รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000546
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษา บ้านเนินถ่าน หมู่ที่ 6 ตำบลเสือโฮก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :riving the sufficiency economy in the sustainable economic development of the Community Foundation. A case study of ban Noen charcoal Moo 6, Tiger, Amphoe Mueang, Chai
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :เศรษฐกิจพอเพียง , การพัฒนาอย่างยั่งยืน , การขับเคลื่อนเศรษฐกิจชุมชน
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชาสังคมวิทยา
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :60000
งบประมาณทั้งโครงการ :60,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :29 พฤศจิกายน 2564
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ในปัจจุบันโลกของเราต้องเผชิญกับวิกฤตต่าง ๆ มากมายไม่ว่าจะเป็นทางด้านเศรษฐกิจ สังคม หรือแม้กระทั่ง ชีวิตความเป็นอยู่ที่ไม่อาจจะปฏิเสธความวุ่นวายของสังคมโลกได้ทุกประเทศต่าง ต้องการที่จะพัฒนาประเทศให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งการพัฒนาประเทศมีทั้งผลดีและผลเสีย ประเทศไทยก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่กำลังก้าวไปสู่ประเทศพัฒนา ทำให้คนในประเทศเริ่มที่จะทิ้งความเป็นอยู่ที่เป็นไทยของเราไป หันไปเน้นภาคอุตสาหกรรม ติดวัตถุนิยม ชอบความฟุ้งเฟ้อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแทบจะทุกด้านไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีทั้งทางบวกและทางลบ ทางบวกทำ ให้มีการพัฒนาใน ด้านต่าง ๆ เช่น การศึกษา สาธารณสุข สาธารณูปโภค เป็นต้น แต่กระบวนการเปลี่ยนแปลงนั้นยัง ได้ส่งผลทางด้านลบตามมาด้วย เช่น การขยายตัวของรัฐเข้าไปในชนบท ส่งผลให้ชนบทเกิดความ อ่อนแอในหลายด้าน ทั้งการต้องพึ่งพิงตลาด ความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ ภูมิปัญญา ความรู้ที่เคยใช้แก้ปัญหาและสั่งสมกันมาถูกปรับเปลี่ยน ถูกลืมเลือนหายไป ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความพอเพียงในการดำเนินชีวิต ซึ่งเป็นเงื่อนไขพื้นฐานที่ทำให้คนไทยสามารถพึ่งตนเองและดำเนินชีวิตไปได้อย่างมีศักดิ์ศรีภายใต้อำนาจและความมีอิสระในการกำหนดชะตาชีวิตของตนเอง ความสามารถในการควบคุมและจัดการเพื่อให้ตนเองได้รับการสนองตอบต่อความต้องการต่างๆ รวมทั้งความสามารถในการจัดการปัญหาต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอง ซึ่งทั้งหมดนี้ถือว่าเป็นศักยภาพพื้นฐานที่คนไทยและสังคมไทยเคยมีอยู่แต่เดิม ต้องถูกกระทบกระเทือนซึ่งวิกฤตเศรษฐกิจจากปัญหาฟองสบู่และปัญหาความอ่อนแอของชนบท รวมทั้งปัญหาอื่น ๆ ที่เกิดขึ้น ล้วนแต่เป็นข้อพิสูจน์และยืนยันปรากฏการณ์ได้เป็นอย่างดี (มูลนิธิชัยพัฒนา, เศรษฐกิจพอเพียงทฤษฎีใหม่, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http22www.Chaipat. or.th, [15 มกราคม 2563]. หน่วยงานภาครัฐ เอกชน หรือแม้แต่องค์กรพัฒนาเอกชน ได้น้อมนำเอาพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง มาใช้เป็นหนึ่งแนวทางหลักในการพัฒนาประเทศ โดยการพัฒนาเศรษฐกิจให้ลึกถึงระดับรากหญ้าคือชุมชนและท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม รัฐบาลจึงได้กำหนดแนวทางในการจัดทำแผนงานโครงการพัฒนาเศรษฐกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างรายได้ สร้างโอกาสให้เกิดการจ้างงานในประเทศ สร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานราก เสริมสร้างศักยภาพของคนให้มีความรู้ทักษะและฝีมือแรงงานเพื่อขึ้น ช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม ก่อให้เกิดการเชื่อมโยงของการผลิตต่อเนื่องภายในประเทศ รวมทั้งสนับสนุนการผลิตและการบริการที่จะก่อให้เกิดรายได้เงินตราต่างประเทศ การดำเนินชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำริมีความเห็นว่า ระบบเศรษฐกิจพอเพียงตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการทฤษฎีใหม่ 3 ขั้น ขั้นที่ 1 การผลิตเป็นการผลิตให้พึ่งตนเองได้ด้วยวิธีง่าย ๆ ค่อยเป็นค่อยไปตามกำลังให้พอมีพอกินไม่อดอยาก ขั้นที่ 2 รวมพลังกันในรูปกลุ่มหรือสหกรณ์ร่วมแรงในการผลิต การตลาด การเป็นอยู่ สวสัดิการ การศึกษา สังคมและศาสนา เพื่อให้พอมีพอกิน มีใช้ช่วยให้ชุมชนและสังคมดีขึ้นไปพร้อม ๆ กัน ขั้นที่ 2 ร่วมมือกับแหล่งพลังงานตั้งและบริการโรงสี ตั้งและบริการร้านสหกรณ์ช่วยกันลงทุน ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนในชนบท ไม่ใช่ทำอาชีพเกษตรอย่างเดียว และระบบเศรษฐกิจพอเพียงน่าจะนำมาใช้เป็นแบบอย่างของการพัฒนาประเทศไทย การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ยั่งยืนและมั่นคงในระยะยาวต้องเร่งปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและยั่งยืน ซึ่งสอดคล้องและเป็นไปตามหลักการ “ความเพียงพอ” ที่มุ่งใช้ “ความมีเหตุผล” พิจารณาเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องและคำนึงถึงผลที่จะได้รับอย่างรอบคอบพัฒนาด้วย “ฐานความรู้” ทั้งจากภายนอกและที่สั่งสมภายในประเทศ เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากกระแสโลกาภิวัตน์ได้อย่างชาญฉลาดและรู้เท่าทัน จากการวิเคราะห์และทำความเข้าใจในสถานะของประเทศที่เป็นไปอย่างรอบคอบระมัดระวังไม่ก่อให้เกิดการทำลายทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมเช่นในอดีต หากแต่จะใช้จุดแข็งการผลิตที่มีเพื่อสร้างฐานการผลิตที่แข็งแกร่งและประเทศไทยมีความได้เปรียบโดยภาคเกษตรของไทยจะพัฒนาเป็นฐานอาหารที่มีความปลอดภัยและเพียงพอ ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมเคลื่อนสู่ระดับห่วงโซ่มูลค่าที่สูงขึ้น ภาคบริการอาศัยจุดแข็งทางด้านความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ วัฒนธรรม และวิถีชีวิตความเป็นไทยเป็นแนวทางในการพัฒนา กระบวนการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่น ควรเป็นไปตามลำดับขั้นตอน เริ่มจากการพึ่งตนเองในระดับครอบครัวในเรื่องปัจจัยสี่แล้วจึงพัฒนาตนเองให้สามารถอยู่ได้อย่างพอเพียง ด้วยการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และอดออมให้พอมีพอกินพอใช้ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น แก้ไขปัญหาตามเหตุและปัจจัยด้วยความสามารถและศักยภาพที่ตนเองมีอยู่ก่อนคิดพึ่งผู้อื่น เมื่อมีความเข้มแข็งและเป็นอิสระแล้ว จึงพัฒนาขึ้นมาเป็นการแลกเปลี่ยนในขั้นพึ่งพากันและกัน นำไปสู่การรวมกลุ่มกันในระดับชุมชนและท้องถิ่น และทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม โดยมีการจัดการความรู้และกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ให้ค้นพบและพัฒนาศักยภาพของตนเอง ได้รับอำนาจและสิทธิในการเข้าถึงและจัดการทรัพยากรสามารถตัดสินใจได้อย่างอิสระ และจัดการทุนของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่นเพื่อบรรเทาปัญหาความยากจนในชุมชน และมีธรรมาภิบาลในการจัดการองค์กรชุมชนท้องถิ่นจนสามารถพึ่งตนเองในระดับชุมชนท้องถิ่น แล้วจึงพัฒนาเครือข่ายสู่ภายนอกกับชุมชนอื่นแบบช่วยเหลือเกื้อกูลกัน นอกจากนี้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 ได้ยึด “หลักการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ลดความเหลื่อมล้ำและขับเคลื่อนการเจริญเติบโต จากการเพิ่มผลิตภาพการผลิตบนฐานของการใช้ภูมิปัญญาและนวัตกรรม” แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 มุ่งเน้นการสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่มีความครอบคลุมทั่วถึงเพื่อเพิ่มขยายฐานกลุ่มประชากรชั้นกลางให้กว้างขึ้น โดยกำหนดเป้าหมายในการเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ โอกาสทางสังคม และรายได้ของกลุ่มประชากรรายได้ต่ำสุดร้อยละ 40 ให้สูงขึ้น นอกจากนี้การเพิ่มผลิตภาพการผลิตบนฐานของการใช้ภูมิปัญญาและพัฒนา นวัตกรรมนับเป็นหัวใจสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาในระยะต่อไปสำหรับทุกภาคส่วนในสังคมไทย โดยที่เส้นทางการพัฒนาที่มุ่งสู่การเป็นประเทศที่พัฒนาแล้วนั้นกำหนดเป้าหมายทั้งในด้านรายได้ ความเป็นธรรม การลดความเหลื่อมล้ำและขยายฐานคนชั้นกลาง การสร้างสังคมที่มีคุณภาพและมีธรรมมาภิบาลและความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนอย่างยั่งยืน กรณีศึกษา บ้านเนินถ่าน หมู่ที่ 6 ตำบลเสือโฮก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท เป็นอีกหนึ่งพื้นที่มีการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชนโดยการนำองค์ความรู้ด้านปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาส่งเสริมให้เกิดกระบวนการพัฒนาชุมชนที่เป็นรูปธรรมและเป็นพื้นที่ตัวอย่างในการไม่หยุดนิ่งในการจัดการตนเองตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ของชุมชนโดยนำภูมิปัญญาท้องถิ่น ทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน รวมทั้งทุนทางทางสังคมที่เป็นปัจจัยหนุนเสริมให้ชุมชนในพื้นที่ เกิดกระบวนการพัฒนาชุมชน พร้อมทั้งการที่ชุมชนชนบทที่น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาชุมชนจนเกิดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมจากการปฏิบัติจริงในการจัดทำโครงการ กิจกรรมต่างๆ ที่นำไปสู่การพัฒนาชุมชนบนฐานทรัพยากรชุมชนที่มีอยู่ สำหรับองค์ความรู้ที่มีอยู่ในพื้นที่ ทั้งที่เป็นทรัพยากร ความรู้ ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่สอดคล้องกับความต้องการของชุมชนในพื้นที่ เพื่อให้สามารถเรียนรู้และฝึกทักษะความชำนาญที่เหมาะสมกับศักยภาพของตนเอง โดยเน้นให้ชุมชนเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน ด้านการบริหารจัดการ การวิเคราะห์และวางแผน ภายใต้การจัดการที่เหมาะสม เพื่อให้การแก้ปัญหา ตรงกับความต้องการ โดยใช้เวทีชุมชน และกระบวนการการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เพื่อให้ประชาชนได้มาเรียนรู้ร่วมกัน และนำไปปฏิบัติ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตหรือพึ่งตนเองได้จากกิจกรรมในการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ ทำให้ผู้วิจัยได้เล็งเห็นความสำคัญในการน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเองในด้านคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจและสังคม พร้อมกันนั้นมีการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมทำให้ชุมชนค้นพบแนวทางในการพึ่งตนเองนำไปสู่การพัฒนาชุมชนที่ยั่งยืนต่อไป จากสถานการณ์ดังกล่าว ผู้วิจัยเห็นว่า การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ชุมชนบทได้ปรับเปลี่ยนจากการพึ่งพิงปัจจัยต่างๆภายนอกชุมชนเป็นการพึ่งตนเองจากปัจจัยที่มีอยู่ภายในชุมชน โดยอาศัยตนเองและทุนทางสังคมในการส่งเสริมความสามารถในการพึ่งตนเองที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของชุมชนอย่างแท้จริง อันเป็นการวางฐานการเสริมพลังชุมชนในการพัฒนาศักยภาพของชุมชนในการจัดการตนเองด้านเศรษฐกิจบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างยั่งยืนต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.เพื่อศึกษากระบวนการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนอย่างยั่งยืน 2.เพื่อนำเสนอรูปแบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนอย่างยั่งยืน 3.เพื่อนำผลการวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์
ขอบเขตของโครงการ :1. ขอบเขตด้านพื้นที่ งานวิจัยนี้ศึกษาเฉพาะเขตพื้นที่ชุมชนบ้านเนินถ่าน หมู่ที่ 6 ตำบลเสือโฮก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท 2. ขอบเขตประชากร กลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก(Key- Information) ของงานวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้นำชุมชน ทั้งที่เป็นทางการ ได้แก่ -นายกเทศมนตรีตำบลเสือโฮก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท -กำนันตำบลตำบลเสือโฮก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท -ผู้ใหญ่บ้าน บ้านเนินถ่าน หมู่ที่ 6 ตำบลเสือโฮก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท -ประธานกลุ่มและสมาชิกกลุ่มด้านการแปรรูปผลิตภัณฑ์หรือกลุ่มอาชีพต่างๆในชุมชนที่ดำเนินกิจกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ผู้นำไม่เป็นทางการ ได้แก่ อดีตผู้ใหญ่บ้าน , ผู้อาวุโสในชุมชน , ปราชญ์ชาวบ้านที่ได้รับ การยอมรับในชุมชน , พระสงฆ์ , ครู เป็นต้น ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคท้องถิ่น ได้แก่ พัฒนาการอำเภอเมือง จังหวัดชัยนาทพัฒนากรตำบลเสือโฮก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท นายกเทศมนตรีตำบลเสือโฮก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท 3. ขอบเขตเนื้อหา เนื้อหาในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ ได้แก่ 1. เนื้อหาเกี่ยวกับบริบทของชุมชนบ้านเนินถ่าน หมู่ที่ 6 ตำบลเสือโฮก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท 2. กระบวนการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนอย่างยั่งยืน 3. รูปแบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนอย่างยั่งยืน 4. ปัญหาและอุปสรรค
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :ด้านวิชาการ 1.เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนอย่างยั่งยืนและสามารถนำองค์ความรู้ในการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนอื่นที่มีศักยภาพในการจัดการตนเองตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2.เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์,ชุมชน,หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยในครั้งนี้ 3.เกิดชุดความรู้หรือองค์ความรู้ใหม่จากการวิจัยในประเด็นด้านการจัดการตนเองของชุมชนบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสังคมและชุมชน 1.เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนอย่างยั่งยืน 2.สามารถนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ให้เกิดกิจกรรมด้านการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ 3.สามารถนำรูปแบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนอย่างยั่งยืนไปประยุกต์ใช้ให้เกิดการพัฒนาชุมชนในชุมชนอื่นต่อไปได้ หน่วยงานภาครัฐที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ 1. สาขาวิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชัยนาท 3. สำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท 4 .เทศบาลตำบลเสือโอก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท 5 .หน่วยงานภาคีความร่วมมือต่างๆที่ทำงานร่วมกับชุมชนในพื้นที่งานวิจัย ด้านวิชาการ 1.เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนอย่างยั่งยืนและสามารถนำองค์ความรู้ในการวิจัยไปใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนอื่นที่มีศักยภาพในการจัดการตนเองตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง 2.เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์,ชุมชน,หน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคองค์กรพัฒนาเอกชนที่มีส่วนร่วมในกระบวนการวิจัยในครั้งนี้ 3.เกิดชุดความรู้หรือองค์ความรู้ใหม่จากการวิจัยในประเด็นด้านการจัดการตนเองของชุมชนบนฐานปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ด้านสังคมและชุมชน 1.เกิดกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมในการสังเคราะห์องค์ความรู้ด้านการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนอย่างยั่งยืน 2.สามารถนำแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้ให้เกิดกิจกรรมด้านการพัฒนาชุมชนในพื้นที่ 3.สามารถนำรูปแบบการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนอย่างยั่งยืนไปประยุกต์ใช้ให้เกิดการพัฒนาชุมชนในชุมชนอื่นต่อไปได้ หน่วยงานภาครัฐที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ 1. สาขาวิชาสังคมวิทยา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดชัยนาท 3. สำนักงานพัฒนาชุมชน อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท 4 .เทศบาลตำบลเสือโอก อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท 5 .หน่วยงานภาคีความร่วมมือต่างๆที่ทำงานร่วมกับชุมชนในพื้นที่งานวิจัย
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1.แนวคิดเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง 2. แนวคิดการพัฒนาศักยภาพชุมชน 3.แนวคิดเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ 4.แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม 5.แนวคิดการพัฒนาแบบยั่งยืน
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ในระหว่างกระบวนการวิจัยที่จะเกิดขึ้นในโครงการนี้ เป็นลักษณะของวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยเน้นการประยุกต์รูปแบบการวิจัยที่ชุมชนท้องถิ่น ได้คิดค้นหาในระหว่างกระบวนการวิจัยที่จะเกิดขึ้นในโครงการนี้ เป็นลักษณะของวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยเน้นการประยุกต์รูปแบบการวิจัยที่ชุมชนท้องถิ่น ได้คิดค้นหาแนวทางการพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน กล่าวคือ ชุมชนท้องถิ่นมีองค์ความรู้ในการพัฒนาท้องถิ่น แกนนำชุมชนเป็นผู้ที่คิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ วางแผน ดำเนินการต่างๆในการดำเนินงาน รวมทั้งรับผลลัพธ์สุดท้ายจากการวิจัยเอง ซึ่งประสบการณ์จากการที่ชุมชนท้องถิ่นได้เข้าถึงหนทางในการค้นหาองค์ความรู้ด้วยตัวเอง จะส่งผลให้ชุมชนเกิดความต่อเนื่องในการพัฒนาชีวิต เนื่องจากภูมิความรู้ไม่ใช่อยู่ในลักษณะแค่การรับรู้ และการรู้จักเท่านั้น แต่เป็นความรู้ที่รู้จริง และรู้ลึกถึงหลักการ แนวทาง วิธีการทำ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในทางปฏิบัติ สำหรับทีมงานวิจัย และภาคีที่เกี่ยวข้องมีแนวทางที่จะนำคุณค่าของงานวิจัยไปสร้างสรรค์สังคมด้วยช่องทางที่หลากหลายซึ่งประกอบด้วย หนึ่ง ได้เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการขับเคลื่อนปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ สอง การขยายผลสู่ชุมชนอื่นโดยการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับพื้นที่ที่อยู่ในเครือข่ายของทีมงานวิจัย สาม การสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าทางการศึกษาด้วยการใช้ชุมชนเป็นฐานของการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ และเป็นพื้นที่วิจัยแก่นักศึกษาของทางสถาบัน ตลอดจนเป็นชุมชนต้นแบบที่ให้ชาวบ้าน และองค์กรในพื้นที่ต่าง ๆ เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน กล่าวคือ ชุมชนท้องถิ่นมีองค์ความรู้ในการพัฒนาท้องถิ่น แกนนำชุมชนเป็นผู้ที่คิด วิเคราะห์ ตัดสินใจ วางแผน ดำเนินการต่างๆในการดำเนินงาน รวมทั้งรับผลลัพธ์สุดท้ายจากการวิจัยเอง ซึ่งประสบการณ์จากการที่ชุมชนท้องถิ่นได้เข้าถึงหนทางในการค้นหาองค์ความรู้ด้วยตัวเอง จะส่งผลให้ชุมชนเกิดความต่อเนื่องในการพัฒนาชีวิต เนื่องจากภูมิความรู้ไม่ใช่อยู่ในลักษณะแค่การรับรู้ และการรู้จักเท่านั้น แต่เป็นความรู้ที่รู้จริง และรู้ลึกถึงหลักการ แนวทาง วิธีการทำ รวมทั้งปัญหาอุปสรรคในทางปฏิบัติ สำหรับทีมงานวิจัยและภาคีที่เกี่ยวข้องมีแนวทางที่จะนำคุณค่าของงานวิจัยไปสร้างสรรค์สังคมด้วยช่องทางที่หลากหลายซึ่งประกอบด้วย หนึ่ง ได้เสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชนการพัฒนานวัตกรรมชุมชนเพื่อสร้างเศรษฐกิจฐานรากอย่างยั่งยืน สอง การขยายผลสู่ชุมชนอื่นโดยการนำผลการวิจัยไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับพื้นที่ที่อยู่ในเครือข่ายของทีมงานวิจัย สาม การสร้างสรรค์ให้เกิดคุณค่าทางการศึกษาด้วยการใช้ชุมชนเป็นฐานของการเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติ และเป็นพื้นที่วิจัยแก่นักศึกษาของทางสถาบัน ตลอดจนเป็นชุมชนต้นแบบที่ให้ชาวบ้าน และองค์กรในพื้นที่ต่าง ๆ เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :399 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวหทัยชนก คะตะสมบูรณ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด