รหัสโครงการ : | R000000526 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การจัดการความรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Knowledge management of history, art, culture and local wisdom of ethnic group based on the concept of stem education in Nakhon Sawan |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | กลุ่มชาติพันธุ์, การจัดการความรู้, สะเต็มศึกษา |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาหลักสูตรและการสอน |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 0 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 520,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ตุลาคม 2563 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 กันยายน 2564 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขาการศึกษา |
กลุ่มวิชาการ : | พื้นฐานการศึกษา |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ภูมิปัญญาจัดเป็นมรดกทางสังคม เป็นเรื่องราวขององค์ความรู้ เป็นสิ่งที่สร้างสรรค์และสั่งสมของมนุษย์ในชุมชน ที่มีความเป็นมา มีความงดงามในเชิงศิลปะจนเป็นวัฒนาธรรมที่มีความหลากหลาย สืบทอดจากรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง ซึ่งภูมิปัญญาท้องถิ่นนับเป็นขุมทรัพย์แห่งความรู้ที่อยู่คู่กับท้องถิ่นต่าง ๆ มายาวนาน เป็นแหล่งเรียนรู้ให้คนรุ่นหลังได้นำมาประยุกต์ใช้ ปฏิบัติตามและสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมให้อยู่คู่ท้องถิ่น ซึ่งแต่ละท้องถิ่นก็มีเอกลักษณ์ในเรื่องภูมิปัญญาที่แตกต่างกันออกไป เช่น ในจังหวัดนครสวรรค์มีภูมิปัญญาท้องถิ่นเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ในจังหวัดเพชรบูรณ์มีภูมิปัญญาท้องถิ่นการทอผ้าลายขิด เป็นต้น ซึ่งถ้าพูดถึงในจังหวัดนครสวรรค์สิ่งที่น่าสนใจเรียนรู้ คือ การเข้าไปเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ทั้ง 5 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ลาวโซ่ง ชาวจีน ชาวมุสลิม ชาวมอญ ญวน (นครสวรรค์ศึกษา, 2562) ซึ่ง 5 กลุ่มชาติพันธุ์ มีวิถีชีวิตและเอกลักษณ์ที่ควรค่าแก่การเรียนรู้และนำมาประยกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่อไป
การศึกษาภูมิปัญญากลุ่มชาติพันธุ์เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ที่คนรุ่นก่อนได้คิดค้นและสืบทอดไว้หรืออาจยังคงถูกใช้อยู่ในปัจจุบัน อันเป็นทุนทางสังคม ทุนทางปัญญา โดยกระบวนการจัดการความรู้ เพื่อสร้างคุณค่าทางสังคม สร้างความเข้าใจในวิถีการดำเนินชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งในจังหวัดนครสวรรค์ มีความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธ์ ได้แก่ ชาติพันธุ์จีน ลาว (ไทดำ) มอญ มุสลิม ญวน มีภูมิหลังและลักษณะทางวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป บางกลุ่มตั้งถิ่นฐานในเมืองหรือชนบทแต่บางกลุ่มอยู่ทั้งในเมืองและชนบท |
จุดเด่นของโครงการ : | การศึกษาเรียนรู้จากประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนาธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ได้สืบทอดมาเป็นเวลานาน จะเป็นมรดก อันสำคัญของแต่ละกลุ่มชนชาติ ทำให้ได้เห็นแนวทางของการดำเนินชีวิตของแต่ละชุมชน กลุ่มชน ก่อให้เกิดการพัฒนาที่ต่อเนื่อง ไม่สูญหา และปรับประยุกต์ใช้ให้เข้ากับสภาพสังคมในยุคปัจจุบัน ปรับปรุงผลิตภัณฑ์ด้วยกระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมแนวคิดสะเต็มศึกษา และกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา ซึ่งในงานวิจัยนี้ใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม (Engineering design processed) ที่สามารถนำไปเป็นแนวทางในการพัฒนาปรับปรุงผลิตภัณฑ์อื่น ๆ นักศึกษาที่ได้เรียนรู้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรมและสามารถนำไปเป็นแนวทางการบูรณาการวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีในการจัดการเรียนรู้ต่อไป รวมถึงผู้ที่สนใจที่ได้เข้าร่วมเรียนรู้ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ครั้งนี้จะได้เห็นแนวทางในการสร้างคุณค่าให้กับผลิตภัณฑ์ของชุมชนตนเอง และสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์เดิมที่มีอยู่ ส่งผลไปถึงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ในเขตจังหวัดนครสวรรค์ และผลจากการวิจัยยังเป็นส่วนหนึ่งในการร่วมสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ให้กับชนรุ่นหลังต่อไป และสิ่งที่ได้นอกเหนือจากผลงานแล้วทั้งผู้วิจัยและชุมชนกับเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกัน เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้อย่างแท้จริง มีการแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็น จากสิ่งที่ไม่รู้กลายเป็นสิ่งที่ได้เรียนรู้ เกิดความร่วมมือในเรื่องของการสร้างแหล่งเรียนรู้ให้กับสถานศึกษาในทุกระดับ
กลไกการนำไปใช้ประโยชน์เมื่อเสร็จสิ้นโครงการวิจัย คือ นักศึกษานำกระบวนการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการสะเต็มศึกษา นำไปออกแบบกิจกรรมการจัดการเรียนการสอนได้ในทุกระดับโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรรม คนในชุมชนและผู้ที่สนใจสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้ไปเป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เพื่อสร้างคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่ม และได้ช่วยกันรักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ให้คงอยู่ต่อไป |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 3.1 เพื่อศึกษา สังเคราะห์ ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ ในจังหวัดนครสวรรค์
3.2 เพื่อจัดการความรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์
3.3 เพื่อนำเสนอผลผลิตการจัดการความรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ |
ขอบเขตของโครงการ : | ขอบเขตด้านเนื้อหา คือ การพัฒนากระบวนจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา แล้วพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบซึ่งเป็นผลผลิตจากความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตด้านประชากร ประชากรที่ใช้ในครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มที่ 1 บุคคลในชุมชน องค์กรชุมชน เครือข่ายชุมชน ในเขตอำเภอเมือง อำเภอโกรกพระ อำเภอชุมแสงและอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ และ กลุ่มที่ 2 นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ บุคลากรทางการศึกษา
ขอบเขตด้านแหล่งข้อมูล แหล่งข้อมูล มี 2 แหล่ง ได้แก่
แหล่งที่ 1 ข้อมูลปฐมภูมิ ได้แก่ เป็นการศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ สิ่งพิมพ์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อมูลระดับชุมชนเพื่อให้ได้แนวคิดทฤษฎีที่สามารถนำไปใช้ในการวางแนวทางในการศึกษาพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและการอภิปรายอ้างอิง
แหล่งที่ 2 ข้อมูลทุติยภูมิ ได้แก่ เป็นข้อมูลที่ศึกษาได้จากการเก็บข้อมูลโดยตรงจากประชากรที่ศึกษา และเป็นการศึกษารายละเอียดต่อเนื่องจากข้อมูลทุติยภูมิ และข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการออกแบบพัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้ชุมชนเป็นฐานเพื่อส่งเสริมสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ในจังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตด้านพื้นที่ ได้แก่ ชุมชนและโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง อำเภอโกรกพระ อำเภอชุมแสงและอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | - ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์ และองค์ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวคิดสะเต็มศึกษาของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์
- การพัฒนากำลังคน ได้แก่ นักศึกษาและผู้ที่สนใจในการนำแนวคิดสะเต็มศึกษามาใช้ในการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มชาติพันธุ์
- แบบผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม (Engineering design processed) ของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์
- ผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากภูมิปัญญาท้องถิ่นตามแนวคิดสะเต็มศึกษาโดยใช้กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม (Engineering design processed) ของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์
- เอกสารเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ได้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย การศึกษาค้นคว้า เน้นการเก็บข้อมูลจากการลงพื้นที่ กับกลุ่มชาติพันธุ์ จำนวน 5 กลุ่ม เพื่อสำรวจ สัมภาษณ์เชิงลึก โดยนำแนวคิดสะเต็มศึกษามาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล สู่การจัดการองค์ความรู้ ถ่ายทอดองค์ความรู้ต่อผู้สนใจ และนักศึกษา พัฒนาออกแบบต่อยอดแนวคิด ซึงประกอบด้วยวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ตามประเด็น ดังนี้
1. กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์
- ลาวโซ่ง - ชาวจีน -ชาวมุสลิม - ชาวญวณ - ชาวมอญ
2. แนวคิดสะเต็มศึกษา
3. การจัดการความรู้ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
4. กระบวนการออกแบบเชิงวิศวกรรม (Engineering design processed) |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | ผู้วิจัยมุ่งศึกษาประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยมีข้อมูลพื้นฐานดังนี้
1 กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์
กลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์ที่ผู้วิจัยสนใจศึกษามีอยู่ทั้งหมด 5 กลุ่ม ได้แก่ ลาวโซ่ง ชาวจีน ชาวมุสลิม ชาวญวณ และชาวมวญ ซึ่งมีที่มาและมีวัฒนธรรมที่แตกต่างกันออกไป
2. แนวคิดและลักษณะของสะเต็มศึกษา
สะเต็มศึกษา คือแนวการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการความรู้ ใน 4 สหวิทยาการ ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี และคณิตศาสตร์ โดยแน้นการนำความรู้ไปใช้ในการในการแก้ปัญหาในชีวิตจริง ร่วมทั้งการพัฒนากระบวนการหรือผลผลิตใหม่ ที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต การจัดการความรู้แบบสะเต็มศึกษาเป็นการจัดการความรู้ที่สร้างความเข้าใจทฤษฎี ผ่านการปฏิบัติให้เห็นจริงควบคู่กับการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อการค้นพบใหม่ ๆ ด้วยกรอบการวิจัย ดังนี้
ข้อมูลนำเข้า (Input) กระบวนการ (Process) ผลลัพธ์ที่ได้ (Output)
การศึกษาประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์ การจัดการความรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์ ผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา โดยวิเคราะห์หาข้อสรุปเกี่ยวกับองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบ 1. องค์ความรู้เกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา
2. ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยประยุกต์ (Applied Research) มีวิธีดำเนินการวิจัยโดยวิเคราะห์จากเอกสารที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับการสำรวจ สัมภาษณ์ ทดลอง และจัดเวทีชาวบ้าน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดสะเต็มศึกษา แล้วพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบซึ่งเป็นผลผลิตจากความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดนครสวรรค์ มีกิจกรรมของการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 การศึกษาสำรวจเพื่อเก็บข้อมูลพื้นฐานภูมิปัญญาของกลุ่มชาติพันธุ์ ประกอบด้วย 5 กลุ่มชาติพันธุ์ ได้แก่ ลาวโซ่ง ชาวจีน ชาวมุสลิม ชาวมอบ และชาวญวน ในเขตจังหวัดนครสวรรค์
ระยะที่ 2 การจัดการความรู้และพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ ของ 5 กลุ่มชาติพันธ์ ด้านประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญา สู่การความคิดออกแบบต่อยอดเพื่อผลิตภัณฑ์และประยุกต์ให้ได้จริง
ระยะที่ 3 การเผยแพร่องค์ความรู้ เป็นการจัดการความรู้โดยการจัดนิทรรศการ การจัดศูนย์การเรียนรู้
พื้นที่ในการเก็บข้อมูล ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ จังหวัดนครสวรรค์ และองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตอำเภอเมืองนครสวรรค์ อำเภอโกรกพระ อำเภอชุมแสงและอำเภอท่าตะโก |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | การวิจัย เรื่อง การจัดการความรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษา สังเคราะห์ ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ ในจังหวัดนครสวรรค์ 2) เพื่อจัดการความรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ 3) เพื่อนำเสนอผลผลิตการจัดการความรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ ตามแนวคิดสะเต็มศึกษาในจังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มเป้าหมายการวิจัย ประกอบด้วย องค์กรชุมชน ตัวแทนชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ครู นักเรียน ในพื้นที่ชุมชนและโรงเรียนในเขตอำเภอเมือง อำเภอโกรกพระ อำเภอชุมแสงและอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ เป็นการวิจัยประยุกต์ (Applied research) โดยใช้วิธีการศึกษาวิเคราะห์จากเอกสารที่เกี่ยวข้องควบคู่ไปกับการสำรวจ สัมภาษณ์ ทดลอง และจัดเวทีชาวบ้าน เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ศิลปะ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของ |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 322 ครั้ง |