รหัสโครงการ : | R000000522 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การแปรรูปไหมข้าวโพดด้วยกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืน |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Corn silk processing by biotechnological process for sustainable utilization |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | - |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยา และเทคโนโลยีชีวภาพ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 70000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 70,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 30 พฤศจิกายน 2563 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 29 พฤศจิกายน 2564 |
ประเภทของโครงการ : | การวิจัยและพัฒนา |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและอุตสาหกรรม |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ไหมข้าวโพดจัดเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งที่มีการใช้ประโยชน์อย่างแพร่หลายมาช้านานในประเทศจีน ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศโซนยุโรป เพื่อใช้เป็นยารักษาโรค ในรูปของเครื่องดื่มชาและอาหารเสริม (Hasanudin, Hashim and Mustafa, 2012) จากการศึกษาและรายงานวิจัยซึ่งทำการสกัดไหมข้าวโพดโดยการใช้ตัวทำละลายต่าง ๆ เช่น น้ำ เอทานอล เอทิลอะซิเทต เป็นต้น พบว่าไหมข้าวโพดประกอบด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น ฟลาโวนอยด์ อัลคาลอยด์ กรดแกมมา-อะมิโนบิวทิริก และแทนนิน เป็นต้น ที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระช่วยในการป้องกันและรักษาโรคต่าง ๆ ได้ (Hyung-Joo and Young-Geol, 2017; Hasanudin, Hashim and Mustafa, 2012; Bhaigyaba, Kirithika, Ramya and Usha, 2011; Ya-nan, Xiao-xiang, Xi-jun and Jin-zhong, 2009; Peng-fei, Yu-feng, Nong-xue and Ping, 2006)
จากข้อมูลของศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ พบว่าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือข้าวโพดไร่เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ โดยสำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครสวรรค์ได้นำเสนอข่าวเมื่อวันที่ 11 มกราคม 2562 ว่าได้มีการเปิดโครงการสานพลังประชารัฐเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนาในจังหวัดนครสวรรค์ขึ้น เพื่อเป็นการเสริมสร้างอาชีพ และเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ซึ่งจากการเพิ่มผลผลิตข้าวโพดดังกล่าว จะส่งผลให้มีวัสดุเหลือทิ้งจากการแปรรูปข้าวโพดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งไหมข้าวโพดเป็นวัสดุเหลือทิ้งชนิดหนึ่งที่มีศักยภาพที่สามารถนำมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่าได้อย่างมีประสิทธิภาพ (สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดนครสวรรค์, 2563; นพดล หงษ์สุวรรณ และแคทรียา สุทธานุช, 2561; ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์, ม.ป.ป.)
ดังนั้น การนำไหมข้าวโพดมาแปรรูปโดยผ่านกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพจึงเป็นสิ่งที่ควรได้รับการศึกษาและพัฒนา ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับไหมข้าวโพดซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งแล้ว ยังเป็นการสร้างผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปเป็นส่วนประกอบในอาหารและเครื่องดื่มเพื่อผลิตเป็นอาหารฟังก์ชันที่ประกอบไปด้วยสารเสริมที่มีคุณประโยชน์เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย รวมไปถึงนำไปเป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์ดูแลผิวพรรณหรือเครื่องสำอาง เพื่อเป็นทางเลือกใหม่ให้กับผู้บริโภคได้อีกด้วย |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | (1) เพื่อศึกษาการผลิตน้ำหมักชีวภาพจากไหมข้าวโพด
(2) เพื่อศึกษาคุณสมบัติของน้ำหมักชีวภาพจากไหมข้าวโพด |
ขอบเขตของโครงการ : | (1) วัตถุดิบที่ใช้ ได้แก่ ไหมข้าวโพด ซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้งในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์
(2) ตัวแปรในงานวิจัย
(2.1) ตัวแปรต้น ได้แก่ ชนิดของจุลินทรีย์ และปริมาณน้ำตาลเริ่มต้น
(2.2) ตัวแปรตาม ได้แก่ คุณสมบัติของน้ำหมักชีวภาพจากไหมข้าวโพด
(2.3) ตัวแปรควบคุม ได้แก่ อุณหภูมิ ค่าความเป็นกรด – ด่าง |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | (1) ได้ชนิดของจุลินทรีย์ และปริมาณน้ำตาลเริ่มต้นที่เหมาะสมในการหมักไหมข้าวโพด
(2) สามารถนำน้ำหมักชีวภาพจากไหมข้าวโพดที่ได้ไปใช้เป็นส่วนประกอบในอาหารและครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ หรือนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์บำรุงผิวพรรณและเครื่องสำอาง
(3) ได้ใช้ประโยชน์และเพิ่มมูลค่าให้กับไหมข้าวโพดซึ่งเป็นวัสดุเหลือทิ้ง
(4) นำองค์ความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้กับชุมชน เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด และผู้ที่สนใจ |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | - |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | (1) การเตรียมไหมข้าวโพดเพื่อใช้เป็นสารตั้งต้นในการหมัก
นำไหมข้าวโพดไปอบในตู้อบลมร้อนที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง จากนั้นชั่งไหมข้าวโพดแห้ง 300 กรัม ใส่ลงในน้ำดื่มปริมาตร 700 มิลลิลิตร ทำการแปรผันปริมาณน้ำตาลที่จะเติมลงไป เพื่อศึกษาผลของปริมาณน้ำตาลเริ่มต้น นำไปฆ่าเชื้อโดยการต้มที่อุณหภูมิ 85 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 15 นาที ทิ้งให้เย็นที่อุณหภูมิห้อง จากนั้นปรับค่าความเป็นกรด – ด่างเท่ากับ 6 เพื่อใช้เป็นน้ำไหมข้าวโพดสำหรับเป็นสารตั้งต้นในการหมักต่อไป
(2) การเตรียมเชื้อจุลินทรีย์
(2.1) การเตรียมเชื้อยีสต์
นำโคโลนีเดี่ยวของเชื้อ Saccharomyces cerevisiae TISTR 5019 มาเลี้ยงในอาหารเหลว YM ปริมาตร 5 มิลลิลิตร บ่มที่อุณหภูมิ 30 – 35 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 – 48 ชั่วโมง เพื่อใช้เป็นกล้าเชื้อเริ่มต้น
(2.2) การเตรียมเชื้อแบคทีเรีย
นำโคโลนีเดี่ยวของเชื้อ Lactobacillus casei TISTR 1463 มาเลี้ยงในอาหารเหลว MRS ปริมาตร 5 มิลลิลิตร บ่มที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 – 48 ชั่วโมง เพื่อใช้เป็นกล้าเชื้อเริ่มต้น
(3) การศึกษาชนิดของจุลินทรีย์ และปริมาณน้ำตาลเริ่มต้นที่เหมาะสมในการหมักไหมข้าวโพด
ทำการหมักโดยถ่ายเชื้อจากกล้าเชื้อเริ่มต้นในข้อ (2) 10 เปอร์เซ็นต์ (ปริมาตร/ปริมาตร) ลงในน้ำไหมข้าวโพดจากข้อ (1) ทำการหมักที่อุณหภูมิห้อง เป็นเวลา 12 - 20 วันเพื่อศึกษาผลของชนิดของเชื้อ และปริมาณน้ำตาลเริ่มต้นที่เหมาะสมิ เก็บตัวอย่างเพื่อทำการวิเคราะห์คุณสมบัติของน้ำหมัก
(4) การศึกษาคุณสมบัติของน้ำหมักชีวภาพจากไหมข้าวโพด
(4.1) ปริมาณกรดฟีนอลิกทั้งหมด โดยวิธี Folin-ciocalteu
(4.2) ความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ โดยวิธี DPPH |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 315 ครั้ง |