รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000534
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Development of Information Systems for Meeting Room and Computer Laboratory Services of Nakhon Sawan Rajabhat University
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การพัฒนาระบบ, ระบบการจอง, การจองห้องประชุม
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :12500
งบประมาณทั้งโครงการ :12,500.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :29 พฤศจิกายน 2564
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :อื่นๆ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นหน่วยงานที่ให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในพันธกิจที่สำคัญ คือ การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการดำเนินการด้านต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพ และลดภาระค่าใช้จ่ายได้ โดยมีกลุ่มงานพัฒนาระบบสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รับผิดชอบภารกิจหลักในการดำเนินการพัฒนาระบบสารสนเทศให้กับนักศึกษา บุคลากร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และชุมชน ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มีภาระหน้าที่ในการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และองค์กรภายนอก ซึ่งมีกลุ่มงานบริการคอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ต ทำหน้าที่ในการบริการห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ทั้งเป็นสถานที่สำหรับการเรียนการสอน การประชุมเชิงปฏิบัติการ การจัดอบรมสัมมนา ทั้งหน่วยงานภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ และหน่วยงานภายนอก โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการขอใช้บริการคือ ผู้ขอใช้ต้องกรอกแบบฟอร์มการขอใช้สถานที่เป็นกระดาษ จากนั้นจึงนำส่งไปยังหน่วยงานให้บริการเพื่อตรวจสอบการใช้ห้องในวันและเวลาดังกล่าว หากว่างจึงขออนุมัติการใช้สถานที่ ในกรณีที่เป็นบุคคลภายในมหาวิทยาลัยต้องยื่นให้ผู้บริหารต้นสังกัดรับรองการขอใช้บริการก่อน เมื่ออนุมัติแล้วเจ้าหน้าที่จึงประสานงานเพื่อแจ้งผลการอนุมัติการจองสถานที่เพื่อยืนยันการเข้าใช้บริการ จากกระบวนการดังกล่าวส่งผลให้ เกิดความล่าช้า ทั้งนี้ในปัจจุบันการจัดเก็บเอกสารนี้จับเก็บไว้ในแฟ้มเอกสารเท่านั้น ทำให้ยากต่อการตรวจสอบรายละเอียดของการจองห้อง ทั้งในด้านของจำนวนผู้เข้าใช้งาน การขอใช้อุปกรณ์ บางกรณีการจองห้องซ้ำกัน การสรุปการจองห้องประชุมแต่ละครั้งต้องค้นหาเอกสารซึ่งบ้างก็สูญหายจึงยากต่อการตรวจสอบข้อมูลเพื่อสรุปผล จากเหตุผลข้างต้น ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาการพัฒนาการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ขึ้น เพื่อจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระเบียบ เพิ่มประสิทธิภาพในการจองห้องประชุม ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ โดยผู้ใช้งานสามารถจอง ตรวจสอบการจองห้องได้ ผู้บริหารสามารถรับรอง อนุมัติ ผู้ดูแลระบบสามารถเพิ่มลบ แก้ไข ข้อมูลของการจองห้อง สามารถจัดการสมาชิก อีกทั้งยังสามารถสรุปรายละเอียดการจองห้อง ทำให้ ระบบงานเกิดความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาปัญหาของให้บริการห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน และเก็บรวบรวมความต้องการระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :1. ขอบเขตด้านพื้นที่วิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. ขอบเขตด้านเนื้อหา การขอใช้และการให้บริการสถานที่ผ่านระบบ การติดตามผลการขอใช้บริการ และการใช้บริการ 3. ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 3.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย บุคคลภายในและภายนอก มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ฅ 3.2 กลุ่มตัวอย่าง ตัวแทนบุคลกรภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่ขอใช้บริการสถานที่ 4. ระยะเวลาในการวิจัย 30 พฤศจิกายน 2563 ถึง 29 พฤศจิกายน 2564
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ทราบปัญหาของให้บริการห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน และความต้องการระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ 2. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์มีระบบสารสนเทศเพื่อการบริการห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ 3. ได้ข้อมูลสารสนเทศที่เป็นประโยชน์สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับการบริหารได้
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การพัฒนาการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ผู้วิจัยได้นำแนวคิดการวิจัยมาประยุกต์ใช้สำหรับการดำเนินการวิจัย โดยมีขั้นตอนดำเนินการวิจัย ดังนี้ 1. การสำรวจความต้องการของระบบและวิเคราะห์ระบบ ในการให้บริการห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์เดิมนั้น มีลำดับการทำงานดังนี้ - ติดต่อประสาน เพื่อตรวจสอบห้องว่าง - กรอกแบบฟอร์มการจองห้อง และยื่นเจ้าหน้าที่ (กรณีนักศึกษาต้องมีอาจารย์ หรือหัวหน้าสาขารับรอง) - เสนอต่อ คณบดีหรือผู้อำนวยการสำนักฯ พิจารณา - เจ้าหน้าที่แจ้งผลการจองกลับไปยังผู้จอง ในการให้บริการ มีลำดับการทำงานดังนี้ - ตรวจสอบวันและเวลาการใช้ห้อง - ผู้ที่เกี่ยวข้องดำเนินการให้บริการ - บันทึกข้อมูลก่อนใช้ หลังใช้ และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง จากการเก็บข้อมูลการจองและการใช้ห้อง พบว่า การจองในรูปแบบของเอกสารนั้นมีความล่าช้าในการตรวจสอบห้องว่าง การเสนอต่อผู้บริหารเพื่อพิจารณา การแจ้งผลการพิจารณา รวมถึงอาจเกิดการสูญหายของเอกสาร ข้อมูลอาจมีความผิดพลาด ทำให้เกิดการจองห้องซ้ำได้ จากปัญหาเบื้องต้นดังกล่าวผู้พัฒนาจะต้องวิเคราะห์การใช้งานระบบ รวมถึงศักยภาพในด้านต่าง ๆ ของระบบที่พัฒนา จึงเลือกพัฒนาระบบดังกล่าวในรูปแบบ Web Application เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน ระบบเก็บข้อมูลเอกสารในรูปแบบฐานข้อมูล MySQL 2. การพัฒนาระบบ การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในครั้งนี้ ผู้วิจัย ได้นำแนวคิดการวิจัยเชิงวิจัยและพัฒนานวัตกรรมทางการศึกษา 7 ขั้นตอน ของชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2556) มาประยุกต์ใช้สำหรับการดำเนินการวิจัย โดยมีขั้นตอนดำเนินการวิจัย ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาองค์ความรู้หรือเนื้อหาสาระเกี่ยวกับต้นแบบชิ้นงาน ศึกษาหลักการ แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับระบบ การออกแบบระบบ การพัฒนาระบบสารสนเทศ ขั้นตอนการประสานงานการขอใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และห้องประชุม ขั้นตอนการรับรองขอใช้สถานที่ของนักศึกษา อาจารย์ บุคลการสายสนับสนุน และบุคคลภายนอก ขั้นตอนการจัดทำใบเสนอราคาค่าเช่าห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และห้องประชุม และแบบฟอร์มการบันทึกการขอใช้ บันทึกก่อนใช้และบันทึกหลังใช้ เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการกำหนดองค์ประกอบ และขั้นตอนของระบบสารสนเทศ ศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับความต้องการ และบทบาทของผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ เพื่อนำมาใช้ เป็นข้อมูลพื้นฐานในการออกแบบขั้นตอนการทำงานของระบบสารสนเทศและศึกษาข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการ ออกแบบระบบสารสนเทศ และขั้นตอนการพัฒนาระบบสารสนเทศ เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการออกแบบและ พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ขั้นตอนที่ 2 สำรวจและประเมินความต้องการต้นแบบชิ้นงาน ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความคิดเห็น ขั้นตอนและความต้องการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการกำหนดกรอบแนวคิด ต้นแบบระบบจองห้อง ประชากรที่ใช้ในการศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการใช้ระบบ ประกอบด้วย ผู้บริหาร จำนวน 4 คน บุคลากร จำนวน 40 คน รวม 44 คน ที่ปฏิบัติงานอยู่ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการใช้งานระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ นำข้อมูลจากแบบสอบถามมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สำหรับ การแจงค่าความถี่ของความคิดเห็น และเสนอข้อมูลเป็นตารางประกอบคำอธิบาย เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลที่จำเป็น สำหรับการกำหนด (ร่าง) กรอบแนวคิดต้นแบบของระบบต่อไป ขั้นตอนที่ 3 พัฒนากรอบแนวคิดต้นแบบชิ้นงาน กรอบแนวคิดในการพัฒนานวัตกรรมสำหรับการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ประยุกต์ใช้แนวคิดเกี่ยวกับระบบ โดยปรับปรุงจากทฤษฎีระบบทั่วไป (General System Theory) ของ Von Bertalanffy (1968); Bittel (1980); Smith (1982); Schoderbek et al (1990) ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 5ประการ คือ 1) ปัจจัย นำเข้า (Inputs) 2) กระบวนการ (Process) 3) ผลผลิต (Outputs) 4) ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback) 5) สภาพแวดล้อม (Environment) สร้าง (ร่าง) กรอบแนวคิดต้นแบบระบบโดยการนำข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูล วิเคราะห์ และสังเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานที่ เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และขั้นตอนที่ 2 ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา ความคิดเห็น และ สอบถามความต้องการใช้งานระบบสารสนเทศ กับผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากรและเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ได้มาซึ่ง ข้อมูลที่จำเป็นสำหรับการสร้าง (ร่าง) กรอบแนวคิดต้นแบบระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ขั้นตอนที่ 4 สอบถามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้ปฏิบัติงานธุรการ โดยใช้วิธีการระดมความคิดเป็นกลุ่ม (Focus Group) เพื่อตรวจสอบ (ร่าง) กรอบแนวคิดต้นแบบระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ที่พัฒนาขึ้น โดยการเชิญเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านบริการห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 6 คน ที่ ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) และได้คัดเลือกผู้บริหารหน่วยงาน จำนวน 2 คน ขั้นตอนที่ 5 พัฒนา (ร่าง) ต้นแบบชิ้นงาน ดำเนินการพัฒนาระบบจองห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ตามกรอบแนวคิดต้นแบบการขอใช้สถานที่ การรับรอง การพิจารณาอนุมัติ การแจ้งเตือนผล ตามลำดับขั้นตอน ซึ่งผ่านการพิจารณาและรับรองจากการระดมความคิดเป็นกลุ่ม ขั้นตอนที่ 6 ทดสอบประสิทธิภาพและรับรองต้นแบบชิ้นงาน ทดสอบประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ โดยให้ผู้เชี่ยวชาญประเมินความเหมาะสม ของระบบโดยอาศัยผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ ด้านกระบวนการดำเนินงานงานสารบรรณ และด้านระบบสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ ทำการทดสอบประสิทธิภาพด้านกระบวนการและผลลัพธ์ ของระบบ ดำเนินการแก้ไข ปรับปรุงระบบที่พัฒนาขึ้นตามคำแนะนำ และเสนอต่อผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งเพื่อรับรองระบบ นำระบบสารสนเทศเพื่อการให้บริการห้องประชุมและห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ที่ผ่านการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญแล้ว ไปใช้จริงกับผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร และเจ้าหน้าที่ นักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ บุคคลจากหน่วยงานภายนอก ขั้นตอนที่ 7 ปรับปรุงและเขียนรายงาน นำข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญ และผู้ใช้งานระบบสารสนเทศ มาปรับปรุง แก้ไข สรุปผล และ อภิปรายผลการดำเนินการวิจัยให้มีความสมบูรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :262 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายมนัสชนก กาละภักดี บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด