รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000556
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนานวัตกรรมการเงินการบัญชีขององค์กรชุมชนบ้านมั่นคง
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Development of Financial and Accounting Innovation of The Baan Mankong Community Organization.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :นวัตกรรมการเงินการบัญชี องค์กรชุมชนบ้านมั่นคง
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สถาบันวิจัยและพัฒนา
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :100000
งบประมาณทั้งโครงการ :60,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :29 พฤศจิกายน 2564
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการบัญชี
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) ได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบดำเนินโครงการบ้านมั่นคง ซึ่งเป็นโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยให้กับชุมชนและท้องถิ่นโดยมีเป้าหมายในการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของชุมชนคนจนเมืองทั่วประเทศ สร้างความมั่นคงในการครอบครองที่ดิน พัฒนาระบบสาธารณูปโภค สิ่งแวดล้อมชุมชน และการพัฒนาที่อยู่อาศัยที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความสามารถในการจัดการของชุมชน ซึ่งมีแนวทางสำคัญที่ต้องการให้คนในชุมชนร่วมกันในการแก้ไขปัญหาและจัดการด้วยตนเอง โดยมีภาครัฐและหน่วยงานท้องถิ่นให้การสนับสนุน ช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องที่อยู่อาศัย และพัฒนาคุณภาพชีวิตร่วมกันของคนในชุมชน ซึ่งจะทำให้เกิดการแก้ไขปัญหาของชุมชนอย่างเป็นระบบ ทำให้คนจนมีความมั่นคงในที่อยู่อาศัย แก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีรูปแบบการแก้ไขปัญหาที่หลากหลาย รวมทั้งผลักดันให้มีการพัฒนาที่มีส่วนร่วมจากทุกฝ่ายนำไปสู่การแก้ไขปัญหาของชุมชนได้อย่างยั่งยืน บ้านมั่นคง เป็นโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับคนจนในชุมชนแออัด เป็นการแก้ปัญหาความไม่มั่นคงในด้านที่อยู่อาศัย เป็นการสร้างชุมชนให้มีความน่าอยู่ตามนโยบายของรัฐบาลแนวทางการพัฒนาที่อยู่อาศัยของชาวชุมชน โดยเน้นให้คนจนมีส่วนสำคัญในการพัฒนาทีอยู่อาศัยและชุมชนของตนเองโดยหน่วยงานภาครัฐเป็นเพียงผู้สนับสนุนเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ชาวชุมชนได้มีที่อยู่อาศัยที่ตรงกับความต้องการและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวชุนชมอย่างแท้จริง ทั้งนี้ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดย พอช. เป็นหน่วยงานรับผิดชอบดำเนินการให้สามารถครอบคลุมคนจนที่อยู่อาศัยในชุมชนแออัด กลุ่มผู้อยู่อาศัยที่จำเป็น ต้องบุกรุกที่ดิน ลำน้ำรวมไปถึงผู้ไร้ที่อยู่ คนเร่ร่อนได้อย่างทั่วถึง และสามารถสร้างที่อยู่อาศัยใหม่อันจะนำไปสู่การสร้างครอบครัวและสร้างชุมชนที่มั่นคงร่วมกัน โดยในแต่ละชุมชนจะมีระบบกองทุนสวัสดิการชุมชน ซึ่งเป็นกองทุนที่ริเริ่มจัดการโดยองค์กรชุมชน ตามวัฒนธรรม ประเพณีและสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจสังคมของแต่ละท้องถิ่น ดำเนินการและบริหารจัดการโดยองค์กรชุมชน ระเบียบข้อบังคับต่าง ๆ กำหนดขึ้นตามความเห็นพ้องต้องกันของสมาชิกกองทุน หน่วยงานภายนอกเป็นผู้สนับสนุน เน้นที่การจัดสวัสดิการให้สมาชิก ไม่ใช่เป็นส่วนหนึ่งขององค์กรการเงินอื่น ๆ การดำเนินการของกองทุนอยู่ภายใต้หลักการสำคัญ ได้แก่ สมาชิกทุกคนจะบริจาคเงินสมทบเข้ากองทุนเท่ากันและมีสิทธิ์ที่จะได้รับความช่วยเหลือเมื่อยามจำเป็นเท่ากัน การช่วยเหลือเกื้อกูลระหว่างคนในชุมชน ความแข็งแกร่งของกองทุนต้องมาจากพลังความร่วมมือของคนภายในของชุมชนเอง ทั้งทางด้านการเงินและการบริหารจัดการ [สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (2563)]. เป้าหมายของการดำเนินงานกองทุนสวัสดิการชุมชน เป็นการสร้างความร่วมมือ การช่วยเหลือเกื้อกูล ความสามัคคีและการสร้างหลักประกันทางสังคมให้มวลหมู่สมาชิกในชุมชนกองทุนสวัสดิการ แต่กองทุนนี้จะเกี่ยวข้องกับเรื่องการเงินเป็นหลัก ดังนั้น การที่องค์กรชุมชนจะมีระบบฐานข้อมูลองค์กรที่ถูกต้อง มีระบบการเงินที่โปร่งใส มีการจัดทำบัญชีที่ถูกต้อง สามารถตรวจสอบและรายงานผลการเงินได้ จึงจำเป็นอย่างยิ่งในการหนุนเสริมให้องค์กรชุมชนมีความเข้มแข็ง ซึ่งในการปฏิบัติการดังกล่าวนั้น ต้องเป็นการปฏิบัติงานที่มีประสิทธิภาพ โดยการดำเนินงานต้องเชื่อถือได้ สำเร็จตามเวลาและถูกต้อง ดังนั้น การปฏิบัติ งานทางการบัญชีที่ดี จึงเป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่ผู้นำขององค์กรจะต้องมีการดูแล กำกับและควบคุม โดยควรเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ แล้วนำมาสังเคราะห์เป็นนวัตกรรมความรู้ทางบัญชี (Accounting Knowledge Innovation) ที่ผ่านกระบวนการทางมาตรฐานบัญชี และเครื่องมือตรวจสอบทางการเงิน ทำให้เกิดนวัตกรรมการเงินการบัญชี (Accounting financial Innovation) อย่างไรก็ตาม การสร้างนวัตกรรมดังกล่าวจะเกิดขึ้นได้นั้นจะต้องอาศัยการสร้างกระบวนการทางบัญชี (Accounting Process) ที่สามารถจับต้องได้และนำมาใช้ก่อให้เกิดเป็นรูปธรรม ดังนั้น กระบวนการทางบัญชีที่นำมาสู่นวัตกรรมทางการเงินการบัญชี จะก่อให้เกิดระบบการจัดการของชุมชนที่มีประสิทธิภาพ ตรวจสอบได้ สามารถเชื่อมโยงการพัฒนาทั้งจากภายในองค์กรและภายนอกองค์กรให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันขององค์กรชุมชน พร้อมเกิดบทบาทใหม่ของสถาบันการศึกษา และวิชาการโดยการมีส่วนร่วมในการพัฒนาและเชื่อมโยงการเรียนรู้ระหว่างชุมชนท้องถิ่นกับมหาวิทยาลัย ซึ่งการศึกษาครั้งนี้ จึงมุ่งศึกษาบริบทการเงินการบัญชีและการจัดทำบัญชีขององค์กรชุมชนบ้านมั่นคง พัฒนานวัตกรรมการเงินการบัญชีให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลทางบัญชี พร้อมทั้งสร้างองค์ความรู้แก่ผู้นำองค์กรชุมชนบ้านมั่นคงในการบริหารจัดการ การเงินการบัญชี
จุดเด่นของโครงการ :กระบวนการทางบัญชีที่นำมาสู่นวัตกรรมทางการเงินการบัญชี
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. ศึกษาบริบทการเงินการบัญชีและการจัดทำบัญชีขององค์กรชุมชนบ้านมั่นคงในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ 2. พัฒนานวัตกรรมการเงินการบัญชีให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ใช้ข้อมูลทางบัญชี 3. สร้างองค์ความรู้แก่ผู้นำองค์กรชุมชนบ้านมั่นคงในการบริหารจัดการ การเงินการบัญชี
ขอบเขตของโครงการ :ขอบเขตด้านเนื้อหา ศึกษาบริบทของระบบการเงินการบัญชี ใน 3 ประเด็น 1) ด้านเอกสารและวิธีการทางบัญชี 2) ด้านความรู้ความสามารถของผู้ทำบัญชี 3) วิเคราะห์สภาพปัญหาการจัดทำบัญชีขององค์กรชุมชนบ้านมั่นคงและกำหนดรูปแบบของบัญชีและเอกสารประกอบการบันทึกบัญชี ขอบเขตด้านประชากรและตัวอย่าง ประกอบด้วยแกนนำองค์กร/ตัวแทน ชุมชนบ้านมั่นคงที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการด้านการเงินการบัญชีของสหกรณ์เคหสถานบ้านมั่นคง กลุ่มออมทรัพย์บ้านมั่นคง และกองทุนสวัสดิการชุมชน ในจังหวัดนครสวรรค์ จำนวน 35 ราย ขอบเขตด้านระยะเวลา ช่วงเวลาที่ใช้ในการศึกษา 30 พฤศจิกายน 2563 ถึง 29 พฤศจิกายน 2564 ขอบเขตด้านพื้นที่ ชุมชนบ้านมั่นคงในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ประโยชน์เชิงวิชาการ ตัวแทนองค์กรชุมชนบ้านมั่นคงสามารถนำความรู้ที่ได้จากการถ่ายทอดนวัตกรรมการเงินการบัญชีไปใช้ในการบริหารจัดการองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจ องค์กรชุมชนบ้านมั่นคงมีระบบการบริหารการเงินการบัญชีสามารถบริหารจัดการการเงินการบัญชีขององค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ สร้างความแข็งแกร่งเชิงเศรษฐกิจให้กับองค์กรได้ 3. ประโยชน์เชิงสังคมและชุมชน สมาชิกขององค์กรชุมชนบ้านมั่นคง มีความมั่นใจในการบริหารจัดการขององค์กร ทำให้เกิดความร่วมมือกันในชุมชนมากขึ้น ผลที่ตามมาจะทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งมีความรักสามัคคีกัน ร่วมมือร่วมใจทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน ซึ่งจะทำให้คุณภาพชีวิตและเศรษฐกิจของประชาชนในชุมชนดีขึ้น
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ตามพระราชกฤษฎีการจัดตั้งสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน มาตรา 3 ได้ให้ความหมายขององค์กรชุมชนไว้ว่า องค์กรชุมชนคือ กลุ่มคนที่มีระบบการจัดการที่สมาชิกของชุมชนจัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการร่วมกัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประโยชน์ในการประกอบอาชีพ พัฒนาอาชีพ เพิ่มรายได้ พัฒนาที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม หรือพัฒนาชีวิตความเป็นอยู่ของสมาชิกในกลุ่ม โดยเกิดจากการรวมตัวกันจากชาวชุมชน เพื่อช่วยแก้ปัญหาในทุกเรื่อง รวมถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นตามแนวทางการพัฒนาแนวใหม่ โดยมุ่งเน้นการเสริมสร้างศักยภาพความสามารถให้คนยากจนในชุมชนได้ก่อร่างสร้างตัวและพึ่งตนเองให้มากขึ้น ด้วยการนำหลักแนวคิดกระบวนการสหกรณ์มาใช้ประโยชน์ โดยส่งเสริมให้คนยากจนรวมกลุ่มเป็นองค์กรชุมชน สหกรณ์ เครือข่ายองค์กรชุมชน รวมถึงกลุ่มออมทรัพย์และกลุ่มอาชีพต่างๆ ด้วย ระบบบัญชี เป็นขั้นตอนการปฏิบัติเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล เอกสารทางการเงินต่างๆที่เป็นหลักฐานในการบันทึกบัญชี ซึ่งการบันทึกบัญชีเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญในการดำเนินธุรกิจ ดังนั้น การที่องค์กรมีระบบบัญชีที่ดี ถูกต้อง และน่าเชื่อถือ จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กร เพราะทำให้สามารถบันทึกบัญชีและวางแผนการบริหารงานการเงินการบัญชีได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถพัฒนาองค์กรให้เป็นที่น่าเชื่อถือของบุคคลทั่วไป ดังนั้นการให้ความสำคัญต่อการพัฒนาระบบบัญชี (นวัตกรรมทางบัญชี) ให้มีมาตรฐาน จะสามารถทำให้องค์กรประสบความสำเร็จในการดำเนินงาน
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :แนวคิดของนวัตกรรมการเงินการบัญชี นวัตกรรมเป็นเรื่องของแนวคิด วิธีการปฏิบัติใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในองค์กร อาจเกิดจากการประยุกต์จากสิ่งเดิมหรือไม่ก็ได้ (Rogers, 2003) และนวัตกรรมยังมีอิทธิพลโดยตรงต่อความคิดสร้างสรรค์ระดับองค์กรของกลุ่มธุรกิจขนาดย่อม (Prasomtong, 2016) ดังนั้น นวัตกรรม หมายถึง การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ที่เกิดขึ้นกับระบบ การออกแบบ การบันทึกข้อมูล กระบวนการทำงาน และแผนการทำงานขององค์กร นวัตกรรมการเงินการบัญชีเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความก้าวหน้าและทิศทางของการบัญชีบริหาร Horngren, Foster & Datar (2001) กล่าวว่า นวัตกรรมทางการบัญชี เป็นเรื่องของการวัดและการรายงานข้อมูลทางการเงินและไม่ใช่ทางการเงิน ซึ่งช่วยให้ผู้บริหารสามารถตัดสินใจได้บรรลุเป้าหมาย แนวคิดและความสัมพันธ์ของการเงินกับการบัญชี การจัดการทางการเงินเป็นการวางแผนทางการเงินและการจัดสรรเงินทุนในสินทรัพย์ขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร และวัตถุประสงค์ นโยบายขององค์กร เพื่อให้มีโครงสร้างทางการเงินที่เหมาะสมแก่องค์กร ดังนั้น การจัดการทางการเงินจึงมีขอบข่ายและความสัมพันธ์กับศาสตร์แขนงอื่น ๆที่สำคัญอย่างเห็นได้ชัด คือ การบัญชี ซึ่งการบัญชีเป็นเรื่องเกี่ยวกับการบันทึก การรายงาน และการวัดผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้นทางธุรกิจ การบัญชีจึงช่วยจัดหาข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินงานขององค์การ ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลที่ผ่านมาแล้วหรือข้อมูลที่เป็นการพยากรณ์การดำเนินงานในอนาคต ซึ่งโดยทั่วไปจะเรียกว่า ข้อมูลทางการบัญชี ข้อมูลทางการบัญชีมีบทบาทในการรายงานข้อมูลให้ผู้บริหารระดับต่าง ๆ เพื่อใช้ภายในองค์การทั้งในด้านของการประเมินผลการดำเนินงานในอดีต การพยากรณ์ผลการดำเนินงานในอนาคต และเพื่อใช้ในการควบคุมภายในขององค์กร ซึ่ง Veeken and Wouters (2002) ได้ศึกษาการใช้ประโยชน์ของข้อมูลทางการบัญชีของผู้บริหาร พบว่า ข้อมูลทางการบัญชีไม่เพียงเป็นเครื่องมือช่วยในการตัดสินใจในการดำเนินงานให้แก่ผู้บริหารเท่านั้น แต่ยังมีส่วนในการส่งเสริมให้ผู้บริหารมีทักษะในการบริหารจัดการต้นทุนได้ เพราะความต้องการข้อมูลทางการบัญชีในแต่ละระดับของผู้บริหารมีความแตกต่างกัน โดยผู้บริหารระดับสูงจะให้ความสำคัญกับข้อมูลในการบริหารจัดการต้นทุน ในขณะที่ผู้บริหารระดับล่างจะให้ความสำคัญกับผลลัพธ์ของโครงการที่ตนรับผิดชอบอยู่ ดังนั้น องค์กรควรมีระบบการบัญชีที่สามารถรายงานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจได้อย่างน่าเชื่อถือและทันต่อเหตุการณ์ ซึ่งจะทำให้ผู้บริหารมีข้อมูลที่เพียงพอต่อการตัดสินใจมากขึ้น ข้อมูลทางการบัญชีที่อยู่ภายใต้วงจรการบัญชี ที่จัดทำขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ที่เกี่ยวกับฐานะทางการเงิน ผลการดำเนินงาน และกระแสเงินสดขององค์กร ไม่เพียงเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินขององค์กรในการนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจทางเศรษฐกิจเท่านั้น เพราะการตัดสินใจทางการเงินต้องอาศัยพื้นฐานของข้อมูลที่เป็นจริง มีความแน่นอนจะคาดเดาเองไม่ได้ จึงจัดได้ว่าข้อมูลการเงินการบัญชีเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการทางการเงินการบัญชี
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การวิจัยครั้งนี้ ใช้แนวทางการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม ใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามแบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และผสมผสานการวิจัยเอกสารและนำมาพัฒนานวัตกรรมการเงินการบัญชีที่เหมาะสมกับองค์กรชุมชนบ้านมั่นคง รวมถึงการถ่ายทอดนวัตกรรมการเงินการบัญชีโดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ ประชากรและตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือแกนนำองค์กร/ตัวแทน ชุมชนบ้านมั่นคงที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินการด้านการเงินการบัญชีของชุมชนบ้านมั่นคง ในพื้นที่เขตจังหวัดนครสวรรค์ ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ใช้วิธีการเจาะจงเลือก (Purposive) จากกรอบของประชากร โดยใช้ตัวอย่างในการศึกษารวม จำนวน 35 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนที่ 1 แบบสัมภาษณ์แบบปลายเปิดใช้ในการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการจัดทำบัญชี การใช้ข้อมูลทางบัญชีขององค์กรชุมชนที่เป็นเป้าหมายของการศึกษา รวมถึง ปัญหา อุปสรรคในการจัดทำบัญชี การวิเคราะห์องค์ประกอบของระบบบัญชีในปัจจุบัน ส่วนที่ 2 แบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการพัฒนาระบบบัญชีขององค์กรชุมชนบ้านมั่นคง โดยมีรายละเอียด ดังนี้ 1) ข้อมูลทั่วไปของแกนนำองค์กร/ตัวแทนชุมชนบ้านมั่นคง ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การจัดทำบัญชี 2) สถานการณ์การจัดทำบัญชีของชุมชนบ้านมั่นคง เป็นแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาระบบบัญชีชุมชนบ้านมั่นคง เป็นแบบแบบสอบถามแบบมาตรประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบสนทนากลุ่ม การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการแจกแบบสอบถาม มีขั้นตอนต่อไปนี้ 1) ประสานงานแกนนำองค์กรชุมชนบ้านมั่นคง เพื่อดำเนินการสัมภาษณ์ในเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบมีส่วนร่วม เพื่อรวบรวมข้อมูลระบบบัญชีในปัจจุบัน ปัญหาในการจัดทำบัญชี การนำข้อมูลทางบัญชีในการบริหาร เพื่อร่วมกันพัฒนาระบบบัญชีระหว่างผู้วิจัยกับชุมชนบ้านมั่นคง 2) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการเงินการบัญชี ความสำคัญของระบบบัญชี และนำระบบบัญชีใหม่ที่มีการออกแบบร่วมกัน และให้ผู้เข้าร่วมอบรมลงมือปฏิบัติจริง 3) แจกแบบสอบถามเพื่อสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อระบบบัญชีของชุมชนบ้านมั่นคง การวิเคราะห์ข้อมูล 1) ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ในเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแบบมีส่วนร่วมข้อมูลเกี่ยวกับสถานการณ์ของการจัดทำบัญชีในปัจจุบัน ปัญหาและอุปสรรคในการจัดทำบัญชี ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) 2) การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปของตัวอย่างในการศึกษา ใช้วิธีวิเคราะห์โดยใช้สถิติพรรณนา
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :นวัตกรรมการเงินการบัญชีที่เป็นผลผลิตจากการศึกษาครั้งนี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรอื่นที่มีการดำเนินธุรกิจซึ่งต้องมีการจัดทำบัญชี
จำนวนเข้าชมโครงการ :357 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวลักษมี งามมีศรี บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย80
นางสาวปราณี ตปนียวรวงศ์ บุคลากรภายนอกมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด