รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000585
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Development of training courses for local youth guides that promote community lifestyle tourism in Khlongkhang village, Nakhon Sawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม, ยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่น, ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชน, บ้านคลองคาง
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สถาบันวิจัยและพัฒนา > กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย
ลักษณะโครงการวิจัย :แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :-
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :50000
งบประมาณทั้งโครงการ :50,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :11 ธันวาคม 2562
วันสิ้นสุดโครงการ :10 ธันวาคม 2563
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการศึกษา
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว องค์ประกอบที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้คือมัคคุเทศก์ ซึ่งในปัจจุบันรัฐบาลมองเห็นถึงบทบาทและความสำคัญของมัคคุเทศก์ที่มีต่อระบบการท่องเที่ยว จึงได้มีการออกกฎหมายพระราชบัญญัติมัคคุเทศก์ปี พ.ศ. 2535 และในทางปฏิบัติ มัคคุเทศก์เป็นผู้ใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวมากที่สุด และเป็นผู้นักท่องเที่ยวให้ความไวว้างใจซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจหรือความไม่ประทับใจต่อการท่องเที่ยวได้ทั้งยังเป็นตัวแทนของประเทศ ดังนั้นหากมีมัคคุเทศก์ดีมีจรรยาบรรณ มี มารยาทและมีคุณธรรม การท่องเที่ยวของประเทศก็ย่อมดีด้วย เพราะนักท่องเที่ยวมีความรู้สึกประทับใจและมีความพึงพอใจในการท่องเที่ยวในท้องถิ่นนั้นๆนั้นและเกิดภาพพจน์ที่มีต่อประเทศที่เดินทางไปเยือน ฉะนั้น มัคคุเทศก์จึงมีหลายบทบาทในคนเดี่ยวกัน ตั้งแต่เป็นครูนักจิตวิทยา นักแสดง รวมทั้งนักการทูตด้วย มัคคุเทศก์ หรือ ไกด์มีความสำคัญต่อการท่องเที่ยว โดยเฉพาะธุรกิจบริการท่องเที่ยว และจาก ประวัติศาสตร์ที่ได้มีการศึกษาค้นคว้าก็อาจกล่าวได้ว่า “มัคคุเทศก์” เป็นอาชีพหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดา อาชีพเก่า ๆ ของโลก เพราะมนุษย์เริ่มมีการท่องเที่ยวหรือการเดินทางมาเป็นเวลาช้านานแล้ว จะเห็นได้ว่าในสมัยแรกเริ่มมีผู้กล่าวถึงมัคคุเทศก์ในการเป็นผู้นำเที่ยว หรือผู้นำทาง ได้แก่ “ผู้เบิกทาง” (Pathfinders) “คนนำเที่ยว” (Bear leaders) “ตัวแทน” (Proxemos) และคนนำทางนักท่องเที่ยว ( Cicerones) ชุมชนวัดคลองคางตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 ตำบลบึงเสนาท อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ทิศเหนือติดต่อกับบึงเสนาททิศตะวันตกติดต่อกับแม่น้ำปิง พื้นที่ตั้งชุมชนเป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมแม่น้ำปิง สำหรับตำบลเสนาทเป็นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ราบลุ่ม มีบึงอยู่กลางเป็นที่เก็บน้ำไว้ให้ประชาชน ชาวชุมชนมีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย โดยส่วนมากจะประกอบอาชีพเกษตรกร เช่น ปลูกผัก ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านคลองคางมีสถานที่สำคัญทางศาสนาคือวัดคลองคาง วัดคลองคางได้สร้างขึ้นเป็นวัดนับแต่วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2450 เดิมเรียกว่า วัดบึงเสนาทราษฎร์ศรัทธาธรรม ซึ่งที่วัดคลองคาง ได้มีพระสุทัศน์ ธรรมะธีโป รองเจ้าอาวาส ผู้ริเริ่มนำแพทย์แผนไทยมาให้บริการในวัดด้วยเห็นว่าพระส่วนใหญ่สุขภาพไม่ดี พระมีภาวะเจ็บป่วยบ่อย ท่านจึงไปดูต้นแบบการให้บริการด้านแพทย์แผนไทยที่วัดหนองหญ้านาง จังหวัดอุทัยธานี จึงได้เริ่มทำห้องอบสมุนไพรขึ้น เพื่อให้พระในวัดได้อบสมุนไพร ปัจจุบันเปิดให้ชาวบ้านและผู้สนใจเข้ามาใช้บริการ อบสมุนไพร และนอกจากนี้ยังมีการรวมกลุ่มอาชีพนวดแผนไทย เปิดให้บริการซึ่งมีผู้สนใจจำนวนมาก นอกจากนี้แล้วในพื้นที่ชุมชนยังได้มีตลาดท่าเรือคลองคาง อยู่บนพื้นที่ตำบลบึงเสนาท อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ท่าเรือเก่าหลังวัดคลองคาง เป็นตลาดวิถีชุมชนชาวบ้าน ที่มุ่งให้มีบรรยากาศที่มีความเป็นกันเอง เย็นสบายๆนั่งชิมอาหารรับลมริมแม่น้ำปิง ซึ่งตลาดดังกล่าวได้รับความนิยมมาก ดังจะเห็นได้ว่าในชุมชนบ้านคลองคาง ตำบลเสนาทมีพื้นที่และวิถีชีวิตเชิงวัฒนธรรมที่หลากหลายที่เป็นศักยภาพด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดนครสวรรค์ และเป็นการเพิ่มรายได้ให้ชาวชุมชนจากวิถีชีวิตของท้องถิ่น แต่อย่างไรก็ตามการมีผู้นำเที่ยว หรือมัคุเทศก์จะช่วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่นได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาให้เด็กๆในท้องถิ่นให้ทำหน้าที่ในการเป็นผู้นำเที่ยว หรือเรียกว่ายุวชนมัคคุเทศก์ นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการสร้างรายได้ให้ท้องถิ่นแล้ว แล้วยังเป็นการส่งเสริมให้เด็กๆมีความรักความภาคภูมิใจในท้องถิ่นช่วยให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืนต่อไป คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง จังหวัดนครสวรรค์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :ส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดนครสวรรค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาบริบทและศักยภาพของท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืน 2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง 3. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพและประเมินหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง 4. เพื่อพัฒนาศักยภาพการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนในท้องถิ่นที่ใช้ในการส่งเสริมท้องถิ่นมีรายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น
ขอบเขตของโครงการ :1.การวิจัยนี้มุ่งบริบทและศักยภาพของท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืนใน4 ประเด็นดังนี้ 1) ด้านท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตชุมชน 2)ด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3) ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ 4)การท่องเที่ยวเพื่อการนันทนาการ 2. การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนครอบคลุมเนื้อหาในด้านหลักการ วัตถุประสงค์ โครงสร้างเนื้อหา กิจกรรม สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการ วัดและประเมินผล 3. กลุ่มเป้าหมายในการพัฒนาและทดลองใช้หลักสูตรเพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) กลุ่มเป้าหมายในขั้นตอนการพัฒนาหลักสูตร ได้แก่ ผู้นำชุมชน ผู้บริหาร สถานศึกษา ครู ตัวแทนกลุ่มอาชีพต่างๆในชุมชนบ้านคลองคาง 2)กลุ่มเป้าหมายในการทดลองใช้และศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตร คือ ยุวชนในชุมชนบ้านคลองคาง ซึ่งได้แก่ นักเรียนชั้น ประถม ศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดคลองคาง(แดงประชานุกูล) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษานครสวรรค์เขต
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ผลการวิจัยครั้งนี้จะทำให้ได้องค์ความรู้เกี่ยวกับบริบทและศักยภาพของท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืนในด้าน1) ด้านท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตชุมชน 2) ด้านการ ท่องเที่ยวเชิง3) ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ 4)การท่องเที่ยวเพื่อการนันทนาการ 2.ผลการวิจัยจะทำให้ได้หลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนที่มีประสิทธิภาพ จำนวน 1หลักสูตรที่ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ โครงสร้างเนื้อหา กิจกรรม สื่อและแหล่งการเรียนรู้ และการวัดและประเมินผล 3.ผลการวิจัยครั้งนี้จะเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนมีการสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว 4.ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการในระดับชาติกลุ่ม 1)หรือนานาชาติได้อย่างน้อย 1 บทความ
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้าน คลองคาง จังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจในแนวคิดและทฤษฎี ตลอดจนผลการวิจัยต่าง ๆ และนำเสนอสรุปเป็นประเด็นสำคัญดังนี้ 1. แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 1.1 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับหลักสูตร 1.2 การพัฒนาหลักสูตร 1.3 องค์ประกอบของหลักสูตร 1.4 การนำหลักสูตรไปใช้ 1.5 การประเมินหลักสูตร 2. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ 2.1 ความหมายและความสำคัญของภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ 2.2 ลักษณะของภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ 2.3 ประเภทของภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ 3. แนวคิดการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3.1 ความหมายของความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3.2 วิธีการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3.3 ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3.4 การวัดและประเมินความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 4. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบประสบการณ์ (Experiential Learning Cycle Theory) ของ Kolb 4.1 ความสำคัญของการเรียนรู้แบบประสบการณ์ 4.2 ลักษณะสำคัญของการจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ 4.3 การประยุกต์ใช้การจัดการเรียนรู้แบบประสบการณ์ 5. แนวคิดการพัฒนาสมรรถนะมัคคุเทศก์ 5.1 บทบาทของยุวชนมัคคุเทศก์ 5.2 การพัฒนาศักยภาพมัคคุเทศก์
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :1. ทฤษฎีและแนวคิดเกี่ยวกับหลักสูตร 1. ทฤษฎีเกี่ยวกับหลักสูตร Beauchamp (1981: 77) ได้เสนอแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับหลักสูตรเป็น 2 ลักษณะ คือ ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design Theories) และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering Theories) 1) ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร (Design Theories) การออกแบบหลักสูตร (Curriculum Design) หมายถึง การจัดองค์ประกอบของหลักสูตรออกเป็น 4 ประการ คือ เนื้อหาสาระและวิธีการจัด จุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะ แนวทาง การนำหลักสูตรไปใช้สู่การเรียนการสอน และการประเมินผลซึ่งถือว่าเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญยิ่งสำหรับหลักสูตร 2) ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering Theories) ทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร (Engineering theories) หมายถึง กระบวนการที่จำเป็นต่อหลักสูตร ได้แก่ การจัดทำหลักสูตร การนำหลักสูตรไปใช้ และการประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรและการประเมินระบบหลักสูตร สรุปได้ว่าทฤษฎีเกี่ยวกับหลักสูตรคือแนวคิดในการพัฒนาหลักสูตร แบ่งออกเป็น 2 ทฤษฎี ได้แก่ ทฤษฎีการออกแบบหลักสูตร องค์ประกอบของหลักสูตร ได้แก่ จุดมุ่งหมาย เนื้อหาสาระ วิธีการจัดกิจกรรม จุดมุ่งหมายทั่วไปและจุดมุ่งหมายเฉพาะ แนวทางการนำหลักสูตรไปใช้สู่การจัดการเรียนการสอนและการวัดผลประเมินผล และทฤษฎีวิศวกรรมหลักสูตร ได้แก่ การสร้างหรือจัดทำหลักสูตร โครงสร้างของหลักสูตร การใช้หลักสูตร และการประเมินประสิทธิภาพหลักสูตรและการประเมินระบบหลักสูตร 2. แนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตร การพัฒนาหลักสูตรเป็นกระบวนการที่สลับซับซ้อน จึงต้องมีการวางแผน การศึกษาข้อมูล และความจำเป็นพื้นฐานของการพัฒนาหลักสูตรในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับตัวผู้เรียน (หมายถึงสภาพของบ้าน ครอบครัวชุมชน) เกี่ยวข้องกับสังคมและเกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ ข้อมูลเหล่านี้จะเป็นพื้นฐานในการกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร การเลือกเนื้อหาวิชา และประสบการณ์การเรียนรู้ เพื่อช่วยให้ผู้เรียนมีพัฒนาการตามจุดมุ่งหมายของหลักสูตรพื้นฐาน กาญจนา คุณารักษ์ (2540: 82) ได้นำเสนอแนวคิดพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรไว้ 6 ประการ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงของสังคม การเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง แนวความคิดและผลการศึกษาค้นคว้าทางด้านจิตวิทยา ความก้าวหน้าทางวิทยาการเทคโนโลยี และบทบาทของสถานบันศึกษาและสื่อมวลชน ใจทิพย์ เชื้อรัตนพงษ์ (2539: 25) กล่าวถึงแนวคิดพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตรอย่างเป็นระบบ สรุปได้ดังนี้ ขั้นที่ 1 การวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานเพื่อวินิจฉัยปัญหาและความต้องการ ซึ่งจะช่วยในการตัดสินใจ ขั้นที่ 2 การกำหนดเป้าประสงค์ จุดหมายและจุดประสงค์ หลังจากได้วิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานแล้วจะพิจารณาและกำหนดความมุ่งหมายของการศึกษา ขั้นที่ 3 การเลือกและการจัดเนื้อหาจะต้องมีความถูกต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้ในหลักสูตร มีความสอดคล้องกับความต้องการ ความสนใจของผู้เรียน มีความยากง่ายสอดคล้องเหมาะสมกับวัย เนื้อหาต้องเป็นประโยชน์ต่อผู้เรียน และเป็นสิ่งที่สามารถจัดให้ผู้เรียนได้ในแง่ของความพร้อมด้านเวลา ผู้สอนและวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ขั้นที่ 4 การเลือกและการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ต้องทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เร็ว รวมถึงวิธีการสอน การเลือกใช้สื่อการสอนให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ และการจัดสภาพแวดล้อมของโรงเรียนต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ และกระตุ้นความสนใจของผู้เรียน ขั้นที่ 5 การกำหนดอัตราเวลาเรียน หลักเกณฑ์ในการวัดประเมินผลการเรียน กำหนดเวลาเรียนการสอน โดยจัดเนื้อหาวิชาตามลำดับก่อนหลังให้สัมพันธ์กับจำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ ส่วนการวัดผลประเมินผล ควรกำหนดวิธีการเกณฑ์การจบหลักสูตร ขั้นที่ 6 การนำหลักสูตรไปใช้ หลังจากร่างหลักสูตรแล้วต้องมีการตรวจสอบข้อบกพร่องที่ควรปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม ขั้นที่ 7 การประเมินผลหลักสูตร เมื่อใช้หลักสูตรไประยะหนึ่งควรมีการประเมินผลหลักสูตรในด้านต่าง ๆ ว่ามีข้อบกพร่องที่ควรแก้ไขปรับปรุงหรือเพิ่มเติมอะไรบ้าง ขั้นที่ 8 การปรับปรุงแก้ไขหลักสูตร หลังจากที่ทราบข้อบกพร่องของหลักสูตร อาจจะต้องมีการศึกษาปัญหาเพื่อปรับปรุงข้อบกพร่องให้หลักสูตรเหมาะสมยิ่งขึ้น
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. เก็บรวบรวมข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรในด้านบริบทและศักยภาพของท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืนใน 4 ประเด็นดังนี้ 1) ด้านท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตชุมชน 2) ด้านการ เที่ยวเชิงวัฒนธรรม 3) ด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ 4) การท่องเที่ยวเพื่อการนันทนาการ โดยการลงพื้นที่เพื่อการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ตัวแทนกลุ่มอาชีพต่างๆในชุมชนบ้านคลองคาง จำนวน 20 คน จากนั้นทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) และสรุปเชื่อมโยงข้อมูลเพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม 2. ยกร่างหลักสูตรฝึกอบรมโดยใช้ข้อมูลด้านบริบทและศักยภาพของท้องถิ่น ประกอบกับใช้แนวคิดการพัฒนามัคคุเทศก์ การส่งเสริมสมรรถนะการเป็นมัคคุเทศก์ของยุวชนท้องถิ่นโดยการประชุมกลุ่ม (Focus Group) ผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ครู และผู้บริหารโรงเรียนวัดคลองคาง (แดงประชานุกูล) จำนวน 12 คน จากนั้นปรับปรุงหลักสูตรตามข้อแนะนำ และจัดทำองค์ประกอบหลักสูตรฉบับสมบูรณ์ 3. นำหลักสูตรไปทดลองใช้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตรโดยกลุ่มเป้าหมายในการทดลองใช้และศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตร คือ ยุวชนในชุมชนบ้านคลองคาง ซึ่งได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดคลองคาง(แดงประชานุกูล) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ประถมศึกษานครสวรรค์เขต 1 จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาจากข้อมูลที่ได้จากการสังเกตและการสัมภาษณ์ 4. ประเมินคุณภาพหลักสูตร โดยการสัมภาษณ์ และการสอบถามจากกลุ่มผู้เกี่ยวข้องในการทดลองใช้หลักสูตร ได้แก่ ผู้นำชุมชน ครู นักเรียน และนักท่องเที่ยว จำนวน 50 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทและศักยภาพของท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นฯ และ 3) ทดลองใช้และประเมินหลักสูตรฝึกอบรมฯ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านมัคคุเทศก์ ผู้นำชุมชน ผู้บริหารสถานศึกษา ครู ตัวแทนกลุ่มอาชีพ รวม19 คน โดยเลือกแบบเจาะจง 2) ผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรและการสอนภาษาอังกฤษ จำนวน 5 คน และ 3) ยุวชนท้องถิ่นซึ่งเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดคลองคาง รวม 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมีดังนี้ 1) แบบสอบถามข้อมูลบริบทและศักยภาพของท้องถิ่น เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ 2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเกี่ยวกับบริบท ศักยภาพและความต้องการของชุมชน 3) แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม 4) แบบทดสอบวัดทักษะการใช้ภาษาอังกฤษเป็นข้อสอบปรนัย 4 ตัวเลือก และ 5) แบบประเมินคุณภาพหลักสูตร เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เนื้อหา และการทดสอบที กรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน
จำนวนเข้าชมโครงการ :162 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวธิดากุล บุญรักษา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางสาวพรพรรณ โพธิสุวรรณ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด