รหัสโครงการ : | R000000525 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การวิเคราะห์เตาความร้อนสำหรับกลุ่มเกษตรปลอดภัย |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | วิเคราะห์, เตา,ความร้อน,จำลอง |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 25000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 25,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 01 ตุลาคม 2563 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 30 กันยายน 2564 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
กลุ่มวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | แปรรูปน้ำอ้อยของกลุ่มแปรรูปบ้านคลองห้วยหวายได้ใช้ความร้อนในกระบวนการแปรรูปผ่านกระทะที่บรรจุน้ำอ้อยคั้นสดเคี่ยวจนเหลือกากน้ำตาลอ้อย ในกระบวนการที่กล่าวมานี้แหล่งความร้อนคือฟืนไม้ที่บรรจุภายในเตา ซึ่งจากการลงพื้นที่สำรวจเบื้องต้นและจากการการค้นคว้าพบว่าพลังงานความร้อนเกิดการถ่ายทอดสู่สิ่งแวดล้อมผ่านทางผนังเตา ช่องเปิด และทางปล่องควันเป็นจำนวนหนึ่ง จากปัจจัยที่กล่าวข้างต้นคณะวิจัยจึงมีความเห็นร่วมกันว่าจะต้องดำเนินการลดพลังงานความร้อนสูญเสียที่เกิดขึ้น โดยมีขั้นตอนกระบวนการเริ่มจากการตรวจค่าความร้อนที่เกิดขึ้น ณ สถานที่แปรรูป นำข้อมูลที่ได้มาจำลองวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์เพื่อสร้างแบบเตาที่สามารถลดความร้อนสูญเสียได้ นำค่าที่ได้จากการวิเคราะห์เผยแพร่แก่กลุ่มแปรรูปบ้านคลองห้วยหวายและกลุ่มเกษตรปลอดภัย |
จุดเด่นของโครงการ : | ใช้องค์ความร้อนด้านการจำลองความร้อนช่วยในการลดพลังงงานสูญเสียให้กับชุมชน |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | เพื่อวิเคราะห์เตาเคี่ยวน้ำอ้อยด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับพื้นที่เกษตรปลอดภัยกลุ่มแปรรูปอ้อยบ้านคลองห้วยหวาย |
ขอบเขตของโครงการ : | กำหนดเชื้อเพลิงที่ใช้ คือ ฟืนไม้ ปริมาณน้ำอ้อยคั้นสด ปริมาตร 1 กระทะปกติใช้งาน |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | ได้นำองค์ความรู้ไปสู่ชุมชนจนเกิดการตระหนักใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมช่วยในการทำกิจกรรมเชิงพานิชย์ต่อไป |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | สุชาวดี จีนสุทธิ์ กองพัน อารีรักษ์ กองพล อารีรักษ์ และอภิชาต บุญทาวัน (2563) ได้นำเสนอการวิจัยเรื่อง แบบจำลองพลวัตระบบควบคุมความร้อนสำหรับเครื่องผลิตเชื้อเพลิงเอทานอลขนาดเล็ก ได้นำเสนอการหาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของระบบควบคุมความร้อนสำหรับเครื่องผลิตเชื้อเพลิงเอทานอลขนาดเล็ก โดยระบบมีขดลวดความร้อนเป็นแหล่งให้ความร้อนในการน้ำหมักในกระบวนการกลั่นเอทานอล และได้จำลองผ่าน SimPowerSystem ผ่านโปรแกรม MATLAB
อภินันต์ นามเขต ทำนุรัฐ ซ้ายขวา และ อำไพศักดิ์ ทีบุญมา (2561) ทำการวิจัยเรื่อง การปรับปรุงสมรรถนะของเตาแก๊สหุงต้มเชื้อเพลิงแก๊สชีวภาพ ได้นำเสนอการปรับปรุงหัวฉีกแก๊สเชื้อเพลิง ท่อผสมและหัวเตา เพื่อเพิ่มสมรรถนะ โดยดำเนินการปรับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหัวฉีดแก๊สเชื้อเพลิงขนาด 0.8 ถึง 1.3 มิลลิเมตร และขนาดคอคอดตั้งแต่ขนาด 17 ถึง 24 มิลลิเมตร ตามลำดับ จากการทดสอบตามมาตรฐาน DIN EN 203-2 พบว่า ขนาดที่ส่งผลต่อสมรรถนะดีที่สูงสำหรับเส้นผ่านศูนย์กลางของหัวฉีดขนาด 1.2 มิลลิเมตรและคอคอดขนาด 20 มิลลิเมตร จากการปรับปรุงที่ได้นำเสนอสามารถช่วยลดอัตราการใช้เชื้เพลิงได้และสามารถมลพิษที่เกิดขึ้น
ยุทธนา ศรีอุดม และ เอกรัฐ กระจ่างธิมาพร (2554) ได้ทำการวิจัยเรื่อง การปรับปรุงประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเตาต้มเกลือ กรณีศึกษา อำเภอบ่อเกลือ จังหวัดน่าน วัตถุของงานวิจัยเพื่อหาแนวทางเบื้องต้นในการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของเตาต้มเกลือ โดยลดความร้อนสูญเสียผ่านผนังเตาด้วยการใช้แกลบดำเป็นฉนวนป้องกันการสูญเสียความร้อน จากนั้นได้ใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบประสิทธิภาพระหว่างเตาเดิมที่ก่อสร้างด้วยดินเหนียว และเตาที่สร้างด้วยอิฐมอญหุ้มฉนวนด้วยดินเหนียวผสมแกลบ จากการทดสอบพบว่า เตาที่ปรับปรุงมีประสิทธิภาพเชิงความร้อนเพิ่มขึ้นจาก ร้อยละ 0.096 เป็นร้อยละ 0.136 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.04 จากใช้เชื้อเพลิงต่อรอบการต้มเกลือลดลง 23 นาที อัตราการใช้เชื้อเพลิงลดลงจาก 257 กิโลกรัม/วัน เป็น 11 กิโลกรัม/วัน และจากการประเมินด้านเศรษฐศาสตร์พบว่า มีระยะเวลาคืนทุน 91 วัน
นฤมล ภานำภา ประกิต วงศ์ศรีวัฒนกุล และสิริลักษณ์ ตาตะยานนท์ (2547) คณะผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาค้นคว้าเพื่อการพัฒนาเตาหุงต้มเพื่อใช้งานกับเชื้อเพลิงอัดแท่ง เพื่อให้ได้การใช้พลังงานประหยัดและมีประสิทธิภาพ โดยได้ดำเนินการสำรวจการเชื้อเพลิงหุงต้มและความต้องการการใช้เชื้อเพลิงอัดแท่งในพื้นที่ 13 จังหวัด จากนั้นทำการออกแบบเตาหุงต้มที่ให้ประสิทธิภาพพลังงานความร้อนสูงและสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงน้อย จากการทดสอบในห้องทดลองพบว่าเตาเบอร์ 3 (เป็นหมายเลขที่คณะผู้วิจัยจัดทำ) ให้ผลการทดสอบดีที่สุด
|
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | การวิเคราะห์เตาเคี่ยวน้ำอ้อยโดยใช้วิธีการวิเคราะห์ตามหลักการทางวิศวกรรมประกอบด้วย การวิเคราะห์โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อหาลักษณะการเคลื่อนที่ของอากาศ ความร้อน และการไหลของไอเสียที่จะเกิดขึ้นภายในเตาเคี่ยวน้ำอ้อย |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | สถานที่ดำเนินงานประกอบด้วย 1.)กลุ่มแปรรูปน้ำอ้อยบ้านคลองห้วยหวาย ที่ตั้ง 3 หมู่ที่ 21 ตำบลแม่เปิน อำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ 2.)มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ขั้นตอนการดำเนินงาน
1. ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นในการแปรรูป
2. ดำเนินการตรวจวัดข้อมูลด้านพลังงานความร้อน ความเร็วลม อุณหภูมิภายในเตา อุณหภูมิผิวภายนอกเตา อุณหภูมิผิวภายในเตา อุณหภูมิปล่องควันไฟ
3. ดำเนินการนำข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดขณะแปรรูปจำลองวิเคราะห์ผ่านคอมพิวเตอร์ วิเคราะห์พลังงานก่อนและหลังการปรับปรุง
4. ดำเนินการเผยแพร่ความรู้สู่กลุ่มเกษตรปลอดภัย
|
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | เพื่อนำองค์ความรู้ด้านการวิเคราะห์ด้วยคอมพิวเตอร์ช่วยในการลดตความสูญเสียพลังงานในการแปรรูปของกลุ่มแปรรูปบ้านคลองห้วยหวาย ส่งผลให้สามารถลดการใชัพลังงานความร้อน(เชื้อเพลิง)ในกระบวนการผลิตลงได้ |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 595 ครั้ง |