รหัสโครงการ : | R000000567 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การผลิตแอนิเมชันแนวสาระบันเทิงเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาท้องถิ่น |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | The Creation of Infotainment Animation for Publicising the Local Development Projects |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | แอนิเมชันแนวสาระบันเทิง |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | สถาบันวิจัยและพัฒนา > กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย |
ลักษณะโครงการวิจัย : | แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | - |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 150000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 150,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 18 พฤษภาคม 2564 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 17 พฤษภาคม 2565 |
ประเภทของโครงการ : | การวิจัยพื้นฐาน |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ |
กลุ่มวิชาการ : | นิเทศศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | แอนิเมชัน คือ การทําให้ภาพนิ่งเกิดการเคลื่อนไหว มีการใส่เสียงประกอบ และมีสีสันสดใส จึงทําให้งานที่พัฒนาเป็นแอนิเมชันมีความน่าสนใจมากขึ้น ทั้งนี้เป็นเพราะมนุษย์เรามักเลือกที่จะมองรูปภาพ หรืออะไรที่มีสีสันก่อนมองเนื้อหาเสมอ ปัจจุบันเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างมากจึงทําให้เกิดเครื่องมือสําหรับสร้างงาน กราฟิกและแอนิเมชันที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเฉพาะการใช้คอมพิวเตอร์ในงานแอนิเมชันและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ความนิยมใช้งานแอนิเมชันช่วยในการสื่อความหมายจึงเกิดขึ้นแพร่หลายในสื่อเกือบทุกประเภท ทําให้แอนิเมชันได้เข้ามามีบทบาทกับงานหลาย ๆ ด้าน การสร้างงานแอนิเมชันจะช่วยทําให้ง่ายต่อการสื่อความหมาย เพิ่มประสิทธิภาพของการคิดในบุคคลที่มีความแตกต่างได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นแอนิเมชันยังเป็นสื่อสำคัญที่ช่วยมทำให้สามารถใช้จินตการได้อย่างไม่มีขอบเขต และสามารถอธิบายเรื่องที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่ายขึ้นอีกด้วย
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์มีภารกิจและพันธกิจสำคัญนอกเหนือจากการจัดการศึกษาใน ระดับอุดมศึกษา ก็คือ การบริการวิชาการและการจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาท้องถิ่น และด้วยสถานภาพของ “มหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่น” ทำให้หน่วยงานต่าง ๆ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ได้ตระหนักถึงบทบาทและความสำคัญของประเด็นและได้ดำเนินการจัดทำโครงการเพื่อพัฒนาท้องถิ่นมาจากต่อเนื่อง และทำให้เกิดการพัฒนาท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรม
อย่างไรก็ตามแม้ว่าการจัดทำโครงการจะสำเร็จลุล่วงได้ผลสัมฤทธิ์ตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ แต่ก็ยังขาดการประชาสัมพันธ์โครงการและกิจกรรมการดำเนินการดังกล่าวให้สาธารณชนได้รับรู้อย่างแพร่หลายในวงกว้าง ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงแนวคิดที่จะนำศึกษาและคัดสรรโครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 5 พื้นที เพื่อนำมาสร้างบทแอนิเมชันแนวสาระบันเทิงและผลิตเป็นแอนิเมชันเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ต่อไป
|
จุดเด่นของโครงการ : | คณะผู้วิจัยจึงแนวคิดที่จะนำศึกษาและคัดสรรโครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 5 พื้นที เพื่อนำมาสร้างบทแอนิเมชันแนวสาระบันเทิงและผลิตเป็นแอนิเมชันเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ต่อไป
|
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1, เพื่อสร้างบทแอนิเมชันแนวสาระบันเทิงเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
2. เพื่อสร้างสรรค์การ์ตูนอนิเมชั่นเพื่องานประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
|
ขอบเขตของโครงการ : | 1, สร้างบทแอนิเมชันแนวสาระบันเทิงเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 5 ตอน ตอนละ 3 นาที
2. สร้างสรรค์การ์ตูนอนิเมชั่นเพื่องานประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 5 ตอน ตอนละ 3 นาที
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | เกิดการสร้างแอนิเมชันเพื่อเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | แนวคิดเรื่องแอนิเมชัน
คำว่า แอนิเมชัน (Animation) มาจากรากศัพท์ละตินคำว่า “animare” ที่แปลว่า การทำให้มีชีวิต ดังนั้นแอนิเมชันจึงหมายถึงการสร้างสรรค์ลายเส้นและรูปทรงให้สามารถเคลื่อนไหวหรือดูมีชีวิตขึ้นมาได้ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ให้สามารถเคลื่อนไหวได้อย่างต่อเนื่อง มีระบบแสง สี เสียง ประกอบการเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดความสวยงาม ซึ่งสามารถถ่ายทอดเนื้อหาให้เข้าใจง่ายและมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น ผ่านสื่อต่าง ๆ ทั้งภาพยนตร์ โทรทัศน์ เกมส์ และอื่น ๆ
ประเภทของแอนิเมชัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ แอนิเมชันภาพวาด (Drawn Animation) เป็นลักษณะของงานแอนิเมชันแบบ 2 มิติ ที่เกิดจากการวาดภาพหลาย ๆ ภาพและใช้กล้องถ่ายไว้ทีละเฟรมก่อนนำมาฉายเป็นภาพเคลื่อนไหวแบบต่อเนื่องในเวลาอันรวดเร็ว สตอปโมชัน (Stop Motion) หรือเรียกว่า โมเดลแอนิเมชัน คือ การใช้กล้องถ่ายภาพนิ่งของหุ่นจำลอง (model) ที่ขยับรูปร่างหรือท่าทางทีละนิดแล้วนำมาแสดงเป็นภาพเคลื่อนไหวแบบต่อเนื่องกันด้วยความเร็วสูง และ คอมพิวเตอร์แอนิเมชัน (Computer Animation) เป็นการสร้างภาพเคลื่อนไหวโดยอาศัยฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์มาเป็นเครื่องมือหลักในการผลิตแอนิเมชันแต่ละขั้นตอน ซึ่งมีแนวคิดมาจากการใช้คอมพิวเตอร์กราฟิกในการสร้าและปรับแต่งภาพ โดยได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน
ขั้นตอนในการผลิตผลงานแอนิเมชันแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอนหลัก ได้แก่ 1. การเตรียมงาน (Preproduction) เป็นขั้นตอนสำคัญในการสร้างเนื้อเรื่องของแอนิเมชัน ได้แก่ การกำหนดเนื้อเรื่องหรือบท การออกแบบภาพ การออกแบบบทภาพหรือสตอรีบอร์ด การกำหนดเสียงพากย์ การจัดทำบอร์ดภาพเคลื่อนไหว 2. การลงมือผลิตงาน (Production) เป็นขั้นตอนการนำเนื้อหาที่ออกแบบไว้มาสร้างเป็นจัวละครและฉากหลัก พร้อมกำหนดการเครื่องไหว ได้แก่ การสร้างวัตถุ การออกแบบพื้นผิด การใส่กระดูก การจัดแสงและมุมกล้อง การเคลื่อนไหว การประมวลผลภาพเคลื่อนไหว และ 3. การตรวจเก็บงาน (Postproduction) เป็นขั้นตอนสุดท้ายในการเก็บรายละเอียดของงานให้มีความสมบูรณ์และเกิดเป็นผลงานแอนิเมชันตามที่ต้องการ ได้แก่ การประกอบผลงาน การใส่ดนตรีและเสียงประกอบ และการตัดต่อ
แนวคิดเรื่องการเล่าเรื่อง
การเล่าเรื่อง (Narration) ศึกษาและวิเคราะห์ตามองค์ประกอบในการเล่าเรื่อง โดยอ้างอิงจากหลักการเขียนบทภาพยนตร์บันเทิง (รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม, 2558) ดังต่อไปนี้ 1) โครงเรื่อง (Plot) 2) แก่นเรื่อง (Theme) 3) ตัวละคร (Character) 4) ฉากและสถานที่ (Setting) 5) มุมมองการเล่าเรื่อง (Narrative Point of View)
|
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | 1. ศึกษาข้อมูลโครงการพัฒนาท้องถิ่นของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และคัดสรรพื้นที่ที่มีการจัดโครงการพัฒนาท้องถิ่นของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 5 พื้นที่
2. เขียนบทแอนิเมชันแนวสาระบันเทิงเพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์ประเด็นโครงการพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 5 ตอน ตอนละ 3 นาที
3. สร้างแอนิเมชันแนวสาระบันเทิงเพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์ประเด็นโครงการพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 5 ตอน ตอนละ 3 นาที |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | 1. ศึกษาข้อมูลโครงการพัฒนาท้องถิ่นของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และคัดสรรพื้นที่ที่มีการจัดโครงการพัฒนาท้องถิ่นของสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 5 พื้นที่
2. ศึกษาการเขียนบทแอนิเมชันและการสร้างแอนิเมชัน
3. วางโครงเรื่องบทแอนิเมชันแนวสาระบันเทิงเพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์ประเด็นโครงการพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 5 ตอน ตอนละ 3 นาที
4. เขียนบทแอนิเมชันแนวสาระบันเทิงเพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์ประเด็นโครงการพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 5 ตอน ตอนละ 3 นาที
5. สร้างแอนิเมชันแนวสาระบันเทิงเพื่อสื่อสารประชาสัมพันธ์ประเด็นโครงการพัฒนาท้องถิ่น จำนวน 5 ตอน ตอนละ 3 นาที
|
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | คณะผู้วิจัยจึงแนวคิดที่จะนำศึกษาและคัดสรรโครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 5 พื้นที เพื่อนำมาสร้างบทแอนิเมชันแนวสาระบันเทิงและผลิตเป็นแอนิเมชันเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาท้องถิ่นของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ต่อไป
|
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 342 ครั้ง |