รหัสโครงการ : | R000000583 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การพัฒนาศักยภาพยุวชนท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลอง |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Development of Local Youth ’s Potential to Promote Sustainable Community- Lifestyle Tourism in Klongkang Villlage |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | การพัฒนาศักยภาพ, ยุวชนท้องถิ่น, การท่องเที่ยววิถีชุมชนอย่างยั่งยืน, |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | สถาบันวิจัยและพัฒนา > กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย |
ลักษณะโครงการวิจัย : | แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | - |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 100000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 100,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 11 ธันวาคม 2562 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 10 ธันวาคม 2563 |
ประเภทของโครงการ : | การวิจัยและพัฒนา |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขาการศึกษา |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | การท่องเที่ยวมีองค์ประกอบที่สำคัญสิ่งหนึ่งที่จะขาดไม่ได้คือมัคคุเทศก์ ซึ่งในปัจจุบันรัฐบาลมองเห็นถึงบทบาทและความสำคัญของมัคคุเทศก์ที่มีต่อระบบการท่องเที่ยว จึงได้มีการออกกฎหมายพระราชบัญญัติมัคคุเทศก์ปี พ.ศ. 2535 และในทางปฏิบัติ มัคคุเทศก์เป็นผู้ใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวมากที่สุด และเป็นผู้นักท่องเที่ยวให้ความไวว้างใจซึ่งจะทำให้นักท่องเที่ยวเกิดความประทับใจหรือความไม่ประทับใจต่อการท่องเที่ยวได้ทั้งยังเป็นตัวแทนของประเทศ ดังนั้นหากมีมัคคุเทศก์ดีมีจรรยาบรรณ มี มารยาทและมีคุณธรรม การท่องเที่ยวของประเทศก็ย่อมดีด้วย เพราะนักท่องเที่ยวมีความรู้สึกประทับใจและมีความพึงพอใจในการท่องเที่ยวในท้องถิ่นนั้นๆนั้นและเกิดภาพพจน์ที่มีต่อประเทศที่เดินทางไปเยือน ฉะนั้น มัคคุเทศก์จึงมีหลายบทบาทในคนเดี่ยวกัน ตั้งแต่เป็นครูนักจิตวิทยา นักแสดง รวมทั้งนักการทูตด้วย มัคคุเทศก์ หรือ ไกด์มีความสำคัญต่อการท่องเที่ยว โดยเฉพาะธุรกิจบริการท่องเที่ยว และจาก ประวัติศาสตร์ที่ได้มีการศึกษาค้นคว้าก็อาจกล่าวได้ว่า “มัคคุเทศก์” เป็นอาชีพหนึ่งที่เก่าแก่ที่สุดในบรรดา อาชีพเก่า ๆ ของโลก เพราะมนุษย์เริ่มมีการท่องเที่ยวหรือการเดินทางมาเป็นเวลาช้านานแล้ว จะเห็นได้ว่าในสมัยแรกเริ่มมีผู้กล่าวถึงมัคคุเทศก์ในการเป็นผู้นำเที่ยว หรือผู้นำทาง ได้แก่ “ผู้เบิกทาง” (Pathfinders) “คนนำเที่ยว” (Bear leaders) “ตัวแทน” (Proxemos) และคนนำทางนักท่องเที่ยว ( Cicerones) ชุมชนวัดคลองคางตั้งอยู่ หมู่ที่ 3 ตำบลบึงเสนาท อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ทิศเหนือติดต่อกับบึงเสนาททิศตะวันตกติดต่อกับแม่น้ำปิง พื้นที่ตั้งชุมชนเป็นที่ราบลุ่มอยู่ริมแม่น้ำปิง สำหรับตำบลเสนาทเป็นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ราบลุ่ม มีบึงอยู่กลางเป็นที่เก็บน้ำไว้ให้ประชาชน ชาวชุมชนมีการดำเนินชีวิตที่เรียบง่าย โดยส่วนมากจะประกอบอาชีพเกษตรกร เช่น ปลูกผัก ทำสวน เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น ในพื้นที่หมู่ที่ 3 ซึ่งเป็นที่ตั้งของบ้านคลองคางมีสถานที่สำคัญทางศาสนาคือวัดคลองคาง วัดคลองคางได้สร้างขึ้นเป็นวัดนับแต่วันที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2450 เดิมเรียกว่า วัดบึงเสนาทราษฎร์ศรัทธาธรรม ซึ่งที่วัดคลองคาง ได้มีพระสุทัศน์ ธรรมะธีโป รองเจ้าอาวาส ผู้ริเริ่มนำแพทย์แผนไทยมาให้บริการในวัดด้วยเห็นว่าพระส่วนใหญ่สุขภาพไม่ดี พระมีภาวะเจ็บป่วยบ่อย ท่านจึงไปดูต้นแบบการให้บริการด้านแพทย์แผนไทยที่วัดหนองหญ้านาง จังหวัดอุทัยธานี จึงได้เริ่มทำห้องอบสมุนไพรขึ้น เพื่อให้พระในวัดได้อบสมุนไพร ปัจจุบันเปิดให้ชาวบ้านและผู้สนใจเข้ามาใช้บริการ อบสมุนไพร และนอกจากนี้ยังมีการรวมกลุ่มอาชีพนวดแผนไทย เปิดให้บริการซึ่งมีผู้สนใจจำนวนมาก นอกจากนี้แล้วในพื้นที่ชุมชนยังได้มีตลาดท่าเรือคลองคางอยู่บนพื้นที่ตำบลบึงเสนาทอำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ท่าเรือเก่าหลังวัดคลองคาง เป็นตลาดวิถีชุมชนชาวบ้าน ที่มุ่งให้มีบรรยากาศที่มีความเป็นกันเองเย็นสบายๆนั่งชิมอาหารรับลมริมแม่น้ำปิงซึ่งตลาดดังกล่าวได้รับความนิยมมากดังจะเห็นได้ว่าในชุมชนบ้านคลองคาง ตำบลเสนาทมีพื้นที่และวิถีชีวิตเชิงวัฒนธรรมที่หลากหลายที่เป็นศักยภาพด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดนครสวรรค์ และเป็นการเพิ่มรายได้ให้ชาวชุมชนจากวิถีชีวิตของท้องถิ่น แต่อย่างไรก็ตามการมีผู้นำเที่ยว หรือมัคคุเทศก์จะช่วยการส่งเสริมการท่องเที่ยวในท้องถิ่นได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาให้เด็กๆในท้องถิ่นให้ทำหน้าที่ในการเป็นผู้นำเที่ยว หรือเรียกว่ายุวชนมัคคุเทศก์ นอกจากจะเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการสร้างรายได้ให้ท้องถิ่นแล้วแล้วยังเป็นการส่งเสริมให้เด็กๆมีความรักความภาคภูมิใจในท้องถิ่นช่วยให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นที่ยั่งยืนต่อไปคณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาศักยภาพยุวชนท้องถิ่นในด้านการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมมัคคุเทศก์ สมรรถนะการเป็นมัคคุเทศก์ และการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืน |
จุดเด่นของโครงการ : | พัฒนาศํกยภาพของยุวชนในท้องถิ่น และส่งเสริมการเพิ่มรายได้ให้แก่ท้องถิ่น |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อศึกษาบริบทและศักยภาพของท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืน
2. เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง
3. เพื่อพัฒนาสมรรถนะยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง อย่างยั่งยืน
4. เพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยว วิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืน |
ขอบเขตของโครงการ : | 1. ขอบเขตด้านเนื้อหา ในการวิจัย 3 ประเด็นได้แก่ 1) การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง 2) การพัฒนาสมรรถนะยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชน และ3) การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง
2. ขอบเขตด้านพื้นที่ ในการวิจัย ครั้งนี้กำหนดขอบเขตด้านพื้นที่ในชุมชนบ้านคลองคาง หมู่ที่ 3 ตำบลเสนาท อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
3. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ในการวิจัยครั้งนี้ประชากรยุวชนในชุมชนบ้านคลองคาง หมู่ที่ 3 ตำบลเสนาท อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1.การวิจัยครั้งนี้จะช่วยส่งเสริมการสร้างรายได้ ให้ชุมชนบ้านคลองคงจากการส่งเสริมการท่องเที่ยว และยังช่วยให้ยุวชนในท้องถิ่นบ้านคลองคางมีรายได้จากการเป็นมัคคุเทศก์ 2.การวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการนำหลักสูตรการฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ไปใช้ในการพัฒนายุวชนในท้องถิ่นด้านการนำเที่ยวและการพัฒนาภาษาอังกฤษ
3.การวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสถานศึกษา องค์กรท้องถิ่น และหน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการท่องเที่ยวในการนำสื่อการเรียนรู้ที่สร้างขึ้นไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนและการประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว
4. การวิจัยครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ในการพัฒนาทักษะการเป็นผู้นำการท่องเที่ยวของยุวชนในท้องถิ่น และการพัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษของนักเรียนซึ่งเป็นทักษะการสื่อสารที่จำเป็นในสังคมปัจจุบัน 5. ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการในระดับชาติ (TCI กลุ่ม 1) หรือนานาชาติ ได้อย่างน้อย 4 บทความ |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้าน คลองคาง จังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อความเข้าใจในแนวคิดและทฤษฎี ตลอดจนผลการวิจัยต่าง ๆ และนำเสนอสรุปเป็นประเด็นสำคัญดังนี้
1. แนวคิดการพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม
2. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ
3. แนวคิดการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร
4. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้แบบประสบการณ์ (Experiential Learning Cycle
Theory) ของ Kolb
5. แนวคิดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลและรูปแบบการเรียนในศตวรรษที่ 21
6. แนวคิดเกี่ยวกับสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในการเรียนรู้
7. แนวคิดการพัฒนาสมรรถนะมัคคุเทศก์
|
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | แนวคิดเกี่ยวกับสื่ออิเล็คทรอนิกส์ในการเรียนรู้
ทฤษฎีการเรียนรู้ 9 ประการ
1. เร่งเร้าความสนใจ (Gain Attention) คือ การสอนโดยการสร้างเนื้อหาที่มุ่งเน้นดึงความสนใจจากผู้เรียนโดยการใช้บทเรียนที่มีภาพ แสง สี และเสียง แทนการใช้ภาษาพูด (nonverbal)
2. บอกวัตถุประสงค์ (Specify Objective) โดยการระบุผลลัพธ์ทางการเรียนรู้หลังเรียนจบบทเรียน
3. ทบทวนความรู้เดิม (Activate Prior Knowledge) โดยการทดสอบผู้เรียนก่อนเรียน (Pre-test)
4. นําเสนอเนื้อหาใหม่ (Present New Information) โดยการนำเสนอภาพที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาบทเรียน ประกอบกับคำอธิบายสั้นๆ
5. ชี้แนะแนวทางการเรียนรู้ (Guide Learning) คือ การให้ผู้เรียนคิดหาเหตุผล ค้นคว้า และวิเคราะห์หาคำตอบด้วยตนเองผ่านแบบฝึกหัด
6. กระตุ้นการตอบสนองบทเรียน (Elicit Response) ผู้เรียนมีปฏิสัมพันธ์กับบทเรียนผ่านการทำกิจกรรม
7. ให้ข้อมูลย้อนกลับ (Provide Feedback) คือ การให้ข้อมูลย้อนกลับด้วยภาพ หรือกราฟฟิก
8. ทดสอบความรู้ใหม่ (Assess Performance) คือการทดสอบหลังบทเรียน (Post-test) และ
9. สรุปและนําไปใช้ (Review and Transfer) คือสรุปมโนคติของเนื้อหาเฉพาะประเด็นสำคัญๆ รวมทั้งข้อเสนอแนะต่าง ๆ
|
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | 1. ศึกษาข้อมูลบริบทและศักยภาพการท่องเที่ยวในชุมชนบ้านคลองคางจากการสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ครู และผู้บริหารโรงเรียนวัดคลองคาง
2. ยกร่างหลักสูตรฝึกอบรมโดยใช้ข้อมูลด้านบริบทและศักยภาพของท้องถิ่น ประกอบกับใช้แนวคิดการพัฒนามัคคุเทศก์ การส่งเสริมสมรรถนะการเป็นมัคคุเทศก์ของยุวชนท้องถิ่นโดยการประชุมกลุ่ม (Focus Group) ผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ครู และผู้บริหารโรงเรียนวัดคลองคาง (แดงประชานุกูล) จำนวน 12 คน จากนั้นปรับปรุงหลักสูตรตามข้อแนะนำ และจัดทำองค์ประกอบหลักสูตรฉบับสมบูรณ์ จากนั้นนำไปทดลองใช้เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของหลักสูตร และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์และสนทนากลุ่ม
3. พัฒนาสมรรถนะยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืนโดยการฝึกอบรมหลักสูตรยุวชนมัคคุเทศก์ให้กับเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดคลองคาง (แดงประชานุกูล) ที่สมัครใจเข้ารับการพัฒนา จำนวน 25 คน โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามสภาพจริง และฝึกปฏิบัติการเป็นผู้นำการท่องเที่ยว จากนั้นประเมินความสามารถในการเป็นมัคคุเทศก์ การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารและการนำการท่องเที่ยว และประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวและชาวชุมชนบ้านคลองคางที่มีต่อการพัฒนายุวชนมัคคุเทศก์การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และเปรียบเทียบพัฒนาการของนักเรียนที่ได้รับการพัฒนา
4. พัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืนโดยการออกแบบและสร้างสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ จำนวน 5 ชุด และทำการประเมินคุณภาพสื่อออนไลน์โดยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และทดลองใช้สื่อกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดคลองคาง (แดงประชานุกูล) ที่สมัครใจเข้ารับการพัฒนา จำนวน 25 คนเพื่อประเมินประสิทธิภาพสื่อ และเผยแพร่สื่อการเรียนรู้ออนไลน์เพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยวในสื่อสังคมออนไลน์ |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | ชุดโครงการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นที่ส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคาง และเพื่อพัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยว การดำเนินงานวิจัยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมแบ่งเป็น 3 ขั้นตอนดังนี้ 1) ศึกษาข้อมูลบริบทและศักยภาพการท่องเที่ยวในชุมชนบ้านคลองคางจากการสัมภาษณ์ และการสัมภาษณ์กลุ่มผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ ครู และผู้บริหารโรงเรียนวัดคลองคาง 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมยุวชนมัคคุเทศก์ท้องถิ่นโดยใช้ข้อมูลด้านบริบทและศักยภาพของท้องถิ่น ประกอบกับใช้แนวคิดการพัฒนามัคคุเทศก์ แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ และการพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร 3) พัฒนาสื่อการเรียนรู้ออนไลน์สองภาษาเพื่อการประชาสัมพันธ์และส่งเสริมการท่องเที่ยววิถีชุมชนบ้านคลองคางอย่างยั่งยืนโดยการออกแบบและสร้างสื่อการเรียนรู้ออนไลน์ และทำการประเมินคุณภาพสื่อออนไลน์โดยการสนทนากลุ่มผู้เชี่ยวชาญ และทดลองใช้สื่อกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดคลองคาง (แดงประชานุกูล) ที่สมัครใจเข้ |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 358 ครั้ง |