รหัสโครงการ : | R000000560 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การสร้างแบบจำลองเพื่อวัดระยะการแพร่กระจายของ PM 2.5 จากการเผาไหม้พื้นที่ทางการเกษตร |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Modeling to Measure the Diffusion Distance of Particulate Matter 2.5 from Combustion of Agricultural Areas. |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | แบบจำลอง, การแพร่กระจาย, ฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน, พื้นที่ทางการเกษตร,Model, Diffusion, PM2.5, Agricultural Areas |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยและโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้นแล้ว |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 80000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 80,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 18 พฤษภาคม 2564 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 17 พฤษภาคม 2565 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ |
กลุ่มวิชาการ : | วิทยาการคอมพิวเตอร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ฝุ่นละอองที่สร้างมลพิษทางอากาศและส่งผลกระทบต่อมนุษย์มากในขณะนี้ คือ อนุภาคฝุ่นละอองที่มีขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน เล็กกว่าเส้นผมเมื่อวัดจากผ่านศูนย์กลาง หรือ PM 2.5 เกิดขึ้นมาจากหลายแหล่ง เช่น ควันจากการเผาไหม้ของเครื่องยนต์บนถนน การเผาป่า การเผาเศษวัสดุเหลือใช้จากการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ สุขภาพ รวมถึงด้านสิ่งแวดล้อม โดยประชาชนสามารถติดตาม ตรวจสอบคุณภาพอากาศอัตโนมัติแต่ละวันในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ได้จาก 64 สถานี กระจายอยู่ใน 34 จังหวัดของประเทศไทย เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น
จากการติดตามตรวจวัดคุณภาพอากาศอัตโนมัติของกรมควบคุมมลพิษในภาคเหนือ จำนวน 16 สถานี 9 จังหวัด พบว่า มลพิษทางอากาศมีค่าเกินมาตรฐานต่อวันร้อยละ 20 ของทั้งปี มี 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน แพร่ น่าน รองลงมาคือจังหวัดนครสวรรค์ มีมลพิษทางอากาศมีค่าเกินมาตรฐานต่อวันร้อยละ 11-20 ของทั้งปี โดยมีสถานีตรวจตรวจวัดคุณภาพอากาศอยู่ในพื้นที่บริเวณ ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
จังหวัดนครสวรรค์มีพื้นที่ส่วนใหญ่ปลูกข้าวและอ้อย คิดเป็นร้อยละ 49 ของพื้นที่ทั้งจังหวัด หรือ 294,344,300 ไร่ ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัด ทั้งข้าวและอ้อยเมื่อเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว เกษตรจะทำการไถกลบ หรือเผาเศษวัสดุเหลือใช้จากการเพาะปลูก เพื่อเตรียมที่ดินให้พร้อมกับการเพาะปลูกในรอบถัดไป หากการเผาไหม้นั้นเกิดในช่วงที่สภาพอากาศปิดหรือไม่มีลมพัดจะยิ่งทำให้ปริมาณฝุ่นละออง PM 2.5 เกิดการสะสมภายในพื้นที่จนทำให้มลพิษทางอากาศมีค่าเกินมาตรฐาน
ด้วยปัญหามลพิษทางอากาศสะสมจนมีค่าเกินมาตรฐานจากการเผาไหม้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเพาะปลูกดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะสร้างแบบจำลองเพื่อวัดระยะการแพร่กระจายของ PM 2.5 จากการเผาไหม้พื้นที่ทางการเกษตร เพื่อนำมาช่วยเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำความรู้จากการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการระยะการแพร่กระจายของ PM 2.5 มาใช้ในพยากรณ์ปริมาณสะสมของ PM 2.5 และการวางแผนป้องกัน ควบคุม พร้อมรับมือกับเหตุการดังกล่าวได้ |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อระยะการแพร่กระจายของ PM 2.5 จากการเผาไหม้พื้นที่ทางการเกษตร
2. สร้างแบบจำลองเพื่อวัดระยะการแพร่กระจายของ PM 2.5 จากการเผาไหม้พื้นที่ทางการเกษตร
3. สามารถเป็นเครื่องมือในการพยากรณ์ปริมาณสะสมของ PM2.และวางแผนป้องกัน ควบคุมพร้อมกับรับมือสถานการณ์ในจังหวัดนครสวรรค์ |
ขอบเขตของโครงการ : | 1. ขอบเขตด้านข้อมูล
1.1 ข้อมูลมลพิษทางอากาศจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ จังหวัดนครสวรรค์ ข้อมูลเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ย้อนหลัง 5 ปีต่อเนื่องกัน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษและข้อมูลจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
1.2 ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรในจังหวัดนครสวรรค์
1.3 ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาจากสถานีนครสวรรค์ และสถานีอุตุนิยมวิทยาเกษตรตากฟ้า ได้แก่ จำนวนเมฆ ความเร็วลม และทิศทางลม ข้อมูลรายวัน ย้อนหลัง 5 ปีต่อเนื่องกัน ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มบริหารสารสนเทศอุตุนิยมวิทยา สำนักบริการดิจิทัลอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยาและข้อมูลจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. ขอบเขตด้านพื้นที่
พื้นที่ในการศึกษาวิจัย คือ จังหวัดนครสวรรค์ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. จะได้คู่มือการใช้แบบจำลองวัดระยะการแพร่กระจายของ PM 2.5 จากการเผาไหม้พื้นที่ทางการเกษตร 1 ชุด
2. จะได้นำปัจจัยที่มีผลต่อแบบจำลองมาช่วยในการประเมินแบบจำลองวัดระยะการแพร่กระจายของ PM 2.5 จากการเผาไหม้พื้นที่ทางการเกษตร
3. สามารถนำแบบจำลองมาใช้ในพยากรณ์วัดระยะการแพร่กระจายของ PM 2.5 จากการเผาไหม้พื้นที่ทางการเกษตรได้
4. ช่วยในการวางแผนรับมือ ป้องกัน และควบคุมการแพร่กระจายของ PM 2.5 จากการเผาพื้นที่ทางการเกษตร
5. เป็นแนวทางในการลดปัญหาการแพร่กระจายของ PM 2.5 จากการเผาพื้นที่ทางการเกษตร |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | - |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | ทฤษฎี
1. ฝุ่น PM2.5 จากการเผาไหม้ เกิดได้จากทั้งการเผาไหม้ทางชีวมวลและโรงงานอุตสาหกรรม โดยโรงงานอุตสาหกรรมจะเกิดสารพิษขึ้นหลายตัว จากการทำปฏิกิริยากับสารอื่นร่วมกับการเผาไหม้ในกระบวนการผลิต ได้แก่ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ออกไซด์ของโนโตรเจน (NOx) สารอินทรีย์ระเหยง่าย (VOCs) และแอมโมเนีย (NH3) ในส่วนของการเผาไหม้ชีวมวลจำพวก ฟางข้าว อ้อย ก็เกิดสารพิษด้วยเช่นกัน เช่น ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ออกไซด์ของโนโตรเจน (NOx) คาร์บอนมอนอคไซต์ (CO) โอโซน (O3) โพแทสเซียม (K+) และคลอไรด์(Cl-) (กาญจนา สวยสม, ม.ป.ป.) (พรวิธู ฤทธินนท์, ม.ป.ป.) (สมพร จันทระ, 2561)
2. ความเร็วลม ในชั้นบรรยากาศของโลกความเร็วลมในแนวดิ่งและแนวนอนมีความสัมพันธ์กับความทรงตัวของสภาพอากาศ โดยมีความกดอากาศและอุณหภูมิที่สัมพันธ์กับความเร็วลมด้วย ซึ่งความเร็วลมจะมากเมื่ออยู่สูงขึ้นเพราะอัตราการทรงตัวมีค่าเข้าใกล้ศูนย์ ทำให้มีแรงกดอากาศสูงในแนวดิ่ง และความเร็วลมจะลดต่ำลงเมื่ออากาศอยู่ต่ำลงเพราะแรงจากพื้นดินมีเพิ่มขึ้น (กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน, ม.ป.ป.) |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | 1. การเก็บรวบรวมข้อมูล
1.1 ข้อมูลมลพิษทางอากาศจากสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศ จังหวัดนครสวรรค์ ข้อมูลเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ย้อนหลัง 5 ปีต่อเนื่องกัน จากกองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง กรมควบคุมมลพิษ และข้อมูลจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
1.2 ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรในจังหวัดนครสวรรค์
1.3 ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาจากสถานีนครสวรรค์ และสถานีอุตุนิยมวิทยาเกษตรตากฟ้า ได้แก่ จำนวนเมฆ ความเร็วลม และทิศทางลม ข้อมูลรายวัน ย้อนหลัง 5 ปีต่อเนื่องกัน จากกลุ่มบริหารสารสนเทศอุตุนิยมวิทยา สำนักบริการดิจิทัลอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยาและข้อมูลจากหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
2. การวิเคราะห์ข้อมูล
2.1 นำข้อมูลมลพิษทางอากาศ พื้นที่เพาะปลูกพืชผลทางการเกษตรและข้อมูลอุตุนิยมวิทยาจังหวัดนครสวรรค์มาตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ และความถูกต้องของข้อมูล
2.2 นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาปัจจัยที่มีผลต่อการแพร่กระจายของ PM 2.5 จากการเผาไหม้พื้นที่ทางการเกษตร
3. ออกแบบโมเดลทางคณิตศาสตร์ ออกแบบขั้นตอนการทำงานด้วยรหัสเทียม และสร้างแบบจำลองวัดระยะการแพร่กระจายของ PM 2.5 จากการเผาไหม้พื้นที่ทางการเกษตร
4. ออกแบบฐานข้อมูล พัฒนา และทดสอบโปรแกรมแบบจำลองวัดระยะการแพร่กระจายของ PM 2.5 จากการเผาไหม้พื้นที่ทางการเกษตร นำเสนอข้อมูลในรูปแบบของตาราง กราฟ และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์บนเว็บไซต์หรือวิธีการอื่น ๆ
5. นำเสนอ เผยแพร่ และประชาสัมพันธ์แบบจำลองวัดระยะการแพร่กระจายของ PM 2.5 จากการเผาไหม้พื้นที่ทางการเกษตร |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | การทำงานของโครงการวิจัยออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนนำเข้าข้อมูล ส่วนประมวลผลข้อมูล และส่วนแสดงผลข้อมูล แสดงรายละเอียดดังต่อไปนี้
1. ส่วนนำเข้าข้อมูล เป็นการเตรียมข้อมูลสำหรับนำมาทดสอบแบบจำลองระยะในการแพร่กระจายฯ ประกอบด้วย ข้อมูลมลพิษทางอากาศ ข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาของจังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นนำมาตรวจสอบความครบถ้วนสมบูรณ์ และความถูกต้องของข้อมูล
2. ส่วนประมวลผลข้อมูล นำข้อมูลที่ผ่านจากส่วนนำเข้าข้อมูลมาทดสอบในแบบจำลองเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของระยะในการแพร่กระจายฯ ของฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอนจากการเผาไหม้พื้นที่ทางการเกษตร
3. ส่วนแสดงผลข้อมูล นำข้อมูลที่ถูกต้องมานำเสนอในรูปแบบของ ตาราง กราฟและระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์บนเว็บไซต์หรือวิธีการอื่นๆ |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 200 ครั้ง |