รหัสโครงการ : | R000000536 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การสร้างมูลค่าเพิ่มจากศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์กะลาและงานไม้ ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | - |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | การสร้างมูลค่าเพิ่ม, ศิลปะและวัฒนธรรม, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, เอกลักษณ์นครสวรรค์ |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > สาขาวิชาการออกแบบ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 25000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 25,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 02 พฤศจิกายน 2563 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 มิถุนายน 2564 |
ประเภทของโครงการ : | งานสร้างสรรค์(ออกแบบ) |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | มนุษยศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | เอกลักษณ์ของท้องถิ่น เป็นการแสดงลักษณะพิเศษจากสิ่งที่ปรากฏเด่นชัดของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สิ่งใด สิ่งหนึ่ง หรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ซึ่งมีความโดดเด่นเฉพาะด้าน หรือเฉพาะสังคมที่ไม่เหมือนกับที่อื่น ประมาณได้จากที่มีอยู่ทั้งทางธรรมชาติและวัฒนธรรม (คณะกรรมการฝ่ายประมวลเอกสารและจดหมายเหตุฯ) นครสวรรค์เป็นจังหวัดหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งในอดีตและปัจจุบัน จนทำให้ผู้คนทั่วไปรู้จักนครสวรรค์ตามสมญานามต่าง ๆ อาทิ “เมืองสี่แคว” “เมืองปากน้ำโพ” และ“ประตูสู่ภาคเหนือ” นอกจากนี้นครสวรรค์ยังมีสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ที่สวยงาม โบราณสถาน และงานประจำปีที่ขึ้นชื่อซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ไม่ว่าจะเป็นบึงบอระเพ็ด อุทยานนกน้ำ ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา เขาหน่อ-เขาแก้ว หรืองานประเพณีเชิดสิงโต แห่มังกร ในเทศกาลตรุษจีน จึงมีคำขวัญประจำจังหวัด“เมืองสี่แคว แห่มังกร พักผ่อนบึงบอระเพ็ด ปลารสเด็ดปากน้ำโพ” เนื่องจากนครสวรรค์เป็นชุมชนเก่าแก่ชุมชนหนึ่ง ชาวบ้านจึงมีภูมิปัญญาของตนเองที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษและค้นพบด้วยตนเองมากมายหลายด้าน เช่น การทำเครื่องปั้นดินเผา ของชุมชนบ้านมอญ การแกะสลักงาช้างของชุมชนพยุหะคีรี และการทำเรือจำลองโบราณของชุมชนตาคลี การทำผลิตภัณฑ์จากและงานไม้ สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นภูมิปัญญาที่สืบทอดกันมาและเป็นอาชีพหลักในปัจจุบันทั้งสิ้น มีทั้งที่ทำเป็นของใช้ขนาดใหญ่ ขนาดกลางและไปจนถึงของที่ระลึกขนาดเล็ก ซึ่งเอกลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์เหล่านี้ สามารถนำไปประยุกต์หรือสร้างสรรค์เป็นงานของที่ระลึกได้จำนวนมาก สร้างรายได้ให้กับตนเอง ชุมชน และจังหวัดนครสวรรค์ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ผลงานของที่ระลึกต่าง ๆ ยังสะท้อนถึงภูมิปัญญา วิถีชีวิต ตลอดจนประเพณีอันดีงามที่สืบต่อกันมาของชาวจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเผยแพร่และร่วมกันอนุรักษ์สืบไป
การสร้างมูลค่าเพิ่มจากศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นพันธกิจหนึ่งของสถาบันการศึกษาในพื้นที่ในการส่งเสริมให้มีการฟื้นฟู ทำนุบำรุงให้คงอยู่ และเผยแพร่ สร้างสรรค์ต่อยอดสู่ประโยชน์เชิงสาธารณะ และประโยชน์เชิงพาณิชย์ ดังนั้น สาขาวิชาการออกแบบสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จึงสนใจในการสร้างสรรค์งานวิจัย เรื่อง การสร้างมูลค่าเพิ่มจากศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์กะลาและงานไม้ ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการทำนุบำรุง รักษา ภูมิปัญญาท้องถิ่นจากจากเอกลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์ และร่วมแก้ปัญหาความต้องการในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน นั่นคือ ความต้องการในการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์ ในการทำเป็นของที่ระลึกจากไม้และกะลา เช่น สะพานเดชา ป้ายอุทยานสวรรค์ สิงโต มังกร ปลาเสือตอ ฯลฯ ที่พร้อมจำหน่าย โดยมีบรรจุภัณฑ์ Brand และ Story ของสิ่งเหล่านั้น ส่งต่อความรู้สึก ความจดจำ ความประทับใจให้กับผู้บริโภค นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนรูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการงานวิจัยและบริการวิชาการกับการเรียนการสอนเพื่อประสิทธิภาพของการเรียนการสอนในหลักสูตรตามที่กำหนดไว้ อีกด้วย
|
จุดเด่นของโครงการ : | เป็นงานวิจัย เชิงสร้างสรรค์ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์กะลาและงานไม้ ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ด้วยการบูรณาการองค์ความรู้ ทักษะ เครื่องมือและอุปกรณ์ ของสาขาวิชาการอกแบบสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อศึกษารูปแบบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึกจากกะลาและงานไม้
2. เพื่อสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึกกะลาและงานไม้ จากเอกลักษณ์ ศิลปะและวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์
3. เพื่อส่งเสริมด้านการตลาดบนสื่อออนไลน์ให้กับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากงานกะลาและงานไม้ ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์
|
ขอบเขตของโครงการ : | 1. สร้างสรรค์รูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากงานกะลาและงานไม้ ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์
โดยใช้องค์ความรู้ วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือของสาขาวิชาการออกแบบสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ ในการสร้างสรรค์ต้นแบบผลิตภัณฑ์ เช่น เครื่องตัด CNC ที่ช่วยควบคุมคุณภาพในการผลิต ลดระยะเวลาในการผลิต
2. สร้างสรรค์บรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากงานกะลาและงานไม้ ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้เครื่องปริ้น digital สาขาวิชาการออกแบบ ในการทำต้นแบบบรรจุภัณฑ์
3. ส่งเสริมด้านการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากงานกะลาและงานไม้ ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ Facebook Fan page โดยใช้องค์ความรู้ของสาขาวิชาการออกแบบสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. ได้รูปแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากงานกะลาและงานไม้ ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้องค์ความรู้ของสาขาวิชาการออกแบบสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ
2. ได้รูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากงานกะลาและงานไม้ ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์ โดยใช้องค์ความรู้ของสาขาวิชาการออกแบบสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ
3. ได้ช่องทางการส่งเสริมด้านการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากงานกะลาและงานไม้ ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ Facebook Fan page โดยใช้องค์ความรู้ของสาขาวิชาการออกแบบสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ
4. ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนและเผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ
5. ได้บูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอน
หน่วยงานที่นำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์กะลาและงานไม้ ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
|
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | อัตลักษณ์ชุมชน
อัตลักษณ์ของชุมชนหรือท้องถิ่น เป็นการแสดงลักษณะพิเศษจากสิ่งที่ปรากฏอย่างเด่นชัดของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ซึ่งมีความโดดเด่นเฉพาะด้าน หรือเฉพาะสังคมที่ไม่เหมือนกับที่อื่นประมาณได้จากสิ่งที่มีอยู่ทั้งทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรม งานประเพณี อาหารการกิน การแต่งกาย และภาษาถิ่น
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
คนไทยมีวิถีการดำเนินชีวิตอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ มีความรักความผูกพันในหมู่วงศาคณาญาติใกล้ชิดกับธรรมชาติ คนกับบุคคลอื่น และคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติ ทำให้เกิดความไพบูลย์ในวิถีชีวิต ความคิด ความเชื่อ ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี และพิธีกรรมที่สืบทอดต่อๆ กันมา ภูมิปัญญาท้องถิ่น หมายถึง ทุกสิ่งทุกอย่างที่ชาวบ้านคิดขึ้นเองและนำมาใช้ในการแก้ปัญหาเป็นเทคนิควิธี เป็นองค์ความรู้ของชาวบ้าน ทั้งทางกว้างและทางลึกที่ชาวบ้าน คิดเอง ทำเอง โดยอาศัยศักยภาพที่มีอยู่แก้ปัญหาการดำเนินชีวิตในท้องถิ่นได้อย่างเหมาะสมกับยุคสมัยซึ่งในงานวิจัยนี้ก็คือ ภูมิปัญญาในด้านการทำเครื่องปั้นดินเผาของชาวมอญนั่นเอง โดยที่ภูมิปัญญานั้น จะต้องประกอบไปด้วย
การอนุรักษ์ คือ การบำรุงรักษาสิ่งที่ดีงามไว้ เช่น ประเพณีต่าง ๆ หัตถกรรม และคุณค่าหรือการปฏิบัติตนเพื่อความสัมพันธ์อันดีกับคนและสิ่งแวดล้อม
การฟื้นฟู คือ การรื้อฟื้นสิ่งที่ดีงามที่หายไป เลิกไป หรือกำลังจะเลิก ให้กลับมาเป็นประโยชน์ เช่นการรื้อฟื้นดนตรีไทย
การประยุกต์ คือ การปรับหรือการผสมผสานความรู้เก่ากับความรู้ใหม่เข้าด้วยกัน ให้เหมาะสมกับสมัยใหม่ เช่น การใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาล ประสานกับการรักษาสมัยใหม่ การทำพิธีบวชต้นไม้ เพื่อให้เกิดสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติ รักษาป่ามากยิ่งขึ้น การประยุกต์ประเพณีการทำบุญข้าวเปลือกที่วัด มาเป็นการสร้างธนาคารข้าว เพื่อช่วยเหลือผู้ที่ขาดแคลน
การสร้างใหม่ คือ การค้นคิดใหม่ที่สัมพันธ์กับความรู้ดั้งเดิม เช่น การประดิษฐ์โปงลาง การคิดโครงการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาของชุมชน โดยอาศัยคุณค่าความเอื้ออาทรที่ชาวบ้านเคยมีต่อกันมาหารูปแบบใหม่ เช่น การสร้างธนาคารข้าว ธนาคารโคกระบือ การรวมกลุ่มแม่บ้าน เยาวชน เพื่อทำกิจกรรมกันอย่างมีระบบมากยิ่งขึ้น
การออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก
มีผู้ให้ความหมายและแนวคิดเกี่ยวกับการออกแบบไว้ในมุมมองต่าง ๆ ได้แก่ การออกแบบ คือ การใช้ความคิดในการเลือกใช้วัสดุเพื่อสร้างสรรค์งานศิลปะให้มีหน้าที่ใช้สอยตามความต้องการทั้งในด้านประโยชน์ส่วนตัวและความงามในรูปร่างลักษณะตลอดทั้งรูปทรงในทางศิลปะให้คำจำกัดความการออกแบบว่า คือ การรวมมูลฐานของทางศิลปะทั้งหลายเข้าด้วยกัน ด้วยการเลือกหรือการจัดไม่ว่าจะจัดด้วยวัสดุอะไร ผู้ออกแบบจะต้องนำเอาสิ่งนั้นไปใช้ คือ เส้น รูปร่าง รูปทรง สี ช่องว่าง และความสวยงามของพื้นผิว
การออกแบบ หมายถึง การถ่ายทอดรูปแบบจากความคิดออกมาเป็นผลงานที่ผู้อื่นสามารถมองเห็น รับรู้ หรือสัมผัสได้ เพื่อให้มีความเข้าใจในผลงานร่วมกัน ความสำคัญของการออกแบบมีอยู่หลายประการ กล่าวคือ
1. ในแง่ของการวางแผนการทำงาน งานออกแบบจะช่วยให้การทำงานเป็นไปตามขั้นตอนอย่างเหมาะสมและประหยัดเวลา ดังนั้นอาจถือว่าการออกแบบ คือ การวางแผนการทำงานก็ได้
2. ในแง่ของการนำเสนอผลงาน ผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องมีความเข้าใจตรงกันอย่างชัดเจน ดังนั้นความสำคัญในด้านนี้ คือ เป็นสื่อความหมายเพื่อความเข้าใจระหว่างกัน
3. เป็นสิ่งที่อธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับงาน งานบางประเภทอาจมีรายละเอียดมากมายซับซ้อนผลงานออกแบบจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง และผู้พลเห็นมีความเข้าใจที่ชัดเจนขึ้นหรืออาจกล่าวได้ว่า ผลงานออกแบบ คือ ตัวแทนความคิดของผู้ออกแบบได้ทั้งหมด
4. แบบ จะมีความสำคัญอย่างที่สุด ในกรณีที่นักออกแบบกับผู้สร้างงานหรือผู้ผลิตเป็นคนละคนกัน เช่น สถาปนิกกับช่างก่อสร้าง นักออกแบบกับผู้ผลิตในโรงงาน หรือถ้าจะออกแบบ เป็นสิ่งที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์และผีมือของนักออกแบบ แบบมีอยู่หลายลักษณะดังนี้
4.1 เป็นภาพวาดลายเส้น (Drawing) ภาพระบายสี (Painting) ภาพถ่าย (Pictures) หรือแบบร่าง (Sdetch) แบบที่มีรายละเอียด (Draft) เช่น แบบก่อสร้างภาพพิมพ์ (Printing) เป็นต้นภาพต่างๆ ใช้แสดงรูปลักษณะของงาน หรือแสดงรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับงานที่เป็น 2 มิติ
4.2 เป็นแบบจำลอง (Model) หรือของจริง เป็นแบบอีกประเภทหนึ่งที่ใช้แสดงรายละเอียดของงานได้ชัดเจนกว่าภาพต่าง ๆ เนื่องจากมีลักษณะเป็น 3 มิติ ทำให้สามารถเข้าใจในผลงานได้ดีกว่า นอกจากนี้แบบจำลองบางประเภทยังใช้งานได้เหมือนของจริงอีกด้วยจึงสามารถใช้ในการทดลองและทดสอบการทำงานเพื่อหาข้อบกพร่องได้
บรรจุภัณฑ์
การบรรจุภัณฑ์ (Packaging) หรือการบรรจุหีบห่อนั้น เป็นสิ่งที่มีความสำคัญทั้งในทางเศรษฐกิจการขนส่งและการจำหน่ายสินค้าทุก ประเภท ทั้งนี้เพราะสินค้าแทบทุกชนิดจำเป็นต้องอาศัยการบรรจุหีบห่อแทบทั้งสิ้น ผลิตภัณฑ์มากกว่าร้อยละ 70 ต้องใช้บรรจุภัณฑ์ในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง เพื่อทำหน้าที่ป้องกันผลิตภัณฑ์จากสภาวะสิ่งแวดล้อมภายนอก และรักษาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ไว้ให้นานที่สุด พร้อมทั้งก่อให้เกิดความสะดวกในการนำผลิตภัณฑ์ไว้ให้นานที่สุด พร้อมทั้งก่อให้เกิดความสะดวกในการนำผลิตภัณฑ์ออกใช้ นอกจากนี้บรรจุภัณฑ์ยังมีส่วนในการเพิ่มคุณค่าของผลิตภัณฑ์และเร่งเร้าให้ เกิดความต้องการเพื่อผลทางการตลาดอีกด้วย ด้วยเหตุดังกล่าว บรรจุภัณฑ์จึงได้รับความสำคัญขึ้นมาเป็นอย่างมาก และเป็นองค์ประกอบหลักที่ผู้ผลิตนำมาเป็นเครื่องมือสำหรับการแข่งขัน ซึ่งถ้าตัวสินค้าหรือผลิตภัณฑ์มีฐานะเป็นพระเอก (The Lead) บรรจุภัณฑ์ก็เปรียบเสมือนพระรอง (The Subordinate)ที่นำมาเน้นย้ำการบริการตัวเองเป็นผู้ช่วยขายผลิตภัณฑ์ เพราะสามารถแสดงตัวหรือตราสินค้า (Brand) ต่อผู้ใช้ประจำได้อย่างรวดเร็ว และยังพยายามที่จะจูงใจผู้ที่ไม่เคยใช้ให้เกิดความสนใจอยากที่จะทดลองใช้ เป็นครั้งแรกอีกด้วย ดังสินค้าและบรรจุภัณฑ์จึงเป็นของคู่กันมาตลอด ยิ่งสินค้าผลิตภัณฑ์มีการคิดค้น การผลิต การแข่งขันมากเท่าใด การบรรจุภัณฑ์ก็จะได้รับการพัฒนาขึ้นตามไปมากเท่านั้น จนกระทั่งปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่า บรรจุภัณฑ์มีความสำคัญสำหรับสินค้าและการตลาดอย่างจะขาดเสียซึ่งสิ่งหนึ่งใด มิได้ ทั้งนี้เพราะบรรจุภัณฑ์ได้แสดงหน้าที่และบทบาทในการตลาด (ประชิด ทิณบุตร. 2555) คือ
1. การบรรจุและการคุ้มครองป้องกัน (Containment and Protection) บรรจุภัณฑ์ที่จะประสบความสำเร็จได้นั้นต้องเอื้ออำนวยหน้าที่ต่อการบรรจุและ การคุ้มครอง ซึ่งภาชนะจะต้องได้รับการออกแบบให้สามารถคุ้มครองผลิตภัณฑ์จากความเสียหาย อันเนื่องจากการขนส่ง ป้องกันการเน่าเสีย เก็บรักษาง่ายไม่เสื่อสลายไว ทั้งนี้เพราะผู้บริโภคย่อมไม่ต้องการที่จะได้รับอันตรายจากอาหารที่เป็นพิษ หรือบาดแผล อันเนื่องมาจากบรรจุภัณฑ์ที่ไม่เรียบร้อยสมบูรณ์
2. การบ่งชี้ผลิตภัณฑ์ (Identification) บรรจุภัณฑ์ต้องแสดงให้เห็นด้วยผลิตภัณฑ์ต่อผู้บริโภคทันที โดยการใช้ชื่อการค้า (Trade Name) เครื่องหมายการค้า (Trademark) ของผู้ผลิต แสดงชนิดและลักษณะประเภทของสินค้าเข้ามาเป็นเครื่องบ่งชี้ ให้ผู้บริโภคมองเห็นได้ง่าย ด้วยการใช้รูปร่าง รูปทรง ขนาด ตัวอักษร สีสัน ที่เด่นชัดและแสดงความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์แข่งขันอื่น ๆ เพื่อให้จดจำได้ง่าย
3. การอำนวยความสะดวก (Convenience) ในแง่ของการผลิตและการตลาดนั้น บรรจุภัณฑ์ต้องเอื้ออำนวยความสะดวกต่อการขนส่งและการเก็บรักษาในคลังสินค้า ซึ่งต้องมีความมั่นคงแข็งแรง สามารถที่จะวางเรียงซ้อน (Stacking) กันได้ง่าย ขนาดและรูปร่างจึงต้องมีความพอเหมาะ (Fitness Size) และยังต้องง่ายต่อการนำไปวางเรียงในชั้นวางของขายตามร้านค้าหรือแสดงโชว์ (Easy to Stack and Display) ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการอำนวยความสะดวกต่อผู้บริโภคนั้น เป็นการอำนวยความสะดวกในแง่ของการนำไปใช้สอยตามหน้าที่ของผลิตภัณฑ์แต่ละ ชนิด ซึ่งมีความแตกต่างกันไปตามประเภทการใช้งานและการเก็บรักษา ดังนั้นผู้ออกแบบจึงต้องออกแบบให้มีความเหมาะสมกับพฤติกรรมและสรีระร่างกาย ของผู้บริโภค เช่นมีขนาดที่เหมาะกับมือสะดวกต่อการจับ ถือ หิ้ว มีความปลอดภัยและเหมาะสมกับภาวะของการใช้งาน เป็นต้น
4. การดึงดูดความสนใจผู้บริโภค (Consumer Appeal) การที่บรรจุภัณฑ์จะสามารถดึงดูดความสนใจผู้บริโภคได้ดีนั้น เป็นผลมาจากองค์ประกอบหลาย ๆ อย่าง อาทิเช่น ขนาด รูปร่าง รูปทรง สีสัน วัสดุ ข้อความ ตัวอักษร การแนะนำวิธีใช้ ฯลฯ หรืออาจจะกล่าวได้ว่า สิ่งที่ปรากฏเห็นเป็นบรรจุภัณฑ์มีการดึงดูดความสนใจผู้บริโภคนี้เป็นหน้าที่ ของนักออกแบบที่จะต้องสร้างสรรค์สิ่งประกอบต่าง ๆ นี้ ให้เกิดประสิทธิภาพทางการสื่อสารและให้เกิดผลกระทบทางจิตใจ จิตวิทยาต่อผู้บริโภค หรือตรงกับความต้องการของผู้บริโภค (To Fit the Consumer’s Need)
งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ประภาศรี โพธิ์ทอง (บทคัดย่อ:2552) ได้ศึกษาและพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานผักตบชวา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการของผู้บริโภคในการประยุกต์รูปแบบผลิตภัณฑ์ผักตบชวาจักสานกับวัสดุอื่น เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานผักตบชวากับวัสดุอื่น เพื่อประยุกต์ให้เกิดผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่ และศึกษาความคิดเห็นที่ต่อผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานผักชวาที่ได้รับการพัฒนาแล้ว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ กลุ่มผู้จำหน่ายและบริโภคผลิตภัณฑ์จักสานผักตบชวาในตลาดนัดสวนจตุจักร กรุงเทพมหานคร ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการจากผู้บริโภคผลิตภัณฑ์แนวทางในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์จักสานผักตบชวา ควรประยุกต์ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานผักตบชวากับวัสดุอื่น ได้แก่ หนังแท้ นอกจากนี้ยังชื่นชอบผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานผักตบชวาชนิดย้อมสีหรือเคลือบเงา และเน้นเลือกซื้อที่รูปแบบรูปทรงของผลิตภัณฑ์
จากประเด็นดังกล่าว ในการศึกษาและค้นหารูปแบบของผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากกะลาและงานไม้ที่เหมาะสมนั้น ต้องศึกษาและวิเคราะห์เพื่อวางแผนพัฒนาสินค้าให้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค ทั้งในเรื่องการผสมผสานวัสดุในการผลิต การเลือกใช้สีสันบนผลิตภัณฑ์ และเน้นเรื่องรูปแบบ รูปทรงในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เพื่อตอบสนองความพึงพอใจและประโยชน์การใช้สอยของผู้บริโภค
สมศักดิ์ วชิระพันธุ? (2536:74 -78) ได้ศึกษาวิจัยการถ่ายทอดความรู?หัตถกรรมของท้องถิ่น พบว่าการถ่ายทอดความรู?เกี่ยวกับหัตถกรรมท้องถิ่น มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาจากการ ถ่ายทอดความรู?โดยสถาบันครอบครัว ซึ่งมีระบบการถ่ายทอดความรู้และเนื้อหาที่ครบวงจร ทุกขั้นตอนด้วยวิธีการกล?อมเกลาเรื่อย ๆ ไปทีละเล็กละน้อยตามความสามารถของผู้รับการถ่ายทอด มีลักษณะการถ่ายทอดเป็นรายบุคคล แต่ในสภาวการณ์ปัจจุบัน การถ่ายทอดได?รับการเปลี่ยนแปลงไปในส่วนผู้ถ่ายทอด นอกจากบทบาทของครอบครัว แล?ว ลูกค้า เจ?าของธุรกิจและหน่วยงานภายนอกได้เข้ามามีบทบาท ผู้รับการถ่ายทอด มีทั้งลูกหลาน ญาติคนในหมู?บ้าน และคนต่างหมู่บ้าน โดยการถ่ายทอดเนื้อหาและทักษะเฉพาะคน ใช้วิธีการหลากหลายที่ถ่ายทอด ทั้งนี้สาเหตุที่ทำให้กระบวนการถ่ายทอดคือสภาวะแวดล้อมสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ที่เปลี่ยนแปลงไปนั้นเอง
จากประเด็นดังกล่าว การถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ได้หลังจากการศึกษาวิจัย นับเป็นภารกิจสำคัญยิ่งที่ผู้วิจัยจะได้มีโอกาสได้เผยแพร่ความรู้ที่ได้จากกระบวนการวิจัยแล้ว ยังได้มีโอกาสบูรณาการในการเรียนการสอนกับงานวิจัยอีกด้วย
|
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | ขั้นตอนที่ 1 : การศึกษา สำรวจข้อมูล และเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์กะลา และงานไม้ ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
โดยการเก็บตัวอย่างผลิตภัณฑ์เดิม กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์กะลาและงานไม้ ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ รวมทั้งสัมภาษณ์และรวบรวมข้อมูลหลักฐาน ภาพถ่าย จากปราชญ์ชาวบ้านที่มีองค์ความรู้ ในเรื่องการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากกะลาและงานไม้ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค
ขั้นตอนที่ 2 : การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึกกะลาและงานไม้ จากเอกลักษณ์
ศิลปะและวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์
โดยการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ของที่ระลึกจากกะลาและงานไม้ จากเอกลักษณ์ ศิลปะและวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น จังหวัดนครสวรรค์ ของคณะผู้จัดทำโครงการวิจัย ร่วมกับ กลุ่มชุมชน เป็นการบูรณาการงานวิจัยกับการเรียนการสอนของสาขาวิชาการออกแบบสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ ในรายวิชาต่าง ๆ เช่น รายวิชางานสิ่งพิมพ์ 2 และ รายวิชาโครงการพิเศษ
ขั้นตอนที่ 3 : การส่งเสริมด้านการตลาดบนสื่อออนไลน์ให้กับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากงานกะลาและงานไม้
ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์
โดยสร้างช่องทางการส่งเสริมด้านการตลาดให้กับผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากงานกะลาและงานไม้ ที่เป็นเอกลักษณ์ของจังหวัดนครสวรรค์ ได้แก่ Facebook Fan page โดยใช้องค์ความรู้ของสาขาวิชาการออกแบบสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ
ขั้นตอนที่ 4 : การถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีสู่ชุมชน และเผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการ
โดยการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ให้กับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์กะลาและงานไม้ ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์จำนวน 1 ครั้ง ใช้เวลาในการอบรม 3 วัน หลังจากนั้น สรุปผลการดำเนินงาน นำเสนองาน เผยแพร่ผลงานในวารสารวิชาการต่อไป
|
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | เป็นงานวิจัย เชิงสร้างสรรค์ ในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากศิลปะและวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์กะลาและงานไม้ ตำบลพระนอน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ด้วยการบูรณาการองค์ความรู้ ทักษะ เครื่องมือและอุปกรณ์ ของสาขาวิชาการอกแบบสร้างสรรค์เชิงธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 771 ครั้ง |