รหัสโครงการ : | R000000518 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การพัฒนาอุปกรณ์ป้องกันการโจรกรรมและติดตามรถจักรยานยนต์ โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Equipment Development of Prevent Theft and Tracking Motorcycles System Using Internet of Things. |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | ป้องกันการโจรกรรม ติดตามรถจักรยานยนต์ พิกัดทางภูมิศาสตร์ แผนที่กูเกิล อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 0 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 55,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 30 พฤศจิกายน 2563 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 29 พฤศจิกายน 2564 |
ประเภทของโครงการ : | การพัฒนาทดลอง |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและนิเทศศาสตร์ |
กลุ่มวิชาการ : | วิทยาการคอมพิวเตอร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | รถจักรยานยนต์ถือเป็นทรัพย์สินที่เคลื่อนที่ได้และถือเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการเดินทางไปยังสถานที่ต่าง ๆ และต้องมีการจอดรถจักรยานยนต์ไว้ยังสถานที่ต่าง ๆ เหล่านั้นเช่นกัน โดยเฉพาะรถจักรยานยนต์ที่มีราคาสูงหรือเป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมแล้ว เวลานำไปจอดไว้ที่ใดก็ตาม เจ้าของรถอาจมีความกังวลที่การสูญหายของรถ แม้ว่าจะมีการใช้อุปกรณ์และเครื่องมือที่ทันสมัยล็อคไว้ก็ตาม แต่ก็ยังถูกโจรกรรมได้อย่างง่ายดายและใช้เวลาในการโจรกรรมเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้น ซึ่งปัญหารถหายเป็นภัยใกล้ตัวของสังคมไทยเมื่อมีการเดินทางไปท่องเที่ยวหรือทำกิจกรรมต่าง ๆ การที่จอดรถไว้ไกลจากสถานที่ท่องเที่ยวมาก ก็อาจถูกโจรกรรมได้ โดยรถยนต์และรถจักรยานยนต์ในแต่ละปีนั้นถูกโจรกรรมไปนับหมื่นคัน จากข้อมูลของศูนย์ปราบปรามการโจรกรรมรถยนต์และรถจักรยานยนต์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พบว่า เมื่อปี พ.ศ. 2557 ประเภทรถที่ถูกโจรกรรมมากที่สุด คือรถจักรยานยนต์ ซึ่งหายกว่า 8,500 คัน ได้คืนเพียง 1,053 คัน รองลงมาเป็นรถกระบะ หาย 585 คัน ได้คืน 38 คัน และรถยนต์หาย 439 คัน ได้คืน 43 คัน สถานที่ที่รถหายมากที่สุด ลำดับที่ 1 ลาดจอดรถการเคหะร่มเกล้า ลำดับที่ 2 ลานจอดรถการเคหะคลองจั่น ลำดับที่ 3 ลานจอดรถสนามหลวง 2 และช่วงเวลาที่รถหายมากที่สุดคือ 00.01 ถึง 06.00 นาฬิกา เป็นเวลาที่สุ่มเสี่ยงมากที่สุด เมื่อมีการสูญหายเกิดขึ้นการตามหารถนั้นใช้เวลาที่นานและจำนวนรถที่ได้คืนนั้นไม่ถึง 10% จากรถที่หายทั้งหมด รวมถึงการหลงลืมที่จอดรถทำให้เสียเวลาในการหารถจักรยานยนต์
สำหรับวิธีการป้องกันการถูกโจรกรรมของรถจักรยานยนต์ในปัจจุบันมี 2 แบบ คือ 1) ระบบป้องกันที่ติดมากับรถจักรยานยนต์คือบล็อคกุญแจแบบที่สามารถใช้ล็อคคอของรถจักรยานยนต์ไว้ แต่นักโจรกรรมสามารถใช้เครื่องมือมาตอกส่วนรูกุญแจออกเพื่อปลดล็อคคอรถหรือกระแทกส่วนคอรถเพื่อให้อุปกรณ์ที่ล็อคคอรถเกิดความเสียหายแล้วทำการโจรกรรม และ 2) การใช้อุปกรณ์ล็อคดิสเบรคที่ใช้กุญแจแบบพิเศษในการล็อคและส่งเสียงเตือนเมื่อรถจักรยานยนต์ขยับ แต่นักโจรกรรมจะมีวิธีที่ใช้ปลดล็อคอุปกรณ์ล็อคดิสเบรคและถอดสัญญาณกันขโมยและทำการโจรกรรมได้
ปัจจุบันนโยบาลของรัฐบาลที่มุ่งเน้นความต้องการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยบนวิสัยทัศน์ “มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” โดยปรับเปลี่ยนโครงสร้างเศรษฐกิจไปสู่เศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ซึ่งมีการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยสร้างนวัตกรรมและเรียกว่าเป็นการก้าวสู่ประเทศไทยยุค 4.0 ที่เทคโนโลยีมีบทบาทในชีวิตและการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ และรัฐบาลยังได้สนับสนุนโครงการต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นการใช้เทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาประเทศ เช่น สร้างเส้นทางธุรกิจใหม่ (Startup) การใช้เทคโนโลยีการเกษตร (Smart Farm) อุปกรณ์อัจฉริยะ หุ่นยนต์ และระบบเครื่องกลที่ใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ควบคุม เป็นต้น อีกทั้งในปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยี IoT (Internet of Things) มาประยุกต์ใช้งานต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เนื่องจากอุปกรณ์ราคาไม่แพงและง่ายต่อการพัฒนา เช่น การตั้งเวลารดน้ำแบบอัตโนมัติ การควบคุมอุณหภูมิและความชื้นในโรงเรือนเพาะเห็ด การเปิด-ปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าผ่านโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน เป็นต้น
จากที่ได้กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดที่จะพัฒนาอุปกรณ์ป้องกันการโจรกรรมและติดตามรถจักรยานยนต์ โดยใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ประกอบด้วย บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์เพื่อควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่าง ๆ โมดูลจีพีเอสเพื่อให้เจ้าของรถจักรยานยนต์สามารถตรวจดูตำแหน่งปัจจุบันของรถได้ โมดูลซิม 800L เพื่อให้บอร์ดอิเล็กทรอนิกส์สามารถใช้งานอินเทอร์เน็ตและส่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ปัจจุบันไปยังคลาว์เซิร์ฟเวอร์และรับคำสั่งจากแอปพลิเคชันที่ทำงานบนโทรศัพท์มือถือแบบสามารถโฟนได้ รีเรย์เป็นตัวควบคุมการจ่ายไฟเข้ากล่องไฟ ทั้งนี้เพื่อให้เจ้าของรถจักรยานยนต์สามารถสั่งให้เครื่องยนต์หยุดทำงานได้ทันทีเมื่อรถถูกโจรกรรมหรือถูกขับออกไปจากตำแหน่งที่จอดเดิม โมดูลวัดความเอียงจะถูกนำมาใช้ร่วมกับตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ปัจจุบันสำหรับวิเคราะห์การโจรกรรมรถจักรยานยนต์ รวมถึงการส่งข้อความแจ้งเตือนการโจรกรรมไปยังเจ้าของรถจักรยานยนต์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะถูกติดตั้งอยู่ภายในรถจักรยานยนต์และจะช่วยให้เจ้าของรถจักรยานยนต์ลดความกังวลใจที่จำเป็นต้องจอดรถจักรยานยนต์ไว้ที่ลับตาคนหรือเมื่อจอดไว้เป็นระยะเวลานาน |
จุดเด่นของโครงการ : | - |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อพัฒนาอุปกรณ์ป้องกันการโจรกรรมและติดตามรถจักรยานยนต์
2. เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันแสดงแผนที่ตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ปัจจุบันของรถจักรยานยนต์ผ่านโทรศัพท์มือถือแบบสมาร์ทโฟน
3. เพื่อติดตามหารถจักรยานยนต์ในกรณีที่เจ้าของรถลืมที่จอดรถหรือถูกโจรกรรม โดยใช้แผนที่กูเกิล
4. เพื่อให้เจ้าของรถจักรยานยนต์สามารถสั่งเปิดหรือปิดการจ่ายไฟเข้ากล่องไฟ
5. เพื่อวิเคราะห์การโจรกรรมจากเซ็นเซอร์วัดความเอียงและตำแหน่งพิกัดทางภูมิศาสตร์ปัจจุบันของรถจักรยานยนต์
6. เพื่อส่งข้อความแจ้งเตือนไปยังเจ้าของรถจักรยานยนต์ผ่านแอปพลิเคชันไลน์
7. เพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่อชุมชนหรือท้องถิ่นได้ |
ขอบเขตของโครงการ : | - |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. ได้อุปกรณ์ป้องกันการโจรกรรมและติดตามรถจักรยานยนต์
2.ได้แอปพลิเคชันที่ใช้ในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์เพื่อป้องกันการโจรกรรมและติดตามรถจักรยานยนต์
3. ลดความกังวลใจให้กับเจ้ารถจักรยานยนต์
4. ได้นวัตกรรมเพื่อที่สามารถนำไปใช้กับผู้ที่สนใจหรือชุมชนและรองรับการเป็นประเทศไทยยุค 4.0
5. ได้ผลงานทางวิชาการที่สามารถนำไปเขียนเป็นบทความทางวิชาการหรือเผยแพร่ในงานวิจัยระดับชาติหรือนานาชาติอย่างน้อย 1 เรื่อง |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | - |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | - |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 563 ครั้ง |