รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000571
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The development of self-satisfaction skills based on the sufficiency economy philosophy
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การพัฒนา ทักษะการพึ่งตนเอง หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :80000
งบประมาณทั้งโครงการ :80,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :18 พฤษภาคม 2564
วันสิ้นสุดโครงการ :17 พฤษภาคม 2565
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาปรัชญา
กลุ่มวิชาการ :ปรัชญา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ประเทศไทยมีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่12 (พ.ศ. 2564) การพัฒนาประเทศในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 จะมุ่งบรรลุเป้าหมายในระยะ 5 ปี ที่จะสามารถต่อยอดในระยะต่อไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาระยะยาวตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีโดยมีหลักการสำคัญของแผนพัฒนาฯ หลายด้าน ในโจทย์วิจัยนี้ มี ข้อ 1. “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ต่อเนื่องมาตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ ๙ เพื่อให้ เกิดบูรณาการการพัฒนาในทุกมิติอย่างสมเหตุสมผล มีความพอประมาณ และมีระบบภูมิคุ้มกันและ การบริหารจัดการความเสี่ยงที่ดีซึ่งเป็นเงื่อนไขจำเป็นสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยมุ่งเน้นการพัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์ สังคมไทยเป็นสังคมคุณภาพ สร้างโอกาสและมีที่ยืนให้กับทุกคนในสังคมได้ดำเนินชีวิต ที่ดีมีความสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ในขณะที่ระบบเศรษฐกิจของประเทศก็เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง มีคุณภาพ และมีเสถียรภาพ การกระจายความมั่งคั่งอย่างทั่วถึงและเป็นธรรมเป็นการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม รักษาความหลากหลายทางชีวภาพ ชุมชนวิถีชีวิต ค่านิยม ประเพณีและวัฒนธรรม และข้อ 2) ยึด “คนเป็นศูนย์กลางการพัฒนา” มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตและสุขภาวะที่ดีสำหรับคนไทย พัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์มีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดี รับผิดชอบต่อสังคม มีจริยธรรมและคุณธรรม พัฒนาคนทุกช่วงวัยและเตรียมความพร้อมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ อย่างมีคุณภาพ รวมถึงการสร้างคนให้ใช้ประโยชน์และอยู่กับสิ่งแวดล้อมอย่างเกื้อกูล อนุรักษ์ฟื้นฟู ใช้ประโยชน์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างเหมาะสม จากหลักสำคัญของแผนพัฒนาฯ นี้ จะบรรลุเป้าหมายได้จะต้องอาศัยนโยบายของรัฐบาล 11 ด้าน ในด้านที่สอดคล้องของหลักสำคัญของแผนพัฒนาฯ นี้ คือ ด้านการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และพัฒนา และ นวัตกรรม ซึ่งสนับสนุนการเพิ่มค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาของประเทศเพื่อมุ่งเป้าหมายให้ไม่ต่ำกว่า 1% ของรายได้ประชาชาติ และมีสัดส่วนรัฐต่อเอกชน 30:70 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อให้ ประเทศมีความสามารถในการแข่งขัน การวิจัยและพัฒนาเป็นเครื่องสำคัญที่ช่วยแก้ปัญหาในวิกฤตศตวรรษที่ 21 นี้ โดยเฉพาะปัญหาโรคระบาด ประเทศไทยและประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกพบกับวิกฤตโรคระบาค คือ โรคโคโรน่า หรือ โรคโควิด 19 ทำให้เกิดภาวะถดถอยทางเศรษกิจเป็นอย่างมาก ซึ่ง มูลนิธิเศรษฐศาสตร์นอกขนบโดยสุวิทย์สรรพวิทยศิริ “มูลนิธิสวค.” กล่าวว่า ผลกระทบของโรคระบาดโควิด 19 ทำให้ประเทศไทย ตลอดปี พ.ศ. เศรษฐกิจหดตัวร้อยละ 9.2 ในระดับที่ดีที่สุดในรอบ 20 ปีที่จะทำให้หลาย บริษัท ต้องปิดตัวลงและปัญหาการมีงานทำและการจับจ่ายใช้จ่าย และในวันที่ 28 พฤษภาคม 2563 รายงานว่า นายทศพร ศิริสัมพันธ์ เลขาธิการสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สภาพัฒน์ เผยถึงภาวะสังคมไทยประจำไตรมาส 1 ของปี 2563 ว่า จำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.03 เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด 19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อแรงงานโดยประเมินว่าในไตรมาส 2 ของปี อาจเห็นผลชัดเจนและจะส่งผลต่อแรงงานเสี่ยงต่อการถูกเลิกจ้างทั้งสิ้น 8.4 ล้านคน ทั้งกลุ่มท่องเที่ยว อุตสาหกรรม และบริการ รวมถึงเด็กจบใหม่ 5.2 แสนคน ปีนี้จะหางานได้ยากมากขึ้น ความจำเป็นที่จะทำการวิจัยและพัฒนาให้คนไทย “พึ่งตนเองได้” ดังพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ร. 9 ได้ตรัสไว้ว่า การพึ่งตนเอง นั้น หมายความว่า ผลิตอะไรมีพอที่จะใช้ ไม่ต้องไปขอซื้อคนอื่น อยู่ได้ด้วยตนเอง (พึ่งตนเอง) ....... บางคนแปลจากภาษาฝรั่งว่า ให้ยืนบนขาตัวเอง คำว่ายืนบนขาตัวเองนี่ มีคนบางคน พูดว่าชอบกลใครจะมายืนบนขา คนอื่นมายืนบนขาเรา เราก็โกรธแต่ตัวเองยืนบนขาตัวเองก็ต้องเสียหลักหกล้มหรือล้มลง อันนี้ก็เป็นความคิดที่อาจจะเฟื่องไปหน่อย แต่ว่าเป็นตามที่เขาเรียกว่ายืนบนขาของตัวเอง (ซึ่งแปลว่าพึ่งตนเอง) หมายความว่า สองขาของ เรานี่ ยืนบนพื้น ให้อยู่ได้ไม่หกล้ม ไม่ต้องไปขอยืนขาของคนอื่นมา ใช้สำหรับยืน... ซึ่ง หลักการพึ่งตนเอง ต้องมีความพอดี 5 1) ความพอดีด้านจิตใจ ต้องเข็มแข็ง พึ่งตนเองได้ มีจิตสำนึกที่ดี เอื้ออาทร และนึกถึงประโยชน์ส่วนรวม 2) ความพอดีด้านสังคมต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน สร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน รู้จักผนึกกำลังและมีกระบวนการเรียนรู้ที่เกิดจากรากฐานที่มั่นคงและแข็งแรง 3) ความพอดีด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รู้จักใช้และจัดการอย่างฉลาดรอบคอบ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนสูงสุด และใช้ทรัพยากรในประเทศเพื่อพัฒนาประเทศให้มั่นคงอยู่เป็นขั้นเป็นตอนไป 4) ความพอดีด้านเทคโนโลยีรู้จักใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และสอดคล้องกับความต้องการ และควรพัฒนาเทคโนโลยีจากภูมิปัญญาชาวบ้านของเราเอง เพื่อสอดคล้องและเป็นประโยชน์ต่อสภาพแวดล้อมของเราเอง 5) ความพอดีด้านเศรษฐกิจ เพื่อรายได้ ลดรายจ่าย ดำรงชีวิตอย่าง ดังนั้น การวิจัยและการพัฒนา ในเรื่อง การพัฒนาทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ในภาวะโรคระบาคโควิด 19 สามารถแก้ปัญหาเศรษฐกิจในครัวเรือน ชุมชน และสังคมได้เป็นอย่างดีทำให้คนในครอบครัวพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ตลอดถึงคนในชุมชนนั้นช่วยเหลืออาทรกัน เป็นสังคมที่สันติสุขได้ โดยการเริ่มต้นที่โรงเรียน เยาวชน ไปสู่ครอบครัว ชุมชนและสังคมต่อไป ที่สำคัญจะต้องพึ่งตน รักษาดูแลตนเองให้ดีที่สุด ก่อนที่มองหาผู้อื่นมาช่วย
จุดเด่นของโครงการ :เป็นวิจัยแบบวิจัยและการพัฒนา เพื่อพัฒนาชุมชนในการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนมาบแก ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 2.เพื่อพัฒนา ปฏิบัติการ ฝึกทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนมาบแก ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 3.เพื่อส่งเสริมการพึ่งตนเองของชุมชนในยามวิกฤตโรคระบาคโควิด 19 และนำเสนอรูปแบบการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนมาบแก ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :1) ขอบเขตด้านประชากร ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุมชนมาบแก ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 35 คน 2) ขอบเขตด้านพื้นที่ทำการศึกษาชุมชนมาบแก ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 3) ขอบเขตด้านระยะเวลา 1 ปี 4) ขอบเขตด้านตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรที่ศึกษาครอบคลุมเนื้อหาในเรื่องต่อไปนี้ วิถีชีวิตชุมชนมาบแก ทักษะการพึ่งตนเอง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ชุมชนตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ให้เรียนรู้ และฝึกปฏิบัติทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2. มีกลุ่มชุมชนพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 3. บทความวิจัย หนังสือ ตำรา 4. เป็นฐานข้อมูลทางวิชาการสำหรับนักวิชาการทั่วไป
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :แนวคิด ทฤษฎีการพึ่งตนเอง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้ 1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ 2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ 3. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง 2 ประการ ดังนี้ 1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ 2. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต หลักพุทธธรรม หลักมัชฌิมาปฏิปทาที่เป็นไปเพื่อการพ้นทุกข์แล้วคุณค่าในเบื้องต้นยังเป็นไปเพื่อการรู้จักการดำเนินชีวิตให้เกิดความพอดีเป็นแนวทางของการแก้ทุกข์ที่เรียกว่า “อริยมรรคมีองค์ 8” โดยมุ่งเน้นให้มีความสุขกายและสุขใจไปด้วย ดังนี้ 1. สัมมาทิฏฐิ คือ ปัญญาเห็นชอบ หมายถึง การปฏิบัติอย่างเหมาะสมตามความเป็นจริงด้วยปัญญา 2. สัมมาสังกัปปะ คือ ดำริชอบหมายถึง การใช้สมองความคิดพิจารณาแต่ในทางกุศลหรือความดีงาม 3. สัมมาวาจา คือ เจรจาชอบ หมายถึง การพูดต้องสุภาพ แต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ดีงาม 4. สัมมากัมมันตะ คือ การประพฤติดีงาม ทางกายหรือกิจกรรมทางกายทั้งปวง 5. สัมมาอาชีวะ คือ การทำมาหากินอย่างสุจริตชน ไม่คดโกง เอาเปรียบคนอื่น ๆ มากเกินไป 6. สัมมาวายามะ คือ ความอุตสาหะพยายาม ประกอบความเพียรในการกุศลกรรม 7. สัมมาสติ คือ การไม่ปล่อยให้เกิดความพลั้งเผลอ จิตเลื่อนลอย ดำรงอยู่ด้วยความรู้ตัวอยู่เป็นปกติ 8. สัมมาสมาธิ คือ การฝึกจิตให้ตั้งมั่น สงบ สงัด จากกิเลส นิวรณ์อยู่เป็นปกติ อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ (ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน) หลักธรรมนี้เป็นคำสอนให้บุคคลพึ่งตนเอง ซึ่งแนวทางของระบบเศรษฐกิจพอเพียงก็ได้มุ่งเน้นให้พึ่งตนเองในการทำมาหาเลี้ยงชีพในการสร้างฐานะและการเก็บรักษาทรัพย์ที่หามาได้เพื่อจับจ่ายใช้สอยในยามจำเป็นนอกจากเป็นที่พึ่งแห่งตนแล้วจะต้องเป็นที่พึ่งของบุคคลอื่นด้วยนอกจากในระดับบุคคลแล้วยังมุ่งเน้นให้การพัฒนาประเทศชาติให้พึ่งตนเองในลักษณะ “เศรษฐกิจพอเพียง” นั่นคือการพัฒนาที่ไม่อิงเศรษฐกิจโลกจนเกินไป หลักสันโดษ หลักสันโดษนี้มุ่งให้บุคคลพึงพอใจในสิ่งของหรือทรัพย์สินที่ตนเองได้มาและใช้ จ่ายใน สิ่งที่ก่อให้เกิดประโยชน์ ให้บุคคลรู้จักประมาณ ได้แก่ การประหยัดและรู้จักออม ไม่ฟุ่มเฟือยฟุ้งเฟ้อมีความเป็นอยู่อย่างสงบเรียบง่าย และโปร่งใส ไม่ทะเยอทะยานต่อสู้และเบียดเบียนบุคคลอื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน อยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุขในคัมภีร์ มังคลทีปนี ได้ให้ความหมายของคำว่า สันโดษ ไว้ 3 นัยคือ ยินดีสิ่งที่เป็นของตน, ยินดีในสิ่งที่มีอยู่ และ ยินดีด้วยใจที่เสมอ (ด้วยใจที่มั่นคง) หลักสัปปุริสธรรม 7 คือ ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมที่ทำให้เป็นสัตบุรุษ หรือคุณสมบัติของคนดี นั่นเอง ประกอบด้วย 1. ธัมมัญญุตา ความรู้จักเหตุ คือรู้หลักความจริง รู้หลักการ รู้หลักเกณฑ์ รู้กฎแห่งธรรมดา รู้กฎเกณฑ์แห่งเหตุผล และรู้หลักการที่จะทำให้เกิดผล 2. อัตถัญญุตา ความรู้จักอรรถ รู้ความมุ่งหมาย หรือ รู้จักผล คือ รู้ความหมาย รู้ความมุ่งหมาย รู้ประโยชน์ที่ประสงค์ 3. อัตตัญญุตา ความรู้จักตน คือ รู้ว่า เรานั้น ว่าโดยฐานะ ภาวะ เพศ กำลัง ความรู้ ความสามารถ ความถนัด และคุณธรรม เป็นต้น บัดนี้ เท่าไร อย่างไร แล้วประพฤติให้เหมาะสมและรู้ที่จะแก้ไขปรับปรุงต่อไป 4. มัตตัญญุตา ความรู้จักประมาณ คือ ความพอดี เช่น ภิกษุรู้จักประมาณในการรับและบริโภคปัจจัยสี่คฤหัสถ์รู้จักประมาณในการใช้จ่ายโภคทรัพย์ เป็นต้น 5. กาลัญญุตา ความรู้จักกาล คือรู้กาลเวลาอันเหมาะสม และระยะเวลาที่ควรหรือจะต้องใช้ในการประกอบกิจ ทำหน้าที่การงาน เช่น ให้ตรงเวลา ให้เป็นเวลา ให้ทันเวลา ให้พอเวลา เป็นต้น 6. ปริสัญญุตา ความรู้จักบริษัท คือรู้จักชุมชน และรู้จักที่ประชุม รู้กริยาที่จะประพฤติต่อชุมชนนั้นๆ ว่าชุมชนนี้เมื่อเข้าไปหา จะต้องทำกริยาอย่างนี้ จะต้องพูดอย่างนี้ ชุมชนนี้ควรสงเคราะห์อย่างนี้ เป็นต้น 7. ปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา ความรู้จักบุคคล คือ ความแตกต่างแห่งบุคคลว่าโดยอัธยาศัยความสามารถและคุณธรรม เป็นต้น ใคร ๆ ยิ่งหรือหย่อนอย่างไร และรู้ที่จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้น ๆ ด้วยดี เป็นต้น ทิฏฐธัมมิกัตถะ เป็นข้อปฏิบัติสำคัญที่ทำให้เกิดผล คือ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทำให้มีทรัพย์สินเงินทอง พึ่งตนเองได้ เรียกว่าธรรมที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ปัจจุบัน บางทีเรียกว่า “หัวใจเศรษฐี” โดยมีคำย่อคือ “อุ““อา““กะ““สะ“ ดังนี้คือ 1. อุฏฐานะสัมปทา (อุ) หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความขยันหมั่นเพียร รู้จักใช้ปัญญาไตร่ตรองพิจารณาหาวิธีการที่แยบคายในการทำงาน มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักคิด รู้จักทำ รู้จักดำเนินการด้านเศรษฐกิจ ทำการงานประกอบอาชีพให้ได้ผลดี 2. อารักขสัมปทา (อา) หมายถึง การถึงพร้อมด้วยการรักษา สามารถปกป้องคุ้มครองรักษาทรัพย์สินที่หามาได้ ไม่ให้สูญหายพินาศไปด้วยภัยต่าง ๆ 3. กัลยาณมิตตตา (กะ) หมายถึง การรู้จักคบคนดีหรือมีกัลยาณมิตร ซึ่งจะเป็นองค์ประกอบสำคัญ ที่ช่วยให้เจริญก้าวหน้าในวงการอาชีพนั้น ๆ ทำให้รู้เห็นช่องทางและโอกาสต่าง ๆ ในการงาน ทันต่อเหตุการณ์ ตลอดจนรู้จักปฏิบัติต่อทรัพย์ของตนอย่างถูกต้อง ไม่ถูกมิตรชั่วชักจูงไปในทางอบายมุข ซึ่งจะทำให้ทรัพย์สินไม่เพิ่มพูนหรือมีแต่จะหดหายไป 4. สมชีวิตา (สะ) หมายถึง ความเป็นอยู่พอดี หรือความเป็นอยู่สมดุล คือเลี้ยงชีพแต่พอดี ไม่ให้ฟุ่มเฟือย ไม่ให้ฝืดเคือง ให้รายได้เหนือรายจ่าย มีเหลือเก็บไว้ใช้ในคราวจำเป็น โภคาวิภาค 4 เป็นวิธีการจัดสรรทรัพย์ในการใช้จ่าย โดยจัดสรรทรัพย์ออกเป็น ๔ ส่วน ดังนี้คือ 1. แบ่ง 1 ส่วน เพื่อใช้บริโภค เลี้ยงตนเองให้เป็นสุข เลี้ยงดูครอบครัว และคนที่อยู่ในความรับผิดชอบให้เป็นสุข และใช้ทำความดี บำเพ็ญประโยชน์แต่สาธารณะ เป็นต้น 2. แบ่ง 2 ส่วน เพื่อจัดสรรไว้สำหรับลงทุน ประกอบกิจการงานต่าง ๆ 3. แบ่ง 1 ส่วน เพื่อเก็บไว้ใช้ในยามจำเป็น เช่น เมื่อเกิดอุบัติเหตุ เมื่อเจ็บไข้ได้ป่วย เป็นต้น โภคอาทิยะ 5 คือ เมื่อมีทรัพย์สิน ควรนำมาใช้ประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ประกอบด้วย 1. ใช้จ่ายทรัพย์นั้นเลี้ยงตนเอง เลี้ยงดูครอบครัว มารดาบิดา ให้เป็นสุข 2. ใช้ทรัพย์นั้นบำรุงเลี้ยงมิตรสหาย ผู้ร่วมกิจการงานให้เป็นสุข 3. ใช้ป้องกันภยันตรายต่าง ๆ 4. ทำพลี คือ การสละบำรุงสงเคราะห์ ๕ อย่าง ได้แก่ อติถิพลี (ใช้ต้อนรับแขก), ญาติพลี (ใช้สงเคราะห์ญาติ), ราชพลี (ใช้บำรุงราชการด้วยการเสียภาษีอากร), เทวตาพลี (บำรุงเทวดา), ปุพพเปตพลี (ทำบุญอุทิศให้แก่บุพการี) 5. ใช้เพื่อบำรุงสมณพราหมณ์ กามโภคีสุข 4 (สุขของคฤหัสถ์ 4) คือ คนครองเรือนควรจะมีความสุข ๔ ประการ ซึ่งคนครองเรือนควรจะพยายามให้เข้าถึงให้ได้ คือ 1. อัตถิสุข สุขเกิดจากการมีทรัพย์ เป็นหลักประกันของชีวิต โดยเฉพาะความอุ่นใจ ปลาบปลื้มภูมิใจว่าเรามีทรัพย์ที่หามาได้ด้วยกำลังของตนเอง 2. โภคสุข สุขเกิดจากการบริโภคทรัพย์ หรือใช้จ่ายทรัพย์ คือ รู้จักใช้จ่ายทรัพย์นั้นให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตของตน เลี้ยงดูบุคคลอื่น และทำประโยชน์สุขต่อผู้อื่นและสังคม เป็นต้น 3. อนณสุข สุขเกิดจากความไม่เป็นหนี้ ไม่ต้องทุกข์ใจ เป็นกังวลใจเพราะมีหนี้สินติดค้างใคร 4. อนวัชชสุข สุขเกิดจากความประพฤติที่ไม่มีโทษ คือ มีกายกรรม วจีกรรม มโนกรรมที่สุจริต ที่ใครจะว่ากล่าวติเตียนไม่ได้ มีความบริสุทธิ์ และมีความมั่นใจในการดำเนินชีวิตของตน งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :แนวคิดการพัฒนาชุมชน แนวคิดการพึ่งตนเอง แนวคิดหลักธรรมพระพุทธศาสนา แนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัย 1.การศึกษาสำรวจวิถีชีวิต วิเคราะห์สังเคราะห์สภาพปัญหา และความต้องการ -สำรวจ สังเคราะห์ ข้อมูลพื้นฐานเรื่องการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากเอกสาร งานวิจัย และวิถีชีวิตของชุมชนมาบแก ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จากผู้นำชุมชน และประชาชนในชุมชนจำนวน จำนวน 7 หมู่ สุ่มกลุ่มตัวอย่างหมู่ละ 5 คน รวมทั้งหมด 35 คน -ได้ข้อมูล และปัญหา ความต้องการของชุมชน 2. ประชุมสัมมนา การอออแบบพัฒนารูปแบบ วิธีการ -การออบแบบ พัฒนารูปแบบ วิธีการ ในการพัฒนาทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยผู้วิจัย กลุ่มตัวอย่าง 7 หมู่บ้าน หมู่ละ 5 คน รวม 35 คน เข้าอบรมระดมความคิด -ได้รูปแบบทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง การพัฒนา 1. อบรม การพัฒนาการใช้รูปแบบ วิธีการ -กาพัฒนาฝึกทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยกลุ่มอย่าง จำนวน 35 คน ลงมือปฏิบัติจริงและพัฒนา เช่น การรวมกลุ่มกัน -ได้เรียนรู้โดยปฏิบัติจริงทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2.การส่งเสริม และการเผยแพร่ -ส่งเสริมให้กลุ่มตัวอย่าง เผยแพร่ หรือขยายเครือข่ายในหมู่บ้านของตน และการนำเสนอผลงานการวิจัย เรื่อง ทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในที่ประชุมสัมมานาทางวิชาการ หรือการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการให้กว้างขวาง -มีการร่วมกลุ่มกันเป็นการพึ่งตนเองของชุมชน =ชุมชนพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลมาบแก ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :วิธีการดำเนินวิจัย เรื่อง การพัฒนาทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยมีขั้นตอนการวิจัย ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 สำรวจ สังเคราะห์ ข้อมูลพื้นฐานเรื่องการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง จากเอกสาร งานวิจัย และวิถีชีวิตของชุมชนมาบแก ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จากผู้นำชุมชน และประชาชนในชุมชนจำนวน จำนวน 7 หมู่ สุ่มกลุ่มตัวอย่างหมู่ละ 5 คน รวมทั้งหมด 35 คน ขั้นตอนที่ 2 - การออบแบบ พัฒนารูปแบบ วิธีการ ในการพัฒนาทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ โดยผู้วิจัย กลุ่มตัวอย่าง 7 หมู่บ้าน หมู่ละ 5 คน รวม 35 คน เข้าอบรมระดมความคิด - กาพัฒนาฝึกทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยกลุ่มอย่าง จำนวน 35 คน ลงมือปฏิบัติจริง ขั้นตอนที่ 3 ส่งเสริมให้กลุ่มตัวอย่าง เผยแพร่ หรือขยายเครือข่ายในหมู่บ้านของตน และการนำเสนอผลงานการวิจัย เรื่อง ทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ในที่ประชุมสัมมานาทางวิชาการ หรือการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการให้กว้างขวาง การพัฒนาเครื่องมือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ โดยจัดทำแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ นำไปให้ผู้เชี่่ยวชาญ จำนวน 5 ท่านตรวจสอบความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างอื่นจาก กลุ่มตัวอย่างทำวิจัย แล้วนำมาปรับปรุง เพื่อนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างการทำวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล แจกแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ เก็บรวบรวมเตรียมนำไปวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป การวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้โปรแกรมสำเร็จวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา การประเมินผลในส่วนการพัฒนา เก็บข้อมูลชุมชน เช่น รูปภาพ ก่อน และเปรียบเทียบ หลังโครงการมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัตถุประสงค์ที่่ตั้งไว้ คิดเป็นร้อยละ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การพัฒนาทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีความสำคัญในปัจจุบันปัญหาโรคระบาดโควิด 19 ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องฝึกให้ชุมชนมีทักษะการพึ่งตนเองให้มากที่สุด วัตถประสงค์ 1.เพื่อศึกษาวิถีชีวิตของชุมชนมาบแก ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 2.เพื่อพัฒนา ปฏิบัติการ ฝึกทักษะการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนมาบแก ตำบลมาบแกอำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 3.เพื่อส่งเสริมการพึ่งตนเองของชุมชนในยามวิกฤตโรคระบาคโควิด 19 และนำเสนอรูปแบบการพึ่งตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของชุมชนมาบแก ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ ขอบเขตการวิจัย 1) ขอบเขตด้านประชากร ประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ชุมชนมาบแก ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 35 คน 2) ขอบเขตด้านพื้นที่ทำการศึกษาชุมชนมาบแก ตำบลมาบแก อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ 3) ขอบเขตด้านระยะเวลา 1 ปี 4) ขอบเขตด้านตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรที่ศึกษาครอบคลุมเนื้อหาในเรื่องต่อไปนี้ วิถีชีวิตชุมชนมาบแก ทักษะการพึ่งตนเอง หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว
จำนวนเข้าชมโครงการ :84 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายธนสิทธิ์ คณฑา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด