รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000548
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยในการรับ-ส่งเด็กปฐมวัยในโรงเรียนด้วยการใช้ระบบจดจำใบหน้าและอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Development of Security Systems in Transfer Early Childhood Students by Using Face Detection Systems and Internet of Things
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การวิเคราะห์ใบหน้า, ระบบรับส่งนักเรียน, นักเรียนปฐมวัย, อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาเทคนิคการศึกษา สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษา
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :55000
งบประมาณทั้งโครงการ :55,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :29 พฤศจิกายน 2564
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการศึกษา
กลุ่มวิชาการ :เทคโนโลยีการศึกษา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :โรงเรียนที่จัดการศึกษาระดับปฐมวัยหรืออนุบาลนับว่าเป็นสิ่งที่มีความสำคัญต่อเด็กมาก เนื่องจากเด็กจะต้องใช้ชีวิตอยู่วันละประมาณ 6 – 8 ชั่วโมง ความรู้ ทัศนคติ ค่านิยม และประสบการณ์ต่าง ๆ ที่เด็กได้รับในโรงเรียนย่อมมีอิทธิพลต่อจิตใจ ความสนใจ และอุดมคติในชีวิตการเรียนต่อไปจนถึงชีวิตในการทำงานของเด็กทุกคน อีกทั้ง โรงเรียนเป็นสถาบันที่จะสร้างเสริมให้เด็กมีสุขภาพดี มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด และมีพฤติกรรมที่ปลอดภัย สามารถดำรงชีวิตอย่างมีความสุข (เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์, 2539) ดังนั้น เมื่อบิดามารดา หรือผู้ปกครองเด็กได้มอบหมายภาระหน้าที่ให้โรงเรียนในการให้การศึกษาอบรมและดูแลเด็กแทนตนชั่วคราว ผู้บริหารโรงเรียน ครู และบุคลากรต่าง ๆ ภายในโรงเรียน จึงมิอาจปฏิเสธความรับผิดชอบในการดูแลและจัดการต่าง ๆ ให้เกิดสวัสดิภาพสูงสุดแก่เด็ก (จินตนา สรายุทธพิทักษ์, 2541) จากการศึกษาความต้องการของผู้ปกครองเกี่ยวกับสวัสดิภาพของนักเรียนในโรงเรียนอนุบาลพบว่า ผู้ปกครองเด็กวัยก่อนอนุบาลต้องการด้านความปลอดภัยอยู่ในระดับสูงเพราะเด็กยังเล็กมาก ยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ด้วยลักษณะดังกล่าวของเด็กวัยนี้ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ปกครองมีความเป็นห่วงและกังวลใจกับความปลอดภัยของเด็กในวัยนี้มากเป็นพิเศษ (กมลา ลำพูน, 2542) สอดคล้องกับ นภาพรรณ อูนากูล (2540) ที่ให้จุดมุ่งหมายของการบริการด้านความปลอดภัยไว้ว่า เป็นการบริการเพื่อตรวจหาป้องกัน และแก้ไขสถานการณ์ใด ๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดอันตรายต่อมนุษย์สำหรับในสถานศึกษาปฐมวัย โดยทั่วไปที่ให้บริการด้านความปลอดภัยมีจุดมุ่งหมายที่สำคัญ เช่น ป้องกันภัยอันตรายที่เกิดขึ้น หรืออาจจะเกิดขึ้นต่อเด็กและบุคลากรในสถานศึกษา รักษาความปลอดภัยให้แก่เด็ก บุคลากรขณะที่อยู่ในสถานศึกษาขณะเดินทางไปกลับระหว่างบ้าน และสถานศึกษาและสร้างความมั่นใจ และความสบายใจให้แก่ผู้ปกครอง ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการดูแลเด็ก เป็นต้น ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และมีนักวิจัยได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้ในการบริหารจัดการชั้นเรียนหนึ่งในนั้นได้แก่ การจดจำจับใบหน้า (Face Recognition) หรือ การตรวจจับใบหน้า (Face Detection) ซึ่งการตรวจจับใบหน้าเป็นกระบวนการค้นหาใบหน้าของบุคคลจากภาพหรือวิดีโอ หลังจากนั้นก็จะทำการประมวลผลภาพใบหน้าที่ได้ เพื่อให้ภาพใบหน้าที่ตรวจจับได้ ง่ายต่อการจำแนก และ อัลกอริทึมที่ใช้ในการตรวจจับใบหน้าในปัจจุบันก็มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ซึ่งอัลกอริทึมในการตรวจจับใบหน้าที่ดีนั้นมีส่วนช่วยในการจำแนกใบหน้าได้แม่นยำและรวดเร็วขึ้นเป็นอย่างมาก (สมปอง เวฬุวนาธร, 2554) การใช้การตรวจจับใบหน้า (Face Detection) กำลังเป็นที่นิยมในหลายประเทศเพื่อนำมาใช้ในการตรวจสอบความสนใจทางเรียนของนักเรียน ไม่ว่าจะเป็นประเทศสหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น อินเดีย ซึ่งในการพัฒนาการตรวจจับใบหน้า (Face Detection) นั้น นอกจากจะตรวจสอบความสนใจทางการเรียนแล้ว ยังสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการวิเคราะห์การจัดการเรียนการสอนและการปรับปรุง พัฒนาการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น (Stiefelhagen, 2002 และ Rosengrant, 2012) เทคโนโลยีการจดจำใบหน้าเป็นส่วนหนึ่งของการวัดข้อมูลทางชีวภาพด้วยอุปกรณ์หรือซอฟต์แวร์ที่ทำงานคล้ายกับการสแกนลายนิ้วมือ ระบบสแกนดวงตาและม่านตา ใช้ระบบคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ในการจดจำใบหน้าเพื่อระบุหรือยืนยันบุคคลโดยการตรวจจับลักษณะใบหน้าเพื่อเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลขนาดใหญ่ (สุพาวรรณ์ กุศลครออง, 2559) การตรวจจับใบหน้าในปัจจุบันก็มีอยู่ด้วยกันหลายวิธีซึ่งอัลกอริทึมในการตรวจจับใบหน้าที่ดีนั้นมีส่วนช่วยในการจำแนกใบหน้าได้แม่นยำและรวดเร็วขึ้นเป็นอย่างมาก (Paul Viola และ Michael J. Jones, 2001) หลักการของอัลกอริทึมค้นหาหน้าของ Viola-Jones คือการใช้ตัวตรวจหาสแกนหลายๆ ครั้งบนภาพเดิม แต่ด้วยขนาดที่แตกต่างกัน ถึงแม้ว่าจะมีใบหน้ามากกว่าหนึ่งหน้า ผลลัพธ์ของ sub-window จำนวนมากยังคงเป็นลบ ซึ่งปัญหานี้แก้ได้โดยใช้หลักการ “ปฏิเสธสิ่งที่ไม่ใช่ใบหน้า แทนการค้นหาใบหน้า” เพราะการตัดสินใจว่าบริเวณใด ๆ ไม่ใช่ใบหน้านั้น ทำได้เร็วกว่าการค้นหาใบหน้า และได้มีการสร้างตัวจำแนกประเภทแบบ cascaded คือเป็น Classifier หลายตัวต่อกันเป็นลำดับ ซึ่งเมื่อ sub-window ถูกจัดประเภทเป็น ไม่ใช่ใบหน้า จะถูกปฏิเสธทันที แต่ในทางตรงกันข้าม ถ้า sub-window นั้น ถูกจำแนกเป็น มีโอกาสเป็นใบหน้า จะถูกส่งต่อไปยัง Classifier ตัวถัดไปตามลำดับ และกล่าวได้ว่ายิ่งมีจำนวนชั้น ของ Classifier มากเท่าใด โอกาสที่ sub-window จะเป็นใบหน้าจะยิ่งมีมากขึ้น OpenCV team (2018) นิยาม OpenCV ว่าย่อมาจาก Open Source Computer Vision ซึ่งเป็นไลบรารี่ที่รวบรวมฟังก์ชั่นต่าง ๆ สำหรับการประมวลผลภาพและคอมพิวเตอร์วิทัศนศาสตร์เอาไว้เป็นจำนวนมาก ไลบรารี่นี้อยู่ภายใต้ใบอนุญาต BSD ซึ่งเราสามารถใช้ได้ฟรีทั้งทางด้านการศึกษาและทางการค้า นอกจากนั้น OpenCV ยังมีอินเตอร์เฟสที่หลากหลายรองรับการพัฒนาโปรแกรมบนภาษาโปรแกรมต่าง ๆ เช่น C/C++, Python, Java เป็นต้น และ OpenCV ยังสามารถรันได้ทั้งบน Window, Linux, Android, และ Mac การแบ่งข้อมูลเพื่อนำทดสอบประสิทธิภาพของโมเดล โดย วิธี Split Test (เอกสิทธิ์ พัชรวงศ์ศักดา, 2558) แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ส่วน โดยส่วนหนึ่งเก็บไว้สำหรับสร้างโมเดลพยากรณ์ อีกส่วนหนึ่งเก็บไว้เป็นตัวทดสอบ การใช้วิธีนี้ควรจะมีข้อมูลเยอะๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่น่าเชื่อถือมาทำการทดสอบ ตัววัดประสิทธิภาพของโมเดล Classification ประกอบไปด้วย Precision วัดความแม่นยำของข้อมูล Recall วัดความถูกต้องของ Model โดยพิจารณาแยกทีละคลาส และ Accuracy วัดความถูกต้องของ Model โดยพิจารณารวมทุกคลาส ค่าในตำแหน่งต่าง ๆ ของ Matrix ประกอบด้วย TP (True Positive) คือ จำนวนที่ทำนายตรงกับข้อมูลจริงในคลาสที่กำลังพิจารณา; TN (True Negative) คือ จำนวนที่ทำนายตรงกับข้อมูลจริงในคลาสที่ไม่ได้พิจารณา; FP (False Positive) คือ จำนวนที่ทำนายผิดเป็นคลาสที่กำลังพิจารณา; และ FN (False Negative) คือ จำนวนที่ทำนายผิดเป็นคลาสที่ไม่ได้กำลังพิจารณา จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ส่วนหนึ่งของหัวใจของการจัดการศึกษา คือ นักเรียน หรือ ผู้เรียน สาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการศึกษา และสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ตระหนักในความสำคัญ และเล็งเห็นความจำเป็นเร่งด่วนที่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่าย จะต้องร่วมกันหาแนวทางที่เป็นรูปธรรม ในการดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยเฉพาะนักเรียนระดับปฐมวัยหรืออนุบาล ว่าต้องได้รับความปลอดภัยอย่างสูงที่สุด โรงเรียนต้องหากระบวนการหรือวิธีการที่ต้องป้องกันเหตุการณ์ที่จะก่อให้เกิดความเสียหายแก่นักเรียน ดังนั้นทางสาขาวิชาคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีการศึกษา และสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จึงมีแนวทางที่จะบูรณาการและพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยให้กับโรงเรียนโดยใช้ระบบจดจำใบหน้า (Face Recognition) เข้ามาช่วยในการจดจำใบหน้าของนักเรียนและผู้ปกครองเพื่อป้องกันบุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้อง โดยโรงเรียนมีภารกิจและความรับผิดชอบในการจัดการศึกษา ต้องดำเนินการอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานสากล ผู้วิจัยจึงคิดที่จะนำระบบรักษาความปลอดภัยภายโรงเรียนโดยใช้ระบบจดจำใบหน้า (Face Recognition) มาช่วยในการป้องกัน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จุดเด่นของโครงการ :บูรณาการและพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยให้กับโรงเรียนโดยใช้ระบบจดจำใบหน้า (Face Recognition) เข้ามาช่วยในการจดจำใบหน้าของนักเรียนและผู้ปกครองเพื่อป้องกันบุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้อง โดยโรงเรียนมีภารกิจและความรับผิดชอบในการจัดการศึกษา ต้องดำเนินการอย่างทั่วถึง มีคุณภาพ และพัฒนาสู่ความเป็นเลิศตามมาตรฐานสากล ผู้วิจัยจึงคิดที่จะนำระบบรักษาความปลอดภัยภายโรงเรียนโดยใช้ระบบจดจำใบหน้า (Face Recognition) มาช่วยในการป้องกัน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษากระบวนการการวิเคราะห์ใบหน้าเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบตรวจจับใบหน้าของผู้ปกครองและนักเรียนระดับอนุบาล 2-3 โรงเรียนเทศบาลวัดวรนาถบรรพต (ท.4) 2. เพื่อพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยในการรับ-ส่งเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 2-3 ในโรงเรียน ด้วยการใช้ระบบจดจำใบหน้าและอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง 3. เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้ระบบรักษาความปลอดภัยในการรับ-ส่งเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 2-3 ในโรงเรียนด้วยการใช้ระบบจดจำใบหน้าและอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
ขอบเขตของโครงการ :1. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ผู้ปกครองและนักเรียนระดับชั้นอนุบาล2-3 โรงเรียนเทศบาลวัดวรนาถบรรพต (ท.4) ที่สนใจและสมัครใจในการเข้าร่วมโครงการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง ผู้ปกครองและนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2-3 โรงเรียนเทศบาลวัดวรนาถบรรพต (ท.4) จำนวน 147 คน ได้จากผู้ปกครองและนักเรียนที่สมัครใจและยินยอมเข้าร่วมโครงการเท่านั้น เกณฑ์การคัดเข้า (Inclusion Criteria) เป็นผู้ปกครองและนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2-3 โรงเรียนเทศบาลวัดวรนาถบรรพต (ท.4) ที่สนใจและสมัครใจในการเข้าร่วมโครงการวิจัย เกณฑ์การคัดออก (Exclusion Criteria) เป็นผู้ปกครองและนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2-3 ที่สนใจและสมัครใจแต่ไม่ได้ทดลองใช้ระบบรักษาความปลอดภัยในการรับ-ส่งเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 2-3 ในโรงเรียนด้วยการใช้ระบบจดจำใบหน้า รวมทั้งผู้ที่สมัครแล้วแต่แจ้งในภายหลังว่าไม่สนใจเข้าร่วมแล้วหรือต้องการออกจากการวิจัย เกณฑ์การยุติโครงการ (Termination Criteria) โรงเรียนไม่ยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัยต่อ 2.ขอบเขตด้านเนื้อหา การศึกษาครั้งนี้มุ่งพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยในการรับ-ส่งเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 2-3 ในโรงเรียนด้วยการใช้ระบบจดจำใบหน้าและแจ้งเตือนผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์ - ใช้ระบบตรวจจับใบหน้า face detection - ใช้ระบบจดจำใบหน้า face recognition - ใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งในการแจ้งเตือนผ่าน แอพพลิเคชั่น ไลน์ - ใช้ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน 3.ขอบเขตด้านตัวแปร ตัวแปรต้น ระบบตรวจจับใบหน้า ระบบรู้จำใบหน้า Open CV และอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ตัวแปรตาม ระบบรักษาความปลอดภัยในการรับ-ส่งเด็กปฐมวัยระดับชั้นอนุบาล 2-3 ในโรงเรียนด้วยการใช้ระบบจดจำใบหน้าและอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง การรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการรวบรวมข้อมูลตามลำดับดังนี้ 1 การเตรียมเครื่องมือที่ในการวิจัยและการเตรียมกลุ่มเป้าหมาย มีขั้นตอนดังนี้ 1.1 อุปกรณ์ที่ใช้ในการพัฒนาระบบรู้จำใบหน้า ข้อมูลชื่อ-นามสกุลและข้อมูลภาพใบหน้า 1.2 การเตรียมกลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ปกครองและนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2-3 โรงเรียนเทศบาลวัดวรนาถบรรพต (ท.4) จำนวน 147 คน ได้จากผู้ปกครองและนักเรียนที่สมัครใจและยินยอมเข้าร่วมโครงการเท่านั้น 1.3 วิธีการเข้าถึงอาสาสมัคร (Approach to participant) การเข้าถึงอาสาสมัครคณะผู้วิจัยทำการติดต่อผู้อำนวยการโรงเรียนเทศบาลวัดวรนาถบรรพต (ท.4) เพื่อขอความอนุเคราะห์ให้เชิญผู้ปกครองระดับชั้นอนุบาล2-3 เข้ารับฟังคณะผู้วิจัยบรรยายข้อมูลและรายละเอียด เกี่ยวกับการวิจัยให้กับผู้ปกครองและนักเรียนระดับชั้นอนุบาล2-3ฟังอย่างละเอียด และแจกเอกสารข้อมูล รายละเอียด และแบบขอความยินยอมให้อาสาสมัครนำกลับไปพิจารณาก่อนตัดสินใจเข้าร่วมโครงการวิจัย โดยไม่มีการบังคับ หรือข่มขู่แต่อย่างใด 1.4 การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection)คณะผู้วิจัยได้แจกแบบตอบรับการเข้าร่วมโครงการวิจัย ให้กับกลุ่มตัวอย่าง โดยคณะผู้วิจัยอธิบายข้อมูลเกี่ยวกับการวิจัยให้กับกลุ่มตัวอย่างอย่างละเอียด และตอบคำถามต่าง ๆ ที่กลุ่มตัวอย่างมีข้อสงสัย ถ้ากลุ่มตัวอย่างสมัครใจหรือยินยอมเข้าร่วมโครงการวิจัย ให้ตอบแบบตอบรับการเข้าร่วมโครงการวิจัย โดยให้กลับไปตัดสินใจก่อนการเข้าร่วม และเมื่อตัดสินใจได้แล้ว ให้นำเอกสารแบบตอบรับการเข้าร่วมโครงการวิจัยมาส่งคืนให้กับคณะผู้วิจัย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :ประโยชน์ทางตรง 1. ช่วยให้การมาโรงเรียนและกลับบ้านของนักเรียนมีความปลอดภัย 2. ผู้ปกครองได้รับรู้ถึงการมาโรงเรียนและการกลับบ้านของนักเรียน 3. โรงเรียนสามารถดูสถิติการมาเรียนของนักเรียนได้ ประโยชน์ทางอ้อม 1. เป็นต้นแบบเทคโนโลยีในการรักษาความปลอดภัยในโรงเรียนที่โรงเรียนอื่นสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1. การจัดความปลอดภัยในโรงเรียนอนุบาล 1.1 ความหมายของความปลอดภัย 1.2 จุดมุงหมายของการให้บริการความปลอดภัย 1.3 แนวทางการดำเนินงานบริการความปลอดภัย 1.4 หน้าที่ของโรงเรียนอนุบาลเกี่ยวกับความปลอดภัย 2. การจัดบริการความปลอดภัยในโรงเรียนอนุบาล 3. ระบบตรวจจับใบหน้า 3.1 OpenCV 3.2 การแบ่งข้อมูลเพื่อนำทดสอบประสิทธิภาพของโมเดล 3.2.1 วิธี Split Test 3.3 ตัววัดประสิทธิภาพของโมเดล Classification 3.3.1 Precision 3.3.2 Recall 3.3.3 Accuracy 3.4 ค่าในตำแหน่งต่าง ๆ ของ Matrix 3.4.1 TP (True Positive) 3.4.2 TN (True Negative) 3.4.3 FP (False Positive) 3.4.4 FN (False Negative) 4. แนวคิดอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (Internet of Things) 4.1 ความหมาย อินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (Internet of Things) 4.2 สถาปัตยกรรมอินเทอร์เน็ตเพื่อสรรพสิ่ง (Internet of Things Architecture) 4.2.1 อินเทอร์เน็ตทุกสิ่ง หรือ (Things) 4.2.2 เครือข่าย (Network) 4.2.3 ระบบ (Cloud)
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ระบบรักษาความปลอดภัยภายโรงเรียนโดยใช้ระบบจดจำใบหน้า (Face Recognition) มาช่วยในการป้องกัน ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1.ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนการพัฒนาการเรียนการสอน ADDIE Model 2.สถานที่ใช้ในการวิจัย คือ โรงเรียนวัดวรนาถบรรพตนครสวรรค์ (ท.4)
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอเทคนิคการวิเคราะห์ใบหน้าเพื่อนำไปพัฒนาระบบการรับ-ส่งเด็กปฐมวัยในโรงเรียนและเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งมาประยุกต์ใช้ โดยมีขั้นตอนการศึกษา ได้แก่ การศึกษาและวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการระบบการจดจำใบหน้า เทคนิคการวิเคราะห์ข้อมูล การประมวลผลภาพโดยใช้เทคนิค Local Binary Pattern Histograms (LBPH) Recognition ในการวิเคราะห์รูปภาพรูปแบบลักษณะพิเศษในรูปภาพ การระบุลักษณะพิเศษในใบหน้า ผลการวิจัยครั้งนี้นำเสนอ องค์ประกอบของระบบในการรับ-ส่งเด็กปฐมวัยในโรงเรียนด้วยการใช้ระบบจดจำใบหน้าและอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่งซึ่งประกอบด้วย ต้นแบบการเทรนข้อมูลใบหน้าและระบบรักษาความปลอดภัยโดยการใช้ระบบการจดจำใบหน้า ซึ่งผู้วิจัยจะนำไปพัฒนาเป็นเครื่องมือเพื่อใช้ในการทดลองในขั้นตอนต่อไป
จำนวนเข้าชมโครงการ :442 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายภราดร พิมพันธุ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด