รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000558
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การผลิตเครื่องดื่มคอมบูชาจากรากบัว
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Manufacture of Kombucha from lotus root
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :คอมบูชา รากบัว ฟลาโวนอยด์ สารต้านอนุมูลอิสระ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สถาบันวิจัยและพัฒนา > กลุ่มงานบริหารสำนักงานผู้อำนวยการ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :80000
งบประมาณทั้งโครงการ :80,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :18 พฤษภาคม 2564
วันสิ้นสุดโครงการ :17 พฤษภาคม 2565
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิทยาศาสตร์การแพทย์
สาขาวิชาการ :ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับนานาชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :Kombucha หรือ ชาหมัก เป็นเครื่องดื่มที่คนรู้จักคุ้นเคยมานาน และเชื่อกันว่าเครื่องดื่มที่ส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้ที่บริโภค เพราะไม่เพียงมีสรรพคุณเช่นเดียวกับชา แต่ยังมีเชื้อโพรไบโอติก ที่เป็นกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์และยีสต์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ผลิตภัณฑ์ Kombucha ที่หมักจากชาเขียวจะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดที่ช่วยป้องกันหรือยับยั้งความเสียหายของเซลล์ที่เกิดขึ้นจากอนุมูลอิสระอย่างสารโพลีฟีนอล (Polyphenol) โดยในปัจจุบันมีงานวิจัยที่ศึกษาคุณสมบัติของ Kombucha ในด้านนี้กับหนูที่ได้รับสารละลายตะกั่วติดต่อกัน 45 วัน โดยแบ่งหนูทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่กิน Kombucha ควบคู่กับได้รับสารตะกั่ว กับกลุ่มที่ไม่ได้กิน Kombucha พบว่าเซลล์ที่ถูกทำลายจากสารตะกั่วของหนูกลุ่มแรกนั้นมีจำนวนลดลง แสดงให้เห็นว่า เครื่องดื่มชนิดนี้สามารถช่วยลดความเป็นพิษของตับจากการได้รับสารเคมีที่เป็นพิษได้ นอกจากนี้คอมบูชาที่มีกรดน้าส้มหรือกรดอะซิติกเป็นส่วนประกอบหลักจึงมีคุณสมบัติช่วยกำจัดเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย อีกทั้งในการบริโภคคอมบูชายังช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ โรคหลอดเลือด ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง และลดระดับน้าตาลในเลือดด้วย บัวหลวง จัดเป็นไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีทั้งเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินและเป็นไหลอยู่เหนือดินใต้น้ำ ลักษณะของเหง้าเป็นท่อนยาว มีปล้องสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลือง ในรากบัวหลวงมีสารที่มีคุณสมบัติเป็นสารพรีไบโอติก ซึ่งสารพรีไบโอติก (Prebiotic) คือ สารอาหารซึ่งร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อย และไม่ถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหารทั้งกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก แต่จะถูกย่อยด้วยแบคทีเรียบริเวณลำไส้ใหญ่ โดยจะกระตุ้นการทำงานและส่งเสริมการเจริญของ จุลินทรีย์โพรไบโอติก จัดเป็นอาหารในกลุ่ม Functional food หรืออาหารฟังชัน คืออาหารที่มีสารอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกเหนือจากมีสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ช่วยป้องกันโรค และรักษาโรคได้แล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งสารพรีไบโอติก สามารถพบได้ในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะในผักที่มีการสะสมอาหาร เช่น รากชิคอรี หัวอาร์ทิโชก กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง และในผลไม้ เช่น กล้วย แอปเปิ้ล และเมล็ดธัญพืชบางชนิด เป็นต้น (พิมพ์เพ็ญ, 2556) นอกจากนี้บัวหลวงยังเป็นพืชเศษฐกิจของจังหวัดนครสวรรค์ซึ่งมีการทำนาบัวอย่างแพร่หลายในเขต อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ จากการสำรวจความต้องการเกษตรกรต้องการให้ผู้วิจัยทำการแปรรูปรากบัวในรูปแบบอื่นนอกจากการเชื่อมหรือขายแบบสด จากที่กล่าวมาข้างต้นผู้วิจัยจึงมีแนวความคิดในการพัฒนาเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพชารากบัวหมักเพื่อให้ผู้บริโภคได้คุณประโยชน์จากสารสำคัญในชารากบัวแล้วยังได้สารออกฤทธิ์ทางชีวภาพที่เกิดจากการหมักโดยเชื้อจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ด้วย ผู้วิจัยยังมุ่งหวังว่าจะช่วยกระตุ้นการนำรากบัวมาแปรรูปทำให้เกิดการสร้างรายได้ในชุมชนในพื้นที่เป้าหมายที่เป็นพื้นที่ที่มีความต้องการในการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากรากบัวใน ซึ่งในการทดลองนี้พื้นที่เป้าหมายที่มีความร่วมมืออยู่ในชุมชนคือ โรงเรียนทับกฤชพัฒนา ต.ทับกฤช อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์
จุดเด่นของโครงการ :มีการพัฒนาร่วมกับแหล่งวัตถุดิบที่มีความร่วมมืออยู่ในชุมชนคือ โรงเรียนทับกฤชพัฒนา ต.ทับกฤช อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์คอมบูชาจากรากบัวจากการสร้างองค์ความรู้ร่วมกันกับชุมชนในพื้นที่เป้าหมายต.ทับกฤช อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ 2. เพื่อแปรรูปวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น 3. นำงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ต้องสามารถเผยแพร่ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติที่มีชื่อปรากฏอยู่ในERIC, MathSciNet, Pubmed, Scopus, Web of Science (เฉพาะในฐานข้อมูล SCIE, SSCI และ AHCI เท่านั้น), JSTOR และ Project Muse หรือเผยแพร่ในวารสารของ TCI กลุ่ม ๑ หรือ สามารถนำผลงานวิจัยไปขอจดอนุสิทธิบัตร/สิทธิบัตร หรือ ลิขสิทธิ์ ได้
ขอบเขตของโครงการ :1.พืชตัวอย่างที่ใช้ คือ รากบัว จากพื้นที่ อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ 2.ตัวแปรงานวิจัย ตัวแปรต้น : เครื่องดื่มคอมบูชาจากรากบัวที่มีการอบรากบัวที่อุณหภูมิแตกต่างกัน ตัวแปรตาม: ค่าการต้านอนุมูลอิสระ, ปริมาณสารฟลาโวนอยด์และการเจริญของเชื้อโพรไบโอติก ตัวแปรควมคุม: สภาวะในการหมัก,หัวเชื้อ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. คอมบูชาจากรากบัวมีสารต้านอนุมูลอิสระ 2. เครื่องดื่มคอมบูชาจากรากบัวมีสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ 3. ผลที่ได้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย ต.ทับกฤช อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ 4. ได้ผลงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ต้องสามารถเผยแพร่ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติที่มีชื่อปรากฏอยู่ในERIC, MathSciNet, Pubmed, Scopus, Web of Science (เฉพาะในฐานข้อมูล SCIE, SSCI และ AHCI เท่านั้น), JSTOR และ Project Muse หรือเผยแพร่ในวารสารของ TCI กลุ่ม ๑ หรือ ขอจดอนุสิทธิบัตร/สิทธิบัตร หรือ ลิขสิทธิ์
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :Kombucha หรือชาหมัก เป็นเครื่องดื่มที่คนรู้จักคุ้นเคยมานาน และเชื่อกันว่าเครื่องดื่มที่ส่งผลดีต่อสุขภาพของผู้ที่บริโภค เพราะไม่เพียงมีสรรพคุณเช่นเดียวกับชา แต่ยังมีเชื้อโพรไบโอติก ที่เป็นกลุ่มเชื้อจุลินทรีย์และยีสต์ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ทั้งอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ ผลิตภัณฑ์ Kombucha ที่หมักจาก ชาเขียวจะอุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิดที่ช่วยป้องกันหรือยับยั้งความเสียหายของเซลล์ที่เกิดขึ้นจากอนุมูลอิสระอย่างสารโพลีฟีนอล (Polyphenol) โดยในปัจจุบันมีงานวิจัยที่ศึกษาคุณสมบัติของ Kombucha ในด้านนี้กับหนูที่ได้รับสารละลายตะกั่วติดต่อกัน 45 วัน โดยแบ่งหนูทดลองออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่กิน Kombucha ควบคู่กับได้รับสารตะกั่ว กับกลุ่มที่ไม่ได้กิน Kombucha พบว่าเซลล์ที่ถูกทำลายจากสารตะกั่วของหนูกลุ่มแรกนั้นมีจำนวนลดลง แสดงให้เห็นว่า เครื่องดื่มชนิดนี้สามารถช่วยลดความเป็นพิษของตับจากการได้รับสารเคมีที่เป็นพิษได้ โพรไบโอติก (Probiotic) คือเชื้อจุลินทรีย์ที่อาศัยอยู่ในลำไส้ใหญ่ของมนุษย์ ซึ่งเป็นจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย เช่น แบคทีเรียที่สร้างกรดแล็กติก (Lactic acid bacteria, LAB) แบคทีเรียกลุ่มนี้พบในผลิตภัณฑ์อาหารหมัก เช่น กิมจิ นมเปรี้ยว แหนม ซึ่งช่วยยับยั้งการเจริญของแบคทีเรียก่อโรค ช่วยย่อยอาหารที่มนุษย์ย่อยไม่ได้หรือย่อยได้ไม่หมด ช่วยการดูดซึมของสารอาหาร ลดระดับคอเรสเตอรอล และสร้างวิตามินที่เป็นประโยชน์กับร่างกาย อาหารที่แบคที่เรียกลุ่มโพรไบโอติกนำไปใช้ เรียกว่า พรีไบโอติก (พนารัตน์, 2560) บัวหลวง จัดเป็นไม้ล้มลุก มีอายุหลายปี ลำต้นมีทั้งเป็นเหง้าอยู่ใต้ดินและเป็นไหลอยู่เหนือดินใต้น้ำ ลักษณะของเหง้าเป็นท่อนยาว มีปล้องสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลือง ในรากบัวหลวงมีสารที่มีคุณสมบัติเป็น สารพรีไบโอติก ซึ่งสารพรีไบโอติก (Prebiotic) คือ สารอาหารซึ่งร่างกายมนุษย์ไม่สามารถย่อย และไม่ถูกดูดซึมในระบบทางเดินอาหารทั้งกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก แต่จะถูกย่อยด้วยแบคทีเรียบริเวณลำไส้ใหญ่ โดยจะกระตุ้นการทำงานและส่งเสริมการเจริญของจุลินทรีย์โพรไบโอติก จัดเป็นอาหารในกลุ่ม Functional food หรืออาหารฟังชัน คืออาหารที่มีสารอื่นที่เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ นอกเหนือจากมีสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ เช่น ช่วยป้องกันโรค และรักษาโรคได้แล้ว ยังมีประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งสารพรีไบโอติก สามารถพบได้ในอาหารหลายชนิด โดยเฉพาะในผักที่มีการสะสมอาหาร เช่น รากชิคอรี หัวอาร์ทิโชก กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง และในผลไม้ เช่น กล้วย แอปเปิ้ล และเมล็ดธัญพืชบางชนิด เป็นต้น (พิมพ์เพ็ญ, 2556) นอกจากนี้บัวหลวงยังเป็นพืชเศษฐกิจของจังหวัดนครสวรรค์จึงเป็นวัตถุดิบที่เหมาะแก่การพัฒนาเป็นอาหารเพื่อสุขภาพอย่างยิ่ง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :1. ในผลิตคอมบูชาจากรากบัวมีสารต้านอนุมูลอิสระ 2. เครื่องดื่มคอมบูชาจากรากบัวมีสารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ 3. ผลการวิจัยที่ได้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในชุมชนในพื้นที่เป้าหมาย ต.ทับกฤช อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ 4. สามารถนำผลงานวิจัยตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารทางวิชาการระดับชาติและนานาชาติ ต้องสามารถเผยแพร่ในวารสารทางวิชาการระดับนานาชาติที่มีชื่อปรากฏอยู่ในERIC, MathSciNet, Pubmed, Scopus, Web of Science (เฉพาะในฐานข้อมูล SCIE, SSCI และ AHCI เท่านั้น), JSTOR และ Project Muse หรือเผยแพร่ในวารสารของ TCI กลุ่ม ๑ หรือ ขอจดอนุสิทธิบัตร/สิทธิบัตร หรือ ลิขสิทธิ์ ได้
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. การเตรียมหัวเชื้อแบคทีเรียและยีสต์ Symbiotic Culture of Bacteria and Yeast หรือเรียกว่า SCOBY ที่ก่อตัวเป็นเซลลูโลสที่มีลักษณะคล้ายเยลลี่อยู่ด้านบนเพื่อให้เกิดกระบวนการหมักชาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ 2. หมักน้ำชารากบัวด้วยเชื้อจุลิทรีย์ที่มีประโยชน์นำรากบัวที่ผ่านการอบแห้งที่อุณหภูมิ 50 55 และ 65 องศาเซลเซียสมาทำการต้ม 80 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 15 นาที การปรับบริกซ์น้ำตาลให้ได้ 15 บริกซ์ ทิ้งให้เย็นจากนั้นลงหัวเชื้อ SCOBY หมักทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ทำการเก็บผล 3. วัดการเจริญของเชื้อโพรไบโอติกในผลิตภัณฑ์ชารากบัวหมัก นำตัวอย่างก่อนและหลังการหมักมาทำการวัดการเจริญของเชื้อโพรไบโอติกโดยการนับจำนวนจุลินทรีย์ที่มีชีวิตโดยวิธี Pour plate โดยใช้อาหาร MRS วัดค่า pH และวัดค่าน้ำตาล 4. การวิเคราะห์ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระในชารากบัวหมัก โดยวิธี DPPH ทดสอบประสิทธิภาพในการต้านสาร อนุมูลอิสระ DPPH radical scavenging ability โดยใช้ 2,2- diphenyl-1-picryl-hydrazyl radical (DPPH) เป็น อนุมูลอิสระ เริ่มจากนำ สารสกัดตัวอย่างปริมาตร 150 ไมโครลิตร ใส่ในหลอดทดลอง เติมสารละลาย DPPH ความเข้มข้น 0.6 มิลลิโมลาร์ปริมาตร 3 มิลลิลิตร เขย่าให้ เข้ากัน เก็บในที่มืดอุณหภูมิห้อง 30 นาทีวัดค่าการดูดกลืน แสงที่ความยาวคลื่น 517 นาโนเมตร โดยใช้น้ำกลั่นเป็น blank แทนสารสกัดตัวอย่างและใช้Trolox ความเข้มข้น 25, 50, 100, 300 และ 600 ?M เป็นสารมาตรฐาน นำค่าที่ได้ไปสร้างกราฟมาตรฐาน จากนั้นนำผลที่ได้จาก การทดสอบสารสกัดจากสมุนไพรไปเปรียบเทียบกับกราฟ มาตรฐาน เพื่อคำนวณหาประสิทธิภาพในการต้านอนุมูล อิสระ รายงานผลในหน่วยของ ?mol Trolox ต่อตัวอย่าง 1 กรัม 5. การวิเคราะห์ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ในชารากบัวหมัก (ดัดแปลงวิธีจาก Prommuak et al., 2008)วิเคราะห์ปริมาณสารฟลาโวนอยด์โดยวิธี aluminum chloride colorimetry โดยใช้เคอร์ซิตินเป็นสารมาตรฐาน (ความเข้มข้น 12.5-100 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร)ละลายสารสกัดด้วยเมทานอล นำสารสกัดแต่ละชนิดมา0.5 มิลลิลิตร ความเข้มข้นของสารสกัด 1 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร แล้วเติมเอทานอล 95 % ลงไป 1.5 มิลลิลิตรจากนั้นเติม 10 % aluminium chloride 0.1 มิลลิลิตร เขย่าให้เข้ากันแล้วนำไปเติม 1 M potassium acetate 0.1 มิลลิลิตร แล้วปรับปริมาตร ด้วยน้ำกลั่นจนครบ 5 มิลลิลิตรตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 30 นาที นำสารละลายที่ได้ไปวัดค่าการดูดกลืนแสงที่ความยาวคลื่น 415 นาโนเมตร คำนวณหา ปริมาณสารฟลาโวนอยด์ในสารสกัดโดยเปรียบเทียบกับกราฟมาตรฐานของสารมาตรฐานเคอร์ซิติน ในหน่วยมิลลิกรัมสมมูลของเคอร์ซิตินต่อกรัมสาร สกัด (mg of quercetin equivalent / g extract)
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :เป็นโครงการวิจัยมุ่งเป้าเพื่อการสร้างสรรค์การวิจัย พัฒนานวัตกรรมและพันธกิจสัมพันธ์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
จำนวนเข้าชมโครงการ :4127 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายพันธ์ระวี หมวดศรี บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย70
นายธีระยุทธ เตียนธนา บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด