รหัสโครงการ : | R000000578 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | The Design of Local Cultural arts Media at Sa-Thale Subdistrict, Phayuha Khiri District Nakhon Sawan Province |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | เศรษฐกิจสร้างสรรค์, เศรษฐกิจชุมชน, ศิลปวัฒนธรรม, สื่อมัลติมีเดีย |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 40000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 40,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 18 พฤษภาคม 2564 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 17 พฤษภาคม 2565 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | การใช้สื่อในสืบสานศิลปวัฒนธรรมมีความสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศชาติ มีการสร้างความรู้และความตระหนัก เกี่ยวกับการอนุรักษ์วัฒนธรรม วิถีชีวิตชุมชน และภูมิปัญญา ก่อให้เกิดการไหลเวียนทางศิลปวัฒนธรรมแลกเปลี่ยนการเรียนรู้บนความหลากหลายเป็นพื้นฐานของเอกลักษณ์บ่งบอกเรื่องราว และสื่อความหมายในอดีต ซึ่งสะท้อน ถึงความเป็นอยู่ การออกแบบสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมควรมีเนื้อหาเฉพาะด้าน จำเป็นต้องคำนึงถึงหลักการออกแบบสื่อ โดยอาศัยหลักจิตวิทยาการรับรู้เพื่อการออกแบบ เพื่อให้ผู้รับสื่อ เกิดความรู้และความเข้าใจอย่างแท้จริง เมื่อได้ดูเนื้อหาจากสื่อเรื่องนั้นและเกิดความประทับใจ ซึ่งเป็นการเผยแพร่แบบบูรณาการจากท้องถิ่นไปสู่สาธารณชน |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. ศึกษาข้อมูลของประเพณีวัฒนธรรมการละเล่น เต้นกำรำเคียว ตำบลสระทะเล อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 2. ออกแบบสื่อเผยแพร่และสืบสานทางด้านวัฒนธรรม ตำบลสระทะเล อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 3.ศึกษากลยุทธ์การตลาดประชาสัมพันธ์สื่อเผยแพร่ทางวัฒนธรรม “เต้นกำรำเคียว” ตำบลสระทะเล อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ |
ขอบเขตของโครงการ : | ขอบเขตการวิจัย ขอบเขตด้านพื้นที่ บ้านสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตด้านข้อมูล 1. ข้อมูลเต้นกำรำเคียว” 2. ข้อมูลความต้องการของชุมชนและผู้บริโภค 3.ข้อมูลสำหรับสร้างสื่อทางวัฒนธรรมเต้นกำรำเคียว 4.ข้อมูลการตลาดที่สอดคล้องกับสื่อ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้ข้อมูลเพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้สำหรับสร้างสื่อเรียนรู้ทางวัฒนธรรม 2. ได้เครือข่ายกลุ่มชุมชนบ้านสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 3.ส่งผลเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ทำรายได้ให้คนในท้องถิ่นมากขึ้น |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | - |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | วิธีการดำเนินงานวิจัย 1. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อทำความเข้าใจ และรับฟังปัญหาด้านต่างๆ 2. ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลภาคสนาม ปราชญ์ชาวบ้าน และวิเคราะห์ข้อมูลความเป็นอัตลักษณ์ในท้องถิ่น 3. วางแผน และกำหนดเรื่องราว 4.ศึกษากลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมสื่อประชาสัมพันธ์เต้นกำรำเคียวตำบลสระทะเล อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 5.จัดทำสื่อประชาสัมพันธ์เต้นกำรำเคียวตำบลสระทะเล อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 6.สรุปงานวิจัย และจัดทำเอกสาร |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 385 ครั้ง |