รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000572
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การศึกษารูปแบบการเลี้ยงและวิถีการตลาดหนูพุกเชิงพาณิชย์ กรณีศึกษาจังหวัดอุทัยธานี
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Evaluation of Commercial Raising Bandicoot Rats System and Marketing Channal : A Case Study in Uthai Thani
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :รูปแบบการเลี้ยง, วิถีการตลาด, หนูพุก, ศักยภาพ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :70000
งบประมาณทั้งโครงการ :70,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :18 พฤษภาคม 2564
วันสิ้นสุดโครงการ :17 พฤษภาคม 2565
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
กลุ่มวิชาการ :วิศวกรรมอุสาหกรรมวิจัย
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 เมื่อปลายปี 2562 นับเป็นวิกฤตการณ์ที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนทั่วทั้งโลกรวมถึงประเทศไทย ทั้งการทำกิจกรรมต่าง ๆ และวิถีการดำเนินชีวิตประจำวัน ยิ่งไปกว่านั้นสถานการณ์ดังกล่าวยังส่งผลกระต่อต่อเศรษฐกิจและสังคมหลายธุรกิจกิจประสบปัญหา โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจภาคบริการ บางกิจการได้รับผลกระทบจนต้องปิดตัวไป วิกฤติการณ์ดังกล่าวยังส่งผลกระทบในวงกว้างไปยังภาคอุตสาหกรรมส่งผลให้ห่วงโซ่การผลิตและการขนส่งสินค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศชะลอตัวลงส่งผลให้ผู้ประกอบการขาดสภาพคล่องเสี่ยงต่อการปิดกิจการ ทำให้แรงงานจำนวนมากเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้าง ตลอดจนประชาชนทั่วไปไม่สามารถประกอบอาชีพหรือใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเป็นปกติ ทำให้ขาดรายได้ไม่สามารถเลี้ยงดูตนเองและครอบครัวได้ ดังจะเป็นจากการรายงานข้อมูลภาคการผลิตช่วงเดือน เมษายน พ.ศ. 2563 มีการจ้างงานลดลงเมื่อเทียบกับในช่วงระยะเวลาเดียวกันในปี 2562 (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2563) จากการศึกษาผลกระทบทางเศรษฐกิจจากวิกฤติโควิด-19 ส่งผลต่อโครงสร้างทางเศรษฐกิจไทย นอกจากจะทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงักแล้วยังส่งผลกระทบไปยังธุรกิจขนาดใหญ่ที่เปรียบเสมือนต้นน้ำไปจนถึงผู้ผลิตและแรงงานที่ปลายน้ำอีกด้วย ไม่จะเป็นหน่วยเศรษฐกิจรายย่อย SME ผู้ใช้แรงงานหรือเกษตรกร หลายคนมองว่าภาคเกษตรยังมีศักยภาพในการรองรับการจ้างแรงงานสำหรับแรงงานที่กลับไปภูมิลำเนาของตนเองได้ แต่ปัญหาภัยแล้งและปัญหาเชิงโครงสร้างต่าง ๆ ของภาคเกษตรไทยในปัจจุบันอาจทำให้เป็นไปได้ยากขึ้น (Attavanich et al, 2019) นอกจากนี้ความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลงไปส่งผลโดยตรงต่อรายได้เกษตรกรที่พึ่งพิงรายได้จากการรับจ้างทั่วไปนอกภาคเกษตร ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วการทำการเกษตรคิดเป็นรายได้ร้อยละ 80 ของรายได้ทั้งหมด ในจำนวนนี้ร้อยละ 60 มาจากการรับจ้างนอกภาคเกษตร และร้อยละ 40 เป็นรายได้จากญาติที่ทำงานต่างจังหวัด โดยรายได้จากการรับจ้างทั้งในและนอกภาคเกษตรของครัวเรือนเกษตรกรลดลงกว่าร้อยละ 50 นอกจากนี้รายได้จากเงินโอนของครัวเรือนลดลงร้อยละ 12 ซึ่งรายได้ที่ลดลงส่วนใหญ่เกิดจากการตกงาน ในขณะที่รายได้ของครัวเรือนจากการทำธุรกิจการค้าลดลงร้อยละ 23 ดังนั้นโดยภาพรวมผลกระทบจากวิกฤติครั้งนี้นอกจากจะส่งผลโดยตรงต่อรายได้ของแรงงานแล้วยังส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังรายได้ของครัวเรือนแรงงานในภาคการเกษตรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อีกด้วย แต่วิกฤติครั้งนี้กลับเป็นโอกาสแรงงานกลับคืนสู่ท้องถิ่นของตนเอง เป็นโอกาสที่จะมีแรงงานคุณภาพและอายุน้อยที่พร้อมทำงาน และน่าจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาภาคเกษตรไทยและเศรษฐกิจท้องถิ่น ซึ่งโอกาสนั้นได้มาจากข้อจำกัดที่บีบบังคับให้เกษตรกรต้องเรียนรู้และการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการเพิ่มผลิตภาพ และสร้างคุณค่าและการเข้าถึงตลาดให้กับผลผลิตทางการเกษตรตลอดจนเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เข้มแข็งขึ้น อุทัยธานีเป็นจังหวัดที่มีกลิ่นอายของวิถีชีวิตไทย เป็นเมืองที่น่าอยู่และเป็นเมืองแห่งธรรมชาติที่หลากหลาย สภาพทั่วไปเป็นป่าและภูเขา ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อน บริเวณตอนกลางของจังหวัดเป็นพื้นที่ดอนพื้นที่ด้านตะวันออกของจังหวัดส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มทางการเกษตร จากสภาพพื้นที่ดังกล่าวทำให้จังหวัดอุทัยธานีประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ โครงสร้างเศรษฐกิจของจังหวัดขึ้นอยู่กับภาคนอกเกษตรร้อยละ 65.34 ภาคเกษตรร้อยละ 36.66 โดยภาคนอกเกษตรที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจ ได้แก่ การผลิต (ร้อยละ 23.36) รองลงมาคือ การขายส่งและการขายปลีก จากรายงานสถานการณ์แรงงานของจังหวัดอุทัยธานี ไตรมาสที่ 3 ปี 2563 พบว่า เศรษฐกิจของจังหวัดโดยรวมลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้เป็นผลมาจากอุปทานการผลิตภาคเกษตรลดตัว ปริมาณผลิตภาคเกษตรหดตัวร้อยละ 50.0 แต่อัตราการว่างงานของประชากรในจังหวัดอุทัยธานีกลับมีอัตราสูงขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากแรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการว่างงานจากปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ย้ายกลับบ้านเกิด ส่งผลให้รายได้ของเกษตรกรลดตัวลงมากกว่างร้อยละ 40 ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมการลดตัวเกิดจากยอดขาย (สำนักงานแรงงานจังหวัดอุทัยธานี, 2564) ดังนั้นหากแรงงานที่ย้ายกลับบ้านเกิดมีอาชีพรองรับนำมาซึ่งสร้างรายได้สำหรับเลี้ยงตนเองและครอบครัว นอกจากจะจะช่วยลดอัตราการว่างงานแล้วยังช่วยให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย ในช่วงทศวรรษที่ผ่านการทำฟาร์มหนู หรือการเลี้ยงหนูเชิงพาณิชย์ ถือเป็นอาชีพเสริมจากการทำอาชีพเกษตรในเขตภาคอีสานแถบจังหวัดหนองคาย กาฬสินธุ์ ปัจจุบันกลายเป็นอาชีพที่กำลังได้รับความนิมจากเกษตรไม่เพียงแต่จังหวัดในภาคอีสานเท่านั้น การทำฟาร์มหนูยังพบในเขตภาคภาคเหนือ และภาคกลางอีกด้วย ด้วยการเลี้ยงทำได้ง่ายการลงทุนค่อนข้างต่ำแต่สามารถสร้างรายได้สูงถึงเดือนละ 30,000 – 100,000 บาท ดังจะเห็นได้จากจำนวนแรงานที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติโรคระบาดหันมาประกอบอาชีพเลี้ยงหนูพุกเพื่อสร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว จากการสำรวจและลงพื้นสัมภาษณ์เบื้องต้นกับเกษตรกรผู้เลี้ยงหนูพุกในลักษณะของฟาร์มในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานี พบว่า รูปแบบการเลี้ยงหนูพุกเกิดจากการเรียนรู้แบบทดลองกันเอง ยังไม่มีรูปแบบการเลี้ยงและการตลาดที่ชัดเจน ส่วนใหญ่เลี้ยงในโรงเรือนแบบเปิด ใช้วงบ่อซีเมนต์วางซ้อนกันเพื่อกันหนูพุกกระโดดหนี สำหรับการตลาดส่วนใหญ่เป็นการจำหน่ายพ่อและแม่พันธุ์ ให้กับกลุ่มอาชีพเลี้ยงหนูด้วยกัน ส่วนเนื้อหนูพุกจำหน่ายโดยตรงหน้าฟาร์มที่ราคากิโลกรัมละ 150 บาท สร้างรายได้เพียง 5,000 – 10,000 บาทต่อเดือนเท่านั้น จากราคาขายและรายได้ต่อเดือนของฟาร์มหนูพุกในเขตจังหวัดอุทัยธานีนั้นถือว่ายังมีราคาขายที่ค่อนข้างต่ำ เมื่อเทียบกับราคาขาย รายได้ต่อเดือน และความนิยมของผู้บริโภคภาคอีสาน ดังนั้นผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการการเลี้ยงหนูเชิงพาณิชย์จังหวัดอุทัยธานี โดยมุ่งเน้นพัฒนาทางศักยภาพผู้ประกอบการด้านรูปแบบการเลี้ยง โดยนำเทคโนโลยีที่เหมาะสมแต่ต้นทุนไม่สูงเข้ามาช่วยในกระบวนการ ตลอดจนสร้างการรับรู้ของผู้บริโภคหนูพุกเพื่อเพิ่มช่องทางการตลาด โดยให้เกษตรกรศึกษา เรียนรู้และปฏิบัติ และเสนอแนะแนวทางความคิดเห็นร่วมกัน
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อวิเคราะห์ศักยภาพรวมถึงปัจจัยสนับสนุนการเลี้ยงหนูพุกเชิงพาณิชย์ จังหวัดอุทัยธานี 2. เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการเลี้ยงหนูพุกเชิงพาณิชย์จังหวัดอุทัยธานี
ขอบเขตของโครงการ :การศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยกำหนดพื้นที่ศึกษาเป็นผู้ประกอบการเลี้ยงหนูพุกเชิงพาณิชย์จังหวัดอุทัยธานี โดยแบ่งการศึกษาออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้ 1. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมรวมถึงปัจจัยสนับสนุนการเลี้ยงหนูพุกเชิงพาณิชย์จังหวัดอุทัยธานี แบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1.1 วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในตามแบบจําลอง PRIMO-F Analysis 1.2 วิเคราะห์สภาพภายนอกตามแบบ PEST Analysis 1.3 วิเคราะห์ความน่าสนใจในการลงทุน ด้วย Nine Cell Matrix 2. ออกแบบรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการฟาร์มหนูพุก ด้าน การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน รูปแบบการเลี้ยง การสร้างการรับรู้ของผู้บริโภค และช่องทางการตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบทางแข่งขัน 3. ทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการฟาร์มหนูพุกโดยการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการฟาร์มหนูพุก อำเภอหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้ข้อมูลสภาพแวดล้อมของฟาร์มหนูพุกจังหวัดอุทัยธานี 2. ได้ต้นแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน รูปแบบการเลี้ยง การสร้างการรับรู้ของผู้บริโภคและการเข้าถึงช่องทางการตลาดของผู้ประกอบการฟาร์มหนูพุก 3. เป็นช่องทางการประกอบอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ของผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 4. สร้างมูลค่าเพิ่มแก่ฟาร์มหนูพุกจังหวัดอุทัยธานี
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :การศึกษาเพื่อหาข้อมูลหรือปัญหาเพื่อนำมาใช้ในการออกแบบพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการมีหลายวิธี วิธีที่นิยมใช้ เช่น วิธี SWOT Analysis และวิธีวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในโดยใช้รูปแบบของ PRIMO-F analysis เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่มีการนำมาใช้ ดังตัวอย่างงานวิจัยของ กฤษณะ ดาราเรือง (2558) ได้ทำการศึกษาศักยภาพการดำเนินการและจัดทำกลยุทธ์พัฒนาศักยภาพการแข่งขันของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ตำบลบ้านแก่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ และงานวิจัยของ กฤษณะ ดาราเรือง (2560) ทั้งนี้ได้ทำการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในโดยใช้แบบจำลอง PRIMO-F Analysis, PEST Analysis, SWOT Analysis และ Nine Cell Matrix โดยการสัมภาษณ์เชิงลึก ซึ่งพบว่า วิสาหกิจชุมชนมีการพัฒนาสินค้าให้เป็นที่รู้จักแก่ผู้บริโภค (การรับรู้สินค้า) มีการเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์และจำหน่ายด้วยสื่อสารสนเทศ และการเปิดตลาดในต่างประเทศ การพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันของผู้ประกอบการนั้น โดยศึกษาสภาพปัญหาจากปัจจัยที่สนับสนุนต่าง ๆ ได้แก่ การบริหารจัดการ ต้นทุนและผลตอบแทน เทคโนโลยี รวมถึงการตลาด ดังตัวอย่างงานวิจัยของ รัฐศักดิ์ ไข่แก้ว (2559) ได้ทำการศึกษา การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการฟาร์มไข่ไก่ กรณีศึกษาในอำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม โดยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก ซึ่งพบว่า มีปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการฟาร์มไข่ไก่ ได้แก่ บุคลากร การบริหารจัดการ การตลาด ต้นทุน และเทคโนโลยี ส่วนแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้เกิดผลสำเร็จนั้นจะต้องอาศัยปัจจัยหลักที่สำคัญในการดำเนินงาน ปัจจัยด้านบุคลากร ด้านการบริหารจัดการ ด้านการตลาด ด้านต้นทุน และด้านด้านเทคโนโลยี รวมถึงทรัพยากรมนุษย์ เมื่อองค์กรและบุคลากรมีคุณภาพจะช่วยให้การบริหารจัดการดีและมีประสิทธิภาพ
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :แนวคิด ทฤษฎี และสมมติฐานงานวิจัย 1. แนวคิดของ SWOT Analysis SWOT Analysis เป็นการวิเคราะห์สภาพองค์การ หรือหน่วยงานในปัจจุบัน เพื่อค้นหาจุดแข็ง จุดเด่น จุดด้อย หรือสิ่งที่อาจเป็นปัญหาสำคัญในการดำเนินงานสู่สภาพที่ต้องการในอนาคต SWOT เป็นตัวย่อของข้อความที่มีความหมายดังนี้ Strengths หมายถึง จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบ Weaknesses หมายถึง จุดอ่อนหรือข้อเสียเปรียบ Opportunities หมายถึง โอกาสที่จะดำเนินการได้ Threats หมายถึง อุปสรรค ข้อจำกัด หรือปัจจัยที่คุกคามการดำเนินงานขององค์การ 1.1 หลักการสำคัญของ SWOT ก็คือการวิเคราะห์โดยการสำรวจสภาพแวดล้อม 2 ด้าน ได้แก่สภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งเป็นการวิเคราะห์จุดแข็งจุดอ่อน เพื่อให้รู้ตนเอง (รู้เรา) รู้จักสภาพแวดล้อม (รู้เขา) ชัดเจน และวิเคราะห์โอกาส-อุปสรรค การวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริหารขององค์กรทราบถึงการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายนอกองค์กร ทั้งสิ่งที่ได้เกิดขึ้นแล้วและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงในอนาคต รวมทั้งผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ที่จะมีผลต่อองค์กร และจุดแข็ง จุดอ่อน และความสามารถด้านต่าง ๆ ที่องค์กรมีอยู่ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์และกิจกรรมดำเนินการขององค์กรที่เหมาะสมต่อไป 1.2 ประโยชน์ของการวิเคราะห์ SWOT การวิเคราะห์ SWOT เป็นการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมต่าง ๆ ทั้งภายนอกและภายในองค์กร ซึ่งปัจจัยเหล่านี้แต่ละอย่างจะช่วยให้เข้าใจได้ว่ามีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานขององค์กรอย่างไร จุดแข็งขององค์กรจะเป็นความสามารถภายในที่ถูกใช้ประโยชน์เพื่อการบรรลุเป้าหมาย ในขณะที่จุดอ่อนขององค์กรจะเป็นคุณลักษณะภายใน ที่อาจจะทำลายผลการดำเนินงาน โอกาสทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ให้โอกาสเพื่อการบรรลุเป้าหมายองค์กรในทางกลับกันอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมจะเป็นสถานการณ์ที่ขัดขวางการบรรลุเป้าหมายขององค์กร ผลจากการวิเคราะห์ SWOT นี้จะใช้เป็นแนวทางในการกำหนดวิสัยทัศน์ การกำหนดกลยุทธ์ เพื่อให้องค์กรเกิดการพัฒนาไปในทางที่เหมาะสม 1.3 ขั้นตอนวิธีการดำเนินการทำ SWOT Analysis การวิเคราะห์ SWOT จะครอบคลุมขอบเขตของปัจจัยที่กว้าง ด้วยการระบุจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคขององค์กร ทำให้มีข้อมูล ในการกำหนดทิศทางหรือเป้าหมายที่จะถูกสร้างขึ้นมาบนจุดแข็งขององค์กร และแสวงหาประโยชน์จากโอกาสทางสภาพแวดล้อม และสามารถ กำหนดกลยุทธ์ที่มุ่งเอาชนะอุปสรรคทางสภาพแวดล้อมหรือลดจุดอ่อนขององค์กรให้มีน้อยที่สุดได้ ภายใต้การวิเคราะห์ SWOT นั้น จะต้องวิเคราะห์ทั้งสภาพแวดล้อมภายในและภายนอก องค์กร โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1.3.1 การประเมินสภาพแวดล้อมภายในองค์กร จะเกี่ยวกับการวิเคราะห์และพิจารณาทรัพยากรและความสามารถภายในองค์กร ทุกๆ ด้าน เพื่อที่จะระบุจุดแข็งและจุดอ่อนขององค์กรแหล่งที่มาเบื้องต้นของข้อมูลเพื่อการประเมินสภาพแวดล้อมภายใน คือ ระบบข้อมูลเพื่อการบริหารที่ครอบคลุมทุกด้าน ทั้งในด้านโครงสร้าง ระบบ ระเบียบ วิธีปฏิบัติงาน บรรยากาศในการทำงาน และทรัพยากร (คน เงิน วัสดุ การจัดการ) ค่านิยมองค์กร รวมถึงการพิจารณาผลการดำเนินงานที่ผ่านมาขององค์กร เพื่อที่จะเข้าใจสถานการณ์และผลของวิธีการดำเนินการก่อนหน้านี้ด้วย - จุดแข็งขององค์กร (S-Strengths) เป็นการวิเคราะห์ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้นเองว่าปัจจัยใดภายในองค์กรที่เป็นข้อได้เปรียบหรือจุดเด่นขององค์กรที่องค์กรควรนำมาใช้ในการพัฒนาองค์กรได้ และควรดำรงไว้เพื่อการเสริมสร้างความเข็มแข็งขององค์กร - จุดอ่อนขององค์กร (W-Weaknesses) เป็นการวิเคราะห์ ปัจจัยภายในจากมุมมองของผู้ที่อยู่ภายในจากมุมมอง ของผู้ที่อยู่ภายในองค์กรนั้น ๆ เองว่าปัจจัยภายในองค์กรที่เป็นจุดด้อย ข้อเสียเปรียบขององค์กรที่ควรปรับปรุงให้ดีขึ้นหรือขจัดให้หมดไป อันจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กร 1.3.2 การประเมินสภาพแวดล้อมภายนอก โดยพิจารณาโอกาสและอุปสรรคทางการดำเนินงานขององค์กรที่จะได้รับผลกระทบจากสภาพแวดล้อมต่างๆ ได้แก่ 1) สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจทั้งในและระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์กร เช่น อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ นโยบาย การเงิน การงบประมาณ 2) สภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น โครงสร้างประชากร ระดับการศึกษา อัตรารู้หนังสือ การตั้งถิ่นฐาน การอพยพและการย้ายถิ่น ลักษณะชุมชน ขนบธรรมเนียมประเพณี ค่านิยม ความเชื่อและวัฒนธรรม 3) สภาพแวดล้อมทางการเมือง เช่น พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา มติคณะรัฐมนตรี 4) สภาพแวดล้อมทางเทคโนโลยี หมายถึง กรรมวิธีใหม่ๆและพัฒนาการทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตและให้บริการ 5) สถานะสุขภาพ อัตราการป่วย/ตายด้วยโรคและภัยสุขภาพของประชากร พฤติกรรมทางสุขภาพ รวมถึงระบบสุขภาพ 6) สภาพแวดล้อมทางสิ่งแวดล้อม เช่น การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิอากาศ ระบบนิเวศ ผลกระทบจากการเกษตร อุตสาหกรรม เป็นต้น - โอกาสทางสภาพแวดล้อม (O-Opportunities) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กร ปัจจัยใดที่สามารถส่งผล กระทบประโยชน์ ทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อการดำเนินการขององค์กรในระดับมหาภาค และองค์กรสามารถฉกฉวยข้อดีเหล่านี้มาเสริมสร้างให้หน่วยงานเข็มแข็งขึ้นได้ - อุปสรรคทางสภาพแวดล้อม (T-Threats) เป็นการวิเคราะห์ว่าปัจจัยภายนอกองค์กรปัจจัยใดที่สามารถส่งผล กระทบในระดับมหภาคในทางที่จะก่อให้เกิดความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งองค์กรจำต้องหลีกเลี่ยง หรือปรับสภาพองค์กรให้มี ความแข็งแกร่งพร้อมที่จะเผชิญแรงกระทบดังกล่าวได้ 1.3.3 ระบุสถานการณ์จากการประเมินสภาพแวดล้อมเมื่อได้ข้อมูลเกี่ยวกับ จุดแข็ง-จุดอ่อน โอกาส-อุปสรรค จากการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกด้วยการประเมินสภาพแวดล้อมภายในและสภาพแวดล้อมภายนอกแล้ว ให้นำจุดแข็ง-จุดอ่อนภายในมาเปรียบเทียบกับ โอกาส-อุปสรรค จากภายนอกเพื่อดูว่าองค์กร กำลังเผชิญสถานการณ์เช่นใดและภายใต้สถานการณ์เช่นนั้น องค์กรควรจะทำอย่างไร โดยทั่วไป ในการวิเคราะห์ SWOT ดังกล่าวนี้ องค์กร จะอยู่ในสถานการณ์ 4 รูปแบบดังนี้ - สถานการณ์ที่ 1 (จุดแข็ง-โอกาส) สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ที่พึ่งปรารถนาที่สุด เนื่องจากองค์กรค่อนข้างจะมีหลายอย่าง ดังนั้น ผู้บริหารขององค์กรควรกำหนดกลยุทธ์ในเชิงรุก (Aggressive - strategy) เพื่อดึงเอาจุดแข็งที่มีอยู่มาเสริมสร้างและปรับใช้และฉกฉวยโอกาสต่างๆ ที่เปิดมาหาประโยชน์อย่างเต็มที่ - สถานการณ์ที่ 2 (จุดอ่อน-ภัยอุปสรรค) สถานการณ์นี้เป็นสถานการณ์ ที่เลวร้ายที่สุด เนื่องจากองค์กรกำลังเผชิญอยู่กับอุปสรรคจากภายนอกและมีปัญหาจุดอ่อนภายในหลายประการ ดังนั้น ทางเลือกที่ดีที่สุด คือ กลยุทธ์ การตั้งรับหรือป้องกันตัว (Defensive strategy) เพื่อพยายามลดหรือหลบหลีกภัยอุปสรรค ต่างๆที่คาดว่าจะเกิดขึ้น ตลอดจนหามาตรการที่จะทำให้องค์กรเกิดความสูญเสียที่น้อยที่สุด - สถานการณ์ที่ 3 (จุดอ่อน-โอกาส) สถานการณ์องค์กรมีโอกาสเป็น ข้อได้เปรียบด้านการแข่งขันอยู่หลายประการ แต่ติดขัดอยู่ตรงที่มีปัญหาอุปสรรคที่เป็นจุดอ่อนอยู่ หลายอย่างเช่นกัน ดังนั้น ทางออก คือ กลยุทธ์การพลิกตัว (Turnaround-oriented strategy) เพื่อจัดหรือแก้ไขจุดอ่อนภายในต่างๆ ให้ พร้อมที่จะฉกฉวยโอกาสต่างๆที่เปิดให้ - สถานการณ์ที่ 4 (จุดแข็ง-อุปสรรค) สถานการณ์นี้เกิดขึ้นจากการที่สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวยต่อการดำเนินงาน แต่ตัวองค์กรมีข้อได้เปรียบที่เป็นจุดแข็งหลายประการ ดังนั้นแทนที่จะรอจนกระทั่งสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ก็สามารถที่จะเลือกกลยุทธ์การแตกตัว หรือ ขยายขอบข่ายกิจการ (Diversification Strategy) เพื่อใช้ประโยชน์จากจุดแข็งที่มีสร้างโอกาสในระยะยาวด้านอื่นๆแทน 1.3.4 ข้อพิจารณาในการวิเคราะห์ SWOT มีดังนี้ - ควรวิเคราะห์แยกแยะควรทำอย่างลึกซึ้ง อยู่บนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ์ เพื่อให้ได้ปัจจัยที่มีความสำคัญจริง ๆ เป็นสาเหตุหลัก ๆ ของปัญหาที่แท้จริง กล่าวคือ เป็นปัจจัยที่มีประโยชน์ในการนำไปกำหนดเป็นนโยบาย ตลอดจนสามารถนำไปกำหนดกลยุทธ์ ที่จะทำให้องค์การ/ชุมชนบรรลุเป้าหมายที่เป็นผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย (Result) ได้จริง - การกำหนดปัจจัยต่าง ๆ ไม่ควรกำหนดของเขตของความหมายของปัจจัยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น จุดอ่อน (W) หรือ จุดแข็ง (S) หรือ โอกาส (O) หรือ อุปสรรค (T) ให้มีความหมายคาบเกี่ยวกัน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องตัดสินใจ และชี้ชัดว่าปัจจัยที่กำหนดขึ้นมานั้นเป็นปัจจัยในกลุ่มใด ทั้งนี้เพราะปัจจัยที่อยู่ต่างกลุ่มกัน ก็ต้องสมควรที่จะนำไปกำหนดกลยุทธ์ที่ต่างกันออกไป 2. แบบจำลองการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายใน PRIMO-F analysis สภาพแวดล้อมภายในเป็นปัจจัยที่สำคัญในการสร้างคุณค่าให้เกิดขึ้นกับลูกค้า (Customer Value) และสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในโดยวิเคราะห์ปัจจัยต่าง ๆ ช่วยให้เกิดการใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่า ซึ่งจะต้องมีการระดมความคิดในการวิเคราะห์ปัจจัยต่างๆ ซึ่งมีการนำเสนอรูปแบบ หรือ Model ที่ใช้ในการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในไว้เป็นรูปแบบของ PRIMO-F Analysis รูปแบบนี้ หรือ Model นี้มาจากตัวย่อของปัจจัย 5 ปัจจัยด้วยกันคือการวิเคราะห์เพื่อประเมิน คือ P แทนความหมายของ People หรือ บุคลากร - บุคลากรมีประสบการณ์ และความรู้ในงานที่ทำมากน้อยแค่ไหน - วัฒนธรรมองค์กร จิตสำนึก ทัศนคติ พฤติกรรม ปรัชญา ค่านิยม เข้มแข็งหรือไม่ - ความสามารถบุคลากรเป็นอย่างไร -
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. ศึกษาเอกสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับทฤษฎีรวมถึงปัจจัยสนับสนุนการเลี้ยงหนูพุก และวิธีการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ได้แก่ การวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน รูปแบบการเลี้ยง ตลอดจนการสร้างการรับรู้ของผู้บริโภค และช่องทางการตลาดเพื่อสร้างความได้เปรียบทางแข่งขัน 2. ศึกษาวิเคราะห์สภาพแวดล้อมรวมถึงปัจจัยสนับสนุนการเลี้ยงหนูพุกเชิงพาณิชย์จังหวัดอุทัยธานี ด้วยทฤษฎี SWOT Analysis โดยวิเคราะห์ข้อมูลบริบทภายในตามแบบจําลอง PRIMO-F Analysis โดยใช้ข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและวิเคราะห์ข้อมูลสภาพแวดล้อมภายนอกทางธุรกิจโดยใช้แบบจําลอง PEST Analysis และวิเคราะห์ความน่าสนใจในการลงทุนด้วย Nine Cell Matrix 3. ดำเนินการออกแบบรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการด้านการวิเคราะห์ต้นทุนและผลตอบแทน รูปแบบการเลี้ยง การสร้างการรับรู้ของผู้บริโภคและการเข้าถึงช่องทางการตลาดของผู้ประกอบการฟาร์มหนูพุก 4. ดำเนินการทดลองรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบเลี้ยงหนูพุกเชิงพาณิชย์ร่วมกับผู้ประกอบการฟาร์มหนูพุก ตำบลหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี 5. สรุปผลการศึกษา 6. จัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ สถานที่ทำการเก็บข้อมูล : จังหวัดอุทัยธานี
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :1542 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวชัญญพัชร์ จารุวัชรเศรษฐ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย70
นางสาวกรรณิการ์ มิ่งเมือง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด