รหัสโครงการ : | R000000517 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักตอกเพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานไม้ไผ่และหวาย ตำบลกลางแดด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Development technology of Cleave Machine to Improved Productions for Community Enterprise Group Case study : Bamboo and Rattan Wicker Group, Tumbon Klangdad, Nakornsawan Province. |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | เครื่องจักตอก ไม้ไผ่ วิสาหกิจชุมชน จักสานไม้ไผ่ |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกลและหุ่นยนต์การเกษตร |
ลักษณะโครงการวิจัย : | โครงการวิจัยเดี่ยว |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 70000 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 70,000.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 30 พฤศจิกายน 2563 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 31 ตุลาคม 2564 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี |
สาขาวิชาการ : | สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย |
กลุ่มวิชาการ : | วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ไม่ระบุ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ปัจจุบันรัฐบาลได้มีการส่งเสริมการสร้างความมั่นคงของเศรษฐกิจชุมชน โดยเน้นการผลิตเพื่อการบริโภคอย่างพอเพียง โดยเน้นการผลิตเพื่อการบริโภคอย่างพอเพียงภายในชุมชน สนับสนุนให้ชุมชนมีการรวมกลุ่มในรูปสหกรณ์ กลุ่มอาชีพ สนับสนุนการนำภูมิปัญญาและวัฒนธรรมท้องถิ่นมาใช้ในการสร้างสรรค์คุณค่าของสินค้าและบริการ โดยเฉพาะการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ เป็นภูมิปัญญาที่สาคัญของคนไทย ที่สามารถนำวัสดุจากธรรมชาติโดยเฉพาะไผ่ มาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องจักสาน จึงทำให้ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากไม้ไผ่เป็นผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายทั้งด้านรูปแบบและประโยชน์การใช้งานโดยมีการปรับปรุงพัฒนามาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ซึ่งการผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากไม้ไผ่นี้ ผลิตโดยกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มวิสาหกิจในระดับชุมชนเป็นส่วนใหญ่ และจากการนำเสนอปัญหาของตัวแทนชาวบ้านซึ่งเป็น กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานไม้ไผ่และหวาย ตำบลกลางแดด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ที่ได้ดำเนินการผลิตเครื่อง จักสานไม้ไผ่ประสบปัญหาไม่มีเทคโนโลยีมาช่วยในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะขั้นตอนของการเตรียมวัตถุดิบ คือการจักตอกที่ยังคงใช้อุปกรณ์หลักคือมีดและแรงงานคน จึงทำให้ในขั้นตอนการเตรียมวัตถุดิบเพื่อจักสานนี้ ใช้เวลานาน เนื่องจากชาวบ้านไม่มีเครื่องจักรกลมาช่วยทุ่นแรง ทำให้เกิดความล่าช้าและเสียเวลาในขั้นตอนการผลิตในขั้นตอนต่อไป ยังก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องของวัตถุดิบไม่ได้ขนาดและขาดความเป็นมาตรฐานและไม่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายได้ ผลผลิตที่ได้ต่อวัน มีจำนวนน้อย อีกทั้งเครื่องจักตอกที่มีใช้ในปัจจุบันยังไม่สามารถจักตอกให้มีขนาด 0.1 – 0.3 มิลลิเมตรได้ เนื่องจากปัญหาด้านใบมีดและลูกกลิ้งส่งตอก จะทำให้ตอกที่มีขนาดบางแตก จากปัญหาที่เกิดขึ้นในขั้นตอนของการเตรียมวัตถุดิบเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานไม้ไผ่และหวาย ตำบลกลางแดด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จึงทำให้ทางคณะผู้วิจัยได้คิดที่จะออกแบบใบมีดและสร้างเครื่องจักตอกเพื่อลดระยะเวลาในการจัดเตรียมวัตถุดิบของชาวบ้าน และทำให้ชาวบ้านมีเวลามากพอที่จะผลิตเครื่องจักสาน ในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อให้ได้จำนวนชิ้นงานที่ผลิตต่อวันมีจานวนที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิมและสามารถสนองความต้องการของตลาด อีกทั้งยังแก้ไขปัญหาและช่วยพัฒนา
ศักยภาพด้านการผลิตของกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ต่อไป |
จุดเด่นของโครงการ : | เส้นตอกที่ได้จากเครื่องจักตอกยังมีความบางไม่ถึง 0.1 – 0.3 มิลลิเมตร ตามความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานไม้ไผ่และหวาย ตำบลกลางแดด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ทำให้เป็นสิ่งที่ท้าทายและน่าสนใจในการออกแบบใบมีดใหม่เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อออกแบบใบมีดและสร้างเครื่องจักตอกจากไม้ไผ่ที่สามารถจักตอกขนาด 0.1 0.2 และ 0.3 มิลลิเมตร
2. เพื่อทดสอบประสิทธิภาพเครื่องจักตอกที่สร้างขึ้น และเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงานกับการจักตอกไม้ไผ่ด้วยการใช้มีดจักตอกโดยใช้แรงงานคน
3. เพื่อนำไปใช้ประโยชน์กับวิสาหกิจชุมชนจักสานไม้ไผ่และหวาย |
ขอบเขตของโครงการ : | ออกแบบใบมีดและสร้างเครื่องจักตอกขนาดเล็ก สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานไม้ไผ่และหวาย ตำบลกลางแดด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ตัวเครื่องสามารถเคลื่อนย้ายได้อย่างสะดวก การใช้งานง่ายปลอดภัยต่อการปฏิบัติงานสำหรับกลุ่มผู้ใช้ในระดับชุมชนโดยเฉพาะผู้สูงอายุ สามารถจักตอกที่มีความหนาได้ขนาด 0.1-0.3 มิลลิเมตร |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. ได้เครื่องจักรตอกที่สามารถจักตอกได้ความหนาขนาด 0.1 0.2 0.3 มิลลิเมตร
2. กลุ่มงานเครื่องจักสานสามารถนำไปให้ใช้เกิดประโยชน์ สร้างรายได้ต่อครอบครัวและท้องถิ่น
3. ลดการสูญเสียไม้ไผ่เนื่องจากไม่ได้ขนาดตามที่ต้องการ |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | แนวคิด ทฤษฎีและสมมติฐานงานวิจัย
งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักตอกเพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานไม้ไผ่และหวาย ตำบลกลางแดด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องดังนี้
ธนัตถา กรพิทักษ์ (2557) ทำการวิจัยเพื่อออกแบบและสร้างเครื่องผ่าไม้ไผ่ มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตในขั้นตอนการเตรียมเส้นตอกสำหรับสานเข่งใส่ผลไม้ ที่ต้องใช้เส้นตอกที่มีความยาว 6 ถึง 8 เมตร ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเครื่องผ่าไม้ไผ่ให้สามารถผ่าได้ตลอดความยาวของลาต้น โดยใช้หลักการดันกระแทกลำไม้ไผ่ด้วยกาลังจากมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 2 แรงม้า เพื่อดึงลวดสลิงที่ยึดติดกับหัวจับลาไม้ไผ่ที่สามารถขยายออกและหดตัวเข้าเพื่อทาการจับยึดไม้ไผ่ตั้งแต่ด้านโคนจนถึงปลายลำและติดตั้งล้อเลื่อนให้วางอยู่บนรางสำหรับประคองหัวจับขณะที่เลื่อนไป-มา เพื่อดันให้ลำไม้ไผ่พุ่งเข้าไปกระแทกที่หัวผ่า (จาปา ผ่าไม้ไผ่) จากการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องผ่าไม้ไผ่ พบว่าสามารถผ่าไม้ไผ่ได้ทุกขนาดโดยไม่มีข้อจำกัดด้านความหนาและความยาว ประสิทธิภาพด้านเวลานั้นพบว่าการผ่าไม้ไผ่ที่มีความยาว 2 เมตร หนา 7 มิลลิเมตร ใช้เวลาผ่าเฉลี่ย 0.47 นาที ความหนา 9 มิลลิเมตร ใช้เวลาผ่าเฉลี่ย 0.53 นาที ความยาว 4 เมตร หนา 7 มิลลิเมตร ใช้เวลาผ่าเฉลี่ย 1.06 นาที ความหนา 10 มิลลิเมตร ใช้เวลาผ่าเฉลี่ย 1.10 นาที ความยาว 8 เมตร หนา 9 มิลลิเมตร ใช้เวลาผ่าเฉลี่ย 1.58 นาที ความหนา 10
มิลลิเมตร ใช้เวลาผ่าเฉลี่ย 2.02 นาที และมีต้นทุนค่ากระแสไฟฟ้าเพียง 5.10 บาทต่อ 1 ชั่วโมง
พลังวัชร์ แพ่งธีระสุขมัย (2552) ทำการพัฒนาและสร้างเครื่องจักตอกไม้ไผ่ เพื่อช่วยในการจักตอกได้สะดวกกว่าแรงงานคน โดยการนำหลักการจักตอกไม้ไผ่ด้วยมือ และเครื่องต้นแบมาใช้เป็นหลักการในการสร้างเครื่องจักตอกไม้ไผ่ โดยตอกแต่ละเส้นใช้เวลาโดยประมาน 3 วินาที ที่ขนาดความยาว 100 มิลลิเมตร สามารถจักตอกได้อยู่ในช่วงความยาว 0.3 – 0.7 มิลลิเมตร โดยทำการผลิตได้ประมาณ 750 ชิ้น/ชั่วโมง
สมศักดิ์ อิทธิโสภณกุล และคณะ (2553) ทำการจักตอกไม้ไผ่แบบปล้องเดียวที่ความหนา 0.50, 0.75, 1.00, 1.25, 1.50 มิลลิเมตร ยาว 38 เซนติเมตร พบว่ามีเปอร์เซ็นต์ของเส้นตอกที่คุณภาพดี อยู่ในช่วง 79 – 69 เปอร์เซ็นต์ และความคลาดเคลื่อนความหนาอยู่ในช่วง ?0.03 มิลลิเมตร จำนวนเส้นตอกที่เป็นของเสียมีค่าลดลงเมื่อระยะห่างของใบมีค่าเพิ่มขึ้น หรือความหนาของเส้นตอกเพิ่มขึ้น เนื่องด้วยลักษณะทางกายภาพของไม้ไผ่จะประกอบไปด้วยโครงสร้างของเส้นใยที่เป็นองค์ประกอบของลำต้นอยู่นลักษณะเส้นในแนวนอน เมื่อได้รับแรงเฉือนจากใบมีด และด้วยลักษณะของเส้นตอกที่มีความบางจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเส้นตอก ในลักษณะที่มีเนื้อไม้ไผ่เต็มตลอดความยาวของเส้น
จากการศึกษาข้างต้น พบว่า เส้นตอกที่ได้จากเครื่องจักตอกยังมีความบางไม่ถึง 0.1 – 0.3 มิลลิเมตร ตามความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานไม้ไผ่และหวาย ตำบลกลางแดด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ทำให้เป็นสิ่งที่ท้าทายและน่าสนใจในการออกแบบใบมีดใหม่เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | แนวคิด ทฤษฎีและสมมติฐานงานวิจัย
งานวิจัยเรื่อง การพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องจักตอกเพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กรณีศึกษา : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานไม้ไผ่และหวาย ตำบลกลางแดด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องดังนี้
ธนัตถา กรพิทักษ์ (2557) ทำการวิจัยเพื่อออกแบบและสร้างเครื่องผ่าไม้ไผ่ มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตในขั้นตอนการเตรียมเส้นตอกสำหรับสานเข่งใส่ผลไม้ ที่ต้องใช้เส้นตอกที่มีความยาว 6 ถึง 8 เมตร ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาเครื่องผ่าไม้ไผ่ให้สามารถผ่าได้ตลอดความยาวของลาต้น โดยใช้หลักการดันกระแทกลำไม้ไผ่ด้วยกาลังจากมอเตอร์ไฟฟ้าขนาด 2 แรงม้า เพื่อดึงลวดสลิงที่ยึดติดกับหัวจับลาไม้ไผ่ที่สามารถขยายออกและหดตัวเข้าเพื่อทาการจับยึดไม้ไผ่ตั้งแต่ด้านโคนจนถึงปลายลำและติดตั้งล้อเลื่อนให้วางอยู่บนรางสำหรับประคองหัวจับขณะที่เลื่อนไป-มา เพื่อดันให้ลำไม้ไผ่พุ่งเข้าไปกระแทกที่หัวผ่า (จาปา ผ่าไม้ไผ่) จากการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องผ่าไม้ไผ่ พบว่าสามารถผ่าไม้ไผ่ได้ทุกขนาดโดยไม่มีข้อจำกัดด้านความหนาและความยาว ประสิทธิภาพด้านเวลานั้นพบว่าการผ่าไม้ไผ่ที่มีความยาว 2 เมตร หนา 7 มิลลิเมตร ใช้เวลาผ่าเฉลี่ย 0.47 นาที ความหนา 9 มิลลิเมตร ใช้เวลาผ่าเฉลี่ย 0.53 นาที ความยาว 4 เมตร หนา 7 มิลลิเมตร ใช้เวลาผ่าเฉลี่ย 1.06 นาที ความหนา 10 มิลลิเมตร ใช้เวลาผ่าเฉลี่ย 1.10 นาที ความยาว 8 เมตร หนา 9 มิลลิเมตร ใช้เวลาผ่าเฉลี่ย 1.58 นาที ความหนา 10
มิลลิเมตร ใช้เวลาผ่าเฉลี่ย 2.02 นาที และมีต้นทุนค่ากระแสไฟฟ้าเพียง 5.10 บาทต่อ 1 ชั่วโมง
พลังวัชร์ แพ่งธีระสุขมัย (2552) ทำการพัฒนาและสร้างเครื่องจักตอกไม้ไผ่ เพื่อช่วยในการจักตอกได้สะดวกกว่าแรงงานคน โดยการนำหลักการจักตอกไม้ไผ่ด้วยมือ และเครื่องต้นแบมาใช้เป็นหลักการในการสร้างเครื่องจักตอกไม้ไผ่ โดยตอกแต่ละเส้นใช้เวลาโดยประมาน 3 วินาที ที่ขนาดความยาว 100 มิลลิเมตร สามารถจักตอกได้อยู่ในช่วงความยาว 0.3 – 0.7 มิลลิเมตร โดยทำการผลิตได้ประมาณ 750 ชิ้น/ชั่วโมง
สมศักดิ์ อิทธิโสภณกุล และคณะ (2553) ทำการจักตอกไม้ไผ่แบบปล้องเดียวที่ความหนา 0.50, 0.75, 1.00, 1.25, 1.50 มิลลิเมตร ยาว 38 เซนติเมตร พบว่ามีเปอร์เซ็นต์ของเส้นตอกที่คุณภาพดี อยู่ในช่วง 79 – 69 เปอร์เซ็นต์ และความคลาดเคลื่อนความหนาอยู่ในช่วง ?0.03 มิลลิเมตร จำนวนเส้นตอกที่เป็นของเสียมีค่าลดลงเมื่อระยะห่างของใบมีค่าเพิ่มขึ้น หรือความหนาของเส้นตอกเพิ่มขึ้น เนื่องด้วยลักษณะทางกายภาพของไม้ไผ่จะประกอบไปด้วยโครงสร้างของเส้นใยที่เป็นองค์ประกอบของลำต้นอยู่นลักษณะเส้นในแนวนอน เมื่อได้รับแรงเฉือนจากใบมีด และด้วยลักษณะของเส้นตอกที่มีความบางจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของเส้นตอก ในลักษณะที่มีเนื้อไม้ไผ่เต็มตลอดความยาวของเส้น
จากการศึกษาข้างต้น พบว่า เส้นตอกที่ได้จากเครื่องจักตอกยังมีความบางไม่ถึง 0.1 – 0.3 มิลลิเมตร ตามความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานไม้ไผ่และหวาย ตำบลกลางแดด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ทำให้เป็นสิ่งที่ท้าทายและน่าสนใจในการออกแบบใบมีดใหม่เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | วิธีการดำเนินการวิจัย
1. ศึกษารูปแบบการจักตอกของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานไม้ไผ่และหวาย ตำบลกลางแดด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งปัจจุบันยังใช้มีดจักตอก โดยการสังเกตและจับเวลา ร่วมกับการบันทึกข้อมูลด้วยภาพแสดงลักษณะของเครื่องมือและวิธีการผ่าไม้ไผ่ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
2. ศึกษาประสิทธิภาพการจักตอกไม้ไผ่ด้วยวิธีการใช้มีดผ่าด้วยการใช้แรงงานคนโดยการจักตอกไม้ไผ่ออกเป็นซี่เล็ก ตามขนาดความกว้างของเส้นตอก
3. การออกแบบและสร้างเครื่องจักตอกไม้ไผ่ สำหรับขั้นตอนของการออกแบบเครื่องจักตอกไม้ไผ่ผู้วิจัยจะนำข้อมูลจากการศึกษาข้อดี – ข้อด้อย - ปัญหาที่เกิดกับเครื่องจักตอกไม้ไผ่ที่ได้มีการสร้างมาก่อนหน้า ผนวกกับข้อมูลด้านความต้องการอันเกี่ยวกับสมรรถนะของเครื่องจักรกลการผลิตที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้ใช้เครื่องจักตอกไม้ไผ่
3.นำผลที่ได้จากการวิเคราะห์มาออกแบบและพัฒนาใบมีดและลักษณะการป้อนตอกเข้าเครื่องด้วยกระบวนการทางคอมพิวเตอร์เพื่อให้เครื่องจักรจอกสามารถจักตอกได้ขนาด 0.1 0.2 และ 0.3 มิลลิเมตร
4.สร้างและพัฒนาเครื่องจักตอก
5.ทดสอบประสิทธฺภาพเครื่องจักตอกและนำผลการที่ได้มาวิเคราะห์ สรุปงานวิจัยเพื่อทำการเผยแพร่ต่อไป |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | ชาวบ้านไม่มีเครื่องจักรกลมาช่วยทุ่นแรง ทำให้เกิดความล่าช้าและเสียเวลาในขั้นตอนการผลิตในขั้นตอนต่อไป ยังก่อให้เกิดปัญหาในเรื่องของวัตถุดิบไม่ได้ขนาดและขาดความเป็นมาตรฐานและไม่สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลายได้ ผลผลิตที่ได้ต่อวัน มีจำนวนน้อย อีกทั้งเครื่องจักตอกที่มีใช้ในปัจจุบันยังไม่สามารถจักตอกให้มีขนาด 0.1 – 0.3 มิลลิเมตรได้ เนื่องจากปัญหาด้านใบมีดและลูกกลิ้งส่งตอก จะทำให้ตอกที่มีขนาดบางแตก จากปัญหาที่เกิดขึ้นในขั้นตอนของการเตรียมวัตถุดิบเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มจักสานไม้ไผ่และหวาย ตำบลกลางแดด อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ จึงทำให้ทางคณะผู้วิจัยได้คิดที่จะออกแบบใบมีดและสร้างเครื่องจักตอกเพื่อลดระยะเวลาในการจัดเตรียมวัตถุดิบของชาวบ้าน และทำให้ชาวบ้านมีเวลามากพอที่จะผลิตเครื่องจักสาน ในปริมาณที่มากขึ้น เพื่อให้ได้จำนวนชิ้นงานที่ผลิตต่อวันมีจานวนที่เพิ่มขึ้นกว่าเดิมและสามารถสนองความต้องการของตลาด อีกทั้งยังแก้ไขปัญหาและช่วยพัฒนา
ศักยภาพด้านการผลิตของกลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ต่อไป |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 1871 ครั้ง |