รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000576
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรม สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ตำบลสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Public relations and create products with cultural identity To the creative economy at Sa-Thale Subdistrict, Phayuha Khiri District Nakhon Sawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :เศรษฐกิจสร้างสรรค์, เศรษฐกิจชุมชน, ศิลปวัฒนธรรม, สื่อมัลติมีเดีย, ของที่ระลึก
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :-
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :120000
งบประมาณทั้งโครงการ :120,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :18 พฤษภาคม 2564
วันสิ้นสุดโครงการ :01 พฤษภาคม 2565
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :(พ.ศ. ๒๕๖๐-๒๕๗๙) โดยหนึ่งในนโยบายที่สำคัญคือ การให้บริการทางวิชาการ การถ่ายทอดเทคโนโลยี การน้อมนำแนวพระราชดำริและทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม ซึ่งมีแนวทางที่จะพัฒนาท้องถิ่นให้มีความเข้มแข็งและยั่งยืน ดังนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในสถานะสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย และมียุทธศาสตร์ให้ตอบสนองกับความต้องการของท้องถิ่นและสังคม โดยการสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการให้กับท้องถิ่น มีวัฒนธรรมประเพณีที่สำคัญที่เป็นอัตลักษณ์ประจำท้องถิ่น ซึ่งควรค่าแก่การอนุรักษ์และสืบสานเพื่อให้คนรุ่นหลังได้รับรู้ตลอดจนสร้างสื่อเพื่อให้ผู้ที่สนใจศึกษาเรียนรู้สืบต่อไป ซึ่งชุมชนบ้านสระทะเลมีวัฒนธรรมที่สำคัญที่โดดเด่นคือ การเต้นกำรำเคียวที่มีคุณค่าควรแก่การนำมาสร้างเป็นสื่อการเรียนรู้ในลักษณะร่วมสมัย เพื่อสร้างกลุ่มผู้สนใจในหลากหลายวัยและเป็นช่องทางในการศึกษาเรียนรู้ในวงกว้าง และนำอัตลักษณ์ที่สำคัญนั้นมาสร้างสรรค์ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก เพื่อสร้างมูลค่าเศรษฐกิจจากทุนทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นการให้ความสำคัญกับจุดแข็งและข้อได้เปรียบทางวัฒนธรรมของประเทศแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์โดยหาแนวทางเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ (ที่มา : โดยประโยชน์ที่ได้นอกเหนือไปจากให้ชุมชนได้จำหน่ายแก่กลุ่มนักท่องเที่ยวที่ได้เข้าไปศึกษาเรียนรู้จากสถานที่จริงแล้ว ของที่ผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมยังเป็นสิ่งช่วยในการประชาสัมพันธ์เผยแพร่วัฒนธรรมได้อีกด้วย นับได้ว่าเป็นการสร้างเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืนและสร้างสรรค์ต่อไปในอนาคต
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. ศึกษาข้อมูลของประเพณีวัฒนธรรมการละเล่นเต้นกำรำเคียว ตำบลสระทะเล อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์2. ออกแบบสื่อเผยแพร่และสืบสานทางด้านวัฒนธรรม ตำบลสระทะเล อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 3. ออกแบบผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ตำบลสระทะเล อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 4.เพื่อศึกษากลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม
ขอบเขตของโครงการ :ขอบเขตการวิจัย ขอบเขตด้านพื้นที่ บ้านสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตด้านข้อมูล 1. เต้นกำรำเคียว 2. ข้อมูลความต้องการของชุมชนและผู้บริโภค 3. ข้อมูลสำหรับสร้างสื่อทางวัฒนธรรม เต้นกำรำเคียว4. ข้อมูลด้านการออกแบบ เทรนด์การออกแบบ เทรนด์ด้านการตลาดในปัจจุบันและอนาคต
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ได้ข้อมูลเพื่อสร้างเป็นองค์ความรู้สำหรับสร้างสื่อเรียนรู้ทางวัฒนธรรม 2. ได้ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเต้นกำรำเคียว 3. ได้กลุ่มสำหรับเป็นแหล่งท่องเที่ยวและจำหน่ายของที่ระลึก 4. ได้เครือข่ายกลุ่มชุมชนบ้านสระทะเล อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ 5. ส่งผลเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ทำรายได้ให้คนในท้องถิ่นมากขึ้น
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1.จัดประชุมเชิงปฏิบัติการแกนนำ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อทำความเข้าใจ และรับฟังปัญหาด้านต่างๆ 2.ศึกษาข้อมูลจากเอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เก็บข้อมูลภาคสนาม ปราชญ์ชาวบ้าน และวิเคราะห์ข้อมูลความเป็นอัตลักษณ์ในท้องถิ่น 3.จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่องการออกแบบสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ให้เป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น โดยการบูรณาการเข้ากับการเรียนการสอนของสาขาวิชาการออกแบบ 4.จัดทำสื่อเผยแพร่ทางวัฒนธรรม เต้นกำรำเคียว ตำบลสระทะเล อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ พัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม เต้นกำรำเคียว 5.1 นำข้อมูลที่เก็บจากข้อมูลภาคสนาม นำมาวิเคราะห์และออกแบบ 5.2 สร้างเป็นผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก 5.3 นำผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกไปทดลองจำหน่าย โดยสอบถามผู้บริโภค 5.4 ปรับปรุงและแก้ไข 5.5 ผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกเต้นกำรำเคียว 5.6 สรุปงานวิจัย และจัดทำเอกสาร
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :411 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายพรรษประเวศ อชิโนบุญวัฒน์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย20
นางสาวเพียงพิศ ชะโกทอง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นางสาวทัศนีพร วิศาลสุวรรณกร บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นางสาวชุณษิตา นาคภพ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นายธีรพร พรหมมาศ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด