รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000563
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการความรู้ของสํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Development of Web Application for Knowledge Management of Academic Resources and Information Technology Center of Nakhon Sawan Rajabhat University
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :เว็บแอปพลิเคชัน, การจัดการความรู้, การบ่งชี้ความรู้, การเข้าถึงความรู้, การแลกเปลี่ยนเรียนรู้, Web Application, Knowledge Management, Knowledge Identification, Knowledge Access, Knowledge sharing
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ > สำนักงานผู้อำนวยการ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยและโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้นแล้ว
งบประมาณที่เสนอขอ :15000
งบประมาณทั้งโครงการ :15,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :18 พฤษภาคม 2564
วันสิ้นสุดโครงการ :17 พฤษภาคม 2565
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :อื่นๆ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :สํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ได้ดําเนินการจัดการความรู้ภายในหน่วยงานตามแผนการจัดการความรู้ที่ได้เสนอและรายงานผลต่อมหาวิทยาลัยเป็นประจำทุกปี โดยมีการจัดรูปแบบการจัดการความรู้ให้มีความเหมาะสมกับการนําความรู้ไปใช้ของบุคลากร มีบรรยากาศ และวัฒนธรรมการเรียนรู้ภายในองค์การตามบริบทของหน่วยงาน ซึ่งในกระบวนการจัดการความรู้ มีข้อมูลความรู้จำนวนมากกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคล และเอกสาร ทั้งในรูปแบบคู่มือปฏิบัติงาน บทความ งานวิจัย และเอกสารดิจิทัลที่มีการจัดเก็บรวบรวมไว้เป็นระบบภายในหน่วยงาน ตามกระบวนการ ISO 9001:2015 ซึ่งผู้วิจัยในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้มีส่วนร่วมในการรับผิดชอบงานด้านการจัดการความรู้ จึงเกิดแนวความคิดในการพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการความรู้ เพื่อใช้ในการจัดเก็บข้อมูลความรู้ที่อยู่ในรูปแบบของเอกสาร เช่น คู่มือปฏิบัติงาน งานวิจัย บทความฯ รวมถึงความรู้ที่อยู่ในตัวคน ซึ่งเป็นบุคคลที่มีความรู้ความชำนาญในงานที่ปฏิบัติ ที่สามารถถ่ายทอดหรือแบ่งปันความรู้ให้แก่ผู้อื่นได้ เพื่อให้ระบบดังกล่าวสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจัดเก็บ รวบรวมความรู้ที่กระจัดกระจายในตัวบุคคลและเอกสารให้เป็นระบบเพื่อให้บุคลากรทุกคนในหน่วยงานสามารถเข้าถึงความรู้ สามารถนำมาพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญในการปฏิบัติงาน และถ่ายทอดความรู้แก่ผู้อื่นได้ เพื่อให้มีการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ มีการบ่งชี้ความรู้ การเข้าถึงความรู้ การแบ่งปัน แลกเปลี่ยนความรู้ และส่งเสริมการเรียนรู้ทั้งภายใน-ภายนอกหน่วยงาน ตลอดจนผู้บริหารอาจใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนา การบริหารจัดการหน่วยงานให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ และสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยที่กระบวนการจัดการความรู้?เป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่ช่วยให้เข้าถึงขั้นตอนที่ทำให้เกิดการจัดการความรู้ หรือพัฒนาการความรู้ที่อยู่ทั้งในตัวบุคคลและเอกสาร ซึ่งระบบการจัดการความรู้เพื่อใช้ในการจัดเก็บความรู้อย่างเป็นระบบ สามารถสืบค้นหรือค้นหาความรู้ โดยมีการร่วมกันกำหนดแนววิธีการปฏิบัติงาน และใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการความรู้ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนตั้งแต่ระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก มีปรัชญาในการจัดการศึกษา เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่พัฒนาท้องถิ่น พัฒนากำลังคนให้มีศักยภาพในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ ให้บริการวิชาการและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น การพัฒนาประสิทธิภาพของระบบบริหารจัดการให้เป็นมหาวิทยาลัยแห่งนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น พัฒนาแหล่งเรียนรู้ในมหาวิทยาลัยและในท้องถิ่น ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การพัฒนาระบบการบริหารจัดการความรู้ในองค์กร เป็นองค์การที่เป็นคลังแห่งความรู้ คลังแห่งปัญญาที่เป็นที่พึ่งแก่สังคม และให้ความสำคัญกับการจัดการความรู้เพื่อรวบรวมองค์ความรู้และพัฒนาให้เป็นระบบเพื่อใช้ในการพัฒนาบุคลากร พัฒนางาน และพัฒนาองค์การให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ โดยการสร้างและพัฒนาสังคมฐานความรู้ การพัฒนาองค์ความรู้ถือเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาเป็นกลยุทธ์ที่สามารถนำไปใช้ได้จริง การจัดการความรู้ในองค์การของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งเป็นหน่วยงานสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การพัฒนามหาวิทยาลัย และบริการชุมชน ที่มีโครงสร้างขององค์การที่แตกต่างกันตามพันธกิจ ประกอบด้วย 3 หน่วยงาน คือ 1) สำนักงานผู้อำนวยการ 2) ศูนย์วิทยบริการ และ 3) ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร จึงเป็นการจัดการความรู้ในองค์กร โดยการรวบรวมความรู้ ที่มีอยู่ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นระบบ โดยบูรณาการความรู้ที่ได้มาให้สอดคล้องกับเทคโนโลยี โครงสร้างองค์การ และกลยุทธ์ เพื่อยกระดับความรู้ให้สูงขึ้น เป็นแหล่งความรู้ภายในองค์กรเพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อเป็นประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาองค์การให้มีความเจริญก้าวหน้า อันจะส่งผลให้องค์การ มีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการความรู้ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการความรู้เพื่อการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในองค์กรของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3. เพื่อให้เป็นแหล่งข้อมูลความรู้ในการให้บริการแก่สังคม ชุมชน ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :1. ขอบเขตพื้นที่การวิจัย: สํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. ขอบเขตด้านประชากร และกลุ่มเป้าหมาย: ประชากร และกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ บุคลากร และผู้บริหารที่มีส่วนร่วมในการจัดการความรู้ (KM) ของสํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3. ขอบเขตเนื้อหาของการวิจัย: การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันและการนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความรู้ของสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ให้เป็นแหล่งองค์ความรู้ที่มีฐานข้อมูลความรู้สำหรับผู้ใช้งานที่สามารถเพิ่มเติมองค์ความรู้โดยผู้ปฏิบัติงานจากทุกที่ทุกเวลาโดยไม่จำกัด โดยบุคลากร ผู้ใช้บริการ หรือบุคคลทั่วไปสามารถอ่าน ศึกษา เพิ่มเติมความรู้ได้ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ทั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ทั้งจากภายในและภายนอกหน่วยงาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. มีเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการความรู้ของบุคลากรภายในหน่วยงาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน และการให้บริการ 2. เป็นฐานข้อมูลความรู้ที่มีการรวบรวมองค์ความรู้ที่กระจัดกระจายอยู?ในตัวบุคคล หรือเอกสารมาพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ภายในองค์กรอย่างเป็นระบบ เพื่อการแบ่งปันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 3. มีแนวทางและกระบวนการจัดการความรู้อย้างเป็นระบบ มีการสร้างและแสวงหาความรู้ การบ่งชี้ความรู้ การเข้าถึงความรู้ การแบ้งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และการเรียนรู้ 4. เป็นแหล่งองค์ความรู้ที่มีข้อมูลสำหรับการจัดการความรู้ของบุคลากรภายในหน่วยงาน ที่สามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้ได้โดยไม่จำกัดเวลาและสถานที่ได้ทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ 5. สามารถนำผลการวิจัยและเว็บแอปพลิเคชันเพื่อการจัดการองค์ความรู้ไปประยุกต์ใช้กับหน่วยงานอื่นในสังคม ชุมชนได้
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :พรรณี สวนเพลง และคณะ (2552) ได้ทำการวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการความรู้เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) นำรูปแบบการจัดการความรู้ไปปฏิบัติจริง และประเมินผลการนำรูปแบบการจัดการความรู้ กรณีศึกษา: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 2) ประเมินความเป็นองค์กรแห่งการเรียนของมหาวิทยาลัยราชภัฏ และ 3) เพื่อเสนอการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสู่เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ ใช้วิธีการวิจัยแบบบูรณาการใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Methodology) ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ มีขั้นตอนการวิจัย คือ 1) การนำเอารูปแบบการจัดการความรู้ (KM Model) ที่ได้จาก Phase 1 มาสร้างเว็บไซต์ (Knowledge Management Portal) ทดลองใช้ และทำการประเมินผล โดยกลุ่มตัวอย่าง 2) ทำการประเมินความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดยกลุ่มตัวอย่าง 511 คน และ 3) นำผลที่ได้จากการประเมินความเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ มาวิเคราะห์ SWOT และนำเสนอกลยุทธ์ทางการพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า 1. การนำรูปแบบการจัดการความรู้ไปปฏิบัติจริง และประเมินผลการนำรูปแบบการจัดการความรู้ โดยใช้กรณีศึกษา: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต 1.1 การพัฒนาเว็บไซต์ KM Portal โดยนำรูปแบบการจัดการความรู้ซึ่งเป็นผลของการวิจัยในระยะที่ 1 ซึ่งมีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ส่วน คือ ภาวะผู้นำ การสร้างแรงงานความรู้ การปฏิสัมพันธ์ความรู้ การสื่อสารความรู้และเทคโนโลยี การไว้ใจซึ่งกันและกัน และ พลังร่วม ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถเรียกดูได้ที่ http://www.dusit.ac.th/kmarit/ เป็นเว็บไซต์มีข้อมูลที่เป็นข้อมูลพื้นฐานที่ใช้สำหรับกระบวนการจัดการความรู้ของสำนักวิทยบริการได้อย่างครบถ้วน สมบูรณ์ และก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และการบริการความรู้ 1.2 การประเมินสภาพปัจจุบันและความต้องการในการเป็นองค์แห่งการเรียนรู้ของสำนักวิทยบริการ พบว่า สภาพปัจจุบันมีการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อยู่ในระดับสูง เมื่อจำแนกตามรายด้าน คือ การสื่อสารและเทคโนโลยี ผู้นำปฏิสัมพันธ์ความรู้ บุคลากร พลังร่วมการไว้วางใจ ตามลำดับ และมีความต้องการในการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในระดับสูงขึ้น จำแนกตามรายด้าน คือ การสื่อสารและเทคโนโลยี การไว้วางใจ พลังร่วม ปฏิสัมพันธ์ความรู้ บุคลากร และผู้นำ ตามลำดับ 2. การประเมินสภาพปัจจุบันและความต้องการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏภาพรวม พบว่า แนวโน้มของสภาพปัจจุบันของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง เมื่อจำแนกตามรายด้าน คือ คน การเรียนรู้ องค์กร เทคโนโลยี และความรู้ ตามลำดับ และมีความต้องการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ในระดับสูง จำแนกตามรายด้าน คือ เทคโนโลยี คน การเรียนรู้ องค์กร และความรู้ ตามลำดับ 3. กลยุทธ์การพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้ มี 5 กลยุทธ์ คือ 1) พัฒนาแผนการจัดการความรู้ของมหาวิทยาลัยราชภัฏสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ 2) บูรณาการระบบย่อยทั้ง 5 ด้านโดยใช้การบริหารคุณภาพตามเกณฑ์ Thailand Quality Awards: TQA ซึ่งเป็นการบริหารคุณภาพทั่วทั้งองค์กร (3) พัฒนา “อัตลักษณ์” ของมหาวิทยาลัย เพื่อพัฒนาบุคลากรให้สอดคล้องกับความเข้มแข็งทางวิชาการและอัตลักษณ์ของมหาวิทยาลัย 4) สร้างและสังเคราะห์องค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น และปราชญ์ชาวบ้าน 5) พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่สนับสนุนการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ กิตติ์ธัญญา บุญยกุลศิโรตม์ (2554) ได้ทำการวิจัยเรื่อง เว็บไซต์การจัดการความรู้เพื่อการทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาและประเมินเว็บไซต์การจัดการความรู้เพื่อการทำวิทยานิพนธ์ ระดับปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อเว็บไซต์การจัดการความรู้เพื่อการทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีและ สื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีและ สื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี รุ่นที่ 7 จำนวน 29 คน โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบประเมิน สำหรับผู้เชี่ยวชาญ 9 คน เพื่อวัดประสิทธิภาพของเนื้อหาของเครื่องมือ และประเมินผลด้านเทคนิคของเว็บไซต์ สำหรับ แบบสอบถามใช้ถามความคิดเห็นของผู้ใช้ การพัฒนาเว็บไซต์การจัดการความรู้เป็นไปตามกระบวนการจัดการความรู้ 7 ขั้นตอน ได้แก่ การบ่งชี้ความรู้ การสร้างและแสวงหาความรู้ การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ การประมวลและกลั่นกรอง ความรู้ การเข้าถึงความรู้ การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า เว็บไซต์การจัดการความรู้ เพื่อการทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท สาขาวิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล ธัญบุรี มีประสิทธิภาพในระดับดี และนักศึกษาที่ใช้บริการเว็บไซต์ มีความคิดเห็นต่อเว็บไซต์การจัดการความรู้ว่ามี ประโยชน์อยู่ในระดับมาก ปรัชญนันท์ นิลสุข และณมน จีรังสุวรรณ (2554) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาเว็บท่าการจัดการความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ มีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อ 1) พัฒนาเว็บท่าการจัดการความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2) ศึกษาผลพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บท่าการจัดการความรู้ 3) ศึกษาผลเจตคติต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยเว็บท่าการจัดการความรู้ 4) ศึกษาผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อการจัดการความรู้ที่มีต่อเว็บท่าการจัดการความรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ที่เข้าร่วมในการอบรมการจัดการความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรของมหาวิทยาลัย จัดโดยคณะกรรมการการจัดการความรู้ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เนื้อหาการจัดการความรู้ด้วยเว็บท่า แบบสำรวจพฤติกรรมการจัดการความรู้ด้วยเว็บท่าการจัดการความรู้ แบบสอบถามเจตคติต่อจัดการความรู้ด้วยเว็บท่าการจัดการความรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อจัดการความรู้วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1. เว็บท่าการจัดการความรู้เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือที่พัฒนาขึ้น มีผลการประเมินคุณภาพโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดี 2. ผลการวิเคราะห์พฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ พบว่า บุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านเว็บท่าการจัดการความรู้ ไม่บ่อย ระยะเวลาแลกเปลี่ยนเรียนรู้แต่ละครั้งน้อยกว่า 1 ชั่วโมง ช่วงเวลาที่ร่วมแลกเปลี่ยน คือ เวลา 12.01 – 17.00 น. สถานที่ใช้เว็บบล็อก คือ ที่ทำงาน กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ คือ อ่านอย่างเดียวและประสบการณ์ที่นำมาแลกเปลี่ยน เรียนรู้ คือ ประสบการณ์การส่วนตัว 3. ผลการวิเคราะห์เจตคติต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยเว็บท่าการจัดการความรู้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีเจตคติต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยเว็บท่าในภาพรวมอยู่ในระดับดี เมื่อพิจารณารายข้อ พบว่ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ควรมีบล็อกเพื่อการเสนอข้อมูลและองค์ความรู้ของตนเอง มากเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ ควรใช้บล็อกเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเผยแพร่ ถ่ายทอดความรู้ เป็นช่องทางในการนำเสนอผลงานส่วนตัว การส่งบทความ/องค์ความรู้ขึ้นบนเว็บท่าเป็นวิธีการเผยแพร่ความรู้ได้อย่างรวดเร็ว และควรสนับสนุนให้บุคลากรนำเสนอความรู้ของตนเองขึ้นบนเว็บท่า 4. ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจต่อการจัดการความรู้ที่มีต่อเว็บท่าการจัดการความรู้ พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อการจัดการความรู้ที่มีต่อเว็บท่าในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า ช่วยเป็นช่องทางในการจัดการความรู้ของหน่วยงานมากเป็นอันดับแรก รองลงมาคือ สามารถใช้เป็นช่องทางในการติดต่อสื่อสารบุคลากรอื่น ๆ การส่งข้อมูลมีความสะดวกรวดเร็ว และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ช่วยให้ค้นหาข้อมูลความรู้จากหน่วยงานต่าง ๆ ได้หลากหลาย วรพล ฤทธิเดช, เปรมรัตน์ พูลสวัสดิ์, ยุวธิดา ชิวปรีชา และวรวัฒน์ จันทร์ตัน (2564) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ในองค์กร มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาในการจัดการความรู้ ซึ่งในหลายองค์กรมักพบปัญหาจากการสูญเสียองค์ความรู้สำคัญ ๆ จากผู้มีประสบการณ์และความชำนาญในการทำงานสูง เมื่อผู้ที่ชำนาญไม่ได้อยู่ในองค์กรแล้ว ในบางครั้งอาจใช้วิธีการศึกษาค้นคว้าจากแหล่งความรู้ภายนอก เช่น อินเทอร์เน็ต ซึ่งไม่ได้จัดเก็บไว้อย่างเป็นระเบียบ ทำให้เสียเวลาในการค้นคว้าใหม่ การบริหารจัดการความรู้ที่มีอยู่ในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยให้เกิดความสะดวก โดยงานวิจัยนี้เป็นการสร้างเครื่องมือสำหรับช่วยในการจัดการความรู้ให้กับหน่วยงาน ซึ่งมีการแบ่ง การทำงานเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ส่วนของผู้ใช้งานซึ่งสามารถสืบค้นข้อมูล เพิ่มข้อมูลแนวทางการแก้ไขปัญหาตามหัวข้อบทความ เพิ่มหัวข้อบทความใหม่และส่วนที่สองคือส่วนของผู้ดูแลระบบ ซึ่งสามารถจัดการข้อมูลหมวดหมู่ขององค์ความรู้ จัดการข้อมูลผู้ใช้งานและกำหนดสิทธิ์ของผู้ใช้งานระบบ จากการศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า มีการพัฒนาเว็บไซต์การจัดการความรู้สำหรับการจัดการ
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ผู้วิจัยได้ศึกษาและนำกรอบแนวคิดจากกระบวนการจัดการความรู้ภายในองค์กรของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการและสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ (2548: 5) นำมาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับการจัดการความรู้ของสํานักวิทยบริการฯ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งประกอบด้วยกระบวนการ 7 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การบ่งชี้ความรู้ (Knowledge Identification) 2) การสร้างและแสวงหาความรู้ (Knowledge Creation and Acquisition) 3) การจัดความรู้ให้เป็นระบบ (Knowledge Organization) 4) การประมวลและกลั่นกรองความรู้ (Knowledge Codification and Refinement) 5) การเข้าถึงความรู้ (Knowledge Access) 6) การแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge Access) และ 7) การเรียนรู้ (Learning)
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การพัฒนาเว็บแอปพลิเคชันเพื่อสนับสนุนการจัดการความรู้ในองค์กร ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาหลักการเกี่ยวกับกระบวนการจัดการความรู้ที่มีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาช่วยเป็นเครื่องมือในการพัฒนาการจัดการความรู้ในองค์กร โดยพัฒนาในรูปแบบของ Responsive web design ที่สามารถตอบสนองต่อการใข้งานได้บนหลายอุปกรณ์ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1. การเก็บรวบรวมข้อมูล 2. การพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ 4. การพัฒนาระบบ 5. การทดลองใช้งานระบบ และการปรับปรุงแก้ไข 6. การใช้งานระบบ และการจัดเก็บข้อมูล
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การวิจัยในครั้งนี้ เป็นการพัฒนาระบบการจัดการความรู้ภายในองค์กร โดยการออกแบบ และร่วมกับผู้เชี่ยวชาญพัฒนาเว็บแอปพลิเคชัน เพื่อให้บุคลากรทุกคนสามารถเข้าใช้งาน และเข้าถึงข้อมูลความรู้ผ่านทางเว็บบราวเซอร์ทั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เคลื่อนที่ ด้วยเทคนิคการออกแบบหน้าเว็บไซต์แบบ Responsive Web Design เพื่อให้บุคลากรสามารถจัดการข้อมูลความรู้ และเข้าถึงความรู้ได้โดยสะดวก โดยการจัดเก็บข้อมูล Job description ของบุคลากรครบทุกคน และจัดเก็บคู่มือปฏิบัติงาน องค์ความรู้ของบุคลากร ได้ครอบคลุมประชากรและกลุ่มเป้าหมายครบทั้ง 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานผู้อำนวยการ ศูนย์วิทยบริการ และศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บุคลากรสามารถเผยแพร่คู่มือปฏิบัติงาน งานวิจัย และบทความ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคล และองค์ความรู้ที่อยู่ภายในองค์การ ผ่านเว็บไซต์ดังกล่าวได้ และสามารถใช้เป็นแหล่งจัดเก็บข้อมูลองค์ความรู้ เพื่อการเผยแพร่ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ผ่านระบบการจัดการความรู้ได้ทั้งจากภายในและภายนอกหน่วยงาน
จำนวนเข้าชมโครงการ :179 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวจริยา ทิพย์หทัย บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด