รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000521
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การเลี้ยงกบเชิงพาณิชย์โดยการประยุกต์ใช้อาหารต้นทุนต่ำกากมันสำปะหลังหมักยีสต์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The commercial frog farming by application of low-cost yeast fermented cassava pulp
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :กบ อาหารต้นทุนต่ำ กากมันสำปะหลังหมักยีสต์
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาชีววิทยา และเทคโนโลยีชีวภาพ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยและโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้นแล้ว
งบประมาณที่เสนอขอ :40000
งบประมาณทั้งโครงการ :40,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :29 พฤศจิกายน 2564
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :เกษตรศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กลุ่มวิชาการ :วิทยาศาสตร์ชีวภาพ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทย สามารถใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ได้ทั้งสัตว์กระเพาะเดี่ยวและสัตว์เคี้ยวเอื้อง จากการรายงานพบว่า หัวมันสำปะหลังสดประกอบด้วยน้ำ ร้อยละ 65 และสิ่งแห้ง ร้อยละ 35 (Khajarern, 2004) สำหรับการใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์ ประเทศไทยสามารถผลิตมันสำปะหลังเป็นมันเส้นและมันอัดเม็ด นอกจากนี้ผลพลอยได้จากอุตสาหกรรมการผลิตแป้งมันสำปะหลัง คือ กากมันสำปะหลัง (Cassava pulp) ซึ่งได้จากการผลิตแป้งมันสำปะหลัง (Tapioca starch) ด้วยวิธีการแบบโม่เปียก (Wet milling) กากมันสำปะหลัง คือ ส่วนของเยื่อใยและส่วนของแป้งมันสำปะหลังที่ไม่สามารถถูกสกัดออกได้หมด (Kanto, 2016) โดยจะได้กากมันสำปะหลังประมาณร้อยละ 11.10 (Khajarern and Khajarern, 2000) จากการศึกษาของ Khempaka et al. (2009) พบว่า โภชนะในกากมันสำปะหลังประกอบด้วย แป้ง ร้อยละ 53.55 เถ้า ร้อยละ 2.83 โปรตีน ร้อยละ 1.98 เยื่อใย ร้อยละ 13.59 และไขมัน ร้อยละ 0.13 การใช้กากมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตอาหารนั้นเริ่มมีการประยุกต์ใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น อาหารสัตว์ปีก เนื่องจากมีราคาถูก และลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ได้ จากการศึกษาของ Ruangpanit et al. (2007) พบว่า การใช้กากมันสำปะหลัง เป็นวัตถุดิบในสูตรอาหารไก่ไข่ถึงร้อยละ 15 โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสมรรถนะการผลิต และคุณภาพไข่ การประยุกต์ใช้กากมันสำปะหลังเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ทำได้โดยการนำมาแปรรูปหมักร่วมกับน้ำหมักยีสต์เพื่อช่วยเพิ่มโปรตีนและพลังงานตลอดจนคุณค่าทาง โภชนะอาหารอื่น ๆ ตามความต้องการของสัตว์ ที่สำคัญกากมันหมักยีสต์มีต้นทุนการผลิตต่ำ โดยเกษตรกรสามารถผลิตใช้เองได้ในฟาร์มหรือในครัวเรือน สามารถแก้ป้ญหาวกิฤตอาหารสัตว์ราคาแพง ตลอดจนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสัตว์และรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีวิตามิน แร่ธาตุที่สำคัญสำหรับสัตว์ช่วยให้สัตว์เจริญเติบโตได้สามารถใช้เป็นวัตถุดิบผสมเป็นอาหารสัตว์ได้หลายชนิด ทั้งสุกร เป็ด ไก่ โคเนื้อโคนม แพะ จิ้งหรีด หรือแม้แต่ปลากินพืช ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ในการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์ องค์ประกอบทางโภชนะของกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ องค์ประกอบทางเคมี กากมันสำปะหลังหมักยีสต์ กากมันสด ความชื้น (%) 79.1 70.3 โปรตีน (%)* 16.4 2.8 พลังงาน (Mcal/kg) 2.5 2.8 เยื่อใยหยาบ (%) 20.7 21.9 *หมายเหตุ: กรณีหมัก 10 20 30 วัน คุณค่าโปรตีนจะเพิ่มขึ้นประมาณ 12 16 20 เปอร์เซ็นต์ (อ้างอิงผลการวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์จังหวัดขอนแก่น กรมปศุสัตว์ ตำบลท่าพระ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น) งานวิจัยนี้จะทำการศึกษาสูตรอาหารกากมันสำปะหลังหมักร่วมกับยีสต์ นำมาทดลองเลี้ยงกบเนื้อเพื่อพัฒนาเป็นสูตรอาหารเพิ่มคุณค่าทางโภชนะและลดต้นทุนการผลิตเชิงพาณิชย์ให้กับเกษตรกรต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :จากการศึกษาการเลี้ยงกบเชิงพาณิชย์โดยการประยุกต์ใช้อาหารต้นทุนต่ำกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ โดยทดลองให้อาหารสูตรควบคุมเปรียบเทียบกับการทดลองให้อาหารผสมมันหมักยีสต์ จะเห็นได้ว่าการประยุกต์ใช้มันหมักยีสต์ผสมอาหารเลี้ยงกบ นอกจากจะเป็นการลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ที่มีราคาสูงขึ้นในปัจจุบันนี้แล้ว กบที่เลี้ยงด้วยอาหารผสมมันหมักยีสต์จะให้อัตราการรอดตายที่สูงกว่าการเลี้ยงด้วยอาหารทั่วไปที่มีจำหน่ายเชิงพาณิชย์ และการใช้ยีสต์ S. cerevisiae ยังช่วยลดปริมาณสารพิษในแหล่งน้ำจำพวกแอมโมเนีย ทำให้คุณภาพน้ำดีและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้อีกแนวทางหนึ่ง
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อเพิ่มมูลค่าวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร 2. เพื่อผลิตอาหารต้นทุนต่ำกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ประยุกต์ใช้เลี้ยงกบเชิงพาณิชย์ 3. เพื่อสร้างเป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน จังหวัดนครสวรรค์ นำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ โดยจัดตั้ง ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชสมุนไพรเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ตำบลหนองกรด จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :พันธุ์กบที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ กบพันธุ์เนื้อ จากพื้นที่อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ ตัวแปรงานวิจัย การทดลองเปรียบเทียบ ผลของสูตรอาหารมันหมักยีสต์ต่ออัตราการเจิรญเติบโตของกบพันธุ์เนื้อ ตัวแปรต้น: สูตรอาหารมันหมักยีสต์ที่ใช่ในการวิจัย ตัวแปรตาม: อัตราการแลกเนื้อของกบพันธุ์เนื้อที่ใช้ในการวิจัย ตัวแปรควบคุม: สายพันธุ์กบ, ระยะเวลาการเลี้ยง, ปริมาณอาหารต่อมื้อ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้สูตรอาหารมันหมักยีสต์ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตและอัตราการแลกเนื้อของกบพันธุ์เนื้อ 2. เพิ่มมูลค่าให้กับกากมันสำปะหลังในการต่อยอดเป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ต้นทุนต่ำ 3. ได้อาหารชีวภาพในการเลี้ยงสัตว์น้ำที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 4. ถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรในการนำไปประยุกต์ใช้ประโยชน์ และลดต้นทุนการผลิต 5. เพื่อเผยแพร่ในรูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการ หรือการประชุมวิชาการ
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :การเลี้ยงกบในปัจจุบัน จะพบปัญหาเรื่องอาหารกบมีราคาแพง ทําให้การเลี้ยงมีต้นทุนค่าอาหารสูง ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกบมีกําไรน้อย ทั้งนี้มีผลการศึกษาด้านการศึกษาชนิดของอาหารที่เหมาะสมใน การเลี้ยงกบนา โดยการใช้อาหาร 3 ชนิด ได้แก่ อาหารผสมเอง ซึ่งประกอบด้วย กากถั่วเหลือง ปลาป่น ซี่โครงไก่ต้มสุกบดละเอียด รํา และผักบุ้งต้ม อาหารปลาดุก (โปรตีน 28.88%) และอาหารกบ (โปรตีน 33.23%) พบว่าอาหารปลาดุก (โปรตีน 28.88%) และอาหารกบ (โปรตีน 33.23%) มีความเหมาะสมกว่า การใช้อาหารผสม เนื่องจากมีต้นทุนค่าอาหารต่อน้ำหนักกบ 1 กก. เท่ากับ 35.69 และ32.40 บาท ตามลําดับ มากกว่าต้นทุนค่าอาหารกบผสมเอง ซึ่งมีค่าเท่ากับ 42.74 บาท) พิศมัย (2543) รายงานผลการศึกษาระดับโปรตีนและพลังงานที่เหมาะสมในอาหารกบนา คือ มี ระดับโปรตีน 37% และพลังงานรวม 450 กิโลแคลอรี/100 กรัม อาหาร ยงยุทธ (2548) รายงานผลการศึกษาต้นทุนในการเลี้ยงกบนาในกระชังด้วยอาหารเม็ดสําเร็จรูป สําหรับกบและอาหารเม็ดสําเร็จรูปสําหรับปลาดุกว่า มีต้นทุนค่าอาหารในการเลี้ยงกบอยู่ที่ 69.88% และ 67.70% ตามลําดับ ซึ่งปกติต้นทุนค่าอาหารในการเลี้ยงสัตว์น้ำจะอยู่ประมาณ 50-60% เท่านั้น ดังนั้น เมื่อพิจารณาในด้านเทคนิคการเลี้ยงกบนาเชิงพาณิชย์แล้ว การลดต้นทุนค่าอาหาร จึงเป็น ประเด็นที่สําคัญอย่างยิ่ง เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของอาหาร หรือเลือกใช้วัสดุอาหารที่ใช้เลี้ยงกบนาแล้ว กบโตเร็ว และมีต้นทุนต่ำ ซึ่งในเรื่องนี้มีผลการศึกษางานวิจัยของนักวิชาการประมง หลายๆ แนวทาง ดังนี้ 1. การใช้น้ำมันปลาเสริมในอาหารเม็ดสําเร็จรูปเลี้ยงกบนา กล่าวคือ โปรตีนเป็นสารประกอบที่ จําเป็นสําหรับสัตว์น้ำใช้ในการเจริญเติบโต ซึ่งโปรตีนจากแหล่งปลาป่น มีราคาแพงที่สุดในองค์ประกอบของ อาหารสัตว์น้ำ ดังนั้น ผู้ผลิตอาหารสัตว์น้ำจึงต้องใช้อาหารที่มีโปรตีนในระดับต่ำสุด ที่สามารถทําให้สัตว์น้ำ มีการเจริญเติบโตในระดับที่ยอมรับได้ด้วยเหตุนี้จึงได้มีการใช้สารอาหารชนิดอื่น เช่น ไขมัน และ คาร์โบไฮเดรต เพื่อทดแทนโปรตีน ซึ่งจะต้องมีการศึกษาระดับที่เหมาะสม เนื่องจากอาจไปลดอัตราการกิน อาหาร หรือยับยั้งการใช้ประโยชน์จากสารอาหารชนิดอื่นๆ ในอาหารได้ ยงยุทธ (2548) ศึกษาระดับไขมันที่เหมาะสมในการเสริมในอาหารเม็ดสําเร็จรูปสําหรับปลาดุก (โปรตีน 32%) ซึ่งมีราคาถูกกว่าอาหารเม็ดสําเร็จรูปสําหรับกบ(โปรตีน 40%) เพราะมีโปรตีนต่ำกว่า โดย ทดลองเสริมที่ระดับ 2, 4 และ 6% พบว่า การเสริมไขมันในอาหารเม็ดสําเร็จรูปสําหรับปลาดุก (โปรตีน 32%) ที่ระดับ 2% สามารถทําให้กบนามีอัตราการเจริญเติบโตด้านน้ำหนัก และประสิทธิภาพของโปรตีน สูงกว่าการเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดสําเร็จรูปสําหรับกบ (โปรตีน 40%) และมีต้นทุนการเลี้ยงต่ำกว่าด้วย คือ 38.34 บาท/กิโลกรัม ในขณะที่ต้นทุนการเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดสําเร็จรูปสําหรับกบ (โปรตีน 40%) จะอยู่ที่ 45.12 บาท/กิโลกรัม และอัตรารอดของกบที่เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดสําเร็จรูปสําหรับกบ (โปรตีน 40%) และ อาหารเม็ดสําเร็จรูปสําหรับปลาดุก (โปรตีน 32%) เสริมด้วยน้ำมันปลา 2% มีค่าไม่แตกต่างกัน อยู่ที่ 81.25 – 82.08% วิธีการเสริมน้ำมันปลา นําอาหารเม็ดสําเร็จรูปสําหรับปลาดุก (โปรตีน 32%) ที่มีจําหน่ายในท้องตลาด มาเคลือบเม็ด อาหาร ด้วยการฉีดพรม (spray) น้ำมันปลาที่ผิวเม็ดอาหาร ปริมาณ 2% ของน้ำหนัก แล้วนําไปผึ่งลมให้ แห้ง ประมาณ 30 นาทีแล้วนําไปเก็บไว้ในห้องที่สะอาดและแห้ง การเตรียมอาหารใช้เลี้ยงกบนาจะเตรียม ในปริมาณที่จะใช้ให้หมดภายใน 3 วัน เนื่องจากประสิทธิภาพของอาหารจะลดลง 2. การใช้โปรตีนข้าวโพดทดแทนปลาป่นในการเลี้ยงกบนา ดังที่กล่าวมาแล้วว่า โปรตีนจากปลา ป่นมีราคาแพง แต่ปลาป่นนับเป็นแหล่งโปรตีนที่สําคัญของสัตว์น้ำ เนื่องจากมีความสมดุลของกรดอะมิโน ใกล้เคียงกับความต้องการของสัตว์น้ำ อย่างไรก็ตามทรัพยากรปลาที่ใช้ผลิตปลาป่นมีปริมาณจํากัดและ ปริมาณการจับลดลงเรื่อยๆ มีรายงานว่า 35% ของปลาที่จับได้ทั่วโลกจะถูกนํามาใช้ทําเป็นปลาป่น ซึ่งการ ผลิตปลาป่น 1 กิโลกรัม ต้องใช้ปลาเป็นวัตถุดิบถึง 4 กิโลกรัม ดังนั้นการใช้โปรตีนจากพืชมาทดแทนปลาป่น จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะลดต้นทุนการเลี้ยงกบนา โดยการนําโปรตีนจากพืชไปทําให้สุกด้วยการต้มหรือนึ่ง หรือผ่านกระบวนการย่อย เช่น การหมัก ยงยุทธ และพิศมัย (2548) นําโปรตีนข้าวโพด ซึ่งเป็นผลพลอยได้จากขบวนการผลิตแป้งข้าวโพด และมีราคาถูกกว่าปลาป่น อีกทั้งยังมีโปรตีนสูง 41-43% มีไขมันต่ำกว่า 3% และมีวิตามินบีและอีสูงด้วย มาทําการศึกษาการใช้โปรตีนข้าวโพดทดแทนปลาป่น 2 ระดับ คือ 20% และ 40% โดยใช้โปรตีนข้าวโพดที่ ผ่าน/ไม่ผ่าน ขบวนการนึ่งและหมัก พบว่าสามารถใช้โปรตีนข้าวโพดที่ผ่านขบวนการหมักแทนที่ปลาป่นใน ปริมาณ 20% มาผสมในอาหารใช้เลี้ยงกบนาได้ดีโดยมีต้นทุนการเลี้ยงกบนาในกระชัง 33.12 บาท/ กิโลกรัม ซึ่งอาหารสูตรนี้จะมีโปรตีน 37% และค่าระดับพลังงานรวม 450 กิโลแคลอรีต่อ 100 กรัม อาหาร วิธีการหมักโปรตีนข้าวโพด นําโปรตีนข้าวโพด กากน้ำตาล ยีสต์และแป้งหมาก มาผสมรวมกัน ใส่น้ำจนสามารถกวนได้สะดวก ทําการกวนอาหารทุกๆ 1 ชั่วโมง จนครบ 12 ชั่วโมง แล้วทิ้งไว้อีก 12 ชั่วโมง จึงนํามาใช้ผสมกับวัตถุดิบที่ เหลือ แล้วนําไปทําการอัดเม็ดด้วยเครื่องทําอาหาร จะได้อาหารที่มีลักษณะเป็นเส้นยาว นําอาหารไปอบให้ แห้งด้วยเครื่องอบที่อุณหภูมิ 60?C เป็นเวลา 10-12 ชั่วโมง อาหารแห้งที่ได้จะนํามาหักเป็นท่อนสั้นๆ ขนาด 2-3 มิลลิเมตร ก่อนเก็บใส่ถุงพลาสติก นําไปเก็บรักษาโดยการแช่แข็งที่อุณหภูมิ -20?C จนกว่าจะ นําไปใช้เลี้ยงกบต่อไป 3. การเพิ่มคุณค่าทางอาหารกบนา มีรายงานว่า การใส่ยีสต์มีชีวิตในอาหารสัตว์ยีสต์สามารถ เจริญเติบโตและเพิ่มจํานวนเซลล์ในการเพาะอาหารและระบบทางเดินอาหารของสัตว์ได้โดยยีสต์จะใช้ สารอาหารจําพวกคาร์โบไฮเดรตและเยื่อใยเป็นอาหาร แล้วขับถ่ายสารประกอบต่างๆ เช่น โปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุออกมา ซึ่งสัตว์สามารถย่อยและใช้ประโยชน์ได้รวมทั้งตัวเซลล์ยีสต์ที่เพิ่มขึ้น เมื่อถูกย่อยสลาย จะได้สารอาหารโปรตีนเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ผนังเซลล์ของยีสต์ยังมีสารเบต้ากลูแคน ซึ่งเป็นสารสําคัญที่ช่วย กระตุ้นให้เกิดภูมิคุ้มกัน ป้องกันโรคต่างๆ ในสัตว์ได้อีกด้วย อนุวัติและคณะ (2551) ทําการศึกษาประสิทธิภาพของยีสต์ที่เพิ่มในอาหารกบนาที่ระดับ 2 ,4 และ 6 % สรุปว่าการเสริมยีสต์ที่ระดับ 4 เปอร์เซ็นต์ในอาหาร เป็นระดับที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของกบนา และเสริมให้มีระบบภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นในกบนา โดยผลการทดลองพบว่า กบนาที่เลี้ยงด้ายอาหารที่เสริมยีสต์ 4% มีอัตราการเจริญเติบโตดีที่สุด ประสิทธิภาพของโปรตีน ประสิทธิภาพของอาหารและอัตราแลกเนื้อ ดีกว่าอีกด้วย และเมื่อพิจารณาด้านความต้านทานโรคของกบนา โดยดูจากค่าองค์ประกอบเลือดพบว่า จํานวนเม็ดเลือดขาวรวมและเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocite ในเลือดของกบนาที่เลี้ยงด้วยอาหารที่เสริม ยีสต์ 2-4% มีจํานวนเม็ดเลือดขาวรวมและเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocite มากกว่าในเลือดของกบนาที่ เลี้ยงด้วยอาหารไม่เสริมยีสต์ซึ่งเม็ดเลือดขาวชนิด lymphocite มีผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน เนื่องจากมีหน้าที่ ในการทําลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :การประยุกต์ใช้กากมันสำปะหลังเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์โดยการหมักร่วมกับยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ช่วยเพิ่มโปรตีนพลังงาน ตลอดจนคุณค่าทางโภชนะอาหารอื่น ๆ ได้แก่ วิตามิน แร่ธาตุที่สำคัญ ช่วยส่งเสริมให้กบเนื้อเจริญเติบโตได้ดีกว่าอาหารที่ไม่มีการเสริมมันหมักยีสต์ กรอบการวิจัย การศึกษาอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะของกบเนื้อ โดยคำนวณอัตราการแลกเนื้อ (Feed Conversion Ratio, FCR) ของกบที่ได้รับสูตรอาหารเสริมมันหมักยีสต์ที่แตกต่างกัน อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะเป็นตัวเลขชี้วัดคุณภาพของอาหาร คือ อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ หรืออัตราการแลกเนื้อ คือ แลกเนื้อต่อถุง ซึ่งตัวเลขจากการคำนวณจะบ่งบอกถึงประสิทธิภาพของอาหารว่า อาหารสัตว์ชนิดนั้นมีคุณภาพดีหรือไม่ โดยมีสูตรคิดง่ายๆ ดังนี้ อัตราการแลกเนื้อ = ปริมาณอาหารที่ใช้ทั้งหมด (ก.ก.)/น้ำหนักกบที่จับได้ (ก.ก.)
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :กระบวนการผลิตกากมันสำปะหลังหมักยีสต์ (อัตราส่วนปรับตามความเหมาะสมของพื้นที่ทดลอง) (1) ขั้นตอนการกระตุ้นยีสต์: ชั่งน้ำตาลทรายแดงและยีสต์ Saccharomyces cerevisiae ละลายในน้ำอัตราส่วน 1:10:0.5 จำนวน 4 กิโลกรัม ผสมในน้ำสะอาดปริมาตร 40 ลิตร ทำการละลายให้เข้ากันและเติมยีสต์ จำนวน 2 กิโลกรัม (Barker yeast 4 ก้อน) แล้วทำการละลายผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน ทิ้งไว้เป็นเวลาประมาณ 10 นาที หรือปล่อยจนยีสต์เกิดฟอง (2) ขั้นตอนการเตรียมอาหารยีสต์: (อัตราส่วนปรับตามความเหมาะสมของพื้นที่ทดลอง) (2.1) เติมน้ำสะอาด ปริมาตร 1,000 ลิตร ลงในถังพลาสติกขนาดมากกว่า 1,000 ลิตร ที่เตรียมไว้ให้ครบ (2.2) ชั่งยูเรีย จำนวน 40 กิโลกรัม และ กากน้ำตาลจำนวน 50 กิโลกรัม เทลงในถังพลาสติกและผสมให้เป็นเนื้อเดียวกัน (2.3) เทน้ำยีสต์ลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ (3) ผสมยีสต์ในน้ำหมัก: เมื่อครบเวลาที่กำหนดทำการ เทน้ำยีสต์ที่เลี้ยงไว้ลงในอาหารเลี้ยงเชื้อและเติมออกซิเจนและปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลา 30 นาที (4) การบรรจุกากมันลงในบ่อหรือบรรจุถุง: (4.1) บรรจุกากมันจำนวน 6 ตัน ลงในบ่อขนาด (กว้าง x ยาว x สูง = 3 x 4 x 0.5 เมตร) (4.2) ทำการบรรจุกากมันสำปะหลังใส่ในถุงกระสอบที่มีถุงพลาสติกสีดำซ้อนอยู่ภายในจำนวน 30 กิโลกรัม (5) เติมน้ำหมักยีสต์ลงในกากมัน: (5.1) เติมน้ำหมักยีสต์ ปริมาตร 1,000 ลิตร ฉีดลงในกากมันจำนวน 6 ตัน แล้วปิดหมักไว้ 10 วัน เมื่อครบแล้วนำไปใช้เลี้ยงกบต่อไป หรือ (5.2) เติมน้ำหมักยีสต์ปริมาตร 5 ลิตร เทราดลงในถุงกระสอบที่บรรจุกากมัน 30 กิโลกรัม แล้วรัดปากกระสอบให้แน่นและหมักไว้เป็นเวลา 10 วัน เมื่อครบแล้วนำไปทดลองเลี้ยงกบต่อไป (6) วางแผนการทดลองเลี้ยงกบ โดยแบบสุ่มสมบูรณ์ (Completely Randomized Design) วิเคราะห์ความแปรปรวนของข้อมูล (Analysis of variance: ANOVA) และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของ ทรีทเมนต์ ระดับนัยสำคัญที่ 0.05 โดยแบ่งชุดการทดลองอัตราการปล่อยบ่อละ 30 ตัว จำนวน 3 ซ้ำ ดังนี้ (6.1) ลูกกบเลี้ยงอาหารชุดควบคุม (6.2) ลูกกบเลี้ยงอาหารผสมมันหมักยีสต์ 25% (6.3) ลูกกบเลี้ยงอาหารผสมมันหมักยีสต์ 50% (6.4) ลูกกบเลี้ยงอาหารผสมมันหมักยีสต์ 100% (7) บันทึกผลการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการทดลอง และสรุปรายงานการวิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การประยุกต์ใช้กากมันสำปะหลังเป็นผลิตภัณฑ์อาหารสัตว์ทำได้โดยการนำมาแปรรูปหมักร่วมกับน้ำหมักยีสต์เพื่อช่วยเพิ่มโปรตีนและพลังงานตลอดจนคุณค่าทาง โภชนะอาหารอื่น ๆ ตามความต้องการของสัตว์ ที่สำคัญกากมันหมักยีสต์มีต้นทุนการผลิตต่ำ โดยเกษตรกรสามารถผลิตใช้เองได้ในฟาร์มหรือในครัวเรือน สามารถแก้ป้ญหาวกิฤตอาหารสัตว์ราคาแพง ตลอดจนช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสัตว์และรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีวิตามิน แร่ธาตุที่สำคัญสำหรับสัตว์ช่วยให้สัตว์เจริญเติบโตได้สามารถใช้เป็นวัตถุดิบผสมเป็นอาหารสัตว์ได้หลายชนิด ทั้งสุกร เป็ด ไก่ โคเนื้อโคนม แพะ จิ้งหรีด หรือแม้แต่ปลากินพืช ถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ในการผลิตอาหารเลี้ยงสัตว์ งานวิจัยนี้จะทำการศึกษาสูตรอาหารกากมันสำปะหลังหมักร่วมกับยีสต์ นำมาทดลองเลี้ยงกบเนื้อเพื่อพัฒนาเป็นสูตรอาหารเพิ่มคุณค่าทางโภชนะและลดต้นทุนการผลิตเชิงพาณิชย์ให้กับเกษตรกรต่อไป
จำนวนเข้าชมโครงการ :684 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายทะเนตร อุฤทธิ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด