รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000539
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยที่ได้รับทุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Monitoring and Evaluation of Research Utilization Funded by Research and Development Institute of Nakhon Sawan Rajabhat University
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การติดตาม, ประเมินผล, การใช้ประโยชน์, งานวิจัย
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :19000
งบประมาณทั้งโครงการ :19,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :29 พฤศจิกายน 2564
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยพื้นฐาน(ทฤษฎี)/บริสุทธิ์
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการศึกษา
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริม สนับสนุนและผลักดันให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยได้ทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาศักยภาพของตนเอง โดยมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์แก่มหาวิทยาลัยในท้ายที่สุด ไม่ว่าจะเป็นการยกระดับคุณภาพของการผลิตบัณฑิต การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อให้มหาวิทยาลัยมีคุณภาพตามมาตรฐานสากลและสามารถแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติได้ เนื่องจากปัจจุบันมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ประสบปัญหานักศึกษาลดลง ทำให้เงินรายได้ลดลง ประกอบกับงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลลดลง ผู้วิจัยจึงเห็นว่าการใช้เงินงบประมาณหรือเงินรายได้ของมหาวิทยาลัยเพื่อส่งเสริม สนับสนุนและผลักดันให้บุคลากรของมหาวิทยาลัยได้ทำงานวิจัยนั้น ควรจะต้องมีความคุ้มค่า เหมาะสม และเกิดประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยมากที่สุด ดังนั้นการติดตามและประเมินผลการใช้ประโยชน์จากงานวิจัยที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการติดตามและประเมินผลเพื่อเป็นแนวทางในการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนทุนวิจัยในปีงบประมาณต่อไป และเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการสนับสนุนทุนวิจัย เพื่อให้ผลงานวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม มีความคุ้มค่ากับการใช้จ่ายเงินงบประมาณของมหาวิทยาลัยมากที่สุด สอดคล้องกับเกณฑ์การประกันคุณภาพที่มุ่งเน้นการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์เพื่อพัฒนาท้องถิ่นตามพันธกิจของมหาวิทยาลัย
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อติดตามและประเมินผลงานวิจัยที่ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ในปีงบประมาณ 2561-2563 2. เพื่อใช้เป็นแนวทางกำหนดหลักเกณฑ์ในการสนับสนุนและจัดสรรทุนวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อให้ผลงานวิจัยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรมและคุ้มค่ากับการใช้จ่ายเงินงบประมาณของมหาวิทยาลัยที่มีอยู่อย่างจำกัด
ขอบเขตของโครงการ :- ขอบเขตของตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรต้น : ตัวแปรคุณลักษณะงานวิจัย 3 ด้าน ได้แก่ แนวคิดหรือทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย ด้านวิธีวิทยาการวิจัย ด้านผลการวิจัย ตัวแปรตาม : ผลการนำองค์ความรู้จากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ 4 ด้าน ได้แก่ การใช้ประโยชน์เชิงวิชาการ การใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย การใชประโยชน์เชิงชุมชน/สังคม การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ - ขอบเขตด้านระยะเวลา : ระยะเวลาที่ใช้ในการดำเนินการครั้งนี้ 12 เดือน นับจากวันเริ่มเซ็นสัญญา - ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร : งานวิจัยที่ได้รับทุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2563 กลุ่มตัวอย่าง : งานวิจัยที่ได้รับทุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2563 ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ 4 ด้าน ได้แก่ การใช้ประโยชน์ เชิงวิชาการ การใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย การใชประโยชน์เชิงชุมชน/สังคม การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ซึ่งได้โดยวิธีการคัดเลือกตามเกณฑ์ในการคัดเลือกงานวิจัยที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. สามารถประเมินผลความคุ้มค่าของงบประมาณที่มีการสนับสนุนทุนวิจัยในช่วง 3 ปี งบประมาณที่ผ่านมาได้ 2. สามารถวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการกำหนดหลักเกณฑ์การให้ทุนสนับสนุนของมหาวิทยาลัยในอนาคตที่จะทำให้เกิดความคุ้มค่า เหมาะสมและเกิดประโยชน์ต่อมหาวิทยาลัยมากที่สุด
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประชากร : งานวิจัยที่ได้รับทุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2563 กลุ่มตัวอย่าง : งานวิจัยที่ได้รับทุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในช่วงปีงบประมาณ พ.ศ. 2561-2563 ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ 4 ด้าน ได้แก่ การใช้ประโยชน์ เชิงวิชาการ การใช้ประโยชน์เชิงนโยบาย การใช้ประโยชน์เชิงชุนชน/สังคม การใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ ซึ่งได้โดยวิธีการคัดเลือกตามเกณฑ์ในการคัดเลือกงานวิจัยที่ผู้วิจัยกำหนดขึ้น 2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 3. การเก็บรวมรวมข้อมูล 4. การวิเคราะห์ข้อมูล 5. การสรุปผลเพื่อประเมินความคุ้มค่าของงบประมาณที่ใช้ในการสนับสนุนทุนวิจัยพร้อมทั้งเสนอแนะแนวทางในการกำหนดหลักเกณฑ์ในการให้การสนับสนุนทุนวิจัยที่เหมาะสม คุ้มค่า และก่อให้ เกิดประโยชน์กับมหาวิทยาลัยมากที่สุด
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :201 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางประทานพร คุ้มแก้ว บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด