รหัสโครงการ : | R000000579 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | The development of Media and innovation for parents to enhance EF brain skills of early childhood in Child Development Center under the Local Administrative Organizations of Krok Phra District, Nakhon Sawan Province |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครอง,ทักษะสมอง EF,เด็กปฐมวัย,ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย |
ลักษณะโครงการวิจัย : | แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | - |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยและโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้นแล้ว |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 190000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 190,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 02 มีนาคม 2563 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 31 พฤษภาคม 2564 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยพื้นฐาน(ทฤษฎี)/บริสุทธิ์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขาการศึกษา |
กลุ่มวิชาการ : | หลักสูตรและการสอนการวัดและประเมิณผลการศึกษา |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | การพัฒนาศักยภาพของเด็กรุ่นใหม่ จำเป็นต้องมีการพัฒนาความสามารถที่หลากหลาย ที่ไม่ใช่เพียงความสามารถทางสติปัญญา ด้านการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ แต่ในปัจจุบันนักจิตวิทยา นักสรีรวิทยา และแพทย์ ได้ทำการศึกษาสมองและหาความสัมพันธ์ของสมองและพฤติกรรมในศาสตร์ที่เรียกว่า “ประสาทวิทยาและจิตวิทยา” พบว่า ความสำเร็จด้านการเรียนของเด็กนั้นไม่ได้อาศัยเพียงแค่พัฒนาการด้านสติปัญญาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังต้องอาศัยทักษะด้านอื่น ๆ ร่วมด้วย (อุษณีย์ อนุรุทธ์วงศ์. 2555 : 46) ทักษะด้านหนึ่งที่มีความสำคัญยิ่ง คือ ทักษะ EF (Executive Functions) เป็นความสามารถระดับสูงของสมองในการควบคุมความคิด อารมณ์ และการกระทำ เพื่อไปให้ถึงเป้าหมาย EF ซึ่งประกอบด้วยทักษะที่สำคัญ 9 ประการ ซึ่งสอดคล้องกับคุณลักษณะคนไทย 4.0 ได้แก่ 1) ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) 2) ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) 3) ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility) 4) ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) 5) การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) 6) การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) 7) การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) 8)การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing) และ 9) การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) จึงกล่าวได้ว่าทักษะสมอง EF จึงเป็นทักษะที่มีความสำคัญมากยิ่งกว่า IQ หรือ EQ ของเด็กปฐมวัย ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องโดยเฉพาะครูและผู้ปกครองควรทำความเข้าใจและส่งเสริมทักษะสมองของเด็กปฐมวัย ซึ่งเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเป็นสถานที่ดูแลและให้การศึกษาแก่เด็กอายุระหว่าง 3 – 5 ปี พัฒนาขึ้นตามแนวคิดการส่งเสริมพัฒนาการของเด็กให้มีความพร้อมเหมาะสมกับวัย ในความรับผิดชอบของกระทรวงมหาดไทย โดยมุ่งหวังที่จะให้บริการเลี้ยงดูเด็ก จึงได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขึ้นมาตามความต้องการจำเป็นของแต่ละชุมชน สำหรับในอำเภอโกรกพระจังหวัดนครสวรรค์มีศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 9 ศูนย์ มีเด็กปฐมวัยจำนวน 336 คน ซึ่งหากผู้ปกครองของเด็กปฐมวัยจากศูนย์พัฒนาเด็กเล็กนี้ ได้รับการพัฒนาให้มีความเข้าใจต่อการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการจะทำให้เด็กปฐมวัยนี้พัฒนาเป็นทรัพยากรที่สำคัญของท้องถิ่นและประเทศชาติ |
จุดเด่นของโครงการ : | งานวิจัยครั้งนี้มุ่งพัฒนาผู้ปกครองในด้านการส่งเสริมทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัยอย่างเป็นระบบโดยใช้แนวคิดการวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory action research) ประกอบไปด้วยการพัฒนาและศึกษาผลการใช้หลักสูตรการพัฒนาผู้ปกครอง การพัฒนาและศึกษาผลการใช้สื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย การพัฒนามาตรวัดและประเมินพัฒนาการทักษะสมองของเด็กปฐมวัย และการสร้างเครือข่ายผู้ปกครองที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้เทคนิคชุมชนเรียนรู้ (PLC) สำหรับผู้ปกครองและครูที่สอดคล้องกับบริบทและธรรมชาติของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เติบโตมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าในยุค 4.0 สามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับสังคมประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ โดยมีวัตถุประสงค์ย่อยดังนี้
1. เพื่อพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function)ดังนี้
1.1 ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory)
1.2 ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control)
1.3 ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility)
1.4 ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus)
1.5 ทักษะการควบคุมอารมณ์ (Emotion Control)
1.6 ทักษะการประเมินตัวเอง (Self-Monitoring)
1.7 ทักษะการริเริ่มและลงมือทำ (Initiating)
1.8 ทักษะการวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing)
1.9 ทักษะการมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence)
2. เพื่อศึกษาประสิทธิภาพสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
3. เพื่อประเมินคุณภาพสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก |
ขอบเขตของโครงการ : | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งมีขั้นตอนการวิจัยและพัฒนา 3 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย
ขอบเขตด้านเนื้อหา
1. ศึกษาเอกสาร ตำรา บทความทางวิชาการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะสมอง EF (Executive Function) และการออกแบบสื่อและนวัตกรรมระดับปฐมวัย
2. ศึกษาสำรวจสื่อและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่มีอยู่ในท้องถิ่นร่วมกับผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก และ อบต. และศึกษาแนวคิดการส่งเสริมทักษะสมอง EF เพื่อออกแบบสื่อและนวัตกรรมจำนวน 23 คน ประกอบด้วย
2.1 ครูผู้ดูแลเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 5 คน
2.2 ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กจำนวน 16 คน
2.3 ตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 1 คน
2.4 อาจารย์ผู้สอนสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยในระดับอุดมศึกษาจำนวน 1 คน
ขอบเขตด้านระยะเวลา
ดำเนินการใช้เวลา 15 สัปดาห์
ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้สื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย
ขอบเขตด้านเนื้อหา
การวิจัยนี้มุ่งพัฒนาสื่อและนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย ซึ่งประกอบด้วย คู่มือการใช้สื่อและนวัตกรรม, สื่อและนวัตกรรมส่งเสริมทักษะสมอง EF
ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จำนวน 12 คน ดังนี้
- ครูผู้ดูแลเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระจำนวน 5 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่
- ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จำนวน 12 คน ได้มาโดยคัดเลือกกลุ่มที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ (Voluntary Sampling) โดยกลุ่มตัวอย่างต้องมีความสนใจที่เข้าร่วมกิจกรรมด้วยความสมัครใจและร่วมกิจกรรมการอบรมตามที่ผู้วิจัยกำหนด
- ครูผู้ดูแลเด็กเล็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จำนวน 5 คน โดยศึกษาจากครูทุกคนที่ทำงานในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตตัวแปร
คุณภาพสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย ด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus group Technique) ด้านความถูกต้อง ความคงทน ความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติในสภาพจริง ความเหมาะสมและความเป็นประโยชน์
ขอบเขตด้านระยะเวลา
ระยะเวลาที่ใช้ในการทดลอง 12 สัปดาห์
ขั้นตอนที่ 3 การประเมินสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย
ขอบเขตด้านเนื้อหา
ผู้วิจัยดำเนินการประเมินผลการทดลองใช้สื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function)ของเด็กปฐมวัย เพื่อตรวจสอบคุณภาพในเบื้องต้นของสื่อและนวัตกรรมด้วยเทคนิคการสนทนากลุ่ม (Focus group Technique) และนำหลักสูตรไปทดลองใช้ (Pilot study) เพื่อปรับปรุงให้สอดคล้องกับธรรมชาติและบริบทของผู้ปกครอง
ขอบเขตด้านกลุ่มตัวอย่าง
กลุ่มตัวอย่าง
- ผู้ปกครองเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอโกรกพระ จำนวน 12 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Selection) ซึ่งเป็นบุคคลที่ผ่านการทดลองใช้สื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย
ขอบเขตด้านตัวแปร
ตัวแปรที่ศึกษา คือ ความคิดเห็นของผู้ปกครอง
ขอบเขตด้านระยะเวลา
ดำเนินการภายหลังจากเสร็จสิ้นการทดลอง 1 สัปดาห์ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | ศูนย์พัฒนาเด็ก อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์จะนำรูปแบบการพัฒนาผู้ปกครองด้านการพัฒนาทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กไปใช้ในการพัฒนาผู้ปกครองและครูพี่เลี้ยงประจำศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ซึ่งจะทำให้เด็กปฐมวัยในเขตอำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ได้รับการส่งเสริมพัฒนาการด้านทักษะทางสมองอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน มีลักษณะการเป็นคนไทย 4.0 ที่จะส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น และสังคมประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | 5.1 แนวคิดและทฤษฎีพัฒนาการทางสติของเด็กปฐมวัย
ช่วงปฐมวัยเด็กจะเจริญเติบโตและมีพัฒนาการด้านต่างๆเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งพัฒนาการทางด้านสติปัญญาจากงานวิจัยเกี่ยวกับพัฒนาการทางสมองของมนุษย์ (นภเนตร ธรรมบวร,และอารยา สุขวงศ์,2541,หน้า7) พบว่า เซลล์ประสาทในสมองของมนุษย์เริ่มตั้งแต่ตัวอ่อนในครรภ์มีอายุได้เพียง 10-12 สัปดาห์เท่านั้นเมื่อทารกคลอดออกมาภาษาที่มีจำนวนนับ 1000 ๆ 1,000,000 เซลล์ในสมองของเด็กแรกเกิดที่คลอดครบกำหนดมีน้ำหนักประมาณ 500 กรัมจะมีเซลล์ประสาทอยู่ 1 แสนล้านเซลล์ซึ่งจะไม่มีการสร้างเพิ่มเติมใน 2 ปีแรกสิวที่เป็นเนื้อเยื่อที่สนับสนุนการทำงานในสมองและระบบประสาทจะมีจำนวนเกือบเต็มที่ขนาดสมองของเด็กวัย 3 ปีเจริญเติบโตเต็ม 180 ของสมองผู้ใหญ่หากได้รับการเอาใจใส่เลี้ยงดูและขาดสิ่งเร้าที่เหมาะสมระบบประสาทที่กำลังเติบโตจากขาดการกระตุ้นให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์และจะมีผลต่อความสามารถทางปัญญาของเด็กไปตลอดชีวิต (นิตยา คชภักดี, 2530, หน้า 16)
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญา
ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาที่สำคัญของครูควรรู้เพื่อให้เข้าใจพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กในแต่ละวัยและทำให้สามารถการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมเกิดประโยชน์สูงสุด มีดังนี้
1.ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์
เพียเจย์(Jean Piaget) เป็นนักชีวะวิทยาชาวสวิสเกิดเมื่อปีขอ. ศ. 1896 เพียเจท์มีแนวคิดว่าปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนาด้านสติและความคิดคือ การที่เรามีปฏิสัมพันธ์(interaction)กับสิ่งแวดล้อมตั้งแต่แรกเกิด การมี ปฏิสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องระหว่างบุคคลกับสิ่งแวดล้อมมีผลทำให้ระดับสติปัญญาและความคิดมีการพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่องอยู่ตลอดเวลาการมีปฏิสัมพันธ์เป็นกระบวนการปรับตัว(adaptation)ของอินทรีย์กับสิ่งแวดล้อมภายนอกและการจัดระบบโครงสร้างภาย(organization)ในสมองเพียเจท์ได้จำแนกกระบวนการ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา 10 ปัญญาและความคิดไป 2 ประการคือการจัดระบบโครงสร้างและการปรับตัว
การเรียนรู้ของเด็กเกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมโดยเด็กจะพยายามทำความเข้าใจโดยใช้กระบวนการดูดซึมแต่ถ้าไม่สำเร็จติดจะใช้กระบวนการการปรับขยายโครงสร้างเพื่อเปลี่ยนความคิดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆจนในที่สุดเด็กสามารถผสมผสานความคิดใหม่นั้นให้กลมกลืนเข้ากันได้กับความคิดเก่าการที่เด็กมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงนี้จะทำให้อยู่ในสภาพที่สมดุล ซึ่งจะนำไปสู่พัฒนาการทางสติปัญญา และสิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของพัฒนาการทางสติปัญญาซึ่ง เพียเจท์ เรียกว่า การปฎิบัติการ เพียเจท์ ได้แบ่งพัฒนาการทางสติปัญญาออกเป็นขั้นๆ โดยขั้นของพัฒนาการทางสติปัญญาแต่ละขั้นนั้น จะเป็นระยะเวลาของการริเริ่มและรวบรวมความรู้ ความคิดในลักษณะหนึ่ง การที่เด็กประสบความสำเร็จในการพัฒนาแต่ละขั้นนั้นจะเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาในขั้นต่อๆไปอย่างต่อเนื่องกัน การพัฒนาทางสติปัญญาจะพัฒนาไปตามลำดับก่อนหลัง เพียเจท์ ได้แบ่งขั้นในพัฒนาการทางสติปัญญาของมนุษย์ เป็น 4 ขั้น ระยะของพัฒนาการแต่ละขั้นมีดังนี้ระยะที่ 1 ขั้นประสาทสัมผัสและการเคลื่อนไหว ระยะที่ 2 ขั้นความคิดก่อนปฏิบัติการ ระยะที่ 3 ขั้นปฏิบัติการคิดแบบรูปธรรม ระยะที่ 4 ขั้นปฏิบัติการคิดแบบนามธรรม
2. ทฤษฎีพัฒนาการทางสติปัญญาของบรูเนอร์
บรูเนอร์ (Jerom S. Bruner) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน เกิดเมื่อ ค.ศ.1915บรูเนอร์เชื่อว่า การ
เรียนรู้จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อ ผู้เรียนได้ประมวลข้อมูลข่าวสารจากการที่มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและสำรวจสิ่งแวดล้อม การเลือกหรือการรับรู้ของมนุษย์ขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้เรียนที่ที่มีต่อสิ่งนั้นๆการเรียนรู้จะเกิดการค้นพบ เนื่องจากผู้เรียนจะมีความอยากรู้อยากเห็น (Bruner, 1917 อ้างถึงใน สุรางค์โค้วตระกูล2544, หน้า 213-214)วิธีการที่ผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือในการค้นพบความรู้ขึ้นอยู่กับขั้นพัฒนาการของผู้เรียน ซึ่งคล้ายกับขั้นพัฒนาการทางสติปัญญาของเพียเจท์ ขั้นพัฒนาการที่บรูเนอร์เสนอว่าเป็นวิธีการที่ผู้เรียนใช้เป็นเครื่องมือในการค้นพบของความรู้แบ่งออกเป็น 3 วิธีดังต่อไปนี้ วิธีที่ 1การเรียนรู้โดยการกระทำ (enactive representation) วิธีที่ 2 การเรียนรู้โดยการรับรู้ภาพและจินตนาการ (iconic representation) และวิธีที่ 3การเรียนรู้โดยการสื่อความหมายทางสัญลักษณ์ (symbolic representation) ขั้นนี้เปรียบได้กับขั้นปฏิบัติการรูปธรรม (concrete operation stage) ของเพียเจท์ เด็กสามารถถ่ายทอดประสบการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆ โดยการใช้สัญลักษณ์หรือภาษา ซึ่งภาษาเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นถึงความคิด บรูเนอร์ถือว่าขั้นนี้เป็นขั้นสูงสุดของพัฒนาการความรู้ ความเข้าใจ และภาษา ที่พัฒนาขึ้นพร้อมๆกัน เด็กสามารถคิดหาเหตุผล และในที่สุด จะเข้าใจสิ่งที่เป็นนามธรรม และสามารถแก้ปัญหาได้
แนวคิดของบรูเนอร์ถือว่าพัฒนาการทางความรู้ ความเข้าใจจะทำได้โดยผ่านขั้นตอนทั้ง 3 ขั้น คือ การเรียนรู้โดยการกระทำ การเกิดภาพในใจ และการใช้สัญลักษณ์ เป็นการเจริญงอกงามมาจากภายในและเป็นกระบวนการต่อเนื่องไปตลอดชีวิตหลังจากนั้นความเจริญงอกงามทางสติปัญญาจะขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมทางวัฒนธรรมของบุคคล บทบาทการสอนในโรงเรียน ภาษาและองค์ประกอบอื่นมีอิทธิพลต่อพัฒนาการทางสติปัญญา ดังนั้นหากครูเข้าใจธรรมชาติของการสร้างความคิดรวบยอดของเด็กครูสามารถนำมาปรับการจัดกิจกรรมและการสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ซึ่งเป็นประโยชน์กับเด็กและสอดคล้องกับความคิดดังกล่าว นอกจากนี้แล้วบรูเนอร์ยังได้ให้ความสำคัญกับคุณค่าของความคิด การหาเหตุผลของการคิดแก้ปัญหา ซึ่งเป็นการหาความจริงทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องใช้ความสามารถทางสติปัญญาโดยครูส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสใช้ความคิดบรูเนอร์เชื่อว่ากิจกรรมทางสติปัญญาประสบผลสำเร็จอย่างเต็มที่ก็ต่อเมื่อผู้เรียนมีความพึงพอใจ ครูควรใช้ความพยายามให้เด็กสนใจต่อการเรียนรู้ให้มากขึ้น โดยการสร้างบรรยากาศแหล่งการเรียนรู้ให้มีความสุข ผ่อนคลาย ช่วยให้เด็กมีความพร้อม และสนใจเรียนรู้ ช่วยพัฒนาการคิด การจินตนาการ มีความสามารถในการถ่ายทอดความคิด โดยคำนึงถึงพัฒนาการของเด็กเป็นสำคัญ
5.2 แนวคิดและทฤษฎีพัฒนาด้าน EF (Executive Functions)
ทักษะ EF (Executive Functions) คือ การทำงานระดับสูงของสมองที่ควบคุมความคิด การตัดสินใจ และการกระทำ จนส่งผลให้เริ่มลงมือทำและมุ่งมั่นทำจนงานเสร็จ (Goal directed behaviors) (Anderson. 2002) ทักษะสำคัญที่เป็นองค์ประกอบหลักของ EF มีดังนี้ คือ ความจำขณะทำงาน (Working memory) การหยุด การยับยั้งพฤติกรรม (Inhibitory control) การเปลี่ยนความคิด (Shift) การควบคุมอารมณ์ (Emotional control) และการวางแผนจัดการ (Plan/ Organizing) การเริ่มต้นลงมือทำ (Initiate) การเฝ้าติดตามสะท้อนผลจากการกระทำของตนเอง (Self-monitoring) และการจัดระเบียบของวัสดุสิ่งของ (Organization of materials) ทักษะเหล่านี้มีความสำคัญในการที่บุคคลจะทำให้งานเสร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ตั้งเป้าหมาย วางแผนลำดับขั้นตอนของงาน ลงมือทำโดยไม่ต้องมีคนบอก กำกับตนเองให้จดจ่อกับงาน มุ่งมั่นทำ ไม่ย่อท้อแม้เจออุปสรรค รวมทั้งการประเมินปรับปรุงงานให้ดีขึ้น เพื่อมุ่งไปสู่เป้าหมายในที่สุด ทักษะเหล่านี้ไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างชัดเจน หากแต่บุคคลจะต้องใช้ทักษะเหล่านี้ร่วมกันในการทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้ประสบความสำเร็จ บุคคลที่มีทักษะ EF ที่ดีจะประสบความสำเร็จ ทั้งในด้านการเรียน การทำงาน และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม (Diamond. 2013)
ความสำคัญของทักษะ EF
ทักษะ EF มีความสำคัญต่อความสำเร็จทางการเรียนของเด็ก เนื่องจากเป็นตัวบ่งบอกถึงความพร้อมในการเรียนของเด็กได้มากกว่าระดับสติปัญญา (IQ) นอกจากนั้นยังส่งผลต่อการเรียนรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านคณิตศาสตร์และด้านการอ่าน จนเป็นที่ยอมรับกันในวงกว้างว่า ผู้ที่มี EF ดีจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน การทำงาน ชีวิตคู่ที่ดี ทั้งมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดีอีกด้วย ทักษะ EF จึงมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสำเร็จทั้งในด้านการเรียนและการทำงานเมื่อเด็กโตขึ้น (Thorell, Lindqvist et al. 2009) การพัฒนาทักษะที่เป็นองค์ประกอบของ EF จะทำให้เด็กมีความคิดรอบคอบและไตร่ตรองมากขึ้น ยับยั้งอารมณ์ดีขึ้น มีความคิด ที่ยืดหยุ่นมากขึ้น สามารถจัดการงานหลายอย่างในเวลาเดียวกันสลับไปมาได้ ช่วยให้ทำสิ่งต่างๆ ได้สำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ได้ในที่สุด
ลักษณะของเด็กที่มี EF ดีจะมีความจำดี มีสมาธิ ตั้งใจจดจ่อต่องานที่ทำได้อย่างต่อเนื่อง จนทำงานสำเร็จ รู้จักอดทนรอคอยที่จะทำหรือพูดในเวลาที่เหมาะสม ไม่รบกวนผู้อื่น รู้จักแก้ปัญหาด้วยวิธีที่หลากหลาย แก้ปัญหาโดยไม่ใช้กำลัง รู้จักขอความช่วยเหลือเมื่อจำเป็น สามารถคาดการณ์ผลของการกระทำได้ รู้จักยับยั้งควบคุมตนเองไม่ให้ทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ไม่เหมาะสม มีเป้าหมายที่ชัดเจน มีความคิดยืดหยุ่น ไม่ยึดติด สามารถเปลี่ยนความคิดได้เมื่อเงื่อนไขและสถานการณ์เปลี่ยนไป สามารถติดตามประเมินตนเองนำจุดบกพร่องมาปรับปรุงการทำงานของตนให้ดีขึ้นได้ สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง เข้าอกเข้าใจและเห็นใจผู้อื่น
ทฤษฎีเกี่ยวกับทักษะ EF (Executive Functions) สำหรับเด็กปฐมวัย
ทฤษฎีเกี่ยวกับ EF ในลักษณะที่เป็นการควบคุมจากศูนย์กลางเพียงแห่งเดียว โดยสมองส่วนหน้าเป็นศูนย์กลางที่ควบคุมทักษะ EF ทั้งหมด (Unity model) ตัวอย่างเช่น ทฤษฎี “Supervisory activating system” (Norman and Shallice. 1986) และทฤษฎี “Central Execute” (Baddeley and Della Sala. 1996, Baddeley. 1998) ต |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | การวิจัยการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยใช้แนวคิด หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมากำหนดเป็น กรอบแนวคิดของโครงการวิจัยดังนี้
1. แนวคิดเกี่ยวกับพัฒนาการทางสติปัญญาของเด็กปฐมวัย
2. แนวคิดเกี่ยวกับทักษะ EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย
3. แนวคิดเกี่ยวกับการเรียนรู้ของผู้ใหญ่
4. แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง
5. แนวคิดเกี่ยวกับสื่อการเรียนการสอน
กรอบแนวคิดของการวิจัยเรื่อง การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัยของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
เพื่อตอบคำถามตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผู้วิจัยได้กำหนดขั้นตอนและวิธีดำเนินการวิจัยออกเป็น 3ขั้นตอนดังต่อไปนี้
ขั้นตอนที่ 1 พัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย
วิธีดำเนินการวิจัย
การดำเนินการในขั้นตอนนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย ดำเนินการดังนี้
1. วิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสาร ตำรา บทความ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดทฤษฎี สภาพปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมและทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย
2. ศึกษาสำรวจสื่อและวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่มีอยู่ในท้องถิ่น และสัมภาษณ์ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอาจารย์ผู้สอนสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยในระดับอุดมศึกษา
3. นำข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและจากการสัมภาษณ์มาสังเคราะห์ จัดทำกรอบในการร่างรูปแบบการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย ความเป็นมา แนวคิดพื้นฐาน หลักการ จุดมุ่งหมาย สาระการเรียนรู้ กระบวนการจัดกิจกรรม การวัดและประเมินผล
4. ออกแบบสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย สำหรับใช้ในการทดลองรูปแบบพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย จำนวน 10 ชุด ดังนี้
1 จิ๊กซอว์แสนสนุก
ทักษะ EFที่ได้รับ
-ความจำเพื่อใช้งาน - การยั้งคิดไตร่ตรอง
- ทักษะการใส่ใจจดจ่อ - การควบคุมอารมณ์
- การประเมินตัวเอง - การริเริ่มและลงมือทำ
- การมุ่งเป้าหมาย
2 เหรียญส่งเสริมทักษะภาษา ทักษะ EFที่ได้รับ
- ความจำเพื่อใช้งาน - การยั้งคิดไตร่ตรอง
- การยืดหยุ่นความคิด - ทักษะการใส่ใจจดจ่อ
- การควบคุมอารมณ์ - การประเมินตัวเอง
- การริเริ่มและลงมือทำ – การมุ่งเป้าหมาย
3 คู่ของฉันอยู่ไหนเอ่ย? ทักษะ EFที่ได้รับ
- ความจำเพื่อใช้งาน - การยั้งคิดไตร่ตรอง
- การยืดหยุ่นความคิด - ทักษะการใส่ใจจดจ่อ
- การควบคุมอารมณ์ - การประเมินตัวเอง
- การริเริ่มและลงมือทำ - การมุ่งเป้าหมาย
- การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ
4 ลวดลายหรรษา ทักษะ EFที่ได้รับ
- ความจำเพื่อใช้งาน - การยั้งคิดไตร่ตรอง
- การยืดหยุ่นความคิด - ทักษะการใส่ใจจดจ่อ
- การควบคุมอารมณ์ - การประเมินตัวเอง
- การริเริ่มและลงมือทำ - การมุ่งเป้าหมาย
- การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ
5 เรขาคณิตสร้างสรรค์ ทักษะ EFที่ได้รับ
- ความจำเพื่อใช้งาน - การยั้งคิดไตร่ตรอง
- การยืดหยุ่นความคิด - ทักษะการใส่ใจจดจ่อ
- การควบคุมอารมณ์ - การประเมินตัวเอง
- การริเริ่มและลงมือทำ - การมุ่งเป้าหมาย
- การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ
6 นิทาน หนูจ๋าเสียงใคร (เกมจับคู่ภาพเงา) ทักษะ EFที่ได้รับ
- ความจำเพื่อใช้งาน - การยั้งคิดไตร่ตรอง
- การยืดหยุ่นความคิด - ทักษะการใส่ใจจดจ่อ
- การควบคุมอารมณ์ - การประเมินตัวเอง
- การริเริ่มและลงมือทำ - การมุ่งเป้าหมาย
- การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ
7 นิทาน บ้านนี้มีเด็กขี้โมโห(เกมจัดกลุ่มอารมณ์)ทักษะ EFที่ได้รับ
- ความจำเพื่อใช้งาน - การยั้งคิดไตร่ตรอง
- การยืดหยุ่นความคิด - ทักษะการใส่ใจจดจ่อ
- การควบคุมอารมณ์ - การประเมินตัวเอง
- การริเริ่มและลงมือทำ - การมุ่งเป้าหมาย
- การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ
8 นิทานป๋องแป้งไม่อยากกิน(กินอะไรดีเอ่ย ! )ทักษะ EFที่ได้รับ
- ความจำเพื่อใช้งาน - การยั้งคิดไตร่ตรอง
- การยืดหยุ่นความคิด - ทักษะการใส่ใจจดจ่อ
- การควบคุมอารมณ์ - การประเมินตัวเอง
- การริเริ่มและลงมือทำ - การมุ่งเป้าหมาย
- การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ
9บทบาทสมมติ “อาหารจานโปรด” ทักษะ EFที่ได้รับ
- ความจำเพื่อใช้งาน - การยั้งคิดไตร่ตรอง
- การยืดหยุ่นความคิด - ทักษะการใส่ใจจดจ่อ
- การควบคุมอารมณ์ - การประเมินตัวเอง
- การริเริ่มและลงมือทำ - การมุ่งเป้าหมาย
- การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ
10 ภาพมหัศจรรย์ ทักษะ EFที่ได้รับ
- ความจำเพื่อใช้งาน - การยั้งคิดไตร่ตรอง
- การยืดหยุ่นความคิด - ทักษะการใส่ใจจดจ่อ
- การควบคุมอารมณ์ - การประเมินตัวเอง
- การริเริ่มและลงมือทำ - การมุ่งเป้าหมาย
- การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ
5. นำร่างรูปแบบสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัยที่สร้างขึ้น ให้ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน ตรวจสอบความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยใช้แบบประเมินคุณภาพด้านความเหมาะสมของสื่อ
6. ปรับปรุงแก้ไขรูปแบบสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัยให้สมบูรณ์ ตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ
แหล่งข้อมูล
กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องในการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย ได้แก่
1. ผู้ปกครอง ครูผู้ดูแลเด็กเล็ก ตัวแทนจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และอาจารย์ผู้สอนสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัยในระดับอุดมศึกษา ได้มาจากการคัดเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 100 คน
2. ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน (ภาคผนวก ก)
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง จำนวน 1 ฉบับ เพื่อสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสภาพปัญหา และความต้องการในการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย และ 2) แบบประเมินคุณภาพด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ
การสร้างแบบสัมภาษณ์ มีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
1. ศึกษา ค้นคว้าเอกสาร ตำรา บทความทางวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย
2. ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือ โดยเฉพาะแบบสัมภาษณ์และกำหนดกรอบเนื้อหาของการสัมภาษณ์
3. กำหนดประเด็นสัมภาษณ์โดยให้ครอบคลุมเนื้อหาที่กำหนด
การสร้างแบบประเมินคุณภาพด้านความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย มีขั้นตอนในการดำเนินการดังนี้
1. ศึกษา ค้นคว้าเอกสาร ตำรา บทความทางวิชาการ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย
2. ศึกษาเกี่ยวกับการสร้างเครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ
3. กำหนดประเด็นสำหรับการพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้
4. สร้างประเมินคุณภาพสื่อ มีลักษณะเป็นมาตรประมาณค่า 5 ระดับ และกำหนดประเด็นสำหรับการพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้
5. นำแบบประเมินคุณภาพสื่อที่สร้างขึ้น เสนอต่อผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน เพื่อพิจารณาความสอดคล้องของประเมินคุณภาพสื่อ
6. วิเคราะห์ค่าความสอดคล้องของประเมินคุณภาพสื่อและพิจารณาการผ่านเกณฑ์ต้องมีค่าความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป
7. ปรับปรุงประเมินคุณภาพสื่อตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ และจัดทำแบบประเมินคุณภาพสื่อฉบับสมบูรณ์ เพื่อนำไปใช้เก็บข้อมูลต่อไป
การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
1. ผู้วิจัยติดต่อเพื่อขอความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องทุกท่าน เพื่อนัดหมายกลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพื่อทำการสัมภาษณ์ จากนั้นผู้วิจัยติดต่อผู้เชี่ยวชาญทุกท่าน เพื่อขอความร่วมมือในการพิจารณาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของรูปแบบการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย
2. นำผลการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญมาวิเคราะห์ พิจารณาค่าความเหมาะสมและความเป็นไปได้ พร้อมทั้งปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย ตามข้อเสนอแนะของผู้เชี่ยวชาญ
การวิเคราะห์ข้อมูล
1. วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสังเคราะห์เอกสารและสัมภาษณ์นำมาทำการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) นำเสนอผลการวิเคราะห์โดยการบรรยาย
2. วิเคราะห์ข้อมูลจากแบบประเมินคุณภาพสื่อ ใช้การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและแปลผลตามเกณฑ์ดังนี้ (รัตนะ บัวสนธ์, 2551 : 45) ดังนี้
4.50-5.00 หมายถึง มีคุณภาพในระดับมากที่สุด
3.50-4.49 หมายถึง มีคุณภาพในระดับมาก
2.50-3.49 หมายถึง มีคุณภาพในระดับปานกลาง
1.50-2.49 หมายถึง มีคุณภาพในระดับน้อย
1.00-1.49 หมายถึง มีคุณภาพในระดับน้อยที่สุด
ขั้นตอนที่ 2 การทดลองใช้สื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะสมอง EF (Executive Function) ของเด็กปฐมวัย
วิธีดำเนินการวิจัย
ผู้วิจัยทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาสื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองเพื่อส่งเสริมทักษะส |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | งานวิจัยครั้งนี้มุ่งพัฒนาผู้ปกครองในด้านการส่งเสริมทักษะทางสมองของเด็กปฐมวัยอย่างเป็นระบบโดยใช้แนวคิดการวิจัยปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (Participatory action research) ประกอบไปด้วยการพัฒนาและศึกษาผลการใช้หลักสูตรการพัฒนาผู้ปกครอง การพัฒนาและศึกษาผลการใช้สื่อและนวัตกรรมสำหรับผู้ปกครองในการส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวัย การพัฒนามาตรวัดและประเมินพัฒนาการทักษะสมองของเด็กปฐมวัย และการสร้างเครือข่ายผู้ปกครองที่ส่งเสริมทักษะสมอง EF ของเด็กปฐมวันในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น โดยใช้เทคนิคชุมชนเรียนรู้ (PLC) สำหรับผู้ปกครองและครูที่สอดคล้องกับบริบทและธรรมชาติของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เพื่อเป็นการพัฒนาเด็กปฐมวัยให้เติบโตมาเป็นทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณค่าในยุค 4.0 สามารถสร้างสรรค์ประโยชน์ให้กับสังคมประเทศชาติได้อย่างยั่งยืน |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 278 ครั้ง |