รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000538
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การศึกษาและพัฒนาห่วงโซ่ความเย็นของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมู
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Study and Development for the Cold Chain of Pork Ball Products
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ห่วงโซ่ความเย็น, การพัฒนาห่วงโซ่ความเย็น , ผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมู
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :70000
งบประมาณทั้งโครงการ :70,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :29 พฤศจิกายน 2564
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
กลุ่มวิชาการ :วิศวกรรมอุสาหกรรมวิจัย
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีผลผลิตทางด้านอาหารแปรรูปหลากหลายชนิด และสามารถผลิตสินค้าได้ปริมาณมากเกินกว่าความต้องการบริโภคในประเทศ ผลผลิตส่วนเกินสามารถส่งออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศสร้างรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมาก แต่การส่งออกไม่สามารถขยายตัวได้อย่างเต็มกำลังการผลิต เนื่องจากขาดการบริหารจัดการระบบการผลิตตั้งแต่ระดับผู้เพาะเลี้ยงสัตว์จนถึงผู้บริโภค เพื่อให้สินค้าอาหารแปรรูปมีคุณภาพมาตรฐานสูงสุด ตรงกับตามความต้องการของลูกค้า และสามารถส่งออกได้โดยมีเปอร์เซนต์การสูญเสียน้อยที่สุด ซึ่งการดำเนินธุรกิจผลิตภัณฑ์เนื้อหมูแปรรูปเป็นการริเริ่มแนวคิดจากการมีกิจการฟาร์มสุกร แต่เนื่องจากเกษตรกรไม่สามารถควบคุมราคาสุกรหน้าฟาร์มได้ และต้องการหลุดพ้นจากสถานการณ์ที่ไม่สามารถควบคุมการผลิตได้ จึงต้องการแปรรูปเนื้อหมูให้เป็นผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้า โดยผู้ประกอบการบางรายต้องการผลิตสินค้าในเชิงธุรกิจเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับประทานผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อหมูที่มีคุณภาพและมีราคาที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม การดำเนินธุรกิจอาหารแปรรูปสำหรับผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นในปัจจุบันได้มีการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นมากขึ้น เนื่องจากสภาวะการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสภาพแวดล้อมของประเทศ ส่งผลให้ผู้บริโภคมีความต้องการสินค้ามากขึ้น ธุรกิจนี้จึงมีการขยายตัวหรือการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อผู้ผลิตรายใหม่ นอกจากนี้ การปนเปื้อนระหว่างการเก็บรักษาเป็นอีกหนึ่งสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผลิตภัณฑ์แปรรูปเนื้อสัตว์มีอายุสั้น จึงต้องมีการเติมสารเจือปนอาหารเพื่อยืดอายุการเก็บรักษา แต่ผู้ประกอบการไม่ต้องการให้ผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นมีสารกันบูดได้ปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ ซึ่งผู้ผลิตต้องดำเนินการพัฒนาปรับปรุงคุณภาพของสินค้าให้คงทนมากขึ้น เนื่องจากผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นมีช่วงชีวิตที่จำกัด ดังนั้นการขนส่งและการจัดเก็บสินค้าจำเป็นจะต้องคำนึงถึงการควบคุมระยะเวลาในการขนส่งให้สั้นที่สุด และการควบคุมอุณหภูมิตลอดห่วงโซ่ความเย็นให้เหมาะสมกับผลผลิตแต่ละชนิด เพื่อเป็นการขยายช่วงชีวิต รวมทั้งเป็นการพัฒนาห่วงโซ่ความเย็นให้ไปถึงผู้บริโภคในเวลาที่ผู้บริโภคต้องการ ณ สถานที่ที่ผู้บริโภคต้องการ รวมถึงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด และได้ผลิตภัณฑ์ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ดังนั้นการจัดเก็บและการขนส่งผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูผ่านระบบห่วงโซ่ความเย็นจึงกลายเป็นช่องทางการบริหารจัดการสินค้าที่สำคัญช่องทางหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มมูลค่าพร้อมกับเป็นการถนอมอาหารเพื่อรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารแปรรูป จากการขาดระบบการบริหารจัดการห่วงโซ่ความเย็นที่มีประสิทธิภาพ ทั้งในด้านเทคนิคและการบริหารจัดการด้านการผลิตและการตลาด ถือว่าเป็นจุดอ่อนที่สำคัญของผู้ผลิตอาหารแปรรูปภายในประเทศ ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูของไทยไม่สามารถขยายตัวได้ หรือขยายตัวในอัตราชะลอตัว ดังนั้นเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปภายในประเทศให้สามารถปรับตัวเพื่อการแข่งขันและเพิ่มมูลค่าผลผลิตจากภาคอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารได้ รวมถึงการพัฒนารูปแบบการขนส่งสินค้าแปรรูปให้ไปถึงมือผู้บริโภคได้รวดเร็วที่สุดเนื่องจากคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ที่มีช่วงอายุที่สั้น (Salin & Jr., 2003) การลดปัญหาอุปสรรคดังกล่าวนั้นจำเป็นต้องปรับปรุงระบบบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอาหารแปรรูป โดยการนำเทคโนโลยีด้านการควบคุมห่วงโซ่ความเย็น (Cold Chain System) มาปรับใช้ในกระบวนการผลิต รวมถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับการปฏิรูปด้านความปลอดภัยอาหารเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคภายในประเทศควบคู่กันไป เพื่อให้สินค้าสามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้สูงสุด ผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูเป?นสินค้าที่ไวต?อการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและแสงสว่าง ทำให้สูญเสียคุณภาพได? หากอยู่ในระดับอุณหภูมิที่ไม?เหมาะสม ทําให?สินค้าเสื่อมคุณภาพและเกิดการเน่าเสีย ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ ทําให้เกิดการสูญเสียและสิ้นเปลืองงบประมาณโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้นระบบห่วงลูกโซ่ความเย็นจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพที่ดี และมีอุณหภูมิที่เหมาะสมพร้อมใช้งาน เพื่อให้การดำเนินงานการผลิตภายใต้ระบบห่วงลูกโซ่ความเย็นที่มีคุณภาพตามมาตรฐานที่กำหนดไว้ได้
จุดเด่นของโครงการ : งานวิจัยฉบับนี้เป็นการวิจัยประยุกต์ เพื่อดำเนินเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ต้นทุนและปัญหาของการผลิตสินค้า และกำหนดแนวทางแก้ไขและพัฒนากระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนการผลิตให้กับสถานประกอบการได้
วัตถุประสงค์ของโครงการ :วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัยนี้ คือ การศึกษาและพัฒนาห่วงโซ่ความเย็นของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมู เพื่อเป้าหมายสูงสุด คือ ลดต้นทุน ประสิทธิภาพการจัดเก็บสินค้า และเพิ่มรายได้ให้กับผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมู ให้กับผู้ประกอบการได้ ซึ่งมีวัตถุประสงค์จำเพาะ 3 ประการ ได้แก่ 1. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการขนส่ง การจัดเก็บสินค้า และความเชื่อมโยงของกิจกรรมการผลิตและการให้บริการที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมู 2. เพื่อกำหนดรูปแบบการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิต และการบริหารจัดการห่วงโซ่ความเย็นภายในสถานประกอบการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มศักภาพการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. เพื่อศึกษาต้นทุนและการปรับปรุงกิจกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มภายในสถานประกอบการ ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และสร้างรายได้ให้กับผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูได้
ขอบเขตของโครงการ :เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้มีกำหนดขอบเขตการวิจัยไว้ 6 ด้าน เพื่อให้มีรูปแบบการดำเนินงานสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทั้งหมดของโครงการ ดังนี้ 1. ศึกษาโครงสร้างของห่วงโซ่ความเย็นของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมู โดยการศึกษาโครงสร้างนี้จะมุ่งเน้นไปที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในห่วงโซ่ความเย็นนี้ ทั้งบทบาท หน้าที่ และความเชื่อมโยงกิจกรรมภายในห่วงโซ่ความเย็น 2. ศึกษาระบบปฏิบัติการของห่วงโซ่ความเย็นของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมู โดยจะมุ่งเน้นในเรื่องของเวลาและอุณหภูมิตลอดทั้งห่วงโซ่ความเย็น ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง 3. ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค และความเชื่อมโยงของกิจกรรมในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมู ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เช่น การจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบ การทำความสะอาด การผลิต การเก็บรักษา การขนส่ง และการจำหน่ายสินค้า เพื่อวิเคราะห์ลำดับการเชื่อมโยงของกิจกรรมทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในห่วงโซ่ความเย็นของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูของผู้ประกอบการแปรรูปอาหาร โดยข้อมูลดังกล่าวจะนำไปใช้ในการค้นหาปัญหาและกำหนดแนวทางปรับปรุงที่เหมาะสมกับกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูต่อไป 4. ศึกษาปัญหาและกำหนดแนวทางการปรับปรุงกิจกรรมที่มีผลต่อการให้บริหารและการรักษาระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมถึงการกำหนดรูปแบบการพัฒนากิจกรรมการผลิตให้เกิดมูลค่าเพิ่มสูงสุด ตั้งแต่กิจกรรมต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยข้อมูลดังกล่าวจะนำไปกำหนดรูปแบบการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิต และการจัดหาอุปกรณ์ที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพ รักษาระดับการจัดเก็บและคุณภาพผลิตภัณฑ์ให้นานที่สุด และเพิ่มศักยภาพการผลิตให้เพิ่มสูงขึ้น เพื่อลดการสูญเสียและต้นทุนการผลิตให้น้อยที่สุด ซึ่งจะดำเนินการสอบถามปัญหา ระบบการควบคุมอุณหภูมิ และข้อจำกัดต่างๆ ภายในกระบวนการผลิตสินค้า รวมถึงรูปแบบการบริหารจัดการด้านการห่วงโซ่ความเย็นของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมู ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การเก็บรักษา รูปแบบบรรจุภัณฑ์ การขนส่ง และการจำหน่ายสินค้า เพื่อให้การพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 5. ศึกษาต้นทุนการผลิตและโลจิสติกส์ ตั้งแต่เกษตรกร โรงงานผู้ผลิตสินค้า ไปจนถึงกลุ่มลูกค้า เพื่อศึกษาต้นทุนการผลิต ทั้งการจัดเตรียมวัตถุดิบ การทำความสะอาด การผลิต การจัดเก็บ การบรรจุภัณฑ์ และการส่งมอบสินค้า เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่ความเย็น เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งการนำข้อมูลที่ไปประกอบการพิจารณาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตตลอดห่วงโซ่ความเย็นและลดของเสียในกระบวนการผลิตได้ ซึ่งประเด็นที่สำคัญสำหรับการศึกษากระบวนการผลิตและห่วงโซ่ความเย็นของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูในโครงการนี้ คือ ทางทีมผู้วิจัยจะทำการสำรวจความเชื่อมโยงของกิจกรรมการผลิต การให้คำปรึกษาและแนะนำแนวทางการปรับปรุงกระบวนการผลิต การเก็บรักษา การบรรจุภัณฑ์ และการขนส่งสินค้า ตลอดทั้งระบบห่วงโซ่ความเย็นให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด 6. ให้คำปรึกษาด้านการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตที่สูญเปล่า มีต้นทุนสูง เกิดของเสียจำนวนมาก ใช้เวลาสำหรับการผลิตสูง รูปแบบการควบคุมอุณหภูมิและการจัดเก็บสินค้าที่ไม่เหมาะสม และขาดประสิทธิภาพในการผลิตสินค้า ตั้งแต่กิจกรรมต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ รวมถึงการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสงสุด ซึ่งทางทีมผู้วิจัยจะพิจารณาถึงความคุ้มค่าและเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตตามหลักการด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่ความเย็น ทั้งการผลิต เวลาการผลิต การควบคุมอุณหภูมิ ระดับคุณภาพสินค้า ต้นทุนการผลิต ความหยืดหยุ่นในการผลิต และความคุ้มค่าในการลงทุน ทำให้ผู้ประกอบการสามารถลดต้นทุนหรือสร้างรายได้ให้กับผู้ประกอบการได้อย่างเหมาะสม
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :จากวัตถุประสงค์และขอบเขตการวิจัยที่ได้ระบุไว้ในโครงการนี้ ผลลัพธ์ที่ได้รับจากโครงการนี้คาดว่าจะสร้างประโยชน์ให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดังรายละเอียดดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์การเชื่อมโยงของกิจกรรมการผลิตของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูตลอดห่วงโซ่อุปทานด้วยระบบห่วงโซ่ความเย็น ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อค้นหาปัญหาและกำหนดรูปแบบการปรับปรุงกระบวนการผลิตที่เหมาะสม เนื่องจากทีมผู้วิจัยได้มีการศึกษาและสอบถามขั้นตอนการผลิตในทุกกิจกรรมที่มีความเชื่อมโยงกันของผู้ประกอบการในทุกกิจกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด พร้อมทั้งรูปแบบการจัดเก็บ ระดับอุณหภูมิ และระยะเวลาในการจัดเก็บสินค้า ทั้งกิจกรรมภายในและภายนอกโรงงาน รวมถึงข้อจำกัดและปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสินค้าเพื่อความสมบูรณ์ของข้อมูล ทำให้สามารถคัดเลือกรูปแบบการพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูให้มีคุณภาพตามที่ลูกค้ากำหนด และยกระดับศักยภาพการผลิตสินค้าในกลุ่มนี้ได้เท่าเทียมกับคู่แข่งขันได้ ซึ่งถ้าโครงการนี้ประสบความสำเร็จผลประโยชน์ที่ได้จะตกอยู่กับประเทศชาติอย่างมาก โดยหน่วยงานที่สามารถนำผลการดำเนินงานนี้ไปใช้งานต่อได้ อาทิเช่น ผู้ประกอบการแปรรูปผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งต้องการยกระดับความสามารถในการผลิต ลดต้นทุน รักษาระดับคุณภาพสินค้า และเพิ่มศักยภาพการผลิตของหน่วยงาน 2. รูปแบบการพัฒนาปรับปรุงกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการภายในสถานประกอบการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มศักภาพการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถลดกิจกรรมที่เกิดของเสียและขาดประสิทธิภาพการผลิตในทุกกิจกรรมการผลิตของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูได้ ซึ่งถ้าโครงการนี้ประสบความสำเร็จสามารถยกระดับความสามารถในการผลิต ลดต้นทุน ลดเวลาการผลิตสินค้า เพิ่มระยะเวลาการจัดเก็บสินค้า ลดการสูญเสีย และเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการได้ โดยผลประโยชน์ทางอ้อมจะตกอยู่กับประเทศชาติ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 3. ระบบบริหารจัดการต้นทุนการผลิตและโลจิสติกส์ของโรงงานด้วยการบริหารจัดการห่วงโซ่ความเย็น ตั้งแต่เกษตรกร โรงงานผู้ผลิตสินค้าไปจนถึงกลุ่มลูกค้า โดยข้อมูลต่างๆ เหล่านี้จะนำมาใช้ในการพิจารณารูปแบบการปรับปรุงกิจกรรมที่สูญเปล่า ต้นทุนการผลิตต่อหน่วยสูงเกินมาตรฐาน และมีระบบการควบคุมและการจัดการระดับอุณหภูมิไม่เหมาะสมให้กับสินค้า ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ พร้อมทั้งยังนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิต และกำหนดแนวทางการปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เกิดต้นทุนต่ำสุด และเกิดประสิทธิภาพการผลิตสูงสุดได้ต่อไป
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูถือเป็นประเภทหนึ่งของสินค้าเน่าเสียง่าย (Perishable Product) ซึ่งนั่นหมายความว่า ผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูนั้นมีช่วงอายุที่จำกัด (Limited Lifetime) และมีความบอบบาง (Fragility) ต่อการดูแล ทั้งในด้านอุณหภูมิ ความชื้น และสิ่งแวดล้อม (Thron, Nagy, & Wassan, 2007) ดังนั้นการขนส่งส่วนมากจะผ่านห่วงโซ่ความเย็น (Cool Chain) โดยเฉพาะในส่วนของการขนส่งภายในประเทศจะเลือกใช้การขนส่งทางบก เพื่อช่วยในการยืดอายุของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูและการถนอมรักษาคุณภาพ และช่วยลดความเสียหายเนื่องมาจากการขนส่งและการกระจายสินค้า ซึ่ง Ketzenberg & Ferguson (2003) กล่าวว่า 15% ของสินค้าเน่าเสียง่ายนั้นมีการสูญเสียคุณภาพในระหว่างกระบวนการขนส่งและการกระจายสินค้า ดังนั้นจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นพร้อมกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้ ทีมผู้วิจัยเห็นความสำคัญของห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ของการผลิตและการขนส่งของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้น โดยใช้ระบบห่วงโซ่ความเย็น (Cold Chain) ห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) เป็นการวิเคราะห์ถึงกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องวิธีการหรือกระบวนการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และบริการให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด โดยกิจกรรมเหล่านี้จะเกี่ยวข้องกับระบบการผลิตทั้งหมด ซึ่งรวมตั้งแต่การจัดซื้อจัดหาวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต การขนส่ง และขั้นตอนการผลิต เป็นต้น (Kaplinsky & Morris, 2002) นอกเหนือไปจากนั้นห่วงโซ่คุณค่ายังหมายความรวมถึงความสัมพันธ์ของกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่ากับผลิตภัณฑ์หรือบริการด้วย ซึ่งรวมทั้งความสัมพันธ์ในแนวดิ่ง (Vertical Relationship) ภายในห่วงโซ่คุณค่าเองเพื่อก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าให้กับลูกค้าหรือกลุ่มเป้าหมาย และความสัมพันธ์ในแนวนอน (Horizontal Relationship) กับห่วงโซ่คุณค่าอื่นที่เกี่ยวข้องกับกรบวนการผลิตและกระบวนการเพิ่มมูลค่า (Webber & Labaste, 2010) การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่าในงานวิจัยนี้ จะทำการศึกษา 3 ส่วนหลักดังต่อไปนี้ • กลุ่ม (Clusters) ขององค์กรหรือหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนาการผลิตและการขนส่งผลิตภัณฑ์แปรรูปของประเทศไทย ซึ่งการศึกษากลุ่มองค์กรหรือหน่วยงานดังกล่าวนี้จะช่วยให้ทีมผู้วิจัยมีความเข้าใจถึงการเชื่อมโยงในแนวดิ่ง (Vertical Linkage) และการเชื่อมโยงในแนวนอน (Horizontal Linkage) ระหว่างองค์กรหรือหน่วยงาน พร้อมกับทำให้มีความชัดเจนในแนวทางการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมู แนวทางการควบคุมต้นทุนการผลิตและการขนส่ง และแนวทางการเข้าถึงและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีทางด้านห่วงโซ่ความเย็น (Cold Chain) ในการถนอมรักษาคุณภาพและยืดอายุของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมู • ห่วงโซ่ (Chain) เป็นการแสดงถึงการเชื่อมโยง (Linkage) ของกลุ่มองค์กรหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เข้าใจถึงการทำงานของห่วงโซ่คุณค่าของการผลิตและการขนส่งผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูภายในประเทศ • Thread จะแสดงถึงทิศทางการไหลของ Physical Inputs และบริการในกระบวนการผลิตและการขนส่งผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูภายในประเทศ เพื่อให้เข้าใจถึงผลกระทบหรือประโยชน์ขององค์กรต่างๆ ที่มีต่อการเพิ่มมูลค่าของการผลิตผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูภายในประเทศ ซึ่งการศึกษา Thread ดังกล่าวได้รับการยอมรับว่าเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญของงานวิจัยทางโลจิสติกส์ที่เกี่ยวข้องกับสินค้าแปรรูป (Webber & Labaste, 2010) แต่อย่างไรก็ตามการวิเคราะห์ห่วงโซ่คุณค่ามีข้อจำกัดและจุดอ่อนหลายอย่างที่อาจจะทำให้ทีมผู้วิจัยไม่สามารถที่จะสรุปถึงแนวทางการพัฒนาการผลิตและการขนส่งผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูภายในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีความเข้าใจในส่วนของ Market Dynamics ปัจจัยส่งเสริมการแข่งขัน (Competitive Forces) และปัจจัยแวดล้อมของอุตสาหกรรมการผลิตและการขนส่งภายในประเทศ (Porter, 1998) ร่วมด้วยเพื่อให้เข้าใจถึงสิ่งที่อาจจะมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพของห่วงโซ่คุณค่าของการผลิตและการขนส่งภายในประเทศ นอกเหนือไปจากนั้นการศึกษาถือปัจจัยแห่งความสำเร็จ (Critical Success Factors) ที่จะสามารถเข้าถึงหรือเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาดจากกลุ่มลูกค้าเป้าหมายมากยิ่งขึ้น และการศึกษาความรู้และเทคโนโลยีโดยเฉพาะในระบบห่วงโซ่ความเย็น (Cold Chain) ต่างที่อาจจะนำมาช่วยในการรักษาคุณภาพของอาหารแปรรูปและยืดอายุของอาหารแปรรูปให้ได้นานที่สุด เพื่อให้ถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายในปริมาณและเวลาที่ต้องการ และ ณ สถานที่ที่ต้องการ ผลลัพธ์ที่คาดหวังจะได้จากการวิจัยเรื่อง การศึกษาและพัฒนาห่วงโซ่ความเย็นของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูนั้นคือ การหาอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สุดในการเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมู ทั้งช่วงหลังการผลิต การขนส่ง และก่อนนำไปวางจำหน่าย ซึ่งอาจจะมีระดับการควบคุมระดับอุณหภูมิที่ต่างกัน ทั้งนี้ทั้งนั้นก็สืบเนื่องมาจากคุณสมบัติ ระยะเวลาในการเก็บรักษา และรูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ที่แตกต่างกัน โดยที่ตัวสินค้านั้นยังคงไว้ซึ่งความสดและรูปลักษณ์ที่สวยงาม หลังจากนั้นแล้วก็ขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการขนส่งผลไม้ อาทิเช่น ทางเรือ ทางรถ หรือทางเครื่องบิน และระยะเวลาที่จะใช้ในการขนส่งสินค้าเหล่านี้ไปยังสถานที่ต่างกัน อุณหภูมิที่ใช้ในการเก็บรักษาสินค้าจะสัมพันธ์กับระยะเวลาที่จะใช้ในการขนส่งสินค้าไปยังจุดหมายปลายทาง โดยอุณหภูมิที่ใช้ก็อาจจะมีการเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อยเพื่อให้สินค้ามีสภาพที่สมบูรณ์ น่ารับประทาน และพร้อมที่จะวางขายได้ทันที ตามข้อเท็จจริงแล้ว Cool Chain อาจจะไม่สามารถทำให้ Cost ลดลงได้ในทางตรงแต่สามารถลดการสูญเสียของสินค้าที่ส่งมอบให้กับลูกค้าได้ ทางทีมวิจัยคาดหวังว่าผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูที่ได้ถูกขนส่งโดยการนำระบบห่วงโซ่ความเย็นมาประยุกต์ใช้นั้น จะถึงมือลูกค้าด้วยความสด คุณภาพ และความสวยงามที่เหมาะสมกว่าการขนส่งด้วยระบบธรรมดาทั่วไป อีกทั้งลูกค้าจะเสียเวลาในการตรวจสอบคุณภาพน้อยลง และพร้อมที่จะนำไปวางขายได้ทันที่ที่ถึงมือลูกค้า ความสูญเสียที่เกิดจากความเน่าเสีย หรือคุณภาพไม่ได้มาตรฐานนั้นจะลดลงไป ทำให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างความน่าเชื่อถือได้มากขึ้นและส่งผลลัพธ์ให้จำหน่ายสินค้าได้มากขึ้น ทางทีมงานวิจัยจึงขอชี้แจงไว้ ณ ที่นี้ว่าค่าใช้จ่ายในการขนส่งสินค้านั้นอาจจะไม่ได้ลดลงในทางตรง โดยตรงจากระบบห่วงโซ่ความเย็น หากแต่ Waste คงลดน้อยลงในขณะที่คุณภาพของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูสูงขึ้น ส่วนต้นทุนการขนส่งจะลดน้อยลงเพราะสามารถใช้วิธีการขนส่งที่นานขึ้นแต่ราคาถูกลง (ทางเรือ หรือทางรถ) แทนการขนส่งทางอากาศที่มีค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง แต่ก็ยังสามารถคงไว้ซึ่งความสด และความสวยงามของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูได้เช่นเดียวกัน การวิเคราะห์ต้นทุนการผลิตมีรากฐานมาจากการวิเคราะห์เรื่องการผลิต ทั้งนี้เพราะในการผลิตสินค้า ผู้ผลิตได้รวบรวมปัจจัยการผลิตจาก supplier มาใช้ในการผลิต ดังนั้นจึงต้องจ่ายค่าผลตอบแทนให้ supplier นั้นๆ ในรูปของค่าเช่า ค่าจ้าง ดอกเบี้ย และกำไร ซึ่งค่าใช้จ่ายต่างๆ เหล่านี้ที่จ่ายให้กับ supplier รวมเรียกว่า ต้นทุนการผลิต ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ ต้นทุนการผลิต (Cost of Production) หมายถึง ค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้นในการผลิตสินค้า และบริการในจำนวนที่ต้องการ ต้นทุนการผลิตสามารถจำแนกได้หลายแบบ ดังนี้ (1) ต้นทุนที่เห็นได้ชัด และต้นทุนโดยปริยาย - ต้นทุนที่เห็นได้ชัด (Explicit Cost) หมายถึง ต้นทุนที่จ่ายออกไปจริง สามารถบันทึกลงในบัญชีได้ เช่น ค่าแรงงาน ค่าวัตถุดิบ และค่าโฆษณา เป็นต้น - ต้นทุนโดยปริยาย (Implicit Cost) หมายถึง ต้นทุนที่ไม่ได้จ่ายออกไปเป็นเงินจริง แต่เป็นค่าเสียโอกาสที่จะใช้ปัจจัยการผลิตไปทำประโยชน์อื่น เรียกว่า “ต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost)” เช่น ค่าจ้างตัวเอง หรือค่าเช่าอาคารของตนเอง สิ่งเหล่านี้ถือเป็นต้นทุนการผลิตเพราะเจ้าของปัจจัยการผลิตเสียโอกาสได้รับผลตอบแทน (2) ต้นทุนทางบัญชี และต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ - ต้นทุนทางบัญชี (Accounting Cost) หมายถึง ต้นทุนที่จ่ายออกไปจริงและจดบันทึกลงบัญชีไว้ - ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์ (Economics Cost) หมายถึง ต้นทุนทุกอย่างที่เกิดขึ้นในการผลิต ไม่ว่าจะจ่ายออกไปจริงหรือไม่ก็ตาม ด้วยเหตุนี้ ต้นทุนทางเศรษฐศาสตร์จึงสูงกว่าต้นทุนทางบัญชี ทำให้กำไรทางเศรษฐศาสตร์น้อยกว่ากำไรทางบัญชี ต้นทุนกับระยะเวลา (Cost and Time Period) การผลิตในระยะสั้น (Short – Run Period) เป็นการผลิตในระยะเวลาที่ประกอบด้วยปัจจัยคงที่ (Fixed Factors) และปัจจัยผันแปร (Variable Factors) โดยต้นทุนคงที่จะไม่เปลี่ยนแปลงตามจำนวนผลผลิต ส่วนต้นทุนผันแปรจะเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนผลผลิต การผลิตในระยะยาว (Long – Run Period) เป็นการผลิตในระยะเวลาที่ผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนแปลงปัจจัยการผลิตทุกชนิดได้ตามต้องการ ดังนั้นการผลิตในระยะยาวปัจจัยการผลิตทุกชนิดจะเป็นปัจจัยผันแปร ต้นทุนการผลิตในระยะยาวจะประกอบด้วยต้นทุนผันแปรเพียงอย่างเดียว การวิเคราะห์ต้นทุนในระยะสั้น (The Short – Run Cost Analysis) การผลิตในระยะสั้นใช้ปัจจัยการผลิต 2 ชนิดคือ ปัจจัยคงที่ และปัจจัยผันแปร ดังนั้น ต้นทุนการผลิตในระยะสั้นจึงมี 2 ชนิดคือ ต้นทุนคงที่ และต้นทุนผันแปร สามารถคำนวณหาต้นทุนชนิดต่างๆ ได้ดังนี้ - ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost : FC) ต้นทุนชนิดนี้จะมีจำนวนคงที่ตลอดไม่ว่าปริมาณการผลิตจะมากหรือน้อย แม้จะไม่ทำการผลิตเลยก็จะเกิดต้นทุนคงที่ ต้นทุนประเภทนี้ เช่น ค่าเสื่อมของเครื่องจักร เป็นต้น - ต้นทุนผันแปร (Variable Cost : VC) ต้นทุนนี้จะเปลี่ยนแปลงไปตามจำนวนสินค้าที่ผลิต ถ้าผลิตมากจะเสียต้นทุนชนิดนี้มาก และถ้าไม่ผลิตก็ไม่เสียเลย ต้นทุนประเภทนี้ เช่น ค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น - ต้นทุนรวม (Total Cost : TC) เป็นต้นทุนทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการใช้ปัจจัยการผลิตชนิดต่างๆ ในการผลิตสินค้าและบริการจำนวนหนึ่ง ในระยะสั้น ต้นทุนรวมสามารถแสดงได้ดังนี้ TC = TFC + TVC - ต้นทุนคงที่เฉลี่ย (Average Fixed Cost : AFC) เป็นต้นทุนคงที่ทั้งหมดเฉลี่ยต่อปริมาณผลผลิต 1 หน่วย หรือ - ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย (Average Variable Cost : AVC) เป็นต้นทุนผันแปรทั้งหมดเฉลี่ยต่อปริมาณผลผลิต 1 หน่วย หรือ - ต้นทุนเฉลี่ย (Average Cost : AC) เป็นต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ยต่อปริมาณผลผลิต 1 หน่วย หรือ นอกจากนี้ยังสามารถหาได้จาก AC = AFC + AVC - ต้นทุนเพิ่มหรือต้นทุนหน่วยสุดท้าย (Marginal Cost : MC) เป็นการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนรวมเมื่อปริมาณผลผลิตเปลี่ยนแปลงไป 1 หน่วย หรือ อย่างไรก็ตาม เส้นต้นทุนแบบระยะสั้นนั้นได้มีความสัมพันธ์ของต้นทุนประเภทต่างๆ ในกระบวนการผลิตแบบระยะสั้น ซึ่งสามารถแสดงได้ดังนี้ ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนผันแปรเฉลี่ยกับต้นทุนเพิ่ม พบว่า 1. ตราบที่ MC มีค่าน้อยกว่า AVC , AVC จะมีค่าลดลงเมื่อผู้ผลิตขยายการผลิตออกไป 2. ตราบที่ MC มีค่ามากกว่า AVC , AVC จะมีค่าสูงขึ้นเมื่อผู้ผลิตขยายการผลิตออกไป 3. MC จะมีค่าเท่ากับ AVC ณ จุดที่ AVC มีค่าต่ำสุด ความสัมพันธ์ระหว่างต้นทุนเพิ่ม (MC) กับต้นทุนเฉลี่ย (AC) พบว่า 1. ตราบที่ MC มีค่าน้อยกว่า AC , AC จะมีค่าลดลงเมื่อผู้ผลิตขยายการผลิตออกไป 2. ตราบที่ MC มีค่ามากกว่า AC , AC จะมีค่าสูงขึ้นเมื่อผู้ผลิตขยายการผลิตออกไป 3. MC จะมีค่าเท่ากับ AC ณ จุดที่ AC มีค่าต่ำสุด การวิเคราะห์ต้นทุนในระยะยาว (Long – Run Cost Analysis) ในระยะยาวผู้ผลิตสามารถเปลี่ยนแปลงขนาดการผลิตให้เหมาะสมกับที่ต้องการได้ ปัจจัยทุกชนิดที่ใช้ในการผลิตเป็นปัจจัยผันแปร ดังนั้นต้นทุนการผลิตในระยะยาวจึงมีเฉพาะแต่ต้นทุนผันแปรเท่านั้น ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ - ต้นทุนเฉลี่ยในระยะยาว (Long-Run Average Cost) ในระยะยาวผู้ผลิตสามารถปรับปรุงขนาดของโรงงานให้เหมาะสมกับระดับผลผลิตได้ ดังนั้นจึงสามารถเลือกขนาดของโรงงานที่เสียต้นทุนเฉลี่ยต่ำสุดโดยใช้วิธีการสร้างโรงงานใหม่ให้ใหญ่กว่าเดิมหรือสร้างเพิ่มเติมจากโรงงานเดิม จากรูปที่ 3 ให้มีโรงงาน 3 ขนาด แต่ละขนาดเหมาะสำหรับการผลิตระดับต่างๆ และแต่ละโรงงานมีต้นทุนเฉลี่ยระยะสั้น (Short-Run Average Cost : SAC) คือ SAC1 SAC2 และ SAC3 ตามลำดับ ในระยะยาวขนาดของโรงงานที่เหมาะสมในการผลิตจะพิจารณาจากปริมาณผลผลิตที่ต้องการคือ ถ้าต้องจำนวนผลผลิต OX1 ต้องสร้างโรงงานที่มีขนาดของต้นทุน SAC1 เพราะจะเสียค่าใช้จ่ายต่ำกว่าการใช้โรงงานในขนาดอื่นๆ เป็นต้น จะเห็นได้ว่าในโรงงานขนาดต่างๆ นั้นจะมีอยู่ขนาดหนึ่งซึ่งเหมาะสมที่สุด (Optimum Scale of Plant) คือ เสียต้นทุนเฉลี่ยต่อหน่วยต่ำสุดเมื่อเปรียบเทียบกับโรงงานในขนาดต่างๆ ขนาดของโรงงานขนาดที่เหมาะสมนี้จะอยู่ ณ จุดต่ำสุดของเส้น SAC ที่สัมผัสกับจุดต่ำสุดของเส้น LAC ดังนั้น โรงงานที่มีต้นทุน SAC2 ผลผลิตที่เหมาะสม (Optimum Output) คือ OX2 หรือเส้นต้นทุนเฉลี่ยในระยะยาว (LAC) ได้มาจากเส้น SAC ของโรงงานขนาดต่างๆ แต่อย่างไรก็ตาม ผู้ผลิตไม่จำเป็นจะต้องสร้างโรงงานที่มีขนาดเหมาะสมที่สุดและทำการผลิต ณ ระดับที่เหมาะสม (Optimum Output) นั้น ยกเว้นในกรณีที่มีการแข่งขันสมบูรณ์ (Perfect Competition)
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ในส่วนของทฤษฎี สมมติฐานที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยในโครงการทางทีมผู้วิจัยจะใช้การอธิบายให้สอดคล้องกับขอบเขตของงานวิจัยทั้ง 6 ด้านในหัวข้อที่ 6 เพื่อแนวทางในการดำเนินงานวิจัยอย่างชัดเจน 1. การศึกษาวิจัยมุ่งเน้นเพื่อค้นหารูปแบบ/ระบบในการบริหารจัดการห่วงโซ่ความเย็นที่เหมาะสมสำหรับผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมู และศึกษาระบบการจัดการความเย็นในระบบการขนส่งและการจัดเก็บสินค้า 2. การสำรวจ และรวบรวมข้อมูลปฐมภูมิและทุติยภูมิ ด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่ความเย็นของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมู และปัญหาอุปสรรคของการบริการขนส่งสินค้าทั้งระบบ 3. การศึกษาและวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของกิจกรรมในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมู ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อใช้เป็นข้อมูลวิเคราะห์ลำดับการเชื่อมต่อของกิจกรรมการผลิตและการบริหารจัดการห่วงโซ่ความเย็นของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูทั้งหมดที่เกิดขึ้นภายในห่วงโซ่อุปทานของสถานประกอบการ พร้อมทั้งยังใช้เป็นข้อมูลค้นหาปัญหาและกำหนดแนวทางการปรับปรุงกระบวนการผลิตที่เหมาะสมเพิ่มมากขึ้น 4. การศึกษาปัญหาและกำหนดแนวทางการปรับปรุงกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับห่วงโซ่ความเย็น เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ตั้งแต่กิจกรรมต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ซึ่งการศึกษาดังกล่าวในปัจจุบันได้มีการกำหนดกิจกรรมภายในสถานประกอบการไว้ 6 กิจกรรม คือ 4.1 ดำเนินการคัดเลือกกิจกรรมการผลิต และกำหนดปัญหาที่จะดำเนินการพัฒนาปรับปรุงสำหรับกิจกรรมดังกล่าว ตั้งแต่กิจกรรมการกำจัดของเสียภายในกระบวนการผลิต การจัดเก็บสินค้าที่มากเกินไป ระบบการควบคุมอุณหภูมิที่ไม่เหมาะสม สินค้ามีการรอคอย หรือทำให้เกิดความล่าช้า การสั่งวัสดุปริมาณมากแต่มีการใช้น้อย กิจกรรมการขนย้ายที่ไม่จำเป็น กระบวนการผลิตที่ไร้ประสิทธิภาพ การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น ข้อบกพร่องจากการผลิต และการใช้พลังงานเกินความจำเป็น เป็นต้น ซึ่งหลังจากที่ผู้ประกอบการได้พบข้อบกพร่องที่เป็นปัญหาในการทำงานแล้ว ให้ดำเนินการลำดับความสำคัญของปัญหาที่จะทำก่อนหลังได้ เพื่อนำมากำหนดรูปแบบการพัฒนาปรับปรุงภายในกิจกรรมดังกล่าวให้เกิดขึ้นในโรงงานได้อย่างถูกต้องตามหลักการบริหารจัดการห่วงโซ่ความเย็นที่เหมาะสม โดยส่งผลให้สินค้ามีต้นทุนลดลง และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันได้ 4.2 ทำความเข้าใจปัญหาและอุปสรรคในการผลิตสินค้า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตตามหลักการบริหารจัดการห่วงโซ่ความเย็นที่เหมาะสม เนื่องจากการวางแผนการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตหลังการคัดเลือกปัญหา จะทำให้บุคลากรที่มีความเกี่ยวข้องสามารถวางแผนเข้าไปดูงานในสถานที่จริงที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการ เพื่อค้นหาสาเหตุ ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา และกำหนดรูปแบบการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตได้ตรงกับสาเหตุของปัญหาจริงๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 4.3 วางแผนเพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหา เนื่องจากการวางแผนช่วยให้คาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต และช่วยลดความสูญเสียต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเริ่มต้นด้วยการจัดอันดับความสำคัญของกิจกรรมและเป้าหมายหลังการดำเนินงาน เพื่อกำหนดวิธีดำเนินงาน กำหนดระยะเวลาดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบ และงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งการวางแผนดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม 4.4 กำหนดวิธีการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตที่ได้จากการวิเคราะห์ การดำเนินการตามแผนการพัฒนาปรับปรุงตามหลักการบริหารจัดการห่วงโซ่ความเย็น ซึ่งอาจมีโครงสร้างการดำเนินงานที่ได้รับการรับรองการปฏิบัติงานไว้เรียบร้อยแล้ว เช่น กลุ่มผู้ดูแลการพัฒนาปรับปรุงของหน่วยงานได้มีวิธีการทดลอง และวิเคราะห์มาแล้วว่าได้ผล เช่น การทำ Kaizen ของ TOYOTA ซึ่งเริ่มด้วยการทำ Idea Contest เพื่อให้พนักงานนำเสนอความคิดใหม่ๆ ในการปรับปรุงการทำงาน มีการเสนอความคิดกันมากกว่า 1 พันความคิดต่อเดือน และมีรางวัลให้ความคิดดีเด่น แล้วจะมีการเผยแพร่ความคิดนั้นไปใช้ในส่วนต่างๆ ขององค์กรต่อไป 4.5 นำเอาผลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการดำเนินการ จึงต้องกำหนดให้มีการประเมินแผนการดำเนินงาน ประกอบด้วย การประเมินโครงสร้างที่รองรับ การดำเนินการ การประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน และการประเมินผลของการดำเนินงานตามแผนที่ได้ตั้งไว้ โดยในการประเมินดังกล่าวสามารถทำได้เองโดยคณะกรรมการที่รับผิดชอบ ซึ่งเป็นลักษณะของการประเมินตนเองที่ไม่ยุ่งยากและซับซ้อนเกินไป การนำเอาผลที่ได้มาวิเคราะห์ทำให้เราสามารถทราบผลและความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรมการปรับปรุงงานดังกล่าวให้ได้ผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ 4.6 การจัดทำมาตรฐานเพื่อนำไปปฏิบัติ การนำผลการประเมินมาพัฒนาแผน อาจประกอบด้วย การนำผลการประเมินมาวิเคราะห์ปัจจัยที่ต้องดำเนินการปรับปรุง ทั้งด้านโครงสร้างและขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อทำให้การพัฒนาปรับปรุงเกิดผลสัมฤทธ์สูงสุด และสังเคราะห์รูปแบบการปฏิบัติงานใหม่ที่เหมาะสมตามหลักการบริหารจัดการห่วงโซ่ความเย็นสำหรับการดำเนินการในอนาคตได้ 5. การศึกษาต้นทุนการผลิตและโลจิสติกส์ ตั้งแต่เกษตรกร โรงงานผู้ผลิตสินค้า ไปจนถึงกลุ่มลูกค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งการจัดเตรียมวัตถุดิบ การทำความสะอาด การจัดเก็บ การผลิต การบรรจุภัณฑ์ และการส่งมอบสินค้า เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์อัตราต้นทุน และแนวทางการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตตามหลักการบริหารจัดการห่วงโซ่ความเย็น เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการบริหารจัดการภายในสถานประกอบการ การวางแผนธุรกิจ การจัดทำงบประมาณ และใช้ในการตัดสินใจแก้ไขปรับปรุงกระบวนการผลิตและปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยเป็นกระบวนการผลิตที่มีต้นทุนต่อหน่วยสูงเกินค่ามาตรฐานได้ ซึ่งการศึกษาดังกล่าวจะพิจารณาตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงของต้นทุนสามารถจำแนกได้ 3 ประเภท (ดวงมณี โกมารทัต, 2548 : 38-45) คือ 5.1 ต้นทุนผันแปร หรือต้นทุนแปรได้ (Variable Costs) เป็นต้นทุนที่จะแปรผันตามอัตราส่วนปริมาณการผลิตสินค้า หรืออัตราการผลิต อาทิเช่น วัตถุดิบทางตรงที่เบิกใช้ในการผลิตสินค้า ค่าแรงทางตรงที่จ่ายให้คนงานตามอัตราการผลิตสินค้า และค่าจำหน่ายสินค้าตามสัดส่วนร้อยละของยอดขาย เป็นต้น 5.2 ต้นทุนคงที่ (Fixed Costs) เป็นต้นทุนที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามอัตราการผลิตสินค้า หรือการเปลี่ยนแปลงกระบวนการผลิตสินค้าไปในทิศทางเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ตาม โดยอัตราต้นทุนดังกล่าวจะคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงในช่วงที่พิจารณา แม้ว่าอัตราการผลิตจะเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลง อาทิเช่น เงินเดือนพนักงาน ค่าเช่าที่ดิน ค่าเช่าโรงงาน ค่าเช่าเครื่องจักรและอุปกรณ์ ค่าเสื่อมราคาสินทรัพย์ถาวรในโรงงาน และค่าภาษีทรัพย์สินในโรงงาน เป็นต้น 5.3 ต้นทุนกึ่งผันแปร (Semi variable Cost) หรือต้นทุนผสม (Mixed Cost) เป็นต้นทุนที่มีลักษณะผสมทั้งต้นทุนคงที่และต้นทุนผันแปร ซึ่งอัตราต้นทุนจะเปลี่ยนแปลงตามปริมาณการผลิตสินค้า แต่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปตามอัตราส่วนการผลิตสินค้าโดยตรง อาทิเช่น ค่าสาธารณูปโภค ค่าเบี้ยประกันภัย ค่าซ่อมบำรุง ค่าตรวจสอบคุณภาพสินค้า และค่าทำลายของเสีย 6. จัดทำแผนพัฒนาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูด้วยระบบการบริหารจัดการห่วงโซ่ความเย็น เพื่อรองรับการเปิดตลาดเสรีสินค้าแปรรูปในอนาคต
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ในหัวข้อนี้จะอธิบายถึงขั้นตอนวิธีการทำวิจัย ซึ่งจะรวมถึงเนื้อหาในด้านการเก็บข้อมูล การกำหนดพื้นที่ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่างที่จะนำมาวิเคราะห์ ขั้นตอน และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล รวมทั้งระบุสถานที่ใช้เป็นที่ทำการวิจัยหรือการเก็บข้อมูล ซึ่งขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยมีรายละเอียดดังนี้ 1. ศึกษาเอกสารเพิ่มเติมเกี่ยวกับทฤษฎี และวิธีการเชื่อมโยงของกิจกรรมการผลิตด้วยการบริหารจัดการห่วงโซ่ความเย็นทั้งหมดภายในห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมู ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลาย ตลอดจนข้อมูลทางด้านทาการศึกษา ค้นคว้า และรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่ความเย็นที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมู ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงข้อมูลมาตรฐานการผลิตและการตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูของหน่วยงานภายในประเทศ โดยการค้นคว้าข้อมูลจาก Web site ต่างๆ เพื่อนำมาจัดทำเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาของผู้วิจัยต่อไป 2. ศึกษา เก็บข้อมูล และวิเคราะห์กิจกรรมตามรูปแบบการบริหารจัดการห่วงโซ่ความเย็น รวมถึงความเชื่อมโยงของกิจกรรมในกระบวนการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ความเหมาะสมของการควบคุมระดับอุณหภูมิในทุกขั้นตอนการผลิตภายในห่วงโซ่อุปทานของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมู พร้อมทั้งยังใช้เป็นข้อมูลในการค้นหาปัญหาและกำหนดแนวทางการปรับปรุงกระบวนการผลิตที่เหมาะสมต่อไป 3. ดำเนินการคัดเลือกกิจกรรมการผลิต และกำหนดปัญหาที่จะดำเนินการพัฒนาปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ตั้งแต่กิจกรรมการกำจัดของเสีย การผลิตเกินความต้องการ การควบคุมอุณหภูมิในการจัดเก็บสินค้าและการขนส่งสินค้า การเก็บวัสดุคงคลังมากเกินไป กิจกรรมการขนย้ายที่ไม่จำเป็น กระบวนการผลิตที่ไร้ประสิทธิภาพ การเคลื่อนไหวที่ไม่จำเป็น และข้อบกพร่องจากการผลิตและใช้พลังงานเกินความจำเป็น เป็นต้น ซึ่งหลังจากที่พบข้อบกพร่องแล้วให้ลำดับความสำคัญของปัญหาที่จะทำก่อนหลังได้ เพื่อนำมากำหนดรูปแบบการพัฒนาปรับปรุงภายในกิจกรรมดังกล่าวให้เกิดขึ้นในโรงงานได้อย่างถูกต้อง ตามเวลา และความจำเป็นของกิจกรรมการผลิตสินค้า 4. เสนอผลการคัดเลือกปัญหา พร้อมศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจปัญหาและอุปสรรคในการผลิตสินค้าของแต่ละกิจกรรมการผลิต เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลกำหนดแนวทางการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากการวางแผนการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตหลังการคัดเลือกปัญหา ซึ่งจะทำให้บุคลากรที่มีความเกี่ยวข้องสามารถดำเนินงานได้ตรงตามเป้าหมาย และวางแผนเข้าไปดูงานในสถานที่จริงที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการ เพื่อค้นหาสาเหตุ ปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหา ระดับอุณหภูมิที่เหมาะสม และกำหนดรูปแบบการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตได้ตรงกับสาเหตุของปัญหาจริงๆ ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม 5. ดำเนินการวางแผนการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตหลังการคัดเลือกปัญหา เพื่อดำเนินการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงกิจกรรมการผลิต เนื่องจากการวางแผนช่วยให้คาดการณ์สิ่งที่เกิดขึ้นในอนาคต สามารถช่วยลดต้นทุน ลดของเสีย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มรายได้ เพิ่มระยะเวลาการจัดเก็บ และช่วยลดความสูญเสียต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ โดยเริ่มต้นด้วยการจัดอันดับความสำคัญของกิจกรรมและเป้าหมายหลังการดำเนินงาน เพื่อกำหนดวิธีดำเนินงาน กำหนดระยะเวลาดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบ และงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน ซึ่งการวางแผนดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้ตามความเหมาะสม เพื่อให้โครงการดังกล่าวสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายที่กำหนดขึ้นได้ 6. นำผลที่ได้จากการศึกษาข้อมูลข้างต้นมาดำเนินการกำหนดวิธีการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตที่มีความเหมาะสมกับผลการวิเคราะห์ และการดำเนินงานตามแผนการพัฒนาปรับปรุง ซึ่งอาจมีโครงสร้างการดำเนินงานที่ได้รับการรับรองการปฏิบัติงานไว้เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้มีการนำเสนอแนวความคิดใหม่ๆ ในการปรับปรุงการทำงาน รวมถึงการกำหนดรูปแบบประเมินโครงสร้างที่รองรับการดำเนินงาน การประเมินขั้นตอนการดำเนินงาน และการประเมินผลของการดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ ซึ่งการนำเอาผลที่ได้มาวิเคราะห์ทำให้สามารถทราบผลและความก้าวหน้าในการดำเนินกิจกรรมการปรับปรุงงานดังกล่าวให้ได้ผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ได้ 7. จัดทำมาตรฐานการทำงานเพื่อนำไปใช้อ้างอิงถึงประสิทธิภาพของการปฏิบัติงาน หรือการนำผลการประเมินมาดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงแผนการปฎิบัติงานให้ดีขึ้น ซึ่งอาจประกอบด้วย การนำผลการประเมินมาวิเคราะห์ปัจจัยที่ต้องดำเนินการปรับปรุง ทั้งด้านโครงสร้าง ระดับอุณหภูมิที่ต้องควบคุม และขั้นตอนการปฏิบัติงาน เพื่อทำให้การพัฒนาปรับปรุงเกิดผลสัมฤทธ์สูงสุด และสังเคราะห์รูปแบบการปฏิบัติงานใหม่ที่เหมาะสมสำหรับการดำเนินการในอนาคตได้ 8. ศึกษาต้นทุนการผลิตและโลจิสติกส์ ตั้งแต่เกษตรกร โรงงานผู้ผลิตสินค้า ไปจนถึงกลุ่มลูกค้า ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งการจัดเตรียมวัตถุดิบ การทำความสะอาด การจัดเก็บ การผลิต การบรรจุภัณฑ์ และการส่งมอบสินค้า เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์อัตราต้นทุน และแนวทางการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิตด้วยระบบการบริหารจัดการห่วงโซ่ความเย็น เพื่อนำข้อมูลดังกล่าวไปใช้ในการบริหารจัดการภายในสถานประกอบการ การวางแผนธุรกิจ การจัดทำงบประมาณ และใช้ในการตัดสินใจแก้ไขปรับปรุงกระบวนการผลิตและปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่เกิดขึ้นเป็นประจำ หรือเป็นกรณีพิเศษ โดยเป็นกระบวนการผลิตที่มีต้นทุนต่อหน่วยสูงเกินค่ามาตรฐานได้ 9. ศึกษาความเหมาะสมทางด้านเศรษฐศาสตร์และการเงิน เพื่อตรวจสอบความคุ้มทุนของโครงการศึกษาและพัฒนาห่วงโซ่ความเย็นของผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมู 10. สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ พร้อมส่งมอบผลการศึกษาของโครงการฯ ตลอดจนคู่มือแนวทางการพัฒนาปรับปรุงกิจกรรมการผลิต เพื่อลดต้นทุน ของเสีย และการเคลื่อนไหวที่สูญเปล่า รวมถึงการเพิ่มรายได้ ระยะเวลาการจัดเก็บ รูปแบบการขนส่งที่เหมาะสม และประสิทธิภาพการผลิตของสถานประกอบการที่ดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ลูกชิ้นหมูได้
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :706 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายสว่าง แป้นจันทร์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย75
นายวัชระ ชัยสงคราม บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย25

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด