รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000580
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การวิจัยและพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขเพื่อลดเวลารอการเข้ารับบริการ และการรับยา
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Research and development the system for public health to reduce waiting time for receiving healthcare services and medications
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ผู้ป่วยนอกแม่นยำ,ตู้จ่ายยาอัจฉริยะ,สั่งยาออนไลน์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตรประยุกต์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ลักษณะโครงการวิจัย :แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :-
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :5830000
งบประมาณทั้งโครงการ :5,830,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :30 กันยายน 2564
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยบูรณาการ
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :วิทยาการคอมพิวเตอร์
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2561 ประเทศไทยได้มีจำนวนผู้ป่วยนอกเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลของรัฐเป็นจำนวนถึง 79.6 ล้านคน รวมการเข้ารักษาเป็นจำนวนทั้งสิ้นกว่า 311.1 ล้านครั้ง โดยมีค่าเฉลี่ยของการเข้ารับการรักษาเป็นจำนวน 3.91 ครั้งต่อคน จากข้อมูลเวลานัดของโรคตาโรงพยาบาลรามาธิบดี ได้แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยที่มาทำการรักษาที่โรงพยาบาลนั้นมีมากเกินกว่าที่ทางคลินิกจะรับได้ ดังนั้นเมื่อผู้ป่วยต้องการตรวจรับการรักษาพยาบาล ต้องใช้เวลานานกว่า 2 ชั่วโมง ถึงจะได้เข้าพบแพทย์ นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ผู้ป่วยต้องรีบมาจองเบอร์ เพื่อเข้ารับการตรวจก่อนเวลา 7.00 น. ในแต่ละวัน รวมไปถึงโรงพยาบาลชุมชน เช่น โรงพยาบาลโนนสุวรรณ ผู้ป่วยที่มาทำการรักษาต้องใช้เวลาในการรอแพทย์ประมาณ หนึ่งชั่วโมงครึ่ง และนอกจากผู้ป่วยจะต้องรอเข้ารับการตรวจจากแพทย์แล้ว ยังต้องรอรับยาหลังจากการตรวจเสร็จสิ้นอีกด้วย จากข้อมูลของ โรงพยาบาลสระบุรี แสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยต้องรอรับยานานเฉลี่ยถึง 68 นาที สำหรับในตัวจังหวัดนครสวรรค์ มีโรงพยาบาลขนาดใหญ่รัฐที่สำคัญอยู่ด้วยกัน 3 โรงพยาบาลประกอบไปด้วย โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 8 และ โรงพยาบาลค่ายจิระประวัติ โดยข้อมูลอ้างอิงจากโรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์เมื่อปี 2561 พบว่า มีผู้ป่วยนอกเข้ารับการตรวจรักษาในเครือข่ายของโรงพยาบาลเป็นจำนวน 3.3 แสนคนต่อวัน จำนวนการให้บริการมากกว่า 1.18 ล้านครั้ง และทางโรงพยาบาลเองก็มีปัญหาเรื่องการรอของผู้ป่วยเช่นเดียวกับโรงพยาบาลของรัฐอื่น ๆ รวมถึงผู้ป่วยนอก จากต้องการได้รับบริการในคิวแรก ก็ต้องเดินทางมาเพื่อรับคิวแต่เช้าเช่นกัน จากตัวเลขดังกล่าว จะเห็นได้ว่า ทางสถานพยาบาลของรัฐต้องรองรับผู้ป่วยนอกที่มาทำการตรวจรักษาเป็นจำนวนมากต่อวัน ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาการเป็นภาระต่อยังสถานพยาบาล และต่อตัวของผู้ป่วยเอง ดังนั้นทางคณะผู้วิจัย จึงได้คิดจัดทำแผนงานพัฒนาประสิทธิภาพการบริการในสถานพยาบาลของรัฐ ด้วยการลด หรือกำจัดปัญหาที่สำคัญ นั่นคือ การลดระยะเวลาในการรอคอยการรักษาและการรอรับยาทั้งในส่วนของผู้ป่วยต่อเนื่องและผู้ป่วยนอกรายวัน ด้วยการวิจัยและจัดทำระบบผู้ป่วยนอกแม่นยำ ตู้จ่ายยาอัจฉริยะ รวมไปถึงแผนการบริการการจัดส่งยา เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นไทยแลนด์ 4.0 และยกระดับคุณภาพการบริการ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยนอกให้ดีขึ้น
จุดเด่นของโครงการ :พัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ใช้บริการโรงพยาบาลรัฐ ด้วยการลดเวลารอคอยการเข้ารับบริการในส่วนที่เกี่ยวเนื่องกับผู้ป่วยนอก เพื่อให้มีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น
วัตถุประสงค์ของโครงการ :เพื่อศึกษาวิธีการให้บริการผู้ป่วยนอกของแต่ละแผนก จากโรงพยาบาลเป้าหมาย เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแผนกการให้บริการผู้ป่วยนอก จากโรงพยาบาลเป้าหมาย สำหรับการจัดทำระบบคิว เพื่อวิจัยจัดหาเทคโนโลยีในการรวมบริการของโรงพยาบาลต่าง ๆ ในกลุ่มเป้าหมายเพื่อนำเสนอบริการสำหรับผู้ป่วยนอก ให้กับผู้ใช้บริการทางการแพทย์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยต่อเนื่อง ที่ต้องรับยาอย่างสม่ำเสมอ มาเพื่อใช้จัดทำตู้จ่ายยาอัจฉริยะ เพื่อวิจัยหาเทคโนโลยีที่เหมาะสม มาดำเนินการกับข้อมูล และสร้างระบบงานที่มีความสอดคล้องกับการให้บริการผู้ป่วยนอก สำหรับรอการเข้ารับบริการในสถานพยาบาล เพื่อวิจัยหาเทคโนโลยีที่เหมาะสม ในการจัดทำตู้จ่ายยาอัจฉริยะ เพื่อหาระยะเวลาการรอเข้ารับบริการที่เหมาะสม สำหรับผู้ป่วยนอกของสถานพยาบาลเป้าหมาย เพื่อวิจัยหาเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับการสั่งยาออนไลน์ การจัดส่งยา รวมไปถึงการรับยาจากคลินิก ร้านขายยาใกล้บ้าน ให้กับผู้ป่วยต่อเนื่อง
ขอบเขตของโครงการ :-
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :ระยะเวลาการรอการให้บริการของผู้ป่วย เปรียบเทียบกับระยะเวลาการให้บริการที่มีอยู่เดิม ซึ่งมีเป้าหมายว่าจะต้องลดระยะเวลาการรอให้สั้นลงกว่าเดิมไม่น้อยกว่า ร้อยละ 40
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ใช้หลักแนวคิดแบบ Multi-Techniques queuing ซึ่งประกอบไปด้วย Online queuing and Reservations โดยแนวคิดคือ ผู้ป่วยนอก สามารถจองคิวเข้ารับบริการจากการเลือกเวลาว่างสำหรับเข้าพบแพทย์ผ่านทางระบจองคิว ซึ่งเป็นลักษณะการจองเวลาเข้ารับบริการทางการแพทย์ผ่านทางคิวว่างในแต่ละช่วงเวลา โดยเลือกเวลาว่างผ่านทาง Available slots ซึ่งผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์มีอิสระในการเลือกช่วงเวลาตามที่ตนเองสะดวกในการเดินทางมาพบแพทย์ โดยไม่จำเป็นต้องเริ่มจองคิวเป็นลำดับของการมาถึงสถานบริการทางการแพทย์ ทั้งนี้ ในการจองคิวลักษณะนี้ จะช่วยเพิ่มความสะดวกให้กับผู้เข้ารับบริการทางการแพทย์ รวมถึงผู้ให้บริการทางการแพทย์เอง ก็สามารถวางแผนการรับผู้ป่วยได้เหมาะสมกับช่วงเวลาของการเปิดทำการ Waiting Lobby ถูกจัดสรรไว้ในส่วน Reserve slots นั้นคือการสงวนคิวไว้สำหรับผู้ป่วย ที่ไม่ได้วางแผนการเข้ารับบริการทางการแพทย์ล่วงหน้า รวมถึงผู้ที่ไม่สะดวกในการจองคิวผ่าน available slots ก็สามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ได้เช่นกันผ่านการยื่นบัตรหน้าเคาท์เตอร์ให้บริการผู้ป่วย เช่นเดียวกันกับระบบให้บริการที่มีอยู่ในปัจจุบัน โดยสมมติฐานสำหรับการจองคิวเพื่อเข้ารับบริการในสถาพยาบาลในลักษณะนี้ เพื่อลดเวลาการรอคิวในสถานพยาบาลของรัฐให้น้อยลง ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 40 เมื่อเทียบกับวิธีการปฏิบัติงานเดิมที่มีอยู่ ผู้ป่วยนอกสามารถสั่งซื้อยาผ่านระบบยาของสถานบริการทางการแพทย์และสั่งซื้อยาผ่านระบบออนไลน์สามารถเลือกรับยาได้จากร้านขายยาหรือผ่านเครื่องจ่ายยาอัจฉริยะที่ประมวลผลจาก Cloud Computing โดยมีการควบคุมจากเภสัชกรผ่านระบบสารสนเทศ โดยใช้แนวคิด ดังนี้ Cloud Computing สามารถรองรับเครื่องจ่ายยาอัจฉริยะได้หลาย ๆ เครื่องพร้อม ไม่ว่าจะสถานบริการทางสุขภาพเดียวกันหรือต่างสถานที่กัน เป็นการประมวลผลแบบรวมศูนย์กลาง (Data Center) Internet of Thing ผู้ป่วยนอกสามารถใช้โทรศัพท์มือถือในการเปิดตู้รับยาอัจฉริยะโดยใช้แอปพลิเคชันอ่านบาร์โค้ด 2 มิติ ซึ่งเภสัชกรได้ทำการใส่ยาของผู้ป่วยนั้น ๆ ผ่านการประมวลผลแบบคลาวน์ Mobile Application แอปพลิเคชันที่ช่วยให้ผู้ป่วยนอกทราบถึงระยะเวลาการรอคอย สามารถสั่งยา และสามารถรับยาได้ในแอปพลิเคชันเดียว เพิ่มความสะดวกให้กับผู้ป่วยนอกให้มากขึ้น
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โรงพยาบาลของรัฐในจังหวัดนครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :โครงการวิจัยเพื่อลดระยะเวลารอคอยการเข้ารับบริการของผู้ป่วยนอก ด้วยการจองคิวออนไลน์ รับยาผ่านตู้จ่ายยาอัจฉริยะ และสั่งยาและตรวจสอบยาผ่านระบบออนไลน์
จำนวนเข้าชมโครงการ :605 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายถิรภัทร มีสำราญ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย40
นางปัทมนันท์ อิสรานนทกุล บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยรองหัวหน้าโครงการวิจัย30
นายดนุวัศ อิสรานนทกุล บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยรองหัวหน้าโครงการวิจัย30

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด