รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000541
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนารูปแบบต่างหูจากกะลามะพร้าวกลุ่มหัตถกรรมกะลามะพร้าวชุมชนหัวเขาตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อการออกแบบร่วมสมัย
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Development of Earing Styles from Coconut Shells: Coconut Shell Handicraft Group, Hua Takhil Community, Takhli District, Nakhon Sawan Province.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชาศิลปะ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :60000
งบประมาณทั้งโครงการ :60,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :29 พฤศจิกายน 2564
ประเภทของโครงการ :งานสร้างสรรค์(ออกแบบ)
กลุ่มสาขาวิชาการ :มนุษยศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ส่วนที่ 4 ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลี่ยมล้ำในสังคม ซึ่งมีวัตถุประสงค์ การสร้างความมั่นคงด้านอาชีพ และรายได้ที่ทำให้จำนวนคนยากจนลดลง และยังเป็นปัญหาท้าทายในหลายด้านทั้งความแตกต่างของรายได้ระหว่างกลุ่มประชากร ความแตกต่างของคุณภาพการบริการภาครัฐ โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลและในกลุ่มผู้ด้อยโอกาสที่ได้รับบริการที่คุณภาพต่ำกว่า ซึ่งเป็นประเด็นท้าทายที่ต้องเร่งพัฒนาและแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 เพื่อไม่ให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำเป็นข้อจำกัดต่อการการพัฒนาไปสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูง เป็นองค์รวมทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม ตลอดจนการพัฒนาภาคและเมือง และการบริหารจัดการ ภาครัฐ ดังนั้น การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคมไทยต้องอาศัยการพัฒนาในยุทธศาสตร์อื่นๆ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2561 หน้า 75) จากบริบทของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปทั้งการเปิดประชาคมอาเซียน การเข้าสู่ยุคเทคโนโลยีและการสื่อสารมากขึ้นทำให้ประเทศไทยต้องเผชิญกระแสการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทั้งภายนอกและภายในประเทศที่เปลี่ยนแปลง อาจก่อให้เกิดโอกาสและความเสียงต่อการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะการเปิดเสรีในการเคลื่อนย้ายแรงงาน 8 สาขาอาชีพ จึงจำเป็นต้องเร่งการเตรียมความพร้อมให้แก่กำลังของประเทศให้สามารถปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งการวางแผนพัฒนากำลังคนของประเทศให้สามารถปรับตัวการพัฒนาในภาคอุตสาหกรรมหลัก และจากประเด็นปัญหาแรงงานไทยที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ จำเป็นต้องมุ่งเน้นการพัฒนาและยกระดับคนในทุกมิติและในทุกช่วงวัยให้เป็นทรัพยากรมนุษย์ที่ดี เก่ง และมีคุณภาพพร้อมขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไปข้างหน้าได้อย่างเต็มศักยภาพ การพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ซึ่งต้องดำเนินการควบคู่กับการเร่งยกระดับทักษะฝีมือแรงงานกลุ่มที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดแรงงานและกลุ่มในตลาดแรงงานปัจจุบันให้สอดคล้องกับสาขาเป้าหมายและการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี (สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) วิจัยและนวัตกรรมในประเด็นสำคัญของประเทศ 2562, หน้า 8) ผู้วิจัยได้เลือกศึกษาและพัฒนารูปแบบต่างหูจากกะลามะพร้าว จากพื้นที่อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ และได้พบว่า อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นชุมชนหนึ่งที่มีการนำกะลามะพร้าวมาสร้างสรรค์ผลงานสร้างอาชีพเกี่ยวกับมะพร้าว และเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สำคัญอย่างหนึ่ง คือ การทำเครื่องประดับจากกะลามะพร้าวและเป็นกานำวัสดุที่หลายคนคิดว่าไม่มีคำและราคามาเป็นอาชีพที่ทำรายได้ให้กับชุมชนอย่างมาก เพื่อเป็นการเพิ่มพูนรายได้ของประชากรเนื่องจากวัสดุหาง่ายและต้นทุนไม่สูงมากนัก ซึ่งชุมชนตาคลีได้มีการประกอบอาชีพการทำเครื่องประดับจากกะลามะพร้าวและดำเนินการมานานกว่า 20 ปีและมีการพัฒนาฝีมือจนกลายเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงของอำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์และรัฐบาลได้ให้มีการส่งเสริมจนเป็นสินค้า OTOP ที่สำคัญของอำเภอตาคลี ด้วยเหตุนี้ ผู้วิจัยจึงมีความเห็นว่า ควรจะมีการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นกลุ่มหัตถกรรมกะลามะพร้าวชุมชนหัวตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเสริมสร้างองค์ความรู้ภูมิปัญญาไทย เพราะรูปแบบเดิมประกอบไปด้วยรูปแบบลายไทยและรูปแบบธรรมชาติ และยังขาดการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย การหาอัตลักษณ์เฉพาะที่น่าสนใจและทุนทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของตลาด เพื่อเพิ่มมูลค่าและศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมทั้งเป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทุนทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนเพื่อการออกแบบและสร้างสรรค์เครื่องประดับร่วมสมัยจากกะลามะพร้าว และพัฒนาภูมิปัญญาให้แก่ผู้ผลิตในท้องถิ่น ด้วยการนำเอาวัตถุดิบที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาศึกษาเพื่อหาคุณสมบัติเฉพาะที่จะสามารถนำมาแปรรูปเพื่อสร้างรูปแบบต่างหูจากกะลามะพร้าว และตลอดจนสร้างคุณค่าและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นอีกด้วย ซึ่งลักษณะการออกแบบจะเป็นวัสดุกะลามะพร้าวอย่างเดียวไม่ผสมผสานกับวัสดุร่วมอย่างอื่นเพื่อเป็นการเชิดชูคุณค่าวัสดุท้องถิ่น
จุดเด่นของโครงการ :การออกแบบสร้างสรรค์พัฒนาเครื่องประดับประเภทต่างหูจากกะลามะพร้าวกลุ่มอาชีพ กลุ่มหัตถกรรมชุมชนหัวเขาตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ สามารถช่วยส่งเสริมการการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวให้ดียิ่งขึ้น ในท้องถิ่นยังมีสินค้าเครื่องประดับการจำหน่ายรูปแบบเดิมๆ ขาดการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่ทันสมัย การหาอัตลักษณ์เฉพาะที่น่าสนใจและทุนทางวัฒนธรรมที่ส่งผลต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นที่ต้องการของตลาด สร้างรายได้เพิ่มเติมจากสินค้ารูปแบบเดิมๆ สร้างสรรค์(ออกแบบ) เครื่องประดับประเภทต่างหูจากกะลามะพร้าวที่มีรูปแบบใหม่ทันสมัยนอกเหนือจากแบบเดิมที่มีอยู่ในท้องถิ่น เพื่อการสร้างสะท้อนอัตลักษณ์แหล่งท่องเที่ยว อาหาร สัตว์ในนครสวรรค์ รวมถึงรูปแบบธรรมชาติ เพื่อเพิ่มมูลค่าและศักยภาพการแข่งขันทางการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน รวมทั้งเป็นแนวทางในการพัฒนาเศรษฐกิจบนฐานทุนทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. ศึกษาวิเคราะห์ ต่างหูจากกะลามะพร้าว จากหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เพื่อออกแบบเครื่องประดับ 2. สร้างสรรค์เครื่องประดับต่างหูจากกะลามะพร้าว เพื่อเป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมพัฒนาอาชีพ
ขอบเขตของโครงการ :ขอบเขตของงานวิจัย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา โดยการศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิ จากเอกสารทางวิชาการ หนังสือ ตำรา และงานวิจัย ที่เกี่ยวข้อง การลงพื้นที่ เพื่อทำการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชนและชาวบ้านในท้องถิ่น ที่ส่งผลต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ต่างหูจากกะลามะพร้าว โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์สื่อถึงอัตลักษณ์จังหวัดนครสวรรค์ อาชีพและสร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายภายในชุมชน อาชีพกลุ่มหัตถกรรมชุมชนหัวเขาตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์และสามารถนำไปเสริมสร้างพัฒนา ขอบเขตด้านพื้นที่ 1. พื้นที่ในการศึกษาวิจัย ได้แก่ กลุ่มหัตถกรรมกะลามะพร้าวชุมชนหัวตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 2. พื้นที่ในการศึกษาทำแบบสอบถาม วัดระดับความพึงพอใจ คุณภาพต่างหูที่ได้จากการการออกแบบจากวัสดุกะลามะพร้าว
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : 1. ได้ผลการวิเคราะห์และข้อมูลองค์ความรู้ที่มีประโยชน์ต่อผู้ผลิตและผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มหัตถกรรมกะลามะพร้าวชุมชนหัวเขาตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 2. ได้ต้นแบบเครื่องประดับประเภทต่างหูจากกะลามะพร้าว ที่สื่อถึงอัตลักษณ์จังหวัดนครสวรรค์ และสามารถนำไปเสริมสร้างพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ให้กับผู้ผลิตและผู้จำหน่ายภายในชุมชน
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :จุฑามาศ ดอนอ่อนเบ้า (บทคัดย่อ : 2554) การพัฒนารูปแบบเครื่องประดับของกลุ่มหัตถกรรมกะลามะพร้าวบ้านสวนห้อม อำเภอหนองหิน จังเลยเลย เครื่องประดับจากกะลามะพร้าวเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีอัตลักษณ์ร่วมสมัยของกลุ่มผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจากกะลามะพร้าว บ้านสวนห้อมอำเภอหนองหิน จังหวัดเลย และเพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคในรูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องประดับหลังจากการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวบ้านสวนห้อม อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย ประชากรในการวิจัยเป็นชาวบ้านที่อาศัยในหมู่บ้านสวนห้อม อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย จำนวน 330 คน กลุ่มผู้ผลิตหัตถกรรมกะลามะพร้าวบ้านสวนห้อม จำนวน 25 คน กลุ่มผู้บริโภคที่อาศัยในเขต อำเภอเมือง จังหวัดเลย และนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวในจังหวัดเลย จำนวน 42,326 คน ทั้งนี้ผู้วิจัยได้เลือกกลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์โดยการคัดเลือกแบบเจาะจงดังนี้ ชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านและกลุ่มผู้ผลิตหัตถกรรมกะลามะพร้าวสวนห้อม อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย จำนวน 77 คน และกลุ่มตัวอย่างสำหรับความพึงพอใจในรูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องประดับจากกะลามะพร้าว คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย สำหรับกลุ่มผู้บริโภคที่อาศัยอยู่ในอำเภอเมืองและนักท่องเที่ยวที่เข้ามาเที่ยวใน จังหวัดเลย จำนวน 380 คน รวมถึงชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านและกลุ่มผู้ผลิตหัตถกรรมกะลามะพร้าวสวนห้อม อำเภอหนองหิน จังหวัดเลย 180 คน รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 637 คน การดำเนินการวิจัยประกอบการรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการเก็บข้อมูลภาคสนาม โดยการสัมภาษณ์ และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ และนำเสนอผลการวิจัยในรูปแบบวิเคราะห์ค่าสถิติแนวความคิดในการออกแบบเครื่องประดับจากกะลามะพร้าว ทั้ง 5 ชุด ดอกลีลาวดี (1) ได้แนวความคิดมาจากดอกลั่นทม ที่ชาวบ้านนำมาปลูกในบริเวณหมู่บ้าน (2) ผีตาโขน ได้แนวความคิดจากความเชื่อในการนับถือผีฟ้าของคนในชุมชน (3) ข้าวต้มมัด ได้แนวคิดจากการร่วมแรงร่วมใจในการทำข้าวต้มมัดที่แสดงออกถึงความสามัคคี (4) แคน ได้แนวคิดมาจากเครื่องดนตรีประเภทเป่าของภาคอีสาน (5) ผ้าทอ ได้แนวคิดมาจากลายผ้าทอแม่บทของพื้นถิ่น จังหวัดเลย เมื่อได้แบบร่างแล้วนำไปสอบถามเกี่ยวกับผู้ที่ส่วนเกี่ยวข้องและชุมชนและผู้เชี่ยวชาญเพื่อปรับปรุงที่เหมาะสมในการนำไปผลิตจริง และนำเครื่องประดับที่พัฒนารูปแบบแล้วไปประเมินความพึงพอใจกลุ่มตัวอย่าง พบว่า เครื่องประดับจากกะลามะพร้าวรูปแบบใหม่พัฒนาขึ้นมาจำนวน 5 ชุดนั้นกลุ่มตัวอย่างมีความพึงพอใจระดับมาก โดยออกแบบใหม่แทนที่แบบ ผลิตภัณฑ์ เดิมที่มีรูปแบบและรูปทรงของผลิตภัณฑ์ในแนวรูปทรงธรรมชาติเครื่องประดับจาก กะลามะพร้าวของกลุ่มหัตถกรรมจากกะลามะพร้าวทั้งสิ้น 5 ชุด ซึ่งแต่ละชุดประกอบด้วย เข็มกลัดติดเสื้อ สร้อยข้อมือ ต่างหู และเข็มขัด กระบวนการในการผลิตมี 6 ขั้นตอน คือ การคัดเลือก กะลามะพร้าว การทำความสะอาดกะลามะพร้าว การเตรียมผิวของกะลามะพร้าว การฉลุลาย ตามแบบร่าง การตกแต่งชิ้นงานหลังจากฉลุ และการขัดเงา พบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความพึงพอใจ เกี่ยวกับ ความสวยงามของเครื่องประดับกะลามะพร้าว รวมไปถึงความสะดวกสบายในการใช้งาน และการสวมใส่ อีกทั้งยังให้ความสำคัญเกี่ยวกับราคาในการจำหน่าย ความแข็งแรงคงทนเมื่อใช้งาน ตามหน้าที่ พกพาสะดวก ชูศักดิ์ จรูญสวัสดิ์ (บทคัดย่อ หน้า 2548) การศึกษากระบวนการผลิตและการจำหน่ายของผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพแบบเจาะจง โดยสัมภาษณ์ผู้นำกลุ่มและช่างฝีมือจาก 3 กลุ่ม คือ ศูนย์ศิลปาชีพชัยบุรี จังหวัดพัทลุง กลุ่มบ้านหน้าถ้ำ จังหวัดสงขลา และกลุ่มหัตถกรรมคนพิการบ้านสระแก้ว จังหวัดนครศรีธรรมราช และร้านค้าบางแห่ง ผลการวิจัยพบว่า ผลิตภัณฑ์มีตั้งแต่เครื่องประดับตกแต่งบ้าน เครื่องใช้ในครัวเรือน ส่วนใหญ่จะคล้ายกับของต่างประเทศ วัตถุดิบเป็นกะลามะพร้าวเกือบทั้งหมด ทั้งสามกลุ่มกระจายงานให้สมาชิก ส่วนใหญ่ประธานออกแบบ ทุกกลุ่มจ่ายค่าแรงเป็นรายชิ้นและหักเงินจากการขายสินค้าเข้ากลุ่ม ส่วนใหญ่ขายส่งแต่ละกลุ่มมีจุดแข็งจุดอ่อนแตกต่างกัน ที่เหมือนกัน คือ มีจุดแข็งด้านตัวผู้นำกลุ่มและจุดอ่อนด้านการใช้ภาษาสื่อสารกับต่างประเทศ พัลลภ พิริยะสุรวงศ์ ธารี วารีสงัดและพัชรินทร์ เหสกุล (2552 หน้า บทคัดย่อ) อุตสาหกรรมหลักโดยเฉพาะอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับจัดเป็นอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญของไทยเนื่องจากเป็นอุตสาหกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มและกรจ้างงานในระบบเศรษฐกิจและมีทิศทางการขยายตัวเพิ่มขึ้นตลอดช่วงทศวรรษที่ผ่านมาเมื่อพิจารณาความพร้อมของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทยทั้งในด้านการผลิต ฝีมือแรงงาน ตลาดจนการส่งเสริมและสนับสนุนของภาครัฐและเอกชน พบว่าอุตสาหกรรมที่ช่วยเพิ่มฐานการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทยในอนาคตได้ในการผลิตของภาคอุตสาหกรรมนี้ต้องใช้ฝีมือทักษะความชำนาญและความประณีตละเอียดอ่อนของช่างที่ผ่านการฝึกฝนและสั่งสมประสบการณ์ซึ่งเครื่องจักรไม่สามารถทดแทนอีกทั้งในประเทศไทยมีการนำเทคโนโลยีแบบสมัยใหม่เข้ามาใช้ค่อนข้างน้อย เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ซึ่งมีศักยภาพแล้วและความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการผลิตเชิงอุตสาหกรรมทั้งด้านอัตราการผลิตและคุณภาพผลิตภัณฑ์เหนือกว่าอย่างชัดเจนเนื่องจากสินค้าเครื่องประดับเป็นสินค้าที่เน้นคุณค่าความงามและเป็นสินค้าประเภทงานฝีมือซึ่งเป็นผลมาจากฝีมือแรงงานและการออกแบบสร้างสรรค์ และการประยุกต์ใช้เครื่องมือและการจัดการสายผลิต จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศไทย รัชฎาพร เกตานนท์ แนวแห่งธรรม (บทนำ : 2560) ภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นความรู้ ความสามารถและทักษะดั้งเดิมของประชาชนในท้องถิ่นที่ได้รับการสืบทอดต่อมากันมาจากบรรพบุรุษภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงเป็นองค์ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้านที่ได้รับการถ่ายทอดต่อกันมาและทำให้คนในชุมชนมีความผูกพันกันเหมือนเครือญาติอย่างเหนียวแน่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่มีคุณค่าเพื่อการอนุรักษ์และถ่ายทอดต่อชุมชนรุ่นหลัง ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีวัฒนธรรมอันดีงาม และมีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีคุณค่ามากมายในหลากหลายด้าน เช่น การแพทย์ วิทยาศาสตร์ รวมถึงข้าวของเครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งในปัจจุบันพบว่าประเทศไทยมีการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายเป็นการสร้างอาชีพสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัวและชุมชนอย่างหลากหลาย แต่ในยุคของการแข่งขันทางเทคโนโลยีและเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ทำให้สินค้าหรือผลิตภัณฑ์อยู่รอดและได้รับความนิยมอย่างยั่งยืนจะต้อง มีความแตกต่างและไม่ซ้ำแบบเดิม แนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จึงเป็นแนวคิดใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจในยุคการแข่งขันได้เป็นอย่างดี สุนิชา มีศิริ (บทคัดย่อ : 2549) กลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าวในเขตเทศบาลตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ มีปัญหาการจัดการผลิตภัณฑ์ โดยรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีปัญหาสูงสุดในด้านการส่งเสริมการตลาด รองลงมาคือ ปัญหาด้านราคา ปัญหาด้านผลิตภัณฑ์ และปัญหาด้านที่จัดจำหน่าย แนวทางการแก้ไขปัญหาการจัดการผลิตภัณฑ์ของกลุ่มภูมิปัญญาท้องถิ่นผลิตภัณฑ์กะลามะพร้าวในเขตเทศบาลเมืองตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ ประกอบด้วยการสำรวจข้อมูลของปัญหาแต่ละด้านเพื่อศึกษาและวางแผน และจัดหาบุคคลรับผิดชอบดำเนินการตามแผนงาน ใช้กลยุทธ์ด้านการตลาดเรื่อง การลดราคากับกลุ่มลูกค้าประจำและซื้อจำนวนมากๆ มีรูปแบบการโฆษณาประชาสัมพันธ์และบริการที่หลากหลาย จัดหาวิทยากรมาให้ความรู้ อบรม สัมมนา ศึกษาดูงานและสร้างหลักสูตรท้องถิ่น ภูมิปัญญาท้องถิ่นที่นำมาใช้ในการจัดการศึกษาในโรงเรียนมีมากมายหลายรูปแบบซึ่งจัดในรูปแบบของการสอนเสริมกิจกรรม ชุมชน หรือจัดในรูปของโครงการหนึ่งโรงเรียนหนึ่งผลิตภัณฑ์กิจกรรมที่จัดสอนทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตรพื้นฐานโรงเรียนแต่ละโรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้บูรณาการสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวบ้านในชุมชนมุ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริงเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนเป็นการส่งเสริมสนับสนุนให้มีความมั่นคง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :สมมติฐานของการวิจัย การออกแบบสร้างสรรค์พัฒนาเครื่องประดับประเภทต่างหูจากกะลามะพร้าวกลุ่มอาชีพ กลุ่มหัตถกรรมชุมชนหัวเขาตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ สามารถช่วยส่งเสริมการการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าวให้ดียิ่งขึ้น
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :วิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาวิเคราะห์รูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างหูจากกะลามะพร้าว สร้างสรรค์พัฒนาผลิตภัณฑ์ประเมินและสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ต่างหูจาก ต่างหูจากกะลามะพร้าวกลุ่มหัตถกรรมกะลามะพร้าวชุมชนหัวเขาตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยแบบผสม (Mixed Method Research) เริ่มจากการวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยการศึกษา ทฤษฎี หลักการต่างๆ จากเอกสาร หนังสือ บทความ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย และข้อมูลจากเว็บไซด์ เพื่อใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาวิจัยและสร้างเครื่องมือในการวิจัย จากนั้นศึกษาวิจัยภาคสนาม (Field Research) ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) จากการสัมภาษณ์ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบเชิงโครงสร้าง (Structured Interview) เพื่อรวบรวมข้อมูลรูปแบบผลิตภัณฑ์ต่างหูจากกะลามะพร้าว จากนั้นผู้วิจัยใช้การวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Method) ใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เพื่อสำรวจความความพึงพอใจของกลุ่มตัวอย่าง ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบต่างหูจากกะลามะพร้าว เพื่อต่อยอดภูมิปัญญาหัตถกรรมชุมชน แล้วประเมินและแบบร่าง โดยวิธีดำเนินการวิจัย มีรายละเอียดตามลำดับดังนี้ 1. การกำหนดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 4. การเก็บรวบรวมข้อมูล 5. การตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือวิจัย 6. การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ 7. การออกแบบผลิตภัณฑ์ต้นแบบต่างหูจากกะลามะพร้าว
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :1. ผู้วิจัยยังได้ทำการศึกษาการพัฒนารูปแบบต่างหูจากกะลามะพร้าวกลุ่มหัตถกรรมกะลามะพร้าวชุมชนหัวเขาตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อการออกแบบร่วมสมัย มีวัถตุประสงค์เพื่อ เพื่อศึกษาวิเคราะห์รูปแบบเครื่องประดับประเภทต่างหูจากกะลามะพร้าว กลุ่มหัตถกรรมกะลามะพร้าวชุมชนหัวเขาตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ 2.สร้างสรรค์พัฒนาเครื่องประดับประเภทต่างหูจากกะลามะพร้าวเพื่อเป็นการส่งเสริมการพัฒนาอาชีพกกลุ่มหัตถกรรมชุมชนหัวเขาตาคลี อำเภอตาคลี จังหวัดนครสวรรค์ โดยให้กลุ่มชาวบ้านได้จัดทำออกแบบผลิตภัณฑ์และวางจำหน่ายเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตในการสร้างผลิตภัณฑ์หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าตัวผลิตภัณฑ์และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง ทั้งทางด้านความสวยงาม ประโยชน์ใช้สอยที่มีคุณภาพ โดยผู้วิจัยได้มองเห็น รูปแบบจักสานที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะท้องถิ่น เนื่องจากในชุมชนยังไม่มีเครื่องประดับ เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบเครื่องประดับ วิเคราะห์และประเมินผลการออกแบบโดยผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย ผู้นำชุมชนที่มีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบเครื่องประดับ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ เพื่อให้งานพัฒนา
จำนวนเข้าชมโครงการ :80 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวศมลพรรณ ภู่เล็ก บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด