รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000519
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาคุณภาพสินค้าและรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ เพื่อสร้างมูลค่าผลิตภัณฑ์เห็ดแปรรูปพร้อมบริโภค แบบมีส่วนร่วม
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The improving a quality of product and packaging to increase the values of mushroom products by associated.
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การพัฒนา,คุณภาพสินค้า,รูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ ,สร้างมูลค่า
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :60000
งบประมาณทั้งโครงการ :60,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :30 พฤศจิกายน 2564
ประเภทของโครงการ :งานสร้างสรรค์(ออกแบบ)
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :จากโมเดลการขับเคลื่อนประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง ยังยืน ซึ่งกล่าวถึงการพัฒนาเศรษฐกิจด้วยการบ่มเพาะผู้ประกอบการและพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจด้วยนวัตกรรมการเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจแบบเพิ่มมูลค่าเป็นการสร้างมูลค่าและระบบการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (กองบริหารงานวิจัยและประกันคุณภาพการศึกษา : 2560) ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาจังหวัดนครสวรรค์ ยุทธศาสตร์ที่ 1 เรื่องของการสร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตรการค้าและอุตสาหกรรมการเกษตรที่สมดุลว่าด้วยการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นและส่งเสริมกลุ่มและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมและยังสอดคล้องกับพันธกิจขอมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ในด้นการวิจัยและบริการวิชาการท้องถิ่นและภูมิภาค และบริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุง ถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยี ทั้งนี้การพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมให้เป็นที่ยอมรับต่อผู้บริโภคที่ตลาดในประเทศและต่างประเทศ โดยการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต การบรรจุภัณฑ์ และการส่งเสริมการจำหน่าย จะเป็นช่องทางของการส่งเสริมการสร้างรากฐานของอาชีพให้กับคนในชุมชนสืบต่อไป การพัฒนาผลิตภัณฑ์เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งต่อการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ เนื่องจากปัจจุบันสภาพตลาดมีการแข่งขันสูงและความก้าวหน้าของเทคโนโลยีเป็นไปอย่างรวดเร็วทำให้มีผลิตภัณฑ์ใหม่ในตลาดจำนวนมาก ส่งผลให้วงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์สั้นลง ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่จะอยู่รอดได้ในตลาดจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความแตกต่าง และมีความสอดคล้องตรงกับลักษณะความต้องการของผู้บริโภคอยู่เสมอพร้อมทั้งพัฒนารูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ให้สามารถสื่อสาร และสร้างผลกระทบทางจิตวิทยาต่อผู้บริโภค โดยใช้ความรู้ทางศิลปะเข้ามาสร้างคุณลักษณะของการบรรจุภัณฑ์ให้ดึงดูดความสนใจของผู้อุปโภคตลอดจนให้เข้าใจถึงความหมาย และคุณประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์จึงเป็นกลวิธีทางการตลาดที่ทำให้สามารถขายผลิตภัณฑ์ได้เพิ่มมาก ในพื้นที่ตำบลวังม้า อำเภลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เป็นพื้นที่แห้งแล้ง ไม่มีระบบชลประทานสำหรับทำการเกษตร เนื่องจากเป็นพื้นที่เชิงเขาหลวง มีอาชีพเกษตรเป็นอาชีพหลัก ในระยะ 3 ปีที่ผ่านมา กลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนบ้านนอก ทำตามพ่อ ตำบลวังม้า อำเภลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ กลุ่มผู้ผลิตก้อนเห็ดนางฟ้าภูฐาน นางรมเทา เห็ดขอน และข้าว กข 43 หอมมะลิ 105 และผักผลไม้ตามฤดูกาล โดยการต่อยอดจากโครงการการบูรณาการพันธกิจสัมพันธ์เพื่อแก้ปัญหาความยากจนของประชาชนในท้องถิ่นในพื้นที่ อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ ในปีงบประมาณ 2562 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนของครัวเรือนในท้องถิ่นโดยยึดแนวทางตามปรัชญาเศรษฐกิจพอพียง และในปัจจุบันกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนบ้านนอก ทำตามพ่อ ได้เริ่มมีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ เนื่องจากผลลิตของเห็ดล้นตลาด ทำให้ราคาจำหน่ายเห็ดสดลดลงจากเดิม ดังนั้นเพื่อเป็นการลดการแข่งขันทางการตลาดของเห็ดสด ผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพของผลิตภัณฑ์ของกลุ่มให้ได้มาตรฐาน และพัฒนารูปลักษณ์ของบรรจุภัณฑ์ผลิตภัณฑ์แปรรูปเห็ดปรูปพร้อมบริโภค โดยการมีส่วนร่วมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนบ้านนอก ทำตามพ่อ ต.วังม้า อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์
จุดเด่นของโครงการ :การพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์ พร้อมห์รูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์เห็ด พร้อมทั้งวิเคราะห์การรับรู้คุณภาพสินค้าและรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์เห็ดแปรรูปปรูปพร้อมบริโภค 2. เพื่อวิเคราะห์รูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์เห็ดแปรรูปปรูปพร?อมบริโภค 3. เพื่อวิเคราะห์การรับรู้คุณภาพสินค้าและรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ
ขอบเขตของโครงการ :4.1 ขอบเขตพัฒนาคุณภาพผลิตภัณฑ์แปรรูปเห็ดปรูปพร้อมบริโภค จํานวน 1 สูตร 4.2 ต้นแบบบรรจุภัณฑ์เห็ดแปรรูปพร้อมบริโภคโดยเน้นรูปลักษณ์ด้านกราฟิก จํานวน 1 แบบ 4.3 ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้คุณภาพกับการตัดสินใจ และรูปลักษณ์กับการตัดสินใจ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :5.1 ได้ผลิตภัณฑ์เห็ดแปรรูปพร้อมรับประทาน ที่ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค 5.2 ได้รูปแบบรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์เห็ดแปรรูป กลุ่มวิสาหกิจชุมชนคนบ?านนอก ทําตามพ่อ ต.วังม้า อ.ลาดยาว จ.นครสวรรค์ 5.3 ทราบถึงอิทธิพลของการรับรู้คุณภาพและรูปลักษณ์ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทเห็ดแปรรูปพร้อมรับประทาน
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :คุณภาพ และรูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ มีผลกะบการตัดสินใจซื้อ
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :3.1 ทบทวนวัตถุประสงค์ของการศึกษา และตัวแปรที่ศึกษา 3.2 สร้างแบบสอบถามเพื่อถามความคิดเห็นในประเด็นต่อไปนี้ คือ (1) ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับผู้ตอบแบบสอบถาม (2) การรับรู้คุณภาพสินค้าเห็ดแปรรูปปรูปพร้อมบริโภค ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ (3) การรับรู้รูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์เห็ดแปรรูปปรูปพร้อมบริโภค ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ 3.3 ตรวจสอบความเที่ยงตรงตามเนื้อหา และความเหมาะสมของภาษา ที่ใช้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์องการวิจัย เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไขและหาค่าดัชนีความสอดคล้องแบบสอบถาม ที่ผ่านการตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา (Content Validity) โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน ในระดับ 0.5 3.4 การตรวจสอบความเชื่อมั่น ผู้วิจัยพิจารณาจากค่าสัมประสิทธิ์ครอนแบ็ช อัลฟ่า (Cronbach’s Alpha Coefficient) นำแบบสอบถามไปทดลองกับตัวอย่างจำนวน 30 ราย 3.5 แจกแบบสอบถามไปยังตัวอย่าง โดย ผู้วิจัยหรือตัวแทน ได้แจกแบบสอบถามให้กลุ่มเป้าหมายและรอจนกระทั่งตอบ คำถามครบถ้วน ซึ่งในระหว่างนั้นถ้าผู้ตอบมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคำถาม ผู้วิจัยหรือทีมงานจะตอบข้อสงสัยนั้น
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :การศึกษาอิทธิพลของการรับรู้คุณภาพและรูปลักษณ์ ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ประเภทเห็ดแปรรูปพร้อมรับประทาน เพื่อนำไปเป็นแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่อไป
จำนวนเข้าชมโครงการ :472 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวเพ็ญนภา มณีอุด บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด