รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000514
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนาศักยภาพและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไก่พื้นเมืองพันธุ์แสมดำเพื่อเศรษฐกิจชุมชนในเขตจังหวัดอุทัยธานี
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Development and Technology Transfer for Local Production of Samae Dam Breeders in Uthai Thani Provice
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :พัฒนาศักยภาพ ถ่ายทอดเทคโนโลยี ไก่พื้นเมืองพันธุ์แสมดำ จังหวัดอุทัยธานี
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สถาบันวิจัยและพัฒนา
ลักษณะโครงการวิจัย :แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :-
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยและโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้นแล้ว
งบประมาณที่เสนอขอ :165000
งบประมาณทั้งโครงการ :165,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :30 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :29 พฤศจิกายน 2564
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยประยุกต์
กลุ่มสาขาวิชาการ :เกษตรศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กลุ่มวิชาการ :ทรัพยากรสัตว์
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :สำหรับการลงพื้นที่ของผู้วิจัยเพื่อหาข้อมูลการวิจัยเบื้องต้น ในวันที่ 3-5 กรกฎาคม 2563 พบว่า จังหวัดอุทัยธานี สภาพภูมิอากาศของจังหวัดอุทัยธานี จัดอยู่ในประเภทเมืองร้อน เฉพาะฤดูร้อน ดังนั้น อากาศจะร้อนมากในฤดูร้อน และจำแห้งแล้งในฤดูหนาว อุณหภูมิต่ำสุดจะอยู่ระหว่าง15-16 องศาเซลเซียส ในระหว่างเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม และอุณหภูมิสูงสุดระหว่าง 38-42 องศา เซลเซียส ในระหว่างเดือนเมษายน และเดือนพฤษภาคมสำหรับอุณหภูมิตลอดปีอยู่ระหว่าง 24-25 องศาเซลเซียสแต่จากสถานการณ์ปัจจุบันพบว่า เกษตรกรประสบปัญหา ภัยแล้ง ไม่มีน้ำทำนาโดยเฉพาะ เขตอำเภอ เมือง หนองขาหย่า ลานสัก และบ้านไร่ ประกอบกันสถานการณ์ covid -19 ระบาดทำเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่มีรายได้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย โดยกลุ่มเกษตรกร อุทัยธานีเห็นว่า การผลิตไก่ลูกผสมพื้นเมืองแสมดำเป็นการผลิตเพื่อจะทำให้มีรายได้เพิ่ม เนื่องจากไก่ลูกผสมพื้นเมืองแสมดำมีลักษณะเด่น คือ เนื้อนุ่ม ตัวดำ แข้งดำ มีประวัติการเลี้ยงมานาน และราคาดีจึงควรจะมีการศึกษาพัฒนาสายพันธุ์ไก่ลูกผสมพื้นเมืองแสมดำ เพื่อการส่งเสริมอาชีพชุมชนโดยการทดสอบประสิทธิภาพและต้นทุนการผลิตไก่ลูกผสมพื้นเมืองแสมดำ และการจัดตั้งเป็นแหล่งเรียนรู้อาชีพและส่งเสริมเพื่อพัฒนาระบบมาตรฐานฟาร์มเครือข่ายการเลี้ยงไก่ลูกผสมพื้นเมืองแสมดำอย่างยั่งยืนของกลุ่มเกษตรกรในอุทัยธานี และควรศึกษาอัตลักษณ์ด้าน คุณลักษณะพิเศษ องค์ประกอบทางเคมี ประสาทสัมผัสและความนุ่มของคุณภาพเนื้อไก่เพื่อเป็นจุดขายต่อไป ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมุ่งศึกษาการพัฒนาศักยภาพและการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตไก่พื้นเมืองพันธุ์แสมดำเพื่อเศรษฐกิจชุมชนในเขตจังหวัดอุทัยธานี
จุดเด่นของโครงการ :การอนุรักษ์สายพันธุ์ประจำถิ่น
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1 เพื่อการทดสอบประสิทธิภาพและต้นทุนการผลิตไก่พันธุ์แสมดำของเกษตรกรรายย่อยในเขตจังหวัดอุทัยธานี 2 เพื่อศึกษาอัตลักษณ์ด้านคุณภาพซากองค์ประกอบทางเคมี ความนุ่มของเนื้อไก่พันธุ์แสมดำในเขตจังหวัดอุทัยธานี 3 เพื่อจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายผู้เลี้ยงไก่พันธุ์แสมดำในเขตจังหวัดอุทัยธานี 4 เพื่อเก็บรักษาข้อมูลการอนุรักษ์ไก่พันธุ์แสมดำในเขตจังหวัดอุทัยธานี 5 เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและประสิทธิภาพการผลิตไก่พันธุ์แสมดำในเขตจังหวัดอุทัยธานี 6 เพื่อส่งเสริมอาชีพการผลิตไก่พันธุ์แสมดำในเขตจังหวัดอุทัยธานี
ขอบเขตของโครงการ :ทดสอบประสิทธิภาพและต้นทุนการผลิตไก่พันธุ์แสมดำของเกษตรกรรายย่อยและทำการศึกษาอัตลักษณ์ด้านคุณภาพซากองค์ประกอบทางเคมี ความนุ่มของเนื้อไก่พันธุ์แสมดำในเขตจังหวัดอุทัยธานีและจัดตั้งแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายผู้เลี้ยงไก่พันธุ์แสมดำเพื่อเก็บรักษาข้อมูลการอนุรักษ์ไก่พันธุ์แสมดำในเขตจังหวัดอุทัยธานี ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีและประสิทธิภาพการผลิตไก่พันธุ์แสมดำและส่งเสริมอาชีพการผลิตไก่พันธุ์แสมดำในเขตจังหวัดอุทัยธานี
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1 ทราบข้อมูลประสิทธิภาพและต้นทุนการผลิตไก่พันธุ์แสมดำของเกษตรกรรายย่อย 2 ทราบคุณภาพซาก องค์ประกอบทางเคมีความนุ่มของเนื้อไก่พันธุ์แสมดำในเขตจังหวัดอุทัยธานี 3 จัดตั้งแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายผู้เลี้ยงไก่พันธุ์แสมดำในเขตจังหวัดอุทัยธานี 4 ทราบข้อมูลและการรักษาข้อมูลการอนุรักษ์ไก่พันธุ์แสมดำในเขตจังหวัดอุทัยธานี 5 มีแหล่งการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับประสิทธิภาพการผลิตไก่พันธุ์แสมดำในเขตจังหวัดอุทัยธานี 6 สามารถจัดฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพการผลิตไก่พันธุ์แสมดำในเขตจังหวัดอุทัยธานี
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :จัดตั้งแหล่งการเรียนรู้และเครือข่ายผู้เลี้ยงไก่พันธุ์แสมดำเพื่อเก็บรักษาข้อมูลการอนุรักษ์ไก่พันธุ์แสมดำในเขตจังหวัดอุทัยธานี การดำเนินการตามแผน/แนวทางการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนาเครือข่ายอาชีพการเลี้ยงไก่แบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนการดำเนินการแก้ไขปัญหาและเป็นการฟังหรือผนึกความรู้เช่นเดียวกันเกิดการเรียนรู้เป็นความรู้ฝังลึกที่ยกระดับขึ้นไปอีกในตัวบุคคลโดยการจัดอบรมถ่ายทอดความรู้จากปัญหาข้อมูลและผลการทดลองนำไปสู่การใช้ประโยชน์และการสร้างเครือข่ายรวบรวมสมาชิกเข้าร่วมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน กระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน การศึกษากระบวนการจัดการเครือข่าย ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตัดสินใจเลือกพร้อมลงมือปฏิบัติติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนโดยการบันทึก เก็บข้อมูล พร้อมจัดเวทีสรุปร่วมกัน โดยเน้นการต่อเนื่องเกิดเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันจนกลายเป็นความรู้ที่ฝังลึกอีกครั้งและจะต้องมีการติดตามการประเมินผลอย่างเป็นระบบและเน้นการประเมินแบบมีส่วนร่วมจนทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การทดสอบประสิทธิภาพและต้นทุนการผลิตไก่พันธุ์แสมดำของเกษตรกรรายย่อยและทำการศึกษาอัตลักษณ์ด้านคุณภาพซาก องค์ประกอบทางเคมี ความนุ่มของเนื้อไก่พันธุ์แสมดำในเขตจังหวัดอุทัยธานี ประสิทธิภาพและต้นทุนการผลิตไก่พันธุ์แสมดำทำการบันทึกปริมาณอาหารที่กินได้ทุกสัปดาห์ เพื่อนำไปคำนวณหาปริมาณอาหารทีกินได้ต่อวัน ทำการชั่งน้ำหนักเริ่มต้นและสิ้นสุดการทดลองทุกสัปดาห์ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้นทุกสัปดาห์ เพื่อนำไปคำนวณอัตราการเจริญเติบโตเฉลี่ยต่อวัน อัตราการแลกเนื้อ ทำการสุ่มเก็บตัวอย่างเลือดไก่แต่ละกลุ่ม ส่งตรวจสอบเลือดที่ เทคนิคการแพทย์แล๊บ อำเภอ เมือง จังหวัดนครสวรรค์ เก็บข้อมูลคุณภาพซากไก่เนื้อเมื่อสิ้นสุดการทดลอง ทำการสุ่มไก่เนื้อ โดยการสุ่มซ้ำละ 2 ตัว/คอก เพศผู้ 1ตัวเพศเมีย 1 ตัว นำมาซำแหละซาก ตามวิธีการของ (สุทธิ์พงศ์ และธีระยุทธ) รายละเอียดดังนี้ บันทึกน้ำหนักซากไก่มีชีวิตก่อนฆ่า ของไก่เนื้อแต่ละตัว น้ำหนักไก่หลังเชือด และถอนขน น้ำหนักหลังควักเครื่องในออก (เหลือ ตับ หัวใจ กึ๋น) น้ำหนักมีชีวิตหลังฆ่าและชั่งน้ำหนักภายหลังการถอดขน ชำแหละ ตัดแต่งซาก ตัวแยก เนื้อแก น่อง สะโพกโครง (รวม แข่ง เท้า และหัว) ไขมันรวม (ไขมันรอบกึ๋น, ลำใส่, ช่องท้อง) ตับ กึ๋น หัวใจ ปีกบน ปีกกลางปลายปีก นำมาคำนวณ % ซาก ตรวจสอบองค์ประกอบทางเคมีและคุณภาพเนื้อประกอบด้วยการวิเคราะห์เนื้อสัมผัสของเนื้อไก่ วัดตามแนวขวางของเส้นใยกล้ามเนื้อ โดยเตรียมตัวอย่างชิ้นเนื้อไก่ขนาด 1 เซนติเมตร และทำการวัดแต่ละชุดการทดลอง 3 ซ้ำ ตั่งค่าเครื่องดังต่อไปนี้ การตั่งค่าของ สำหรับเนื้อไก่ วิธีการคำนวณต่างๆ ดังนี้ ค่า แรงกดสูงสุดของการกดครั้งที่ 1 หน่วยเป็นนิวตัน ค่าอัตราการคืนรูปของวัสดุ ค่าพื้นที่ของกราฟ ค่าหน่วยเป็นนิวตัน การตรวจวัดค่าสีของเนื้ออก น่อง และหนัง (สัญชัย, 2555) และรายงานค่าสีตามระบบจำแนกเป็นค่าความสว่าง ค่าความแดง และค่าความเหลือง การวิเคราะห์หาปริมาณความชื้น โดยวิธี Hot air Method นำถ้วยอบอลูมิเนียมพร้อมฝาปิดเข้าอบในตู้อบไฟฟ้า ที่อุณหภูมิ 105.5 องศาเซลเซียส ใช้เวลา 2-3 ชั่วโมง นำออกนำออกมาใส่โถดูดดความชื้นและทิ้งให้เย็น ไม่เกิน 2 ชั่วโมง แล้วน้ำมาชั่งบันทึกน้ำหนัก ต่อจากนั้นชั่งน้ำหนักตัวอย่างเนื้อไก่ส่วน น่อง และสะโพก ที่บดละเอียด ขนาด 3 กรัม ใส่ลงในถ้วยอบ บันถึกน้ำหนัก ปิดฝาถ้วย แล้วนำไปอบที่อุณหภูมิ 135 องศาเซลเซียส นาน 2 ชั่วโมงหรือจนน้ำหนักคงที่ ขณะอบต้องปิดฝาถ้วย เมื่อครบกำหนดเวลา นำถ้วยอบออกใสในโถดูดความชื้นและปิดฝาโถ แล้วปล่อยให้เย็น ไม่เกิน 2 ชั่วโมง ชั่งน้ำหนัก จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้และเครือข่ายผู้เลี้ยงไก่พันธุ์แสมดำเพื่อเก็บรักษาข้อมูลการอนุรักษ์ไก่พันธุ์แสมดำในเขตจังหวัดอุทัยธานี การดำเนินการตามแผน/แนวทางการแก้ไขปัญหาหรือการพัฒนาเครือข่ายอาชีพการเลี้ยงไก่แบบพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนการดำเนินการแก้ไขปัญหาและเป็นการฟังหรือผนึกความรู้เช่นเดียวกันเกิดการเรียนรู้เป็นความรู้ฝังลึกที่ยกระดับขึ้นไปอีกในตัวบุคคลโดยการจัดอบรมถ่ายทอดความรู้จากปัญหาข้อมูลและผลการทดลองนำไปสู่การใช้ประโยชน์และการสร้างเครือข่ายรวบรวมสมาชิกเข้าร่วมเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน กระบวนการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน เครือข่ายวิสาหกิจชุมชนเพื่อความเข้มแข็งของชุมชนอย่างยั่งยืน การศึกษากระบวนการจัดการเครือข่าย ดำเนินการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ตัดสินใจเลือกพร้อมลงมือปฏิบัติติดตามและประเมินผลการดำเนินการตามแผนโดยการบันทึก เก็บข้อมูล พร้อมจัดเวทีสรุปร่วมกัน โดยเน้นการต่อเนื่องเกิดเครือข่ายการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันจนกลายเป็นความรู้ที่ฝังลึกอีกครั้งและจะต้องมีการติดตามการประเมินผลอย่างเป็นระบบและเน้นการประเมินแบบมีส่วนร่วมจนทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกัน การดำเนินการวิเคราะห์รวบรวมข้อมูลเครือข่าย โดยคณาจารณ์และนักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์ มีบทบาทหลักในการดำเนินการ การถ่ายทอดเทคโนโลยีและประสิทธิภาพการผลิตไก่พันธุ์แสมดำ และส่งเสริมอาชีพการผลิตไก่พันธุ์แสมดำในเขตจังหวัดอุทัยธานี ทำการถ่ายทอดเทคโนโลยีและประสิทธิภาพการผลิตไก่พันธุ์แสมดำส่งเสริมอาชีพการผลิตไก่พันธุ์แสมดำผู้วิจัยสร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูล ในการจัดเวทีชาวบ้านและการเก็บข้อมูลภาคสนาม ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบลึก แนวทางสนทนากลุ่ม เป็นต้น ซึ่งคณาจารย์และนักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ มีบทบาทหลักในการดำเนินการการวิจัยครั้งนี้ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :747 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายธันวา ไวยบท บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย70
นายปิยลาภ มานะกิจ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย20
นายสว่าง แป้นจันทร์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย10

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด