รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000565
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การศึกษาความต้องการการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย (NSRU MIS) ระดับบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :A study of the Needs for Using Management Information system (NSRU MIS) Individual Level at Nakhon Sawan Rajabhat University
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สำนักงานอธิการบดี > กองกลาง กลุ่มงานการเจ้าหน้าที่
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :15000
งบประมาณทั้งโครงการ :15,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :18 พฤษภาคม 2564
วันสิ้นสุดโครงการ :17 พฤษภาคม 2565
ประเภทของโครงการ :อื่นๆ
กลุ่มสาขาวิชาการ :อื่นๆ
สาขาวิชาการ :อื่นๆ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นฐานรากที่รองรับ “สังคมสารสนเทศ” (Information Society) ที่มี “สารสนเทศ” เป็นหัวใจสำคัญ เทคโนโลยีสารสนเทศ สามารถประยุกต์ใช้ประโยชน์ในการจัดบริการสังคมพื้นฐาน ในขบวนการพัฒนาสังคม เช่น ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการศึกษา ทางด้านสาธารณสุข การบริหารรัฐกิจ ฯลฯ สารสนเทศมีความสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อการจัดการทุกระดับขององค์การ ทั้งในการปฏิบัติงาน และการบริการ ใช้ช่วยในการตัดสินใจ การวางแผน และการประเมินผลเปรียบเทียบช่วยเพิ่มระดับความรู้ (Knowledge) ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริง สารสนเทศจะมีค่าหรือความหมายมากขึ้นเมื่อมีการใช้งานมากขึ้นและสารสนเทศนั้นส่งผลกระทบถึงการตัดสินใจหรือการกระทำที่ดำเนินการ ระบบสารสนเทศการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย (MIS) ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์มีความสำคัญของข้อมูลบุคลากรของมหาวิทยาลัยคือการเก็บรวบรวม ประวัติการรับราชการ วุฒิการศึกษา อัตราเงินเดือน ข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ข้อมูลเหล่านี้ถือว่าเป็นหลักฐานเป็นได้ทั้งข้อมูลเชิง ปริมาณหรือเชิงคุณภาพ ผู้ทำหน้าที่เก็บรวมรวมข้อมูลเหล่านี้ เพื่อนำไป จัดทำรายงานและวิเคราะห์ข้อมูลให้เป็นสถิติ เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ เช่นการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ฯ วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ในการดำเนินงานในสถานการณ์ปัจจุบันของบุคลากร ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ และผลการดำเนินงาน ของตัวชี้วัดตามคำรับรองการปฏิบัติราชการฯ เพื่อให้ทราบถึงแนว ทางการพัฒนา และสามารถจัดลำดับความสำคัญในการวางยุทธศาสตร์ได้ตรงต่อความต้องการ ซึ่งจะ ทำให้มหาวิทยาลัย สามารถจัดสรรทรัพยากรในการดำเนินงาน และปรับตัวได้เท่าทันกับสถานการณ์ ปัจจุบันได้ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้นำระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS) มาใช้ เก็บข้อมูลพื้นฐานของบุคลากรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งบุคลากรที่ใช้ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS) จะบุคคลหรือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ในด้านงานหลักสูตร งานทะเบียนและประมวลผลงานพัสดุ งานการเงิน งานการเจ้าหน้าที่ งานนโยบายและแผน ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้งานของระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (MIS) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ต่อการใช้งานของบุคลากรทางการศึกษ
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ : 1. เพื่อศึกษาการใช้งานงานระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย (MIS) ของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้ใช้งานที่มีต่อระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย (MIS) ของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3. เพื่อเป็นแนวทางการปรับปรุงระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย (MIS) ของบุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :-
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :-
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย (MIS) ระดับบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ผู้วิจัยดำเนินตามขั้นตอนดังนี้ 1. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับระบบสารสนเทศฯ 2. การสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย ผู้วิจัยดำเนินการสร้างและตรวจสอบคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 2.1 กำหนดหัวข้อและสร้างแบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ โดยผู้วิจัยแบ่งการ ประเมินออกเป็น 4 ด้าน โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับแบบประสิทธิภาพของระบบด้านต่าง ๆได้แก่ 1) ด้าน ความถูกต้องของข้อมูลในระบบ 2) ด้านข้อมูลที่ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และ 3) ด้านความปลอดภัยของระบบ 4) ด้านความสะดวกและง่ายต่อการใช้งานระบบ 2.2 การสร้างแบบประเมิน ผู้วิจัยได้สร้างแบบประเมิน ของบุคลากรที่มีต่อ งานระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย (MIS) ระดับบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นแบบมาตราส่วน ประเมินค่า (Rating Scale)ใน 5 ระดับตามแนวคิดของลิเคิร์ท (Likert’s) โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเกี่ยวกับความ พึงพอใจด้านต่าง ๆ ซึ่งมีระดับค่าน้ำหนักคะแนนเป็นดังนี้ (ธานินทร์ ศิลป์จาร, 2549) คะแนนอยู่ในระดับมากที่สุด เท่ากับ 5 คะแนน คะแนนอยู่ในระดับมาก เท่ากับ 4 คะแนน คะแนนอยู่ในระดับปานกลาง เท่ากับ 3 คะแนน คะแนนในระดับน้อย เท่ากับ 2 คะแนน คะแนนอยู่ในระดับปรับปรุง เท่ากับ 1 นำแบบประเมินที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบ ความถูกต้องเหมาะสมรวมถึงภาษา และความสมบูรณ์ของแบบประเมิน 2.3 การตรวจสอบ นำแบบประเมินประสิทธิภาพหรือความต้องการที่มีต่อการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย (MIS) ระดับบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญ ตรวจสอบความถูกต้อง เหมาะสม รวมถึงความสมบูรณ์ของแบบประเมินประสิทธิภาพหรือแบบประมินปัจจัยที่มีต่อระบบ 2.4 แก้ไขปรับปรุง นำแบบประเมินประสิทธิภาพของระบบ ที่ได้รับการตรวจสอบมาปรับปรุง แก้ไขเพื่อนำไปให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินประสิทธิภาพหรือแบบประมินปัจจัยที่มีต่อระบบ 2.5 การนำไปใช้ นำแบบประเมินไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างเพื่อประเมิน หลังจากที่ทดลองใช้ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย (MIS) ระดับบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3. ขั้นตอนและวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล 3.1 ผู้วิจัยแนะนำการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย (MIS) ระดับบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และชี้แจงวัตถุประสงค์ในการเก็บข้อมูลในครั้งนี้ให้กับผู้ใช้งานระบบ 3.2 เมื่อผู้ใช้งานใช้งานระบบทดลองใช้ระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการมหาวิทยาลัย (MIS) ระดับบุคคล มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เสร็จเรียบร้อย ผู้วิจัยจึงดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยแจก แบบประเมินให้กับผู้ใช้งานระบบ และนำข้อมูลจากแบบสอบถามไปวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป 4. การวิเคราะห์ข้อมูล การดำเนินวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยทำการวิเคราะห์ข้อมูลประสิทธิภาพของระบบจากผู้เชี่ยวชาญและแบบประเมินของผู้ใช้งานระบบ โดยหาคาเฉลี่ย ( ) และหาสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :107 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวกาญจน์วริน สิทธิปรีชาพงษ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด