รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000557
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาระบบ IOT เพื่อติดตามสภาพกการพัฒนาระบบ IOT เพื่อติดตามสภาพการเลี้ยงสุกรแบบเรียลไทม์ารเลี้ยงสุกรแบบเรียลไทม์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Development of IOT System for Real-Time Monitoring of Pig Farming Conditions
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ระบบ IOT, ปัจจัยการเลี้ยงสุกร , การควบคุมแบบเรียลไทม์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาเทคโนโลยีการจัดการอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :45000
งบประมาณทั้งโครงการ :45,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :18 พฤษภาคม 2564
วันสิ้นสุดโครงการ :17 พฤษภาคม 2565
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
กลุ่มวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับนานาชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ในปัจจุบันเกษตรกรไทยได้ดำเนินธุรกิจในการเลี้ยงสัตว์ทั้ง สุกร ไก่ วัว และควาย เป็นต้น ซึ่งจากการวิเคราะห์แนวโน้มของธุรกิจในการเลี้ยงสุกรของธนคารทหารไทยพบว่าในปี 2563 ธุรกิจฟาร์มสุกรของประเทศไทยนั้นมีมูลค่าสูงถึง 1.14 แสนล้านบาท ซึ่งมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 6.8% เนื่องจากเนื้อสุกรยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่จำเป็นต่อการบริโภคของประเทศไทย ซึ่งสัดส่วนการบริโภคในประเทศอยู่ที่ 92.97% ส่วนสัดส่วนในการส่งออกอยู่ที่ 7.07% โดยที่มูลค่าการส่งออกสุกรที่มีชีวิตและผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเนื้อสุกรมีมูลค่าถึง 24,000 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปี ถึง 3 เท่า โดยเฉพาะสุกรมีชีวิตที่มีแนวโน้มสูงขึ้นและในช่วงปี 2564 ถึง 2565 คาดว่าธุรกิจฟาร์มสุกรจะเติบโตในกรอบต่ำที่ร้อยละ 0.6-1.1 ซึ่งคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1.14 ถึง 1.16 แสนล้านบาท โดยมีปัจจัยที่สนับสนุนจากอุปสงค์การบริโภคเนื้อสัตว์ที่ขยายตัวอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการขยายตัวของตลาดส่งออกสุกรมีชีวิต ซึ่งได้แก่ กัมพูชา ลาว เวียดนาม และเมียนมาร์ เนื่องจากเกิดการระบาดของโรคหิวาต์แอฟริการในสุกร ที่ทำให้ปริมาณสุกรภายในประเทศดังกล่าวขาดแคลนเป็นอย่างมาก ซึ่งแน่นนอนว่าเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการธุรกิจเลี้ยงสุกร เช่น เดี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตสุกรจะเพิ่มขึ้นของธนคารทหารไทยที่จะมีปริมาณเพิ่มขึ้น จากภาพที่ 1.2 แสดงให้เห็นแนวโน้มปริมาณการเลี้ยงสุกรที่ 2018 ถึง 2022 ดังนั้นในการเลี้ยงสุกรให้ได้มีประสิทธิภาพนั้นจึงเป็นเรื่องที่จะต้องให้ความสนใจมากขึ้น แน่นนอนการเพิ่มความเอาใจใส่ในการเรียกสุกรจะต้องแลกมาซึ่งการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ภายในฟาร์มสุกร ซึ่งจะส่งผลต่อต้นทุนการเลี้ยงสุกร เช่น การตรวจสอบและให้ความสำคัญกับอุณหภูมิภาย ความเร็วลม และความชื้นภายในโรงเรือน ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมานั้นส่งผลกระทบต่อผลผลิตในการเลี้ยงสุกรโดยตรง ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนการผลิตที่สูงมากขึ้น ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการแก้ไขปัญหาดังกล่าวโดยการนำเทคโนโลยี IOT เข้ามาประยุกต์ใช้ในการติดตามและควบคุมปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการเลี้ยงสุกรและลดการใช้ทรัพยากรภายในฟาร์มสุกร ซึ่งทำให้ต้นทุนการเลี้ยงสุกรไม่เพิ่มขึ้นแต่ประสิทธิภาพในการเลี้ยงสุกรดีขึ้น
จุดเด่นของโครงการ :1. เป็นการนำเทคโรโลยีเข้ามาช่วยในการบริหารจัดการการผลิต 2. เป็นเทคโนโลยีที่สามารถตรวจติดตามแบบเรียลไทม์ 3. สามารถเก็บข้อมูลและนำมาทำการวิเคราะห์ย้อนหลังได้
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อควบคุมปัจจัยการเลี้ยงสุกรให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิ ความเร็วลม และความชื้นภายในโรงเรือน เป็นต้น 2. เพื่อพัฒนาระบบ IOT ที่ประยุกต์ใช้รวมกับธุรกิจในการเลี้ยงสุกร
ขอบเขตของโครงการ :1.ในการศึกษาครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณมุ่งศึกษาค้นคว้าเพื่อนำเอาอุปกรณ์ IOT เข้ามาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงสุกร โดยมีขอบเขตดังนี้ 1.1. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเพื่อทำการศึกษาค้นคว้าสำหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ประกอบการที่เลี้ยงสุกรขุนและสุกรในฟาร์มขนาดเล็กถึงขนาดกลาง 1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาจากกรณีศึกษาของฟาร์มสุกรขุนขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ในเขตพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ เพื่อใช้เป็นกลุ่มตัวอย่าง 2. การศึกษาครั้งนี้มุ่งศึกษาการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ เข้ามาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงสุกร เพื่อลดเวลาการตรวจสอบติดตามปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลี้ยงสุกร รวมถึงการจัดเก็บข้อมูลปัจจัยต่าง ๆ 3. งานวิจัยนี้มุ่งเน้นไปที่การประยุกต์ใช้อุปกรณ์ IOT เข้ามาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงสุกร โดยงานวิจัยนี้ไม่ได้ทำการทดลองในสัตว์และมนุษย์ 4. ระบบ IOT ที่พัฒนาประกอบด้วย 4.1 สำหรับจัดเก็บข้อมูลพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องซึ่งประกอบด้วย controller และ sensor 4.2 Software สำหรับติดตามสภาพการเลี้ยงสุกรแบบเรียลไทม์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้ระบบอุปกรณ์ IOT ที่นำมาเพิ่มขีดความสามารถให้กับผู้ประกอบการและกลุ่มเกษตรกรที่ทำการเลี้ยงสุกรในพื้นที่ 2. ได้ระบบอุปกรณ์ IOT ที่ควบคุมปัจจัยในการเลี้ยงสุกร และนำไปถ่ายทดสู่ผู้ประกอบการและกลุ่มเกษตรกรที่ทำการเลี้ยงสุกรในพื้นที่ 3. ได้ระบบอุปกรณ์ IOT ที่สามารถตรวจสอบติดตามปัจจัยส่งผลต่อการเลี้ยงสุกรได้ตลอดเวลาและสามารถนำข้อมูลที่ทำการเก็บมาวิเคราะห์เพื่อปรับปรุงวิธีการเลี้ยงสุกร
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :เป็นการนำเทคโนโลยี IOT ที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมเข้ามาทำการปรับประยุกต์ใช้กับภาคเกษตรกรรม โดยการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อ การเจริญเติบโตและอัตราการตายของสุกร เพื่อทำการกำหนดค่า พร้อมทั้งตรวจสอบติดตามปัจจัยต่างๆ ไม่ให้เกินค่าที่ถูกกำหนดไว้
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเลี้ยงสุกร เช่น อุณหภูมิภาย ความเร็วลม และความชื้นภายในโรงเรือน ว่าส่งผลต่อการเลี้ยงสุกรอย่างใด 2. ศึกษาคุณสมบัติและขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ IOT ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงสุกร 3. ศึกษาและออกแบบขั้นตอนการทำงานของอุปกรณ์ IOT ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงสุกร 4. เขียนโปรแกรม (คำสั่งการทำงาน) ของอุปกรณ์ IOT ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงสุกร 5. ดำเนินการเก็บข้อมูลการทำงานของของอุปกรณ์ IOT ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงสุกร 6. ปรับปรุงการออกแบบขั้นตอนการทำงานและปรับแก้ไขการเขียนโปรแกรม (คำสั่งการทำงาน) ของอุปกรณ์ IOT ที่นำมาประยุกต์ใช้ในการเลี้ยงสุกร 7. ตรวจสอบข้อมูลผลผลิตที่ได้จากโรงเรือนที่มีการนำอุปกรณ์ IOT เข้ามาควบคุมเปรียบเทียบกับโรงเรือนที่ไม่มีอุปกรณ์ IOT เข้ามาควบคุม (โดยพิจารณาจากข้อมูลอัตราการตายของสุกรและข้อมูลน้ำหนักโดยเฉลี่ยของสุกรในแต่ละโรงเรือน) 8. วิเคราะห์และอภิปรายผลที่ได้จากการดำเนินงาน 9. จัดทำรูปเล่มและเผยแพร่ความรู้ลงในบทความวิชาการ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :410 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายปิยะกิจ กิจติตุลากานนท์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด