รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000533
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในจังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The development of distribution channels for community products using e-Commerce in Nakhon sawan Province.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ผลิตภัณฑ์ชุมชน, ช่องทางการจัดจำหน่าย, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สถาบันวิจัยและพัฒนา > กลุ่มงานส่งเสริมและพัฒนางานวิจัย
ลักษณะโครงการวิจัย :แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :-
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :50000
งบประมาณทั้งโครงการ :50,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :29 พฤศจิกายน 2564
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : การตลาดดิจิทัลในประเทศไทยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยภาคธุรกิจได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศ และเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการผลิตและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการต่าง ๆ เพื่อให้ภาคธุรกิจของประเทศสามารถแข่งขันกับชาติต่าง ๆ ได้ อีกทั้งปัจจุบันนี้ประเทศไทยให้ความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนานวัตกรรมมาขับเคลื่อนการพัฒนาในทุกมิติ เพื่อยกระดับศักยภาพของประเทศโดยจะมุ่งเน้นการนำความคิด สร้างสรรค์ และการพัฒนานวัตกรรม ทำให้เกิดสิ่งใหม่ที่มีมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ ทั้งในเรื่องกระบวนการผลิตและรูปแบบผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ ๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, 2560) จังหวัดนครสวรรค์เป็นจังหวัดหนึ่งที่มีกลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชนหรือผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนจำนวนมาก และหลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นประเภท ของตกแต่ง เครื่องดื่ม อาหาร เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกาย สินค้าแปรรูป สมุนไพรที่ไม่ใช่อาหาร ซึ่งจากการศึกษาและการสำรวจเบื้องต้นพบว่า กลุ่มผู้ผลิตสินค้าชุมชนยังขาดศักยภาพด้านการตลาด โดยไม่สามารถเพิ่มลูกค้ากลุ่มใหม่ได้ ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นลูกค้ากลุ่มเดิมในพื้นที่ ผลิตภัณฑ์ชุมชนมีคู่แข่งที่ผลิตสินค้าแบบเดียวกันในประเทศจำนวนมาก ในด้านของผู้ซื้อ พบว่า ไม่สามารถค้นหารายละเอียดผลิตภัณฑ์ตำแหน่งที่ตั้งของชุมชน ช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของชุมชนที่ชัดเจน ทำให้กระบวนการในการซื้อขายสินค้าไม่เชื่อมโยงและสัมพันธ์กัน ทำให้ผลกระทบในการจัดจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ ดังนั้นจึงจำเป็นที่ต้องพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายของสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อเป็นการสร้างโอกาสทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ชุมชนและสร้างมูลค่าเพิ่มในการจัดจำหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ของชุมชนไปยังผู้บริโภคเพื่อเพิ่มรายได้และกระจายสินค้าของชุมชนให้ได้มากยิ่งขึ้น จากปัญหาดังกล่าวข้างต้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน ให้สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาขุ้นโดยชุมชนและพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสมเพื่อให้ชุมชนสามารถกระจายสินค้าของชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง คณะผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการพัฒนาช่องทางการจัดหน่ายสินค้าผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อให้ชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์สามารถการกระจายสินค้าของชุมชนสู่ตลาดและผู้บริโภค รวมถึงการนำระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ไปใช้ในการส่งเสริมเศรษฐกิจของชุมชนให้มีความเข้มแข็งและอย่างยั่งยืนต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ : 1. เพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 2. เพื่อออกแบบและพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อประเมินความพึงพอใจในการใช้งานช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :การวิจัยครั้งนี้ มีขอบเขตของการวิจัยดังนี้ 1. ขอบเขตด้านประชากร 1.1 ประชากร ได้แก่ ผู้ใช้งานช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์และผู้ที่สนใจ 1.2 กลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ได้แก่ ผู้ใช้งานช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์และผู้ที่สนใจ ซึ่งไม่สามารถระบุจำนวนได้ โดยการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยการใช้โปรแกรมจีพาวเวอร์ ซึ่งเป็นโปรแกรมที่สร้างจากสูตรของโคเฮน (Cohen, 1997) ผ่านการตรวจสอบและรับรองคุณภาพจากนักวิจัยจำนวนมาก (นงลักษณ์ วิรัชชัย, 2555) ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง 2. ขอบเขตด้านการประเมินประสิทธิภาพ 2.1 ตัวแปรอิสระ ประกอบด้วย เพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพ 2.2 ตัวแปรตาม ประกอบด้วย การดําเนินงานตามแนวทางและรูปแบบการทํางานที่กำหนด ด้านความต้องการ ด้านฟังก์ชั่นการทำงาน ด้านความง่ายต่อการใช้งาน ด้านประโยชน์ของต่อการปฏิบัติงาน ด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และข้อเสนอแนะ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : 1. ทราบถึงแนวทางการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 2. ได้ช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 3. ทราบถึงความพึงพอใจในการใช้งานช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการวางแผนขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย ดังนี้ 1. ศึกษาหลักการ แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์การตลาดดิจิทัล การจัดการกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชน โครงสร้าง ความสัมพันธ์ของข้อมูล และรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์จากแหล่งข้อมูล เช่น ห้องสมุดเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ 2.กำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง โดยสำรวจจำนวนกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในจังหวัดนครสวรรค์ และผู้สนใจทั่วไป จากนั้นนำมาใช้สูตรคำนวณเพื่อกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง และคัดเลือกกลุ่มตัวอย่าง 3. สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสังเกต การสัมภาษณ์ และการศึกษาเอกสาร 4. ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลแนวทางพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 5. ดำเนินการออกแบบและพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 6. นำช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ไปทดลองใช้กับกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชนในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 7. ดำเนินการประเมินความพึงพอใจในการใช้งานช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชุมชนด้วยพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ 8. สรุปผลการดำเนินงาน และเผยแพร่ผลงานวิจัยในระดับชาติหรือนานาชาติ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :356 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายภูริพัศ เหมือนทอง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย40
นางอธิกัญญ์ แพรต่วน บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30
นายสุเมธ พิลึก บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด