รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000589
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การจัดการข้อมูลสุขภาวะผู้สูงอายุโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านบึง ตำบลหนองกรด อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : 
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การจัดการ สุขภาวะ ผู้สูงอายุ เทคโนโลยีสารสนเทศ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :10000
งบประมาณทั้งโครงการ :10,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :10 พฤศจิกายน 2564
วันสิ้นสุดโครงการ :20 มิถุนายน 2565
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : ผู้สูงอายุ เป็นบุคคลที่อยู่ในห้วงวัยที่ต้องเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างมากทั้งทางด้านร่างกาย ด้านจิตใจ และด้านสังคม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงในทุกด้านของผู้สูงอายุนี้ล้วนมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด กล่าวคือ อวัยวะของระบบร่างกายมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่เสื่อมโทรมลง ยังส่งผลให้สมรรถภาพของร่างกายมีความเสื่อม และเกิดความบกพร่องในการททำหน้าที่ จึงทำให้ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักมีโรคประจำตัวหรือเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรัง บางรายอาจมีภาวะทุพพลภาพ ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ ต้องอาศัยพึ่งพิงผู้อื่นในการดำเนินชีวิตประจำวัน โปรแกรมระบบงานสถานีอนามัยและหน่วยบริการปฐมภูมิ(JHCIS) เป็นระบบโปรแกรมระบบงานสถานีอนามัยและหน่วยบริการปฐมภูมิ โดย JHCIS เป็นอักษรย่อที่มาจากคำว่า Java Health Center Information System โปรแกรมถูกพัฒนาขึ้นโดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข โดยเริ่มแรกทางศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฯ ได้มีการพัฒนาระบบโปรแกรมฐานข้อมูลระบบงานสถานีอนามัยมาก่อนแล้ว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 โดยโปรแกรมที่พัฒนาเดิมมีชื่อว่า HCIS (Health Center Information System ) ตัวโปรแกรมพัฒนาจากโปรแกรม Microsoft Access 97 ต่อมาโปรแกรม HCIS มีข้อจำกัดหลายด้าน เช่น ปัญหาของโปรแกรม Microsoft Access 97 ซึ่งเป็นโปรแกรมที่มีลิขสิทธิ์ ปัญหาระบบปฏิบัติการที่เดิมใช้ Windows 98 แต่ปัจจุบันระบบปฏิบัติการได้พัฒนาไปมากขึ้น และความซับซ้อนและปริมาณของข้อมูลที่มีมากขึ้นทำให้โปรแกรม Microsoft Access 97 ไม่สามารถรองรับการทำงานได้ ทางศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฯ จึงได้พัฒนาระบบโปรแกรมฐานข้อมูลสถานีอนามัยขึ้นมาใหม่ที่มีชื่อว่า JHCIS ในงานวิจัยหนึ่งมีการสำรวจข้อมูลประชากรผู้สูงอายุ demographic, ข้อมูลทางสุขภาพ, การบริโภคอาหาร, การใช้สมุนไพรเป็นอาหาร และข้อมูลทางสังคมศาสตร์ ผลลัพธ์ของแผนงานนี้ นำสู่การสร้างแผนที่สุขภาวะตามภาวะโภชนาการ ภาวะการเป็นโรคเรื้อรัง การเคลื่อนไหวร่างกาย ลักษณะที่อยู่อาศัย สวัสดิการสังคม ของผู้สูงอายุในตำบลหนองกรด อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้วางระบบโครงข่ายความปลอดภัยและพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุในระยะยาวโดยข้อมูลที่ส่วนใหญ่ถูกจัดเก็บมานั้น ได้ถูกจัดเก็บมาในรูปแบบของเอกสาร ซึ่งตรงกับปัญหาของระบบเวชระเบียน ในปัจจุบันมีปัจจัยมาจากหลายสาเหตุได้แก่ การเก็บข้อมูล กระบวนการรับส่งข้อมูล กระบวนการสืบค้นข้อมูล เป็นต้น ซึ่งปัจจุบันได้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาบริหารจัดการข้อมูลเพื่อให้ระบบงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยลดปริมาณการใช้ทรัพยากร ลดพื้นที่ และทำให้ได้ข้อมูลที่รวดเร็วทันต่อความต้องการ จากปัญหาดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการการจัดการข้อมูลสุขภาวะผู้สูงอายุโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศขึ้น โดยจัดเก็บข้อมูลให้ง่ายต่อการเพิ่ม และแก้ไขข้อมูลผู้สูงอายุ ซึ่งสามารถทำงานผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในรูปแบบแผนที่ออนไลน์ การจัดการข้อมูลดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้สูงอายุเพื่อลดโรค ลดความเสี่ยง และยังสามารถตรวจสอบความครบถ้วนของข้อมูลตามกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริง และเป็นปัจจุบันให้กับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลได้
จุดเด่นของโครงการ :การบริหารจัดการข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และรองรับการวางแผนการให้ยริการผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยการนำเข้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อจัดทำระบบข้อมูลสุขภาวะผู้สูงอายุโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ขอบเขตของโครงการ : 1. ขอบเขตด้านเนื้อหา การจัดทำฐานข้อมูลสุขภาวะผู้สูงอายุ รายละเอียดขอมูลผู้สูงอายุ ตำแหน่งที่อยู่ของผู้สูงอายุ และแสดงข้อมูลผู้สูงอายุบนเว็บไซต์ 2. ขอบเขตด้านข้อมูล ข้อมูลทุติยภูมิสุขภาวะผู้สูงอายุในพื้นที่ตำบลหนองกรด อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ 3. ขอบเขตด้านประชากร งานวิจัยนี้มีกลุ่มเป้าหมายเป็นกลุ่มประชากรในพื้นที่ตำบลหนองกรด อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป และเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง (ติดบ้าน ติดเตียง) 4. ขอบเขตด้านพื้นที่ศึกษา งานวิจัยนี้กำหนดขอบเขตพื้นที่ศึกษา คือ ตำบลหนองกรด อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : 1. ได้ฐานข้อมูลสภาวะผู้สูงอายุตำบลหนองกรด อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ สำหรับนำไปวางแผนการให้บริการในพื้นที่รับผิดชอบ 2. ได้ระบการจัดการข้อมูลสุขภาวะผู้สูงอายุที่สามารถแสดง เพิ่ม แก้ไข และลบข้อมูลได้ 3. เป็นต้นแบบในการจัดการข้อมูลสุขภาวะผู้สูงอายุให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : 1. สุขภาพอนามัยผู้สูงวัย การเปลี่ยนแปลงของสภาพร่างกายของผู้สูงวัยแต่ละคนนั้นจะมากน้อยไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสุขภาพและการใช้ชีวิตในแต่ละช่วงวัยที่ผ่านมา ที่อายุเท่ากันผู้สูงวัยบางคนมีโรคที่แตกต่างกัน บางคนแข็งแรง บางคนดูเหมือนแข็งแรงแต่อาจมีปัญหาในเรื่องของสุขภาพจิต เช่น ความเครียด ความกังวลต่าง ๆ หรือบางคนเจ็บป่วยบ่อย ผู้สูงวัยควรต้องเข้าใจและยอมรับในการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตและของการดำเนินชีวิตตามการเปลี่ยนแปลงของสังคม ซึ่งประเด็นสุขภาพผู้สูงวัยของประเทศไทยกำลังเริ่มมีความสำคัญมาตลอดหลายปีที่ผ่านมาและกำลังเริ่มมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดในอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้ ด้วยเหตุผลที่ว่าประเทศไทยกำลังเริ่มเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุจากโครงสร้างประชากรที่เปลี่ยนแปลงการเกิดของประชากรลดลง ผลักดันให้ประชากรผู้สูงวัยหรือวัยพึ่งพิงให้มีจำนวนเพิ่มขึ้น ด้วยเหตุผลนี้เองสิ่งที่ต้องคำนึงถึงถัดมาคือจะทำอย่างไรให้ประชากรผู้สูงวัยเหล่านั้นมีสุขภาพอนามัยที่ดี ซึ่งหมายถึงเป็นการลดภาวะการพึ่งพิง ภาระของลูกหลานและงบประมาณของภาครัฐ โดยประชากรผู้สูงวัยยังคงสามารถดูแลตนเอง สามารถที่จะทำกิจวัตรประจำวัน และมีรายได้ที่แน่นอนได้ ดังนั้นผู้สูงวัยจึงยังควรต้องรับฟังข่าวสารและเรียนรู้วิทยาการใหม่ ๆ ที่เหมาะสมกับวัยและพยายามปรับตัวเพื่อให้สามารถดำรงชีวิตที่เหลืออยู่ได้อย่างมีคุณภาพ 2. แนวคิดการจัดการข้อมูลสุขภาวะผู้สูงอายุ ในการจัดทำแผนพัฒนาประเทศ ตลอดถึงแผนชุมชนจำเป็นต้องบูรณาการข้อมูลพื้นฐานหรือข้อมูลฐานที่สมบูรณ์ข้อมูลฐานเหล่านี้ได้รับการจัดทำให้อยู่ในรูปฐานข้อมูลในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ฐานข้อมูลด้านโครงสร้างพื้นฐานทั้งสาธารณูปโภคและสาธารณูปการซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานเบื้องต้น ฐานข้อมูลเหล่านี้เป็นฐานข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูลเชิงพื้นที่ในรูปของชั้นข้อมูลและข้อมูลตารางเพื่อให้รายละเอียดและคำอธิบาย ชั้นข้อมูลต่าง ๆ เหล่านี้สามารถเรียกดูและวิเคราะห์แบบซ้อนทับกันได้ (Overlay analysis) โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลหลาย ๆ ด้านร่วมกันเพื่อการตัดสินใจ (Multicriteria decision analysis) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ทำการวิเคราะห์และวางแผนกิจกรรมต่าง ๆ ได้ทั้งในแบบที่มีวัตถุประสงค์หลากหลาย และมีการใช้เกณฑ์ในการตัดสินใจที่แตกต่างกันไปตามแต่ละวัตถุประสงค์ ข้อมูลเหล่านี้มีแหล่งดั้งเดิมที่มาจากหลายหน่วยงาน แต่มีสาระเกี่ยวข้องกันในด้านการจัดทำแผนและใช้วิเคราะห์ร่วมกันได้ในเชิงพื้นที่ เพื่อให้วิเคราะห์แบบซ้อนทับกันได้ชั้นข้อมูลต่าง ๆ จึงได้รับการจัดทำให้มีพิกัดอ้างอิงเป็นแบบเดียวกัน และพยายามให้ข้อมูลมีเนื้อหารายละเอียดอยู่ในระดับเดียวกัน โดยมีมาตราส่วนเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ข้อมูลฐานที่จัดทำขึ้นเป็นการรวบรวมข้อมูลที่หน่วยงานต่าง ๆ จัดท้าไว้แล้วบ้างบางส่วน และข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึกเพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ตลอดจนน้าข้อมูลที่รวบรวมมาประมวลผล และจัดระเบียบให้เกิดเป็นฐานข้อมูลที่มีคำอธิบายในคุณลักษณะที่แน่นอนเหมาะสมสำหรับนำไปใช้ในงานจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยที่มีความเหมาะสมตรงกับความต้องการ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลและกำหนดคุณสมบัติของข้อมูลที่จะประมวลเป็นฐานข้อมูล รวมทั้งกำหนดโครงสร้างฐานข้อมูล จากนั้น จึงดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องตามคุณสมบัติและโครงสร้างที่กำหนด ข้อมูลและการรวบรวมข้อมูล สำหรับในการศึกษาครั้งนี้ข้อมูลส่วนใหญ่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูล การระดมสมองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้สูงวัยเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ตรงกับความต้องการอย่างแท้จริง การกำหนดคุณสมบัติข้อมูลเพื่อจัดทำฐานข้อมูล การประมวลผลข้อมูลฐานสำหรับการจัดทำแผนชุมชนในครั้งนี้มุ่งที่จะรวบรวมข้อมูลทั้งหมดในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยโดยตรง และในส่วนที่เป็นพื้นฐานสำหรับงานด้านอื่น ๆ ทั้งนี้เพื่อให้ได้ข้อมูลฐานเชิงพื้นที่ (Spatial data) และข้อมูลคำอธิบาย (Non-spatial data) ที่สมบูรณ์สำหรับงานนี้และสามารถใช้ได้อย่างเอนกประสงค์สำหรับงานด้านอื่น ๆ ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยเฉพาะในส่วนของเทคโนโลยีสารสนเทศได้รับการยอมรับในการนำมาประยุกต์ใช้กับการประมวลผล และการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง การจัดทำระบบข้อมูลฐานเพื่อการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย จึงมุ่งเน้นที่จะจัดทำข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้อยู่ในรูปของฐานข้อมูล โดยพยายามทำให้ข้อมูลมีปริมาณและคุณภาพ (Data quantity and quality) เป็นไปตามหลักสากล มีปริมาณหรือขอบเขตข้อมูลที่เหมาะสม ซึ่งหมายถึงการรวบรวมและจัดทำข้อมูลให้ครอบคลุมข้อมูลที่ต้องการใช้ส้าหรับกิจกรรมด้านนี้เป็นหลัก ดังที่กล่าว ปัจจุบันมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการวางแผน เพราะระบบการเก็บรวบรวมข้อมูล ส่วนใหญ่จะยุ่งยากเกินกว่าที่จะใช้เครื่องคิดเลขค้านวณหรือใช้วิจารณญาณของบุคคลเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งขาดความเที่ยงธรรมและความชัดเจนของผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ระบบภูมิสารสนเทศศาสตร์ (Geo - informatics หรือ Geomatics) เป็นเทคโนโลยีที่รูจักกันมากขึ้นสำหรับหน่วยงานและองค์ที่ต้องเกี่ยวข้องกับการจัดการติดตามทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ และทรัพยากรมนุษย์สร้างขึ้น และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ในรูปแบบเชิงพื้นที่ (สินีนาฏ นอกกระโทก, 2553) คุณภาพข้อมูล (Data quality) ที่รวบรวมจะพยายามให้ครอบคลุมคุณสมบัติดังนี้ 1) ข้อมูลมีความสมบูรณ์ในตัว โดยประกอบด้วยข้อเท็จจริงที่สำคัญครบถ้วน 2) ข้อมูลได้รับการนำเข้าและแปลงรูปแบบอย่างถูกต้องและไม่สูญหาย 3) คงลักษณะการจำแนกตามหน่วยงานเจ้าของข้อมูลซึ่งได้รับการยอมรับจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว 4) ข้อมูลมีความเป็นปัจจุบัน 5) ข้อมูลมีความสอดคล้องกันทั้งหมดอย่างเป็นตรรกะและเป็นไปตามหลักวิชา 6) ข้อมูลมีรูปแบบที่ใช้งานง่าย ไม่ซับซ้อน 7) ข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ 8) ข้อมูลสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ 9) ข้อมูลมีความยืดหยุ่นใช้ได้หลายวัตถุประสงค์ การจัดระเบียบข้อมูล (Data organization) ข้อมูลที่รวบรวมและประมวลไว้ต้องจัดเก็บในสื่อบันทึกข้อมูล และมีการจัดระเบียบที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถค้นคืน (Query) วิเคราะห์ (Analysis) และแสดงผลข้อมูล (Display) ได้ตามวัตถุประสงค์ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการประมวลผล ที่เกี่ยวข้องกับการจำแนกประเภทชั้นข้อมูลและการกำหนดเนื้อหาสาระของข้อมูลค้าอธิบายในรูปตาราง ซึ่งได้รับการกำหนดโครงสร้างตามหลักการออกแบบฐานข้อมูล ทั้งประเภทของข้อมูลที่ได้รับการจัดเก็บ ขนาดของข้อมูลตลอดจนความสัมพันธ์เชิงตรรกะที่แน่นอนระหว่างข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลค้าอธิบาย หรือระหว่างข้อมูลค้าอธิบายด้วยกัน รูปแบบโครงสร้างฐานข้อมูล และความสัมพันธ์เหล่านี้ได้รับการจัดท้าอยู่ในรูปของพจนานุกรมข้อมูลที่สามารถใช้อ้างอิงหรือใช้เป็นต้นแบบในการจัดเตรียม ตลอดจนใช้เป็นพื้นฐานความเข้าใจในเนื้อแท้ของข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งจะส่งผลให้การจัดทำและการวิเคราะห์ข้อมูลสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์ในรูปแบบต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ จะพบว่าข้อมูลเพื่อการจัดทำแผนมีความหลากหลาย และมีความสัมพันธ์ต่อกันค่อนข้างซับซ้อน ซึ่งเหมาะอย่างยิ่งที่จะใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยในการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูล การจัดทำทะเบียนข้อมูล ข้อมูลพื้นฐานสำหรับจัดท้าแผนพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงวัยที่ได้รวบรวมมานำมาประมวลผลไว้ในรูปแบบฐานข้อมูลหมวดต่าง ๆ โดยแต่ละฐานข้อมูลประกอบด้วยหลายชั้นข้อมูล เพื่อความสะดวกในการค้นหาเรียกใช้งาน และเผยแพร่ จึงได้จัดทำทะเบียนรายชั้นข้อมูลต่าง ๆ ขึ้น โดยแต่ละชั้นข้อมูลจะระบุถึง ชื่อชั้นข้อมูล ชื่อไฟล์ ประเภทไฟล์ ลักษณะเชิงพื้นที่ มาตราส่วน แหล่งข้อมูล รายละเอียดฐานข้อมูล ข้อมูลที่รวบรวมได้จากการศึกษากับได้รับความอนุเคราะห์จากหน่วยงานต่าง ๆ นำมาตรวจสอบและจัดโครงสร้างให้ตรงตามที่ได้กำหนดไว้เพื่อจัดทำเป็นฐานข้อมูลที่สมบูรณ์โดยได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาวะของผู้สูงวัยแล้วนำมาจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาวะผู้สูงวัย 3. บริบทโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านบึง ตำบลหนองกรด อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านบึง ตำบลหนองกรด อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เดิมสถานีอนามัยบ้านบึง ตั้งอยู่หมู่ที่ 1 บ้านบึง ตำบลหนองกรด อยู่ใกล้สถานีตำรวจภูธรหนองกรดก่อสร้างด้วยทุนผูกพันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 กำนันสมศักดิ์ สืบสกุล ได้บริจาคที่ดิน 3 งาน และได้ส่งลูกหลานของตนเองไปเรียนเป็นพนักงานอนามัยเพื่อจะได้กลับมาพัฒนางานสาธารณสุขในตำบลหนองกรดต่อมาได้งบประมาณก่อสร้างเป็นสถานีอนามัยชั้น 2 อยู่มาอีกระยะหนึ่ง สถานีอนามัยเกิดน้ำท่วมเป็นประจำทุกปีเดินทางเข้า-ออกลำบากมาก ดังนั้นในปี พ.ศ.2524 จึงได้ขอบริจาคที่ดินจำนวน1 ไร่ 2 งานจากนายสัมฤทธิ์และนางหมุน แก้ววงษา ซึ่งเป็นบริเวณที่ดินที่ติดกับถนนสาย หนองกรด –มาบมะขามในปี งบประมาณ 2538 ได้รับบริจาคเงินจากกชาวบ้านซื้อที่ดินเพิ่มเติมอีก 1 งาน 20 ตารางวา เพื่อใช้ก่อสร้างเป็นสถานีอนามัยทดแทนตามแบบแปลนเลขที่ 8170 / 2536พื้นที่ใช้สอย 150 ตารางเมตรจำนวนเงิน 2,727,000 บาท และเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ในเขตรับผิดชอบ เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ในปี 2545 ได้ยกฐานะเป็นศูนย์สุขภาพชุมชนบ้านบึงตามแผนการพัฒนาหน่วยบริการปฐมภูมิปี พ.ศ. 2545-2548 จนกระทั่งได้ยกฐานะเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบึง เมื่อวันที่1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 และปัจจุบันทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านบึงได้รำลึกนึกถึงพระคุณหมออนามัยท่านนี้จึงได้นำนามสกุลของหมอเสวก เชิดธรรม เป็นชื่อ "ห้องประชุมเชิดธรรม" ของ รพ.สต. เพื่อเป็นเกียรติแก่ท่านตลอดไป 4. โปรแกรมระบบงานสถานีอนามัยและหน่วยบริการปฐมภูมิ (JHCIS) ปัจจุบันการให้บริการที่สถานีอนามัยได้มีการนำระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการทำงานมายิ่งขึ้น โดยโปรแกรมที่ใช้ก็มีมากมายหลายโปรแกรม เช่น โปรแกรม THO ,HosXP และ HCIS และที่ใช้มากที่สุดในสถานีอนามัยก็คือโปรแกรมระบบงานสถานีอนามัยที่พัฒนาขึ้นโดยศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขมีชื่อว่า HCIS ซึ่งจากข้อมูล พบว่ามีการใช้โปรแกรมนี้ในสถานีอนามัยเกือบ 7,000 แห่ง ใน 66 จังหวัด โดยตัวโปรแกรมพัฒนาจากโปรแกรม Microsoft Access 97 และ เริ่มมีการใช้งานตั้งแต่ปี 2540 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งโปรแกรมดังกล่าวมีข้อจำกัด ได้แก่ ระบบฐานข้อมูลสถานีอนามัย มีขนาดใหญ่ และสลับซับซ้อน ไม่รองรับระบบปฏิบัติการ Windows ที่สูงกว่า Windows XP และมีปัญหาด้านลิขสิทธิ์ ดังนั้นศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขจึงพัฒนาโปรแกรม JHCIS ซึ่งเป็นระบบโปรแกรมระบบงานสถานีอนามัยและหน่วยบริการปฐมภูมิ โดย JHCIS เป็นอักษรย่อที่มาจากคำว่า Java Health Center Information System แทนระบบเดิม คุณสมบัติโปรแกรม JHCIS โปรแกรม JHCIS พัฒนาขึ้นโดยใช้ภาษา JAVA และมีการใช้ฐานข้อมูล MySQL ในการจัดเก็บข้อมูล และโดยใช้พื้นฐานการพัฒนาจากเทคโนโลยีที่เรียกว่า Open Source Technology ทั้งหมด และสามารถทำงานร่วมกันได้ดีในทุกระบบปฏิบัติการทั้ง ระบบปฏิบัติการ Windows หรือ หรือ ระบบปฏิบัติการ Linux และที่สำคัญ ในปัจจุบันมีหลายจังหวัดได้นำโปรแกรมนี้ไปใช้มากมายหลายจังหวัด ข้อดีของระบบโปรแกรม JHCIS 1. โปรแกรมสามารถทำงานบนระบบเครือข่ายในลักษณะที่เรียกว่า Client / Server 2. โปรแกรมทำงานได้บนระบบปฏิบัติการทั้ง ระบบ Windows /Linux 3. ขจัดปัญหาต่างๆ ที่พบในระบบ HCIS เดิม 4. สามารถถ่ายโอนข้อมูลจากระบบเดิม HCIS เดิมเข้าสู้ระบบโปรแกรม JHCIS ได้โดยอัตโนมัติ ระบบการทำงานของโปรแกรม JHCIS ระบบโปรแกรม JHCIS ประกอบด้วยระบบงานข้อมูลมากมายหลายส่วน โดยระบบข้อมูลทั้งหมดมีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงซึ่งกันและกัน โดยโปรแกรม JHCIS มีระบบงานหลักๆ 5 ระบบ ได้แก่ 1. ระบบข้อมูลพื้นฐาน เช่น ข้อมูลหมู่บ้าน วัด โรงเรียน ประชากร ฯลฯ 2. ระบบข้อมูลการให้บริการ เป็นระบบงานที่เกี่ยวข้องกับงานรักษาพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสภาพผู้ป่วยทั้งหมด 3. ระบบข้อมูลการตรวจสอบ ประมวลผลและสำรองข้อมูล 4. ระบบข้อมูลรายงานและสอบถามข้อมูล 5.ระบบข้อมูลระบบคลังยา-เวชภัณฑ์
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : 1. ข้อมูลทั่วไปของระบบฐานข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2. การวิเคราะห์และการออกแบบระบบ 3. แนวความคิดเกี่ยวกับระบบการจัดการฐานข้อมูล 4. ภาษาจาวา (Java programming Language) 5. กรอบแนวความคิด งานวิจัยนี้เป็นออกแบบฐานข้อมูล และการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อจัดการข้อมูลสุขภาวะผู้สูงอายุในตำบลหนองกรด อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ 5.1 นำข้อมูลสุขภาวะผู้สูงอายุจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่วิจัย มาจัดการข้อมูลใหม่ในโปรแกรม Microsoft Excel เพื่อเตรียมข้อมูลเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล 5.2 นำค่าพิกัดของข้อมูลที่ได้ เข้าโปรแกรม QGIS เพื่อทำแก้ไขข้อมูลก่อนจะนำเข้าสู่ระบบฐานข้อมูล PostgreSQL/PostGIS โดยใช้โปรแกรม pgAdmin III ในการจัดการฐานข้อมูลซึ่งในฐานข้อมูลจะประกอบด้วย ประวัติของผู้สูงอายุ ประเภทของโรค ตำแหน่งบ้านของผู้สูงอายุ 5.3 จัดทำเว็บไซต์โดยใช้ภาษา JavaScript, ภาษาPHP, ภาษาHTML ในการออกแบบและพัฒนาระบบโดยจะทำการออกแบบให้ใช้งานได้ง่าย สามารถเรียกดู เพิ่มข้อมูล แก้ไขข้อมูล และลบข้อมูลที่ต้องการได้ 5.4 ผู้ใช้งานสามารถดูข้อมูลที่แสดงในเว็บบราวเซอร์ผ่านคอมพิวเตอร์ และผู้ดูแลระบบสามารถอัพเดทข้อมูลได้ผ่านทางคอมพิวเตอร์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : 1. ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง 2. จัดการข้อมูลทุติยภูมิที่ได้มาจากการวบรวม และจัดการข้อมูลใหม่เพื่อให้อยู่ในลักษณะที่สามารถนำไปใช้งานต่อได้ในระบบภูมิสารสนเทศและระบบฐานข้อมูลออนไลน์ 3. จัดทำฐานข้อมูลสุขภาวะผู้สูงวัย และออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์ 4. ทดสอบระบบ 5. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :งานวิจัยจัดทำขึ้นเพื่อการจัดการข้อมูลสุขภาวะผู้สูงอายุด้วยเทคโนโลยีเว็บ โดยสามารถแสดงข้อมูลในรูปแบบของแผนที่ สามารถเพิ่ม แก้ไข และรายงานข้อมูลได้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน และลดปัญหาการขาดแคลนเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านบึง ตำบลหนองกรด อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์
จำนวนเข้าชมโครงการ :478 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวชัญญพัชร์ จารุวัชรเศรษฐ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย70

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด