รหัสโครงการ : | R000000549 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการศึกษา |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Blended learning model to promote Analytical thinking ability and learning outcomes of students in the field of study Computer and Educational Technology |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | การเรียนการสอนแบบผสมผสาน, การคิดวิเคราะห์ |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาเทคนิคการศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 55000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 55,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 30 พฤศจิกายน 2563 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 29 พฤศจิกายน 2564 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขาการศึกษา |
กลุ่มวิชาการ : | เทคโนโลยีการศึกษา |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ. 2552-2561) เป็นสิ่งขับเคลื่อนการพัฒนารูปแบบ
การเรียนการสอน จากที่ครูเป็นผู้ถ่ายทอดเนื้อหาแก่ผู้เรียนฝ่ายเดียว เปลี่ยนเป็นการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยมุ่งพัฒนาให้คนไทยได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ผู้เรียนทุกระดับทุกประเภทการศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีทักษะและความรู้พื้นฐานทั้งในการดำรงชีวิต และในการทำงานอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ โดยแนวทางในการพัฒนานั้นตามที่พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 มาตรา 22 กำหนดแนวทางในการจัดการศึกษาไว้ว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด ฉะนั้นครูผู้สอนและผู้จัดการศึกษาจะต้องเปลี่ยนแปลงบทบาทจากการเป็นผู้ชี้นำ ผู้ถ่ายทอดความรู้ไปเป็นผู้ช่วยเหลือ ส่งเสริม
และสนับสนุนผู้เรียนในการแสวงหาความรู้จากสื่อและแหล่งการเรียนรู้ต่าง ๆ และให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่ผู้เรียน เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นไปใช้สร้างสรรค์ความรู้ของตน จากข้อความดังกล่าวสรุปได้ว่าการจัดการเรียนการสอนควรคำนึงถึงผู้เรียนเป็นสำคัญ และเลือกจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความถนัดของผู้เรียนแต่ละคน และจากรายงานผลสรุปการปฏิรูปการศึกษาที่ผ่านมาในด้านการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและสถานศึกษาพบว่าสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ยังไม่ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ประเมินของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ จากการประเมินรอบแรก ร้อยละ 65 จากสถานศึกษาที่มีกว่า 30,000 แห่งทั่วประเทศ
ในส่วนที่เกี่ยวกับคุณภาพของผู้เรียนพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50 ซึ่งจากผลการประเมินการดำเนินงานด้านการจัดการเรียนรู้ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานผลสรุปว่าความสามารถเชิงวิเคราะห์มีค่าคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าร้อยละ 50 ซึ่งสอดคล้องกับผลจากการประเมินคุณภาพของ สมศ. ซึ่งมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้แก่มาตรฐานที่ 4 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์ คิดไตร่ตรอง และมีวิสัยทัศน์ มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร และมาตรฐานที่ 6 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองรักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา, 2552) ซึ่งสอดคล้องกับเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2540: 141-148) ที่กล่าวว่า สังคมไทยในอนาคต ต้องการผู้ที่มีความสามารถในการคิดหรือทักษะในการคิดเป็นอย่างมาก คนไทยที่ควรพึงประสงค์ในอนาคตควรมีลักษณะ “คิดเป็น” ใน 10 ลักษณะ ได้แก่ คิดวิเคราะห์ คิดสังเคราะห์ คิดวิพากษ์ คิดประยุกต์ คิดเปรียบเทียบ คิดบูรณาการคิดเชิงมโนทัศน์
คิดเชิงกลยุทธ์ คิดเชิงอนาคต และคิดสร้างสรรค์ เพื่อสามารถจะเผชิญกับปัญหา การดำเนินกิจกรรมต่างๆ และยกระดับคุณภาพชีวิตของตนให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป
การนำเทคโนโลยีมาประกอบการจัดการศึกษาจะทำให้ห้องเรียนดีที่สุดด้วยการบูรณาการองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้ บรรยากาศมีผลต่อการเรียนรู้ของนักเรียน แบบการเรียนที่เหมาะสมกับผู้เรียน การเชื่อมโยงการเรียนรู้ใหม่กับความรู้เดิมด้วยเทคโนโลยี การช่วยให้ผู้เรียนเก็บความรู้ไว้ในความจำระยะยาวแทนการจำเพื่อนำไปใช้สอบ ความสำคัญของการสอนการคิดขั้นสูง เน้นการเรียนแบบร่วมมือ การช่วยให้นักเรียนประสบความสำเร็จทุกคน และการประเมินการเรียนรู้สอดคล้องกับเพลกรัมและลอว์ (W.J. Pelgrum, N.Law, 2008: 43) ได้กล่าวถึงการจัดหลักสูตรสำหรับ ICT สามารถสรุปได้ว่า ในสถาบันการศึกษาส่วนใหญ่ การจัดระบบกระบวนการเรียนรู้สามารถแบ่งได้ตามลักษณะที่มีบทบาทและควบคุมโดยครูสำหรับการเรียนการสอนตามปกติ แต่ถ้ามีการจัดการศึกษาที่มีการเตรียมการอย่างเพียงพอสำหรับอนาคต (ในสังคมยุคข้อมูลข่าวสาร) โรงเรียนต้องมีผู้เรียนที่มีพลังในการที่จะเป็นผู้ที่ตื่นตัวและมีความรับผิดชอบในการจัดการและกระบวนการเรียนด้วยตัวเอง การเรียนรู้จะเป็นการเรียนโดยผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมตนเองมากกว่า ในขณะที่มีการเรียนรู้ต้องมีอย่างไม่สิ้นสุดไม่เฉพาะแต่ในการเรียนภาคบังคับเท่านั้นแต่ต้องนำไปสู่การศึกษาตลอดชีวิต ผู้เรียนจะมีทักษะทางการเรียนจากผลผลิตที่ได้มา ทักษะในการคิดวิเคราะห์ คิดแก้ปัญหาทักษะการเรียนแบบอิสระหรือทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต การจัดการเรียนรู้ในแต่ละวิธีซึ่งผู้เรียนสามารถที่จะเรียนถึงกระบวนการที่ได้มาของโครงสร้างนั้น ๆ ได้โดยการช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญท่ามกลางสภาพอื่น ๆ และพื้นฐานทั่วไปและตามศักยภาพที่จะเกิดขึ้นในอนาคตที่ได้มาจากการเปรียบเทียบการศึกษาในรูปแบบเดิมการจัดการเรียนการสอนบนเว็บ (Web-Based Instruction) ในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาเป็นรูปแบบของการจัดการศึกษาที่สามารถส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการค้นคว้าข้อมูลในการเรียนรู้ด้วยตนเอง เป็นการสนองตอบแนวคิดในการจัดการเรียนการสอนที่ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ผู้เรียนสามารถเกิดการเรียนรู้ได้โดยวิธีการที่หลากหลายและเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ทุกสถานที่ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นประโยชน์ ซึ่งสื่อต่าง ๆ เหล่านี้สามารถกระตุ้นให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้และแก้ปัญหาได้อย่างอิสระ (สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ, 2540: 25) ซึ่งสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของการเรียนรู้ที่เชื่อว่าผู้เรียนที่แสวงหาความรู้ด้วยตนเองจะเกิดการเรียนรู้ที่ลึกซึ้งกว่าการเรียนโดยได้รับการถ่ายทอดจากผู้สอนเพียงฝ่ายเดียว การจัดการสอนบนเว็บสนับสนุนให้ผู้เรียนใฝ่หาความรู้ด้วยตนเองและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถร่วมทำกิจกรรมต่าง ๆ กับผู้เรียนคนอื่น ๆ และกับผู้สอนได้รวมทั้งส่งเสริมให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนคนอื่น ๆ ผู้เรียนกับผู้สอน และผู้เรียนกับเนื้อหาโดยการเสาะแสวงหาข้อมูลจากบริการในอินเทอร์เน็ตด้วยตนเองจากบริการเวิลด์ไวด์เว็บ การโต้ตอบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (e-mail) การสนทนา (chat) และกระดานสนทนา (web board) เป็นต้น ทำให้ผู้เรียนมีโอกาสแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น กิจกรรมการเรียนการสอนจึงเป็นไปอย่างทั่วถึง เป็นลักษณะการเรียนที่ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลและศักยภาพทางการเรียนรู้ของผู้เรียน เนื่องจากผู้เรียนสามารถเข้ามาศึกษาทบทวนเนื้อหา และฝึกทำแบบฝึกหัดบนเว็บได้ทุกเวลา
ทุกสถานที่ และยังเป็นการสนับสนุนแนวคิดที่ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (วิชุดา รัตนเพียร, 2553)
แม้ว่าการจัดการเรียนการสอนบนเว็บจะได้รับนิยมอย่างรวดเร็ว แต่ก็ยังพบปัญหาในการออกแบบการเรียนการสอนบนเว็บ เนื่องจากการจัดการเรียนการสอนบนเว็บไม่เหมาะสมกับรูปแบบการเรียน (learning style) และรูปแบบการคิด (cognitive style) ของผู้เรียนทุกรูปแบบ (Alvarez, 2005; Bonk and Graham, 2005) เมื่อเปรียบเทียบข้อดีของการจัดการเรียนการสอนบนเว็บกับการเรียนในชั้นเรียนแบบดั้งเดิม (Traditional classroom) พบว่าการจัดการเรียนการสอบบนเว็บมีข้อดีดังนี้ 1) ความยืดหยุ่นและความสะดวกสบาย (flexibility and convenience) ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามหลักสูตรโดยไม่มีข้อจำกัดของเวลาและสถานที่ ห้องเรียนแบบดั้งเดิมมักจะมีการกำหนดตารางเวลาตายตัว เมื่อใช้การเรียนการสอนบนเว็บจะลดปัญหาเรื่องการกำหนดเวลา สถานที่และราคาค่าใช้จ่ายบางประการลงไปได้ (Hall, 1997; Khan, 1997)
2) ความเหมาะสมในการเรียนรู้(Just-in-time learning) การเรียนการสอนบนเว็บมีความสัมพันธ์กับความต้องการที่จะเรียนรู้ของผู้เรียน ถ้าผู้ออกแบบการเรียนการสอนเพิ่มแรงจูงใจในการเรียนจะทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตลอดชีวิตเมื่อต้องการที่จะเรียนรู้ (Khan,1997; IBM, 1997) 3) การควบคุมโดยผู้เรียน (learner control) การควบคุมการเรียนการสอนมีลักษณะผ่านจากผู้สอนไปสู่ผู้เรียน โดยผู้เรียนจะตัดสินใจและกำหนดเส้นทางการเรียน ตามความต้องการของตนเอง (Khan, 1997; Ellis, 1997) ถึงแม้ว่าการจัดการเรียนการสอนบนเว็บมีข้อดีกว่าการเรียนในชั้นเรียนแบบดั้งเดิมแต่การจัดการเรียนการสอนบนเว็บก็ยังมีข้อจำกัดเมื่อเทียบกับการเรียนในชั้นเรียนแบบดั้งเดิมดังนี้ 1) ด้านรูปแบบ (format weaknesses) รูปแบบการเข้าถึงมัลติมีเดียและประสิทธิภาพของการเรียนส่วนบุคคล การนำการเรียนการสอนบนเว็บมาใช้งาน ข้อความที่อ่านได้ยากกว่ารูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ วิดีทัศน์แบบออนไลน์ที่ช้ากว่าแถบบันทึกเสียงหรือโทรทัศน์อาจส่งผลให้ผู้เรียนสูญเสียความสนใจในการเรียน (Hall, 1997) 2)ปัญหาของเส้นทางการเข้าสู่เนื้อหา (navigational problems) รูปแบบไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) และการที่ผู้เรียนเปลี่ยนสภาพแวดล้อมในการเรียนจากห้องเรียนไปสู่สภาพแวดล้อมที่เป็นเว็บที่มีการเชื่อมโยงไปยังแหล่งต่าง ๆ จากการควบคุมโดยผู้เรียน หากผู้เรียนหลงทางในสภาพแวดล้อมของเว็บการหลงทางจะทำให้ผู้เรียนสูญเสียความสนใจในการเรียนซึ่งเป็นปัญหาใหญ่สำหรับผู้เรียน ซึ่งการใช้ส่วนชี้นำ (cueing) สามารถช่วยให้ผู้เรียนลดปัญหาการหลงทางได้ (Hall, 1997; Hiles and Ewing,1997; Khan, 1997) 3) การขาดการติดต่อกับผู้อื่น (lack of human contact) ผู้เรียนบางคนชอบสภาพของการเรียนแบบดั้งเดิมที่มีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนและเพื่อนที่เรียนด้วยกัน ผู้สอนจะได้รับทราบปฏิกิริยาของผู้เรียนว่าเป็นอย่างไร แต่ผู้สอนในรูปแบบการเรียนการสอนบนเว็บนี้จะไม่สามารถรู้ได้เลยว่าผู้เรียนกำลังสับสนหรือไม่เข้าใจเนื้อหาหรือไม่ถ้าไม่ได้ติดต่อสื่อสารกัน สภาพการเรียนการสอนบนเว็บผู้เรียนมีโอกาสจะได้ปฏิสัมพันธ์เช่นเดียวกับการเรียนแบบดั้งเดิมแต่จะมีวิธีการต่างไปโดยจะอาศัยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ การอภิปราย หรือวิธีการอื่น ๆ แต่ผู้เรียนบางคนอาจขาดการติดต่อและขาดปฏิสัมพ |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลการเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการศึกษา
2. เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาที่ใช้การเรียนการสอนแบบผสมผสาน
3. เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนและหลังการใช้การเรียนการสอนแบบผสมผสาน |
ขอบเขตของโครงการ : | 1. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการศึกษาที่เรียนรายวิชาสื่อการสอนและการเรียนรู้ร่วมสมัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
กลุ่มตัวอย่าง คือนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการศึกษา ที่เรียนรายวิชาสื่อการสอนและการเรียนรู้ร่วมสมัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 30 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
1.2 กลุ่มตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญในการประเมินแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลการเรียนรู้ของนักศึกษา ได้แก่ อาจารย์ นักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 3 ท่าน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
1.3 กลุ่มตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญในการประเมินบทเรียนออนไลน์วิชาสื่อการสอนและการเรียนรู้ร่วมสมัย โดยใช้ระบบบริหารการจัดการเรียนการสอน (LMS) ได้แก่อาจารย์ นักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 3 ท่าน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
1.4 กลุ่มตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญในการประเมินแบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบผสมผสานด้วยกระบวนการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลการเรียนรู้ของนักศึกษาได้แก่ อาจารย์ นักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 3 ท่าน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
1.5 กลุ่มตัวอย่างผู้เชี่ยวชาญในการประเมินเครื่องมือแบบวัดการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาที่เรียนด้วยการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลการเรียนรู้ของนักศึกษาได้แก่ อาจารย์ นักวิชาการหรือผู้เชี่ยวชาญในสถาบันอุดมศึกษา จำนวน 3 ท่าน ซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)
2. ขอบเขตด้านเนื้อหา
ในการศึกษาครั้งนี้ใช้เนื้อหาในรายวิชาสื่อการสอนและการเรียนรู้ร่วมสมัย ซึ่งเป็นรายวิชาเฉพาะด้านเนื้อหาของหลักสูตรคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการศึกษา หลักสูตรปรับปรุงปี 2558 |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. ได้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลการเรียนรู้สำหรับนักศึกษา
2. ได้วิธีการสอนสำหรับนักศึกษาที่จะทำให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้ และมีความสุขในการเรียน
3. ผู้สอนสามารถที่จะนำรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาปริญญาตรีไปประยุกต์สำหรับนักศึกษาสาขาวิชาที่หลากหลายได้ |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | 1. แนวคิดของรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended learning)
นักเทคโนโลยีทางการศึกษา นักวิชาการ นักออกแบบระบบการเรียนการสอนหลายท่าน ได้ให้ความหมายของการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานไว้หลายแนวคิด ดังนี้
Driscoll (2002) ได้แบ่งแนวคิดของการเรียนแบบผสมผสานไว้ 4 แนวคิดด้วยกันได้แก่
1. แนวคิดผสมผสานเทคโนโลยีการเรียนการสอนบนเว็บ (web-based technology) กับการเรียนในชั้นเรียนแบบดั้งเดิม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของการจัดการศึกษา (Driscoll, 2002)
Driscoll (2002) ให้นิยามของการเรียนการสอนบนเว็บแบบผสมผสานว่าเป็นการรวมหรือผสมเทคโนโลยีของเว็บ (web-based technology) กับการเรียนในชั้นเรียนแบบดั้งเดิม เช่น การเรียนในห้องเรียนเสมือนแบบสด (live virtual classroom) การเรียนด้วยตนเอง (self paced instruction) การเรียนรู้ร่วมกัน (collaborative learning) วิดีโอสตรีมมิ่ง (streaming video) เสียงและข้อความ เป็นต้น เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายของการจัดการศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ Singh (2003) ที่ให้นิยามของการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานไว้ว่า เป็นเรียนโดยใช้การผสมผสานวิธีสอนที่หลากหลายเข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงสุด
จากที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปความหมายของการเรียนแบบผสมผสานตามแนวคิดการผสมผสานเทคโนโลยีการเรียนการสอนบนเว็บได้ว่า เป็นการรวมวิธีการสอนหลากหลายวิธีและรูปแบบการส่งสารที่แตกต่างกันโดยไม่คำนึงถึงการใช้เทคโนโลยี เพื่อตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนที่มีความสามารถแตกต่างกัน สามารถเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกันและเต็มตามศักยภาพของผู้เรียนแต่ละคน
2. แนวคิดการผสมผสานวิธีสอนที่หลากหลายเข้าด้วยกัน (Driscoll, 2002)
Driscoll (2002) ให้นิยามของการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานว่าเป็นการผสมผสานวิธีสอนที่หลากหลายเข้าด้วยกัน เช่น แนวคิดสร้างสรรค์นิยม (constructivism) แนวคิดพฤติกรรมนิยม (behaviorism) และแนวคิดพุทธินิยม (cognitivism) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์จากการเรียนที่ดีที่สุด ซึ่งอาจใช้หรือไม่ใช้เทคโนโลยีการสอน (instructional technology) ก็ได้ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ Bonk and Graham (2004) ที่กล่าวว่าการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานเป็นการผสมผสานระบบการเรียน (learning systems) ที่หลากหลายเข้าด้วยกันเพื่อเป็นการแก้ปัญหาที่หลากหลายในการเรียน
จากที่กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุปความหมายของการเรียนแบบผสมผสานตามแนวคิดการผสมผสานวิธีสอนที่หลากหลายเข้าด้วยกันได้ว่า การเรียนบนเว็บแบบผสมผสานเป็นการรวมทฤษฎีการสอน (mixing theories of learning) เข้าด้วยกัน รวมเอาหลักการ แนวคิด วิธีการของทฤษฎีพฤติกรรมนิยม ทฤษฎีพุทธินิยม และทฤษฎีสร้างสรรค์นิยม โดยการใช้ทฤษฎีการสอนที่หลากหลายเพื่อตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน ให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเท่าเทียมกันตามศักยภาพที่ตนเองมีอยู่
3. การผสมผสานเทคโนโลยีการเรียนการสอนทุกรูปแบบกับการเรียนการสอนในชั้นเรียนแบบดั้งเดิมที่มีการเผชิญหน้าระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน ซึ่งเป็นมุมมองที่มีผู้ยอมรับกันอย่างแพร่หลายมากที่สุด (Driscoll, 2002)
Smith (2001) ให้นิยามของการเรียนแบบผสมผสานว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนทางไกลโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย เช่น โทรทัศน์ อินเทอร์เน็ต ข้อความเสียง (voice mail) และการประชุมทางโทรศัพท์ เป็นต้น ผสมผสานกับจัดการศึกษาแบบดั้งเดิม (traditional education) ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ Coil and Moonen (2001) ที่กล่าวว่าการเรียนแบบผสมผสาน เป็นการผสมผสานระหว่างการเรียนแบบเผชิญหน้ากับการเรียนแบบออนไลน์เข้าด้วยกัน ซึ่งมีทั้งส่วนประกอบที่เป็นการเรียนในห้องเรียนและการเรียนแบบออนไลน์ โดยใช้จุดเด่นของการเรียนแบบออนไลน์เติมเต็มช่องว่างของการเรียนในห้องเรียน และสอดคล้องกับแนวคิดของ Driscoll (2002) ให้นิยามของการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานว่าเป็นการผสมผสานเทคโนโลยีการสอนในทุกรูปแบบ เช่น วีดิทัศน์ซีดีรอม การเรียนการสอนบนเว็บภาพยนตร์ เข้ากับการเรียนแบบเผชิญหน้า (face-to-face) ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
Garnham and Kaleta (2002) กล่าวว่าการเรียนแบบผสมผสานเป็นการเรียนที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นผสมผสานการจัดการเรียนการสอนโดยการเลือกใช้คุณลักษณะที่ดีที่สุดของการสอนในห้องเรียนและคุณลักษณะที่ดีที่สุดของการสอนออนไลน์เข้าด้วยกัน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างอิสระ ทำให้เกิดการเรียนที่กระฉับกระเฉง (active learning) สามารถพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้ที่มีความกระฉับกระเฉงในการเรียน(active learner)และสามารถลดเวลาในการเข้าชั้นเรียนได้ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Roval and Jordan (2004) ที่พบว่าการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานทำให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกต่อการมีส่วนร่วมในชุมชนการเรียน (sense of community) มากกว่าการเรียนในสภาพแวดล้อมของห้องเรียนปกติ และการเรียนแบบออนไลน์เพียงอย่างเดียว (fully online)
Thorne (2003) กล่าวว่าการเรียนแบบผสมผสานว่าเป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียนรู้ที่ท้าทายและพัฒนาความต้องการส่วนบุคคล โดยการเรียนแบบผสมผสานเป็นการรวมนวัตกรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีเข้าด้วยกัน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์ทั้งจากการเรียนแบบออนไลน์และการมีส่วนร่วมในการเรียนแบบดั้งเดิม การเรียนบนเว็บแบบผสมผสานสามารถสนับสนุนและช่วยทำให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้ดีขึ้น โดยการติดต่อแบบส่วนตัวกับผู้สอน
Harriman (2004) ให้นิยามของการเรียนแบบผสมผสานเป็นการผสมผสานระหว่างการเรียนการสอนออนไลน์และการเรียนแบบเผชิญหน้า โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างเต็มตามศักยภาพและบรรลุเป้าหมายของการเรียน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ Rochester Institute (2004) ที่กล่าวว่า การเรียนแบบผสมผสานเป็นการผสมผสานการเรียนและการสอนในห้องเรียนเข้ากับการเรียนการสอนออนไลน์ ซึ่งถือว่าเป็นรูปแบบวิธีการเรียนและการสอนที่ดีที่สุดในปัจจุบัน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ New South Wales Department of Education and Training (2005) ที่ให้นิยามของการเรียนแบบผสมผสานว่า เป็นการผสมผสานกระบวนการเรียนการสอนแบบออนไลน์กับกระบวนการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้าเข้าด้วยกัน ซึ่งสอดคล้องกับ e-Learning Center (2005) ที่กล่าวว่าการเรียนบนเว็บแบบผสมผสานเป็นการผสมผสานระหว่างการเรียนแบบเผชิญหน้า การเรียนบนเว็บแบบสด (live e-Learning) และการเรียนด้วยตนเองบนเว็บ (self-paced learning) เข้าด้วยกัน
Australian National Training Authority’s (2003) ที่กล่าวว่าการเรียนแบบผสมผสานถือว่าเป็นการเรียนที่ยืดหยุ่นสำหรับผู้เรียนทุกคน เนื่องจากเป็นการผสมผสานการเรียนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์
(e-Learning) เข้ากับการเรียนชั้นเรียนแบบดั้งเดิม โดยใช้หลักการจัดการเรียนการสอนแบบยืดหยุ่นสำหรับการเรียนในรูปแบบที่ต่างกัน
จากแนวคิดที่กล่าวมาข้างต้น สามารถสรุปความหมายของการเรียนแบบผสมผสานตามแนวคิดการผสมผสาน การเรียนการสอนทุกรูปแบบกับการเรียนการสอนในชั้นเรียนแบบดั้งเดิมที่มีการเผชิญหน้าระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนได้ว่า การเรียนแบบผสมผสานเป็นการบูรณาการการเรียนออนไลน์ผ่านระบบเครือข่ายและการเรียนในห้องเรียนแบบดั้งเดิมที่มีการเรียนแบบเผชิญหน้าเข้าด้วยกัน โดยใช้สิ่งอำนวยผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นสื่อ ช่องทางและเครื่องมือ ในบริบทของสภาพแวดล้อมในการเรียนออนไลน์ผ่านระบบเครือข่าย (online learning environment) เพื่อสนับสนุนการจัดการเรียนการสอน โดยเน้นการมีปฏิสัมพันธ์จากการเรียนออนไลน์ผ่านระบบเครือข่ายและการมีส่วนร่วมในการเรียนแบบดั้งเดิม เพื่อพัฒนาให้เกิดการเรียนรู้ที่ท้าทายและตอบสนองต่อความต้องการส่วนบุคคลของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนพัฒนาความสามารถในการเรียนรู้ของตนเองได้ดีขึ้น
4. แนวคิดการผสมผสานเทคโนโลยีการเรียนการสอนกับการทำงานจริง (Driscoll,2002)
Driscoll (2002) ให้นิยามของการเรียนแบบผสมผสานว่าเป็นการผสมผสานเทคโนโลยีการเรียนการสอนกับการทำงานจริง ซึ่งสอดคล้องกับ Bersin (2004) ที่กล่าวว่าการเรียนแบบผสมผสานเป็นส่วนหนึ่งของการฝึกอบรมในองค์กร เป็นการผสมผสานการเรียนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์และสื่ออื่น ๆ ในการส่งผ่านความรู้ในการฝึกอบรม
นอกจากนี้ The Royer Center for learning and Academic Technologies (2004) ได้กล่าวถึงการเรียนแบบผสมผสานในมุมมองที่แตกต่างกันออกไปคือ การเรียนแบบผสมผสานเป็นการผสมผสานยุทธวิธีในการเรียนและสื่อการเรียนการสอนที่หลากหลายเข้าด้วยกันเช่น การผสมผสานการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้ากับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ การผสมผสานการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้ากับการเรียนทางไกล เป็นต้น
จากแนวคิดการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสานที่กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุปได้ว่า การจัดการเรียนแบบผสมผสานเป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นความยืดหยุ่น มีการผสมผสานยุทธวิธีในการเรียนการสอนที่หลากหลายเข้าด้วยกัน โดยใช้สื่อการเรียนการสอน กิจกรรมการเรียนการสอน และรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายทั้งการเรียนการสอนแบบออนไลน์ และการเรียนการสอนแบบเผชิญหน้า เพื่อตอบสนองต่อความแตกต่างระหว่างบุคคลของผู้เรียน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนทุกคนสามารถบรรลุเป้าหมายของการจัดการเรียนการสอนการเรียนแบบผสมผสาน เป็นรูปแบบการเรียนที่มุ่งเน้นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยการสร้างสิ่งแวดล้อมและบรรยากาศในการเรียนรู้ วิธีการสอนของผู้สอน รูปแบบการเรียนรู้ผู้เรียน สื่ |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | 1. การเรียนการสอนแบบผสมผสานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และผลการเรียนรู้ของนักศึกษามีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2. ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ของนักศึกษาหลังเรียนด้วยการเรียนการสอนแบบผสมผสาน
สูงกว่าก่อนเรียน
3. ผลการเรียนรู้ของนักศึกษาหลังเรียนโดยใช้การเรียนการสอนแบบผสมผสานสูงกว่าก่อนเรียน |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | โครงการวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (experimental research) โดยมีการดำเนินงานแบ่งเป็น 2 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 เป็นการพัฒนาการเรียนการสอนแบบผสมผสานสำหรับรายวิชาสื่อการสอนและการเรียนรู้ร่วมสมัย ผู้วิจัยได้ดำเนินการดังนี้
การพัฒนาการเรียนการสอนแบบผสมผสานสำหรับรายวิชาสื่อการสอนและการเรียนรู้ร่วมสมัย
นำข้อมูลที่ได้มาพิจารณาร่วมกับผลการประเมินกระบวนวิชาของนักศึกษาในปีที่ผ่านมาผู้วิจัยซึ่งเป็นผู้สอนได้ทบทวนและวางแผน วิเคราะห์และออกแบบกิจกรรมและสื่อการสอน โดยคำนึงหลักการออกแบบและกำหนดกิจกรรม 3 ประเด็น คือ 1) มีการทบทวนหรือแบบฝึกหัดความรู้ของผู้เรียน 2) ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ร่วมกันเพื่อเสริมสร้างทักษะทางสังคม และ 3) ออกแบบและกำหนดกิจกรรมการเรียนรู้หลักเพื่อช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ (Bersin, 2004) โดยมีขั้นตอนในการออกแบบการเรียนแบบผสมผสาน (อภิรดี นันท์ศุภวัฒน์, 2556: Sung, Kwon, & Ryu, 2008) ดังนี้ ขั้นการวิเคราะห์ (pre-analysis) เป็นขั้นตอนแรกซึ่งต้องพิจารณาข้อมูลและบริบททั่วไป ได้แก่ การวิเคราะห์คุณสมบัติของผู้เรียน การวิเคราะห์วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายในการเรียนรู้ และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมในการเรียนรู้แบบผสมผสานขั้นการออกแบบกิจกรรมและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ (design of activity and resources) เป็นการนำผลลัพธ์ที่ได้จากขั้นตอนแรก มาออกแบบกิจกรรมและสื่อการเรียนรู้ซึ่งจำแนกออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
การออกแบบภาพรวมของการเรียนรู้แบบผสมผสานประกอบด้วย 1) กิจกรรมการเรียนรู้แต่ละหัวข้อวิธีการ 2) นำเสนอบทเรียนในการเรียนรู้แบบผสมผสาน 3) และการสนับสนุนการเรียนรู้แบบผสมผสานการออกแบบกิจกรรมแต่ละหัวข้อ ประกอบด้วยนิยามผลลัพธ์จากการกระทำของผู้เรียน กิจกรรมในแต่ละวัตถุประสงค์ การจัดกลุ่มของกิจกรรมทั้งหมดการประเมินผลในแต่ละหน่วยเรียนการออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ประกอบด้วยการเลือกเนื้อหาสาระ การพัฒนากรณีศึกษา บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์สื่อมัลติมีเดีย (e-Book) การนำเสนอผลการออกแบบและการพัฒนาผลที่ได้จากขั้นตอนที่สองรายละเอียดการออกแบบบทเรียนในแต่ละส่วนการออกแบบและพัฒนาประเมินผลการเรียนการสอน โดยพิจารณาตามทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ได้แก่ ทักษะการอ่าน การเขียน และการคิดคำนวณ ด้านการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และทักษะในการแก้ปัญหา ทักษะด้านการสร้างสรรค์ และนวัตกรรม ทักษะด้านความเข้าใจความต่างวัฒนธรรม ต่างกระบวนทัศน์ ทักษะด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำ ทักษะด้านการสื่อสารสารสนเทศ และรู้เท่าทันสื่อ ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร และทักษะวิชาชีพ และทักษะการเรียนรู้ (Career and Learning Skills)
ระยะที่ 2 เป็นการประเมินผลโดยการเปรียบเทียบความคิดวิเคราะห์และผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการเรียนรายวิชาสื่อการสอนและการเรียนรู้ร่วมสมัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างในระยะที่ 2 ประกอบด้วยนักศึกษาชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการศึกษาเพื่อเป็นผู้ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสานสำหรับรายวิชาสื่อการสอนและการเรียนรู้ร่วมสมัยที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นและเป็นผู้ประเมินตนเองเกี่ยวกับการคิดวิเคราะห์ โดยการเปรียบเทียบก่อนและหลังจากการจัดการเรียนการสอนแบบผสมผสาน ซึ่งในการศึกษาครั้งนี้ มีจำนวนนักศึกษา ชั้นปีที่ 2 จำนวน 30 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 253 ครั้ง |