะแบบใหม่ พบในไดสตาร์ชฟอสเฟตเอสเทอร์ (distarch phosphate ester) แป้งที่ต้านทานการย่อยสลายด้วยเอนไซม์ เป็นแป้งที่เหมาะกับผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพ ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบขับถ่ายและผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก มีการนำแป้งชนิดนี้มาทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เนื่องจากมีสมบัติการย่อยสลายได้ช้าในระบบทางเดินอาหาร มีอัตราการย่อยแป้งและค่าดัชนีน้ำตาล (glycemic index) ต่ำ ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดอยู่ในสภาวะที่ควบคุมได้ โดยไม่เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (กุหลาบ สิทธิสวนจิ, 2553; จิรนาถ บุญคง, 2553) จึงทำให้ผู้ป่วยสามารถรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้ นอกจากนั้นแป้งกล้วยมีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระเช่นเดียวกัน จากรายงานการเปรียบเทียบการต้านอนุมูลอิสระและปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมของแป้งกล้วยไข่ กล้วยหอมทอง กล้วยน้ำว้า และกล้วยหักมุก (กุหลาบ สิทธิสวนจิกและขวัญชัย ศรีรักษา, 2556) พบว่าแป้งกล้วยไข่มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมและความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงกว่าแป้งกล้วยชนิดอื่น 4.2 หลักการออกแบบเครื่องจักรต้นแบบ การออกแบบวิศวกรรม โดยเฉพาะการออกแบบในงานวิศวกรรมเครื่องกล เป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อการสร้างชิ้นงานหรือผลิตภัณฑ์ การบำรุงรักษา หรือต้นทุนการผลิตชิ้นงาน งานออกแบบวิศวกรรมประกอบด้วยหลายขั้นตอน และต้องใช้ประสบการณ์ในการออกแบบ เพื่อให้ได้เครื่องจักรที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้ผลิต สามารถใช้งานได้ตามต้องการ รวมทั้งการลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งการออกแบบที่ดีและมีต้นทุนการผลิตต่ำที่สุดนั้นต้องพิจารณาถึงปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตั้งแต่กระบวนการออกแบบ การผลิต การส่งมอบ การบำรุงรักษา และการให้บริการหลังการจำหน่าย เพื่อเป็นการลดต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการผลิตสินค้าที่ดีอีกด้วย ดังนั้นนักออกแบบผลิตภัณฑ์ต้องศึกษาและทำความเข้าใจหลักการออกแบบที่ดีกับรูปแบบการผลิตและการใช้งาน รวมถึงหลักการด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทานของเครื่องจักร และการให้บริการหลังการขาย การออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรต้นแบบขึ้นมาเพื่อให้สามารถทำงานได้ตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้งาน โดยผ่านกระบวนการออกแบบเพื่อให้ง่ายต่อการสร้าง การใช้งาน หรือกระบวนการผลิต กระบวนการออกแบบวิศวกรรมนับว่าเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญมากในงานวิศวกรรม เพื่อบ่งบอกถึงแนวทางการเลือกใช้วัสดุ กระบวนการผลิต รูปแบบการใช้งาน และการซ่อมบำรุง ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อเงินลงทุน ระยะเวลาคืนทุน หรือเงินทุนหมุนเวียนในการใช้งานและการดูแลรักษาเครื่องจักร ดังนั้นการออกแบบทางวิศวกรรมต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ เหล่านี้มากขึ้น ซึ่งมีกระบวนการออกแบบที่สำคัญอยู่หลายขั้นตอน เช่น การทราบความต้องการของผู้ใช้งาน การศึกษาข้อมูลเครื่องจักรเบื้องต้น การออกแบบ การเลือกวัสดุอุปกรณ์ และการทบทวนความถูกต้องก่อนการส่งแบบให้ฝ่ายผลิตเพื่อสร้างเครื่องจักรตามการออกแบบ ซึ่งรายละเอียดของกระบวนการออกแบบเครื่องจักร สามารถสรุปได้ดังนี้ 1. การรับรู้ความต้องการของผู้ใช้งานในการออกแบบเครื่องจักร เพื่อสามารถนำมาใช้งานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ของการใช้งานและความต้องการของผู้ผลิต ซึ่งผู้ออกแบบต้องสอบถามความต้องการของผู้ใช้งาน กระบวนการทำงาน และข้อจำกัดต่างๆ ของอุปกรณ์และเครื่องจักร รวมถึงพื้นที่ใช้งานหรืองบประมาณในการสร้างและการเดินเครื่อง เพื่อให้การออกแบบพัฒนาและการทำงานของเครื่องจักรมีความสมบูรณ์เพิ่มมากขึ้น โดยผู้ออกแบบและผู้ที่เกี่ยวข้องต้องคำนึงและรับทราบสิ่งต่างๆ เหล่านี้ เพื่อเป็นข้อมูลในการออกแบบ หลังจากนั้นผู้ออกแบบจะต้องร่างแบบอย่างคร่าว ๆ เพื่อกำหนดรูปแบบและเลือกวัสดุเบื้องต้น 2. กระบวนการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งที่ต้องการออกแบบและสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ ในปัจจุบันแหล่งข้อมูลที่ดี คือ การสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต (Internet) มีข้อมูลต่างๆ มากมายให้สืบค้น ซึ่งสามารถสรุปเป็นแนวทางได้ดังนี้ - การสืบค้นข้อมูลจากสิทธิบัตรของสิ่งประดิษฐ์ เนื่องจากปัจจุบันมีการคิดค้นและประดิษฐ์สิ่งของใหม่ๆ ออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีการขึ้นทะเบียนไว้ ส่งผลให้รูปแบบการออกแบบหรือการสร้างอาจไปซ้ำในกระบวนการ หรือสิ่งประดิษฐ์ ทำให้เกิดการฟ้องร้องกันได้ในภายหลัง แหล่งข้อมูลที่ใช้ในการสืบค้นด้านสิทธิบัตรของประเทศไทยและทั่วโลก คือ กรมทรัพย์สินทางปัญญา - ด้านเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรที่ต้องการออกแบบ ทั้งด้านเทคโนโลยีการขึ้นรูปชิ้นงาน เทคโนโลยีด้านวัสดุ โดยเฉพาะวัสดุด้านสิ่งแวดล้อมที่มีความก้าวหน้ามากแล้วในปัจจุบัน เช่น การนำวัสดุอินทรีย์มาผ่านกระบวนการแปรรูปจนมีคุณสมบัติที่ดีขึ้น ทำให้สามารถใช้ทดแทนวัสดุที่ผลิตมาจากน้ำมันดิบ ดังนั้นการออกแบบควรศึกษาหาข้อมูลและติดตามความก้าวหน้าด้านวัสดุวิศวกรรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถนำมาทดแทนวัสดุที่มีราคาสูงหรือขาดแคคลนได้ - ข้อมูลของผู้จำหน่ายหรือผู้ผลิตวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ซึ่งเป็นข้อมูลที่สำคัญ สามารถนำมาใช้ในการกำหนดระยะเวลาการส่งสินค้า งบประมาณที่ใช้ในการผลิต และคุณสมบัติเชิงลึกของวัสดุอุปกรณ์ที่ทำการเลือกใช้ หรือแม้แต่ข้อมูลการออกแบบเชิงลึก บางครั้งต้องสอบถามจากผู้จำหน่ายหรือผู้ผลิตได้ 3. ขั้นตอนการออกแบบวิศวกรรม ซึ่งเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก เมื่อมีการร่างแบบและทราบข้อมูลการออกแบบเครื่องจักรเบื้องต้นแล้ว โดยทั่วไปผู้ออกแบบจะต้องทำการออกแบบโดยใช้ข้อมูลจากคู่มือต่างๆ และเลือกรูปแบบพร้อมวัสดุที่ใช้ในการผลิต โดยวัสดุได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ วัสดุมาตรฐาน คือ มีขายตามร้านค้าทั่วไป เช่น เหล็กรูปพรรณ ส่วนที่ 2 คือ ชิ้นส่วนเครื่องจักรกลมาตรฐาน เช่น ตลับลูกปืน และมูเล่ เป็นต้น และส่วนที่ 3 คือ ชิ้นส่วนที่ต้องผ่านกระบวนการแปรรูปทางวิศวกรรม เช่น การกลึง การกัด การไส และการเจาะ ที่ผู้ออกแบบเครื่องจักรต้องพิจารณาร่วมกับการออกแบบเครื่องจักรด้วย - การออกแบบตามหลักวิศวกรรม เช่น โครงสร้างรับน้ำหนักเครื่อง ส่วนใหญ่จะใช้เหล็กรูปพรรณต้องได้รับการออกแบบ เลือกหน้าตัดและความยาว เพื่อให้สามารถรับน้ำหนักหรือชิ้นส่วนเคลื่อนไหวได้ดี เช่น เพลาส่งกำลัง ต้องได้รับการออกแบบตามหลักการวิศวกรรมเช่นกัน ทำให้ลดการสิ้นเปลืองทรัพยากร ทั้งค่าวัสดุและค่าขึ้นรูปชิ้นงานได้ ซึ่งส่งผลต่ออายุการใช้งานของเครื่องจักรต่อไปด้วย - เลือกวิธีการออกแบบให้เหมาะสมกับวัสดุที่เลือกใช้ เป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เช่น การออกแบบโดยใช้เหล็กรูปพรรณ (ภาพที่ 1) ที่มีความยาว 6 เมตร ดังนั้นในการออกแบบควรตัดเหล็กไม่ให้เหลือเศษ อาจตัด 0.5, 1.0, 1.5, 2, 3 เมตร เป็นต้น หรือกรณีเลือกใช้เหล็กแผ่นที่มีขนาด 1,220 มิลลิเมตร x 2,440 มิลลิเมตร (ภาพที่ 2) ควรตัด 300, 400 หรือ 600 มิลลิเมตร จะทำให้สามารถลดต้นทุนค่าวัสดุลงได้อย่างมาก หรือแม้แต่การออกแบบความยาวเพลา ซึ่งมีความยาว 6.0 เมตร เช่นเดียวกับเหล็กรูปพรรณ ควรเลือกความยาวที่ลงตัว เช่น 300, 500, 600, 1,000, 1,500 มิลลิเมตร เพื่อที่จะไม่ให้เหลือเศษเหล็กในการตัดหรือให้เหลือเศษน้อยที่สุด ภาพที่ 1 แสดงลักษณะการตัดเหล็กรูปพรรณเพื่อไม่ให้เหลือเศษ ภาพที่ 2 แสดงลักษณะการตัดเหล็กแผ่นเพื่อไม่ให้เหลือเศษ - เลือกวัสดุที่ประหยัดและส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมน้อย การเลือกใช้วัสดุ หรืออุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องมีการรวบรวมข้อมูลให้มากพอในการตัดสินใจ - คำนึงถึงการใช้พลังงานทั้งในกระบวนการผลิตและการใช้งาน การออกแบบขั้นนี้ต้องคำนึงถึงการแปรรูปชิ้นต่าง ๆ รวมถึงการประกอบขึ้นรูปให้มีกระบวนการ และการใช้พลังงานน้อยที่สุด เช่น ออกแบบให้ขึ้นรูปง่าย ใช้พลังงานและแรงงานน้อย หรือการประกอบเป็นชิ้นส่วนย่อย และชิ้นส่วนหลักทำได้โดยง่าย และไม่ยุ่งยาก รวมทั้งการคำนึงถึงการใช้งานด้วย โดยการเลือกอุปกณ์ที่ประหยัดพลังงานในส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น การเลือกมอเตอร์ประสิทธิภาพสูง (ภาพที่ 3) ภาพที่ 3 การเลือกใช้มอเตอร์ประสิทธิภาพสูง - การซ่อมบำรุงและถอดประกอบ เพื่อเป็นการยืดอายุการใช้งานของเครื่องมือ เครื่องจักร หรืออุปกรณ์ต่างๆ ดังนั้น ผู้ออกแบบต้องคำนึงการถอดประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ได้ง่าย เพื่อความสะดวกในการซ่อมบำรุง หรือการออกแบบโดยไม่ต้องซ่อมบำรุงตลอดอายุการใช้งาน - การขนส่งและเคลื่อนย้าย ผู้ออกแบบต้องคำนึงถึงการขนส่งและการเคลื่อนย้ายชิ้นงานหรือเครื่องจักร โดยพยายามออกแบบแยกชิ้นเพื่อง่ายต่อการขนย้าย หรือออกแบบเลือกวัสดุที่มีน้ำหนักเบา แต่ไม่กระทบต่อความแข็งแรงของโครงสร้างหรือชิ้นส่วนที่ทำการออกแบบ - ชิ้นส่วนสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ในส่วนนี้เครื่องจักรกลส่วนใหญ่จะประกอบด้วยชิ้นส่วนที่ทำมาจากวัสดุประเภทโลหะ หรือเหล็กที่นำกลับมารีไซเคิลได้อยู่แล้ว แต่ในการออกแบบเพื่อนำกลับมาใช้ เช่น เลือกใช้มอเตอร์ผ่านระบบส่งกำลัง แทนการเลือกใช้มอเตอร์เกียร์ เมื่อเลิกใช้เครื่อง อาจนำมอเตอร์ไปใช้กับเครื่อง หรืออุปกรณ์อื่นๆ ได้ 4. การทบทวนความถูกต้อง เป็นกระบวนการสุดท้ายก่อนส่งมอบแบบให้กับฝ่ายผลิตเพื่อดำเนินการผลิตเครื่องจักร โดยการตรวจสอบจากกลุ่มผู้ออกแบบเอง รวมถึงการทบทวนเรื่องแบบวิศวกรรมให้ถูกต้องตามหลักการวิชาการ มาตรฐานของวัสดุและขนาดที่ใช้ในงานออกแบบ การขึ้นรูป และประกอบ เป็นต้น หลังจากนั้นนำผลการออกแบบเครื่องจักรส่งให้ผู้อนุมัติ หรือผู้ตรวจสอบขั้นสูงกว่าต่อไป เพื่อลดข้อผิดพลาดในด้านต่างๆ ได้ 4.3 กระบวนการผลิต 4.3.1 การวัด (Measurement) การวัดขนาดรูปร?าง สัดส?วน รูปทรง ตําแหน?งของชิ้นงาน โดยใช?เครื่องมือวัดแบบต?างๆ หาค?าความต?องการ ค?าที่วัดได?สามารถบ?งบอกได?ด?วยตัวเลข รูปภาพ หรือกราฟ ส?วนใหญ?จะนิยมใช?ตัวเลขเป?นตัวบ?งบอกค?าที่วัดได? 4.3.2 การพับขึ้นรูป การพับขึ้นรูปในงานโลหะแผ?นจะเกิดความเครียดในรอบแนวแกนตรงบริเวณที่พับงอ ส่วนโค?งด?านในจะเกิดการอัดตัว และส?วนโค?งด?านนอกจะเกิดการยืดออก ซึ่งลักษณะทั่วไปของการพับมี 2 แบบ คือ 1) การพับมุมวี (V-Bending) แม?พิมพ?ที่เป?นรูปตัววี ซึ่งสามารถกําหนดมุมได?ตามความต?องการ และเหมาะกับงานที่มีปริมาณไม?มาก ต?นทุนต่ำ 2) การพับขอบ (Edge Bending) เหมาะสมกับงานที่มีกําลังการผลิตมากๆ แต?มีขั้นตอนการผลิตที่ยุ่งยากและซับซ้อนในการผลิต โดยด?านหนึ่งของชิ้นงานต?องถูกกดทับให?แน?น วัสดุส?วนมากมีค่าสัมประสิทธิ์ของการยืดหยุ?นภายหลังการขึ้นรูปและปล?อยแรงกดทับแล?ว มักจะมีการดีดตัวกลับของวัสดุ เนื่องจากแรงของการยืดตัวที่ตกค?างอยู?พยายามทําให?วัสดุกลับคืนสู?สภาพเดิม โดยปรากฏการณ?นี้เรียกว?า Spring Back ดังนั้นการออกแบบแม?พิมพ?ต?องมีการเผื่อมุมพับให?มากกว?าปกติ และมีการทิ้งช?วงเวลาในการกดพับเพื่อให?เกิด Deformation อย?างสมบูรณ? 4.3.3 การเชื่อม การเชื่อมเป?นขบวนการที่ใช?สําหรับต?อวัสดุ ส?วนใหญ?เป?นโลหะและพลาสติก โดยให?รวมตัวเข้าด?วยกัน ซึ่งปกติใช?วิธีทําให?ชิ้นงานหลอมละลายและการเพิ่มเนื้อโลหะเติมลงในโมลหลอมละลายของวัสดุที่หลอมเหลว เมื่อเย็นตัวรอยต?อจะมีความแข็งแรง บางครั้งใช?แรงดันร?วมกับความร?อนหรืออย?างเดียว เพื่อให?เกิดรอยเชื่อม ซึ่งตรงข?ามกับการบัดกรีอ่อนและแข็ง ซึ่งไม?มีการหลอมละลายของชิ้นงาน โดยมีแหล?งพลังงานหลายชนิดสําหรับนํามาใช?ในการเชื่อม เช?น การใช?ความร?อนจากเปลวแก?ส การเชื่อมโดยใช?กระแสไฟฟ?า ลําแสงเลเซอร? การเสียดสี และการใช?คลื่นเสียง เป?นต?น ในภาคอุตสาหกรรมมีการเลือกใช้แหล่งพลังงานที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับสภาพแวดล?อมของแต่ละโรงงาน เช?น การเชื่อมในพื้นที่โล่ง และพื้นที่อับอากาศ ส่วนการเชื่อมใต้พื้นน้ำจะต้องใช้ความระมัดระวังเป็นอย่างมาก เพื่อป?องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ง่าย เช?น ที่เกิดจากกระแสไฟฟ?า ความร?อน สะเก็ดไฟ ควันเชื่อม แก?สพิษ รังสีอาร?ค ชิ้นงานร?อน และฝุ?นละออง นอกจากนี้ การเชื่อมโดยใช?ลวดเชื่อมหุ?มฟลั๊กซ? จะมีฟลั๊กซ?หุ?มภายนอกแกนลวด โดยกระแสไฟฟ?าจะถูกส?งผ?านแกนลวดเชื่อมไปยังส?วนปลาย กระแสไฟฟ?าที่ใช้จะมีทั้งกระแสตรง (DC) และกระแสสลับ (AC) การเลือกใช?งานควรเป?นไปตามคําแนะนําของผู?ผลิตลวดเชื่อม ส่วนการเริ่มต?นเชื่อมสําหรับลวดเชื่อมหุ?มฟลั๊กซ?ทําได? 2 วิธี คือ การเขี่ยอาร?ค และการแตะปลายลวดกับผิวชิ้นงานแล?วยกขึ้นในระยะที่เหมาะสมเพื่อคงการอาร?คไว? ขณะอาร?คจะมีความต?านทานระหว?างปลายลวดกับผิวชิ้นงานเกิดเป?นความร?อนที่สูง ซึ่งสูงพอที่จะหลอมละลายได?ทั้งผิวชิ้นงานและปลายลวดเชื่อมให?เกิดการหลอมรวมตัวกันเป็นเนื้อโลหะรอยเชื่อม 4.4 ข้อมูลทั่วไปของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพแบบยั่งยืนบ้านเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ วิสาหกิจชุมชนเป็นกลุ่มกิจกรรมที่ชาวบ้านใช้ในการผลิตสินค้า ทั้งอุปโภคและบริโภค โดยมีรูปแบบการผลิตสินค้าที่ไม่ได้ซับซ้อน มีการใช้วัตถุดิบที่สามารถหาได้ง่ายภายในพื้นที่ของชุมชนที่จัดตั้งวิสาหกิจชุมชน และมุ่งตอบสนองความต้องการของคนภายในชุมชนเป็นหลัก หากมีช่องทางและความเป็นไปได้ในการพัฒนาธุรกิจให้ดีขึ้น จึงค่อยขยับขยายไปสู่ตลาดภายนอกชุมชน ทั้งนี้วิสาหกิจชุมชนมีลักษณะคล้ายกับธุรกิจชุมชนในประเด็นการซื้อขายสินค้าหรือบริการ และมีความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจชุมชนในประเด็นอุปสงค์และอุปทานระหว่างผู้บริโภคและผู้ผลิต ทั้งภายในและภายนอกชุมชน ซึ่งอยู่บนพื้นฐานแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถเลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ สามารถเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของกิจกรรมการผลิตให้เป็นเครือข่ายได้ ร่วมกับการประสานความร่วมมือกับหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อขยายธุรกิจไปสู่ตลาดภายนอกชุมชนได้อย่างยั่งยืน (เสรี พงศ์พิศ, 2007: 205-218) ดังนั้นวิสาหกิจชุมชน จึงเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการกองทุนและทรัพยากรของชุมชน โดยชุมชน และเพื่อชุมชน ซึ่งเป็นกิจกรรมทางธุรกิจของสมาชิก โดยสมาชิกและเพื่อสมาชิก ทำให้สามารถพัฒนาต่อยอดเป็นวิสาหกิจขนาดกลางและย่อมได้เมื่อมีความพร้อมเพียงและสามัคคีกัน กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพแบบยั่งยืนบ้านเขาดิน ตั้งอยู่ที่ตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ มีจำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 11 หมู่บ้าน อยู่ห่างจากพื้นที่เขตอำเภอเมืองประมาณ 20 กิโลเมตร และตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอเก้าเลี้ยว มีพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีลำน้ำไหลผ่าน และมีความอุดมสมบูรณ์ ประชากรในเขตตำบลเขาดินมีจำนวนทั้งสิ้น 7,060 คน เป็นชาย 3,569 คน และเป็นหญิง 3,491 คน มีครัวเรือนจำนวน 1,892 ครัวเรือน ประชากรมีความหนาแน่น 495.71 คน/ตาราง และประชากรร้อยละ 80 ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ทำไร่ ทำสวน และเลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ได้มีการรวมตัวกันของสมาชิกที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ตำบลเขาดินเพื่อดำเนินการผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จากกล้วย ตะไคร้ และอื่นๆ ที่มีการเพาะปลูกภายในพื้นที่ตำบลเขาดินและใกล้เคียง เช่น กล้วยฉาบ สเปรย์ตะไคร้หอมป้องกันยุง เทียนหอม และกล้วยกวน เป็นต้น เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับกลุ่มสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่ภายในอำเภอเก้าเลี้ยวมีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและสวนผลไม้ แต่รายได้ที่เกิดจากการจำหน่ายผลผลิตทางเกษตรที่ผ่านมานั้นมีมูลค่าตกต่ำและไม่สอดคล้องกับปริมาณต้นทุนการผลิตในปัจจุบัน อันเนื่องมาจากการผันผวนของราคาสินค้า สภาพปัญหาคุณภาพของผลผลิตที่ไม่สอดคล้องกับความต้องการ และปริมาณผลผลิตมากเกินความต้องการ โดยสินค้าที่ผลิตได้จากวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพแบบยั่งยืนบ้านเขาดินส่วนใหญ่จะนำมาจำหน่ายยังตลาดสดท้องถิ่นในเขตอำเภอเก้าเลี้ยว จังหวัดนครสวรรค์ เช่น ตลาดเก้าเลี้ยว ตลาดเจ้าค่ะ ตลาดชุมชน ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ในปี พ.ศ. 2540 กลุ่มเกษตรกรภายในพื้นที่ตำบลเขาดิน อำเภอเก้าเลี้ยว ได้เข้ามาสมัครเป็นสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพแบบยั่งยืนบ้านเขาดินกันเพิ่มมากขึ้น ทำให้มีสมาชิกทั้งหมด 30 คน เพื่อดำเนินการแปรรูปสินค้าเกษตรให้มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น โดยสินค้าที่ผลิตขึ้นจะมีเอกลักษณ์และคุณสมบัติพิเศษ คือ ไม่มีสารกันบูดที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ สะอาด และปลอดสารพิษ ทำให้สามารถสร้างรายได้ให้กับกลุ่มสมาชิกได้มากกว่าการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเพียงอย่างเดียว จากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน พบว่าผลิตภัณฑ์จากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มพัฒนาอาชีพแบบยั่งยืนบ้านเขาดิน ทั้งผลิตภัณฑ์จากกล้วยและตะไคร้นั้น มีผลการดำเนินงานที่ได้ผลตอบแทนค่อนข้างต่ำและอยู่ในระดับค่อนข้างคงที่ ซึ่งบางครั้งก็เกิดสภาวะการขาดทุนและผลผลิตที่ได้ไม่คุ้มค่าต่อการผลิตสินค้า เนื่องจากประสบกับปัญหาหลายประการ เช่น สมาชิกในกลุ่มมักมีความคิดเห็นที่ไม่สอดคล้องกันในการทำงาน การออกแบบผลิตภัณฑ์ไม่สวยงามและไม่สามารถดึงดูดความสนใจจากกลุ่มลูกค้าได้ โดยกลุ่มลูกค้าหลักที่ชอบการออกแบบผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนฯ คือ กลุ่มผู้สูงอายุ ทำให้สินค้าจากกลุ่มวิสาหกิจยังไม่สามารถเจาะกลุ่มลูกค้าวัยรุ่น หรือวัยกลางคนได้มากนัก
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :การออกแบบกระบวนการผลิตแป้งกล้วย โดยทำการแปรรูปจากกล้วยน้ำว้าดิบ ซึ่งถือว่าเป็นการนำกล้วยน้ำว้ามาเพิ่มมูลค่าให้สูงขึ้น โดยการออกแบบเครื่องบดแป้งกล้วย และตู้อบ เพื่อใช้แปรรูปกล้วยน้ำว้าดิบ ซึ่งมีราคาต้นทุนต่ำกว่าท้องตลาด ทั้งการออกแบบกระบวนการแปรรูป ออกแบบและสร้างเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ รวมถึงจัดหาเครื่องจักรที่จะใช้สำหรับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้ดีขึ้น การออกแบบผังกระบวนการทำงานให้สอดคล้องกันทั้งระบบ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐาน โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นสมาชิกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มพัฒนาอาชีพยั่งยืนบ้านเขาดิน จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 20 ท่าน โดยผูวิจัยใช้วิธีการเลือกแบบจำเพาะเจาะจงให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย โดยศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้น และนำไปสู่การวางแผน 2. การออกแบบเทคโนโลยีและเครื่องจักร โดยดำเนินการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น และวางแผนในการแก้ปัญหาโดยการพัฒนาอุปกรณ์และเครื่องจักรที่เหมาะสมกับกิจกรรมการผลิตแป้งกล้วย 3. การทดลองและวิเคราะห์ผล ดำเนินการตามแผนโดยนำเทคโนโลยีที่ออกแบบได้นำมาทดลองและวิคราะห์ผล 4. การถ่ายทอดเทคโนโลยี ดำเนินการถ่ายทอดการออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรเกี่ยวกับการบดแป้งกล้วย ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน 5. การสรุปผลโครงการ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :627 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายสว่าง แป้นจันทร์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย25
นายวัชระ ชัยสงคราม บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยรองหัวหน้าโครงการวิจัย20
นายปิยะกิจ กิจติตุลากานนท์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย14
นางสาวกรรณิการ์ มิ่งเมือง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย14
นางมาศสกุล ภักดีอาษา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย14
นางสาวภริตา พิมพันธุ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย13

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด