รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000586
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืน
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :English-Thai Online Learning Media Development for Promoting and Boosting the Sustainable Community Tourism at Khlong Khang Village
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :สื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษา การท่องเที่ยววิถีชุมชนคลองคาง การประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยว
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สถาบันวิจัยและพัฒนา > กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย
ลักษณะโครงการวิจัย :แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :-
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :50000
งบประมาณทั้งโครงการ :50,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :11 ธันวาคม 2562
วันสิ้นสุดโครงการ :10 ธันวาคม 2563
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการศึกษา
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ที่ทำการวิจัย ศตวรรษที่21 เป็นยุคที่มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี และมีการพัฒนาเทคโนโลยีมากมาย เช่น โรบอตRobotTechnology) และการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีเหล่านี้ถูกนำมาสร้างนวัตกรรมการบริหารจัดการ ในหลายๆด้าน รวมทั้งการเรียนการสอนให้กับครูและผู้เรียนในห้องเรียนดังนั้นครูในศตวรรษที่ 21 จึงปรับเปลี่ยนบทบาทจาก ครู 1.0 ครู 2.0 และ 3.0ให้เป็นครู 4.0 เพื่อสร้างให้ผู้เรียนปรับเปลี่ยนตนเองเป็นผู้เรียนในยุค 4.0เช่นกัน และผู้เรียนสามารถใช้ทักษะการคิดวิเคราะห์ การแก้ปัญหา การคิดสร้างสรรค์การสร้างนวัตกรรม การเรียนและการทำงานร่วมกันเป็นทีม การมีภาวะผู้นำ การสื่อสารการใช้ข้อมูลและสารสนเทศการติดต่อสื่อสารทางไกลการใช้คอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ การคิดคำนวณ การสร้างอาชีพและการเรียนรู้ด้วยตนเองหรือที่เรียกว่า "7Cs" (กระทรวงศึกษาธิการ,2559)จากที่ได้กล่าวมาข้างต้นทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง การใช้ข้อมูลและสารสนเทศ การสร้างนวัตกรรมการติดต่อสื่อสารทางไกล การใช้คอมพิวเตอร์และปัญญาประดิษฐ์ เป็นทักษะที่จำเป็นสำหรับผู้เรียนในศตวรรษที่21 ส่งผลให้ใน ปัจจุบันครูผู้สอนได้นำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษซึ่งนับว่าเป็นการสร้างการเรียนรู้ในรูปแบบใหม่ให้แก่ผู้เรียนที่สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เนื่องจากการเรียนรู้ผ่านเทคโนโลยีนับว่าเป็นการเรียนรู้ที่ไม่จำกัดแค่เพียงในห้องเรียนแต่อย่างไรก็ตามการใช้เทคโนโลยีในห้องเรียนภาษาผู้สอนจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมของรูปแบบเทคโนโลยีที่เลือกนำมาใช้ เพื่อพัฒนาทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน ของผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ธูปทอง,2557)อย่างไรก็ตามหากครูผู้สอนพัฒนาผู้เรียนจนเป็นผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 แล้ว แต่ผู้เรียนยังไม่สามารถใช้ทักษะภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนได้ อาจสื่อได้ว่าผู้เรียนไม่มีทักษะการเรียนรู้อย่างต่เนื่อง(LifelongLearning)การพัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้ทักษะการเรียนรู้ภาษาอังกฤษภายนอกห้องเรียนได้จริงนั้นจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นในศตวรรษที่21 ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศไทย ยุทธศาสตร์ที่ 1 เรื่องการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพทุนมนุษย์ให้มีการศึกษาที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากลและมีความสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องและมีจุดเน้นสถาบันการศึกษาและชุมชนให้มีความเข้มแข็งและมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศจากประเด็นยุทธศาตร์ดังกล่าว การจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อออนไลน์อาจเป็นการเรียนการสอนอีกรูปแบบหนึ่งที่จะสามารถพัฒนาผู้เรียนภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนและเพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องทั้งนี้การเน้นให้ผู้เรียนได้ลงพื้นที่จริงเช่นชุมชนของตนเองจึงนับว่าเป็นการฝึกให้ผู้เรียนได้ลองใช้ทักษะภาษาอังกฤษในสถานการณ์จริงอีกด้วยและเนื่องจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในชุมชนจำเป็นต้องมีมัคคุเทศก์ในการนำเที่ยว ในปัจจุบันรัฐบาลมองเห็นถึงบทบาทและความสำคัญของมัคคุเทศก์ที่มีต่อระบบการท่องเที่ยว ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 3ของประเทศไทยที่เน้นการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืนประเทศไทยมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นและมีขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวสูงขึ้น การฝึกผู้เรียนให้สามารถใช้ทักษะภาษาอังกฤษนอกห้องเรียนได้จึงนับว่าเป็นการต่อยอดให้ชุมชนนั้นเข้มแข็งมากขึ้น ชุมชนวัดคลองคางตั้งอยู่หมู่ที่ 3ตำบลบึงเสนาท อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ทิศเหนือติดต่อกับบึงเสนาททิศตะวันตกติดต่อกับแม่น้ำปิงพื้นที่ตั้งชุมชนเป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมแม่น้ำปิง สำหรับตำบลเสนาทเป็นที่อุดมสมบูรณ์เป็นที่ราบลุ่ม มีบึงอยู่กลางเป็นที่เก็บน้ำไว้ให้ประชาชน ชาวชุมชนมีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่ายโดยส่วนมากจะประกอบอาชีพเกษตรกรเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่หมู่ที่ 3ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านคลองคางมีสถานที่สำคัญทางศาสนาคือวัดคลองคาง วัดคลองคางได้สร้างขึ้นเป็นวัดนับแต่เมษายน พ.ศ. 2450 เดิมเรียกว่าวัดบึงเสนาทราษฎร์ศรัทธาธรรม ซึ่งที่วัดคลองคาง ได้มีพระสุทัศน์ ธรรมะธีโป รองเจ้าอาวาสผู้ริเริ่มนำแพทย์แผนไทยมาให้บริการในวัดด้วยเห็นว่าพระส่วนใหญ่สุขภาพไม่ดีพระมีภาวะเจ็บป่วยบ่อย ท่านจึงไปดูต้นแบบการให้บริการด้านแพทย์แผนไทยที่วัดหนองหญ้านางจังหวัดอุทัยธานีจึงได้เริ่มทำห้องอบสมุนไพรขึ้นเพื่อให้พระในวัดได้อบสมุนไพรปัจจุบันเปิดให้ชาวบ้านและผู้สนใจเข้ามาใช้บริการอบสมุนไพร และนอกจากนี้ยังมีการรวมกลุ่มอาชีพนวดแผนไทยเปิดให้บริการซึ่งมีผู้สนใจจำนวนมากนอกจากนี้แล้วในพื้นที่ชุมชนยังได้มีตลาดท่าเรือคลองคาง อยู่บนพื้นที่ตำบลบึงเสนาทอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ท่าเรือเก่าหลังวัดคลองคาง เป็นตลาดวิถีชุมชนชาวบ้านที่มุ่งให้มีบรรยากาศที่มีความเป็นกันเองเย็นสบายๆนั่งชิมอาหารรับลมริมแม่น้ำปิงซึ่งตลาดดังกล่าวได้รับความนิยมมาก ดังจะเห็นได้ว่าในชุมชนบ้านคลองคางตำบลเสนาทมีพื้นที่และวิถีชีวิตเชิงวัฒนธรรมที่หลากหลายที่เป็นศักยภาพด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดนครสวรรค์และเป็นการเพิ่มรายได้ให้ชาวชุมชนจากวิถีชีวิตของท้องถิ่นแต่อย่างไรก็ตามการมีผู้นำเที่ยว หรือมัคคุเทศก์จะช่วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่นได้ดียิ่งขึ้นโดยเฉพาะการพัฒนาให้เด็กๆในท้องถิ่นให้ทำหน้าที่ในการเป็นผู้นำเที่ยวหรือเรียกว่ายุวชนมัคคุเทศก์นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการสร้างรายได้ให้ท้องถิ่นแล้วแล้วยังเป็นการส่งเสริมให้เด็กๆมีความรักความภาคภูมิใจในท้องถิ่นช่วยให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืนต่อไปคณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืนจังหวัดนครสวรรค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :ารพัฒนาให้เด็กๆในท้องถิ่นให้ทำหน้าที่ในการเป็นผู้นำเที่ยวหรือเรียกว่ายุวชนมัคคุเทศก์นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการสร้างรายได้ให้ท้องถิ่นแล้วแล้วยังเป็นการส่งเสริมให้เด็กๆมีความรักความภาคภูมิใจในท้องถิ่นช่วยให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืนต่อไปคณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืนจังหวัดนครสวรรค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.เพื่อศึกษาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตชุมชนบ้านคลองคางจังหวัดนครสวรรค์ 2 เพื่อสร้างสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง 3เพื่อทดลองใช้และประเมินประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาด้านการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง
ขอบเขตของโครงการ :1.การวิจัยนี้มุ่งบริบทและศักยภาพของท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืนในประเด็นดังนี้ 1.แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์บ้านคลอง2.การท่องเที่ยววัฒนธรรมและประเพณีบ้านคลองคาง3.การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ4.การท่องเที่ยววิถีชีวิตบ้านคลองคาง และการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนา 2.การพัฒนาสื่อออนไลน์เพื่อฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนครอบคลุมเนื้อหาในด้านหลักการวัตถุประสงค์ โครงสร้างเนื้อหา กิจกรรม สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล 3.กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและทดลองใช้สื่อออนไลน์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรแบ่งเป็น 2 กลุ่มได้แก่ กลุ่มเป้าหมายในขั้นตอนการพัฒนาสื่อออนไลน์ ได้แก่ผู้นำชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ตัวแทนกลุ่มอาชีพต่างๆ ในชุมชนบ้านคลองคาง กลุ่มเป้าหมายในการทดลองใช้และศึกษาประสิทธิภาพของสื่อออนไลน์คือ ยุวชนในชุมชนบ้านคลองคาง ซึ่งได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6โรงเรียนวัดคลองคาง(แดงประชานุกูล)สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษานครสวรรค์เขต 4. เพื่อพัฒนาศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนในท้องถิ่นที่ใช้ในการส่งเสริมท้องถิ่นมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :ผลการวิจัยครั้งนี้โรงเรียนหรือสถาบันการศึกษารวมทั้งผู้ปกครองต่าง ๆ สามารถนำบทเรียนออนไลน์สองภาษาไปใช้เป็นสื่อในการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้ผลการวิจัยในครั้งนี้จะทำให้ได้สื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาจำนวน 1เรื่องที่เป็นการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชีวิตชุมชนของบ้านคลองคาง การวิจัยครั้งนี้เป็นการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของธุรกิจบริการและการท่องเที่ยวที่มี ศักยภาพให้ เติบโตและสนับสนุนภาคการผลิตเน้นการสร้างความยั่งยืนในการพัฒนาการท่องเที่ยวในชุมชนผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการในระดับชาติหรือนานาชาติได้อย่างน้อย 1 เรื่อง
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :การวิจัยเรื่องการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืน ครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษา เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้ 1. การเรียนการสอนในยุคดิจิทัลและรูปแบบการเรียนในศตวรรษที่ 21 1.1 แหล่งทรัพยากรแบบเปิดสําหรับการเรียนการสอน 1.2 การเรียนรู้แบบออนไลน์หรืออีเลิร์นนิง 1.3 การนําเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกจริง 2. หลักการแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนรู้ ทฤษฎีการเรียนรู้ 9 ประการ 3. ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบึงเสนาท และชุมชนบ้านคลองคาง จังหวัดนครสวรรค์ 3.1 ประวัติชุมชนคลองคาง 3.2 ประวัติตลาดท่าเรือคลองคาง 3.3 ประวัติโรงอบสมุนไพรไทยและนวดแผนไทยวัดคลองคาง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :หลักการแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับสื่ออิเล็คทรอนิกส์ในการเรียนรู้ องค์ประกอบที่สำคัญที่ก่อให้เกิดการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านสื่อหรือคอมพิวเตอร์ด้วยตนเองนั้นอาจเกิดขึ้นได้ตามแนวคิดของ Gagne, Briggs, and Wager (1992) 9 ประการมีดังนี้ 1. ขั้นเร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention) คือ การสอนโดยการสร้างเนื้อหาที่มุ่งเน้นดึงความสนใจจากผู้เรียนโดยการใช้บทเรียนที่มีภาพ แสง สี และเสียง แทนการใช้ภาษาพูด (nonverbal) 2. ขั้นบอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective) โดยการระบุผลลัพธ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนจบบทเรียน 3. ขั้นทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge) โดยการทดสอบผู้เรียนก่อนเรียน (Pre-test) 4. ขั้นนําเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information) โดยการนำเสนอภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียน ประกอบกับคำอธิบายสั้นๆ 5. ขั้นชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning) คือ การให้ผู้เรียนคิดหาเหตุผล ค้นคว้า และวิเคราะห์หาคำตอบด้วยตนเองผ่านแบบฝึกหัด 6. ขั้นกระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response) ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนผ่านการทำกิจกรรม 7. ขั้นให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback) คือ การให้ข้อมูลย้อนกลับด้วยภาพ หรือกราฟฟิก 8. ขั้นทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance) คือการทดสอบหลังบทเรียน (Post-test) และ 9. ขั้นสรุปและนําไปใช้ (Review and Transfer) คือสรุปมโนคติของเนื้อหาเฉพาะประเด็นสำคัญๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรในด้านบริบทและศักยภาพของท้องถิ่นที่ ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืนใน 4 ประเด็นดังนี้1.แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์บ้านคลอง2.การท่องเที่ยววัฒนธรรมและประเพณีบ้านคลองคาง3.การท่องเที่ยวเชิง4.การท่องเที่ยววิถีชีวิตบ้านคลองคางและการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและศาสนาโดยการลงพื้นที่เพื่อการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนผู้บริหารสถานศึกษา ครู ตัวแทนกลุ่มอาชีพต่างๆในชุมชนบ้านคลองคาง จำนวน 20 คนจากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา และสรุปเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ 2.ยกร่างบทเรียนออนไลน์โดยใช้ข้อมูลด้านบริบทและศักยภาพของท้องถิ่นประกอบกับใช้แนวคิดการพัฒนามัคคุเทศก์การส่งเสริมสมรรถนะการเป็นมัคคุเทศก์ของยุวชนท้องถิ่นโดยการประชุมกลุ่มผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ครู และผู้บริหารโรงเรียนวัดคลองคาง (แดงประชานุกูล) จำนวน 12 คน จากนั้นปรับปรุงหลักสูตรตามข้อแนะนำและจัดทำองค์ประกอบหลักสูตรฉบับสมบูรณ์ 3.นำบทเรียนออนไลน์ไปทดลองใช้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรโดยกลุ่มเป้าหมายในการทดลองใช้และศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตร กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษานครสวรรค์ ในจังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการสัมภาษณ์ 4.นำเนื้อหาหลักสูตรออนไลน์เผยแพร่ทางเว็บไซต์โรงเรียนวัดคลองคาง(แดงประชานุกูล) 5. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดคลองคาง(แดงประชานุกูล) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 ใช้บทเรียนออนไลน์เพื่อทบทวน เรียนรู้ภาษาอังกฤษ และฝึกพูดภาษาอังกฤษผ่านบทบาทจำลองหลักสูตรยุวมัคคุเทศก์ ที่ได้ทำการประเมินคุณภาพแล้ว ฝึกการเป็นมัคคุเทศก์ในสถานที่จริงภายหลังจากการเรียนบทเรียนออนไลน์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การจัดการเรียนการสอนด้วยสื่อออนไลน์เป็นการเรียนการสอนอีกรูปแบบหนึ่งที่สามารถพัฒนาผู้เรียนภาษาอังกฤษนอกห้องเรียน และเพื่อเพิ่มทักษะการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่อง งานวิจัยฉบับนี้ได้รับทุนสนับสนุนจากสถาบันวิจัย และพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) ศึกษาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตชุมชนบ้านคลองคาง จังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อสร้างสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง 3)เพื่อทดลองใช้และประเมินประสิทธิภาพสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาด้านการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดคลองคาง(แดงประชานุกูล)กลุ่มตัวอย่างเป็นครู ผู้ที่่อาศัยอยู่ในชุมชนคลองคาง จำนวน 32 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดคลองคาง (แดงประชานุกูล)จำนวน 30 คน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี ดังนี้ แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า5 ระดับ (Rating Scale) และการสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน
จำนวนเข้าชมโครงการ :605 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวศราธรณ์ หมั่นปรุ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นายเอกวิทย์ สิทธิวะ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด