รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000575
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาบทเรียนออนไลน์ หลักสูตรการเข้าใจดิจิทัล (สําหรับพลเมืองไทย)
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Development of Online Lessons Digital Literacy Course for Thai Citizens
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :Digital Literacy, Digital Skill, ICT Skill, Problem Solving with Digital Tools, Adaptive Digital Transform
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :16000
งบประมาณทั้งโครงการ :16,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :18 พฤษภาคม 2564
วันสิ้นสุดโครงการ :17 พฤษภาคม 2565
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :อื่นๆ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์มีนโยบายการยกระดับความสามารถด้านดิจิทัลของนักศึกษาให้สอดคล้องกับการขับเคลื่อนประเทศไทยไปสู่THAILAND4.0 ตามนโยบายของรัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีแผนพัฒนาดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม สำหรับการพัฒนาความสามารถด้านการใช้ดิจิทัลยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ในยุทธศาสตร์ที่ 3 การยกระดับคุณภาพการศึกษาให้มีทักษะความรู้ทางวิชาการและวิชาชีพที่สอดคล้องกับทักษะในศตวรรษที่ 21และยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ระยะ 5 ปี พ.ศ. 2561 - 2565 (ฉบับปรับปรุง2562) ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเพิ่มคุณภาพบัณฑิตให้มีสรรมถนะตามบริบทที่เปลี่ยนแปลงโดยมุ่งเน้นให้นักศึกษามีความสามารถด้านดิจิทัลเป็นสิ่งที่สะท้อนความสามารถของบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์ และเทคโนโลยีในปัจจุบันมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเรียนรู้การแก้ไขปัญหา การสื่อสาร ตลอดจนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อรู้เท่าทันการใช้งานและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ การสร้างนวัตกรรม และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ปีการศึกษา 2564 สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ <เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบ ตัวบ่งชี้ที่1.7 การส่งเสริมสมรรถนะและทักษะด้านดิจิทัล คือ ความสามารถด้านดิจิทัลเป็นสิ่งที่สะท้อนความสามารถของบัณฑิตที่มีความรู้และทักษะในการนำเครื่องมือ อุปกรณ์และเทคโนโลยีในปัจจุบันมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการเรียนรู้ การแก้ไขปัญหาการสื่อสาร ตลอดจนความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพื่อรู้เท่าทันการใช้งานและการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ การสร้างนวัตกรรม และการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตัวบ่งชี้นี้ประเด็นการพิจารณาประกอบด้วยระดับความสามารถด้านดิจิทัลของนักศึกษาชั้นปีสุดท้ายระดับปริญญาตรีที่สอบผ่านตามที่มหาวิทยาลัยกำหนด ผู้วิจัยได้วิเคราะห์ถึงปัญหารวมถึงการศึกษาค้นคว้าจึงสนใจการพัฒนาบทเรียนออนไลน์หลักสูตรการเข้าใจดิจิทัลสําหรับพลเมืองไทยที่มีเนื้อหาการเข้าใจดิจิทัลการแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือดิจิทัล และการปรับตัวการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล (Digital Transform)ทำให้นักศึกษาเกิดองค์ความรู้อีกทั้งเป็นการพัฒนาสื่อและ นักศึกษาสามารถทบทวนความรู้และฝึกปฏิบัติได้ทุกที่ทุกเวลา เพื่อเพิ่มความรู้และเตรียมตัวก่อนสอบวัดระดับความสามารถด้านดิจิทัลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.เพื่อพัฒนาบทเรียนออนไลน์หลักสูตรการเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy) สําหรับพลเมืองไทย 2. เพื่อทดลองใช้บทเรียนออนไลน์หลักสูตรการเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy) สําหรับพลเมืองไทย 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจบทเรียนออนไลน์หลักสูตรการเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy) สําหรับพลเมืองไทย
ขอบเขตของโครงการ :1.กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาภาคปกติ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ ระดับความสามารถด้านดิจิทัล ของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 100 คน ซึ่งได้มาใช้ในการประมาณค่าสัดส่วนของประชากรเช่นเดียวกันและกำหนดให้สัดส่วนของลักษณะที่สนใจในประชากร เท่ากับ 0.5 ระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 5% และระดับความเชื่อมั่น 95% สามารถคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างกับประชากรที่มีขนาดเล็กได้ตั้งแต่ 10 ขึ้นไป 2.เนื้อหาที่ศึกษา บทเรียนออนไลน์หลักสูตรการเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy) สําหรับพลเมืองไทย แบ่งออกเป็น 4 ส่วน ดังนี้ 2.1 การเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy) 2.2 การใช้ดิจิทัล (Digital Skill/ICT Skill) 2.3 การแก้ปัญหาด้วยเครื่องมือดิจิทัล (Problem Solving with Digital Tools) 2.4 การปรับตัวการเปลี่ยนแปลงดิจิทัล (Adaptive Digital Transform)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1.ได้บทเรียนออนไลน์หลักสูตรการเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy) สําหรับพลเมืองไทย 2.นักศึกษาศึกษามีผลสัมฤทธิ์ในการทดสอบวัดระดับตามเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. ศึกษาเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเข้าใจดิจิทัล (Digital Literacy) 2. วิเคราะห์เนื้อหาข้อมูลบทเรียน 3. พัฒนาบทเรียน 4. ทดสอบบทเรียน 5. ประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บทเรียน
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :316 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายสุมนฒ์ จิรพัฒนพร บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด