รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000566
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Factors Affecting Working for Academic Supporting Personnel of Nakhon Sawan Rajabhat University
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สำนักงานอธิการบดี > กลุ่มงานการเงิน
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :15000
งบประมาณทั้งโครงการ :15,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :18 พฤษภาคม 2564
วันสิ้นสุดโครงการ :17 พฤษภาคม 2565
ประเภทของโครงการ :อื่นๆ
กลุ่มสาขาวิชาการ :อื่นๆ
สาขาวิชาการ :อื่นๆ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ความสำคัญของบุคลากรในองค์กรเป็นส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนในองค์ว่าจะก้าวหน้าไปทางใดพฤติกรรมที่แสดงออกมาทั้งในเชิงคุณภาพ และปริมาณซึ่งสิ่งเหล่านี้เกิดจากปัจจัยทั้งภายใน และภายนอกขององค์กร ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมของพนักงานในองค์กรในการปฏิบัติงานให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ (วัชระ เลิศพงษ์วรพันธ์, 2553, หน้า 11) องค์กรที่มุ่งให้ความสําคัญต่อประสิทธิภาพในการทํางาน ก็จะดําเนินการสํารวจองค์ประกอบที่สําคัญ ที่จะสามารถพัฒนาประสิทธิภาพในการทํางาน เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตําแหน่งของตนให้อยู่ในระดับแนวหน้าได้ (พยอม วงศ์สารศรี, 2542: 82) องค์กรจำเป็นต้องมีคคว่ามตระหนักต่อการวางแนวทางบริหาร และการดูแลบุคลากรในองค์กร คำนึงถึงความต้องการทางใจ การให้กำลังใจ และความพึงพอใจเป็นหัวใจสำคัญในการสร้างเสริมประสิทธิภาพของงาน (สมคิด บางโม, 2545 : 41) องค์กรควรส่งเสริมให้ บุคลากรทุกคนมีส่วนสําคัญเป็นอย่างยิ่งในการช่วยขับเคลื่อน ผลักดัน ให้การดําเนินงานบรรลุเป้าหมาย ซึ่งความร่วมมือร่วมกันนั้นเองจะนําพาองค์กรไปสู่ผลสําเร็จ (ปัญญาพร ฐิติพงศ์, 2558) จากปัญหาข้างต้นผู้วิจัยและคณะได้ศึกษาถึงการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งเป็นองค์กรใหญ่ มีจำนวนบุคลากรหลายประเภท โดยแยกเป็น ข้าราชการ ลูกจ้างประจำ พนักงานในสถาบันอุดมศึกษา พนักงานราชการ ลูกจ้างชั่วคราว สายสนับสนุนซึ่งในองค์กรใหญ่ที่มีบุคลากรเป็นจำนวนมาก ความสุขและความภาคภูมิใจในการทำงาน และอิสระในการตัดสินใจในการทำงานเป็นองค์ประกอบสำคัญในการปฏิบัติงานให้มีความสุขของบุคลากรสายสนับสนุน เมื่อพิจารณาความสุขในการทำงานก็จะแตกต่างกันไป ถ้าบุคลากรสายสนับสนุนมีความสุขในการทำงานก็จะส่งผลต่อผลงานที่ออกมา และความคิดริเริ่มสร้างสรรค์จะทำผลงานที่ออกมามีคุณภาพและเป็นผลดีต่อองค์กร ผู้วิจัยและคณะเล็งเห็นถึงความสำคัญดังกล่าว จึงอยากวิจัยปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. เพื่อศึกษาแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3. เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :ศึกษาแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้ทราบถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. ได้ทราบถึงแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3. ได้แนวทางในการปรับปรุงการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :แนวคิด ทฤษฎี และสมมติฐานงานวิจัย 1. ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน 2. ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการท างาน 3. ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความผูกพนั ต่อองค์การ 4. ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการทำงานเป็นทีม 5. ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความก้าวหน้าในการทำงาน
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ในการวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยและคณะศึกษาปัจจัยอิทธิพลและปัจจัยแรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุนมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยดำเนินการวิจัยดังนี้ 1. ผู้วิจัยและคณะศึกษาเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอิทธิพลและแรงจูงใจในองค์กรต่าง ๆ 2. ผู้วิจัยและคณะสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับอิทธิพลและแรงจูงใจ 3. ผู้วิจัยและคณะเสนอเครื่องมือให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไข 4. ผู้วิจัยนำเครื่องมือไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างได้แก่ บุคลากร คณะวิทยาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ คณะครุศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สำนักงานอธิการบดี สำนักศิลปะและ วัฒนธรรม สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน สถาบันวิจัยและพัฒนา บุคลากรจำนวน ๑๐ หน่วยงาน หน่วยงานละ 10 คน รวม 100 คน เลือกแบบเจาะจง 5. ผู้วิจัยและคณะสรุปและประเมินผลจากการเก็บข้อมูล 6. การวิเคราะห์ข้อมูล การดำเนินวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของระบบจากผู้เชี่ยวชาญ โดยหาคาเฉลี่ย ( ) และหาสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :2422 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางอังศนา อินแดน บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด