รหัสโครงการ : | R000000552 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | แบบจําลองสุ่มสัมผัสในกลุ่มประชากรสําหรับไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ุใหม่2019 |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | The Public Stochastic Model for Current Novel Coronavirus |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | แบบจำลอง สุ่มสัมพันธ์ในกลุ่มประชากร ไวรัสโคโรน่า ระบาดวิทยาเชิงคำนวณ |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 55000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 55,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 30 พฤศจิกายน 2563 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 29 พฤศจิกายน 2564 |
ประเภทของโครงการ : | การวิจัยพื้นฐาน |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | รายงานจากประเทศจีน เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2562 พบว่ามีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 (novel Coronavirus 2019, nCoV-2019) โดยพบการเพิ่มขึ้นของผู้ป่วยโรคปอดอักเสบเป็นจำนวนมากที่เมืองอู่ฮั่น และต่อมาเมื่อวันที่ 3 มกราคม 2563 ได้มีรายงานอย่างเป็นทางการว่า การระบาดของโรคปอดอักเสบนั้น เกิดจาก ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 และพบว่ามีการแพร่เชื้อระหว่างคนสู่คน และเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 ที่ประชุมขององค์การอนามัยโลก ได้มีมติประกาศภัยพิบัติฉุกเฉินระดับโลก (Global health emergencies) ให้เชื้อโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ซึ่งในขณะนี้ มีผู้ที่ติดเชื้อครอบคลุมในทุกภูมิภาคทั่วโลก เป็นจำนวน 4,441,867 คน โดยได้รับการยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าว จำนวน 298,295 คนและมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ โดยประเทศไทยเคยติดลำดับสามของจำนวนผู้ป่วยเชื้อโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ โดยมีประเทศสหรัฐอเมริกา สเปน และรัสเซียมีผู้ติดเชื้อมากที่สุด 3 อันดับแรก สำหรับรายงานพบผู้ป่วยสะสมในประเทศไทยจำนวน 3,018 คน มีรายงานผู้เสียชีวิต จำนวน 56 คน รักษาตัวในโรงพยาบาล จำนวน 112 คน โดยมีเสี่ยงจากการเดินทางมาจากต่างประเทศ หรือประเทศที่มีผู้ติดเชื้อจำนวนมาก
ในการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญมากระดับต้น ๆ ของโรคระบาดในปัจจุบัน เนื่องจากยังไม่มีการพบวัคซีนที่ใช้สำหรับการยับยั้งการระบาดของโรคได้ อย่างไรก็ตามการทำความเข้าใจถึงการแพร่ระบาดของโรคนั้นนับว่าเป็นเครื่องมือที่สำคัญประการหนึ่งเพื่อใช้ในการวางแผนการจัดการกับการระบาดของโรค ดังนั้น การจัดทำแบบจำลองเพื่อทำซ้ำการเกิดโรคจึงเป็นอีกหนึ่งแนวทางของการรับมือการระบาดของโรคได้ในครั้งนี้ |
จุดเด่นของโครงการ : | ได้เครื่องมือช่วยจำลองการทำซ้ำการเกิดการระบาดของโรคไวรัสโคโรน่าสายพันธ์ุใหม่ 2019 |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อศึกษาหาข้อมูลที่เป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อการระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019
2. เพื่อสร้างแบบจำลองการทำซ้ำการเกิดการระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยใช้ Computational Epidemiology
3. เพื่อสร้างกระบวนการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ผ่านทางแบบจำลอง ให้สามารถนำไปวางแผน หรือรับมือต่อการระบาดของไวรัสฯ |
ขอบเขตของโครงการ : | ข้อมูลทางชีววิทยาของโรค ได้จากการราบงานขั้นทุติยภุมิของกระทรวงสาธารณสุข หน่วยงาน หรือเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. ได้เครื่องมือเพื่อช่วยในการตัดสินใจ และและเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการวางแผนเตรียมรับมือการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019
2. ได้ผลงานทางวิชาการในการศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ที่เกื้อหนุนให้เกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019
3. มีการบูรณาการความรู้ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ชีววิทยา และ สาธารณสุข เข้าด้วยกันเป็นลักษณะของสหวิชา เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับโรคระบาดในสาขาของ ระบาดวิทยาเชิงคำนวณ
4. ได้เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในแง่มุมต่าง ๆ ที่ไม่สามารถทำได้ในสถานการณ์จริง หรือมีความเสี่ยงสูงในการทดลอง หรือใช้งบประมาณมากในการทดลอง
5. สามารถนำเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้นมาใหม่ไปถ่ายทอดให้กับบุคลากรสาธารณาสุขท้องถิ่นตามคำร้องขอของหน่วยงานนั้น ๆ
6. ถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยให้กับนักศึกษา และประชาชนในท้องถิ่นเพื่อให้ทราบถึงการวางแผนเตรียมรับมือการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019 |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | - |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | Cellular automata
Cellular automata (CA) เป็นตารางแบบสองมิติ ประกอบไปด้วยจำนวน แถว (r) x คอลัมน์ (c) ซึ่งสี่เหลี่ยมแต่ละช่องจะถูกเรียกว่า เซลล์ ซึ่งจะถูกนำมาใช้ในการแสดงการเปลี่ยนแปลงสถานะที่เกิดขึ้นตามการทำงานของฟังก์ชันหรือกฎที่กำหนดไว้ในแบบจำลอง โดยการเปลี่ยนไปของเซลจะเปลี่ยนไปตามเวลา t ที่ได้มีการดำเนินการซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ของเซลจะส่งผล หรือได้รับผลมาจากเซลข้างเคียง และการกำหนดความสัมพันธ์ของเซลภายใน CA สามารถอธิบายได้ 4 ลักษณะประกอบด้วย (C,S,N,f) ซึ่งมีความหมายดังต่อไปนี้ C หมายถึงเซล ซึ่งเป็นช่องว่างภายในตารางสองมิติ
Global stochastic contact model
GSCM เป็นกรอบการดำเนินการทางด้านการประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อจำลองการระบาดของโรค ในเขตพื้นที่ใด ๆ โดยการแสดงถึงวิธีการสัมผัสระหว่างกันของ โฮส หรือ โฮสกับพาหะเป็นต้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ถึงการระบาดของโรค โดยกำหนดให้ประชากรถูกแทนด้วย P ซึ่งประกอบไปด้วยข้อมูล 2 ชนิดได้แก่ ภาวะของโรคปัจจุบัน ได้แก่ พร้อมรับเชื้อ (S) เชื้อฟักตัว (L) แสดงอาการป่วย (I) และการหายจากโรค (R) และข้อมูลชนิดที่ 2 คือ ภาวะโรคที่เป็นก่อนหน้า แสดงด้วย ?T ซึ่งเป็นระยะเวลาต่างๆ ของการเปลี่ยนสถานะของการเป็นโรค ได้แก่ L?I, I?R, R?S หรืออื่น ๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสถานะของการเป็นโรคนั้น จะขึ้นอยู่กับสถิติของช่วงเวลาต่าง ๆ ในแต่ละโรคเนื่องจาก GSCM ถูกนำมาใช้เพื่อแสดงการสัมผัสของประชากร ดังนั้น ความเป็นไปได้ในการสัมผัสในช่วงเวลา ?T จะแสดงออกได้ดังนี้เมื่อ Nk เป็นจำนวนประชากรแต่ละคนสำหรับพื้นที่ที่กำหนด ซึ่งประสิทธิภาพของการใช้ GSCM คือการสร้างการสัมผัสให้เกิดขึ้นในประชากรแต่ละกลุ่ม ตามสถานะปัจจุบันที่ได้เก็บค่าเอาไว้ เพื่อแสดงถึงการแพร่กระจายของเชื้อ โดยการสัมผัสนั้นจะขึ้นอยู่กับค่าทางสถิติของแต่ละโรค แล้วนำไปทำการสุ่มเพื่อให้เกิดการแพร่เชื้อ และเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้นสำหรับการแพร่กระจายของเชื้อ GSCM จะลดการทำงานของแบบจำลองลง โดยให้การสัมผัสจะกระทำระหว่าง S กับ I เท่านั้น เพราะฉะนั้น ค่าของของแพร่เชื้อสามารถคำนวณโดยใช้สมการดังต่อไปนี้ได้ซึ่ง exp หมายถึงความน่าจะเป็นและจำนวนนับของการแพร่เชื้อในแต่ละรายSIR
model
โมเดลทางคณิตศาสตร์ SIR ว่าเป็นโมเดลพื้นฐานและนิยมใช้เพื่อแสดงการเปลี่ยนสถานะการติดเชื้อ โดยมีอยู่ด้วยกัน 3 สถานะ ประกอบด้วย ผู้พร้อมรับเชื้อ (Susceptible: S) ผู้ป่วย (Infectious: I) และ ผู้ฟื้นจากไข้ (Recovered: R) ในการเปลี่ยนไปยังสถานะต่าง ๆ |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | 1. ขั้นเตรียมความพร้อม
2. การทำการประมวลผลก่อนสำหรับข้อมูลดิบ (Pre-processing for raw data)
3. สร้างแบบจำลอง
4. การออกแบบโปรแกรมส่วนติดต่อระหว่างผู้ใช้งาน และโปรแกรมประมวลผล
5. ประมวลผลแบบจำลอง
6. การประเมินผลความถูกต้องของแบบจำลอง
7. สรุปผลการทำงานของแบบจำลอง |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 703 ครั้ง |