รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000513
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :ระบบการตรวจวัดและการควบคุมการให้น้ำพืชแบบอัตโนมัติ และถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น สาขาวิชาไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์อุตสาหกรรม
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Automatic Plant Watering Measurement and Control System with Technology and Innovation Transfer to the Community Department of Industrial Electricity and Electronics
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การให้น้ำพืชแบบอัตโนมัติ ระบบการตรวจวัดและการควบคุมระยะไกล นวัตกรรมตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม > ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม สาขาวิชาไฟฟ้า
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :25000
งบประมาณทั้งโครงการ :25,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :02 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :30 มิถุนายน 2564
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยบูรณาการ
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
สาขาวิชาการ :สาขาวิศวกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมวิจัย
กลุ่มวิชาการ :วิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีพื้นฐานทางวิศวกรรมศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ปัจจุบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น มีการใช้งานอย่างแพร่หลายในทุกสาขาอาชีพ ไม่เว้นแม้แต่อาชีพเกษตรกรรมซึ่งจัดเป็นอาชีพหลักของประเทศไทย แต่เป็นที่น่าแปลกใจว่างานวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศส่วนใหญ่กลับไม่ได้เกื้อหนุนต่ออาชีพเกษตร ซึ่งเป็นอาชีพหลักของคนไทยมากนัก อาชีพเกษตรกรยังคงเป็นอาชีพที่ต้องใช้การจัดการแบบในอดีต คือ ต้องเดินตรวจสวน ใส่ปุ๋ยตามเวลาที่กำหนด แต่ไม่ได้คำนึงถึงธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินก่อนแล้ว การจัดการโรคแมลงเมื่อเจอปัญหาการระบาด และอาจจะใช้สารเคมีเกินอัตราความจำเป็นที่ต้องใช้ อีกทั้งยังประสบปัญหาด้านราคาผลผลิตตกต่ำในขณะที่ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น ปัญหาด้านกระบวนการจัดการ การดูแลรักษา การจัดการโรคแมลง การเก็บเกี่ยวและการจำหน่ายผลผลิต ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาที่สำคัญในการทำการเกษตรทั้งสิ้น รวมไปถึงการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างไม่มีประสิทธิภาพ ทั้งทรัพยากรที่มีอยู่ในธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำแสงแดด อากาศ และทรัพยากรที่ต้องเพิ่มเติมเข้าไป เช่น ปุ๋ย สารกำจัดศัตรูพืช ถือเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการผลิตทางการเกษตร การผลิตสินค้าเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นต้องมีปัจจัยการผลิตที่ดีร่วมกับระบบการจัดการที่ดี การตัดสินใจว่าควรปลูกพืชชนิดใด เลี้ยงสัตว์ชนิดใด และใช้ปัจจัยการผลิตชนิดใดที่เหมาะสมต่อพื้นที่นั้น ก็นับเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการผลิตทางการเกษตร แต่ในปัจจุบันกลับพบว่างานวิจัยทางด้านการเกษตรของไทยไม่ได้ก้าวตามโลกที่ได้ข้ามไปสู่ยุค IT (Information Technology) ซึ่งแตกต่างจากประเทศที่พัฒนาแล้วที่ให้ความสำคัญกับงานวิจัยในศาสตร์ที่จะทาให้การเกษตรกรรมของศตวรรษที่ 21 เป็นอาชีพที่ทันสมัย (ธีรเกียรติ์ เกิดเจริญ, 2550) โดยมีการนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ให้เกิดประโยชน์และผสมผสานกับเทคโนโลยีด้านอื่นๆ เช่น คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ ไอที สื่อสาร เซ็นเซอร์เทคโนโลยีชีวภาพ ดาวเทียม รวมทั้งนาโนเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการจัดการฟาร์ม ซึ่งจะส่งผลให้การทำฟาร์มในรูปแบบเดิมก้าวข้ามไปสู่ฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farm หรือ Intelligent Farm) หรือที่ได้รับการขนานนามว่า “ฟาร์มที่มีการจัดการอย่างถูกต้องแม่นยำ” (Precision Farm) (Soni, Mandloi, & Jain 2011) ดังนั้น การทำฟาร์มอัจฉริยะจึงเป็นแนวทางที่เหมาะสมต่อการทำการเกษตร เพื่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการใช้เทคโนโลยีด้านอื่นๆ ไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดการผลิตสินค้าเกษตรที่เหมาะสม ปลอดภัย และเพียงพอต่อความต้องการของประชากรที่จะเพิ่มสูงขึ้นในอนาคต อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม นำไปสู่การทำการเกษตรแบบยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
จุดเด่นของโครงการ :การนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาปรับใช้กับการทำการเกษตร เพื่อให้มีประสิทธิภาพการผลิตที่สูงขึ้น มีการนำเอาเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ มาประยุกต์ใช้ในการจัดการมากขึ้น ทำให้สามารถลดแรงงานด้านการเกษตร ซึ่งในปัจจุบันแรงงานในส่วนของภาคเกษตรก็จะยิ่งลดลงไปเรื่อยๆ ยิ่งในประเทศที่พัฒนาแล้วก็จะยิ่งมีแรงงานภาคการเกษตรที่ลดลง แต่ประเทศดังกล่าวหันมาให้ความสนใจภาคการเกษตรมากขึ้น ดังนั้น จึงได้มีการนำเอาเทคโนโลยีด้านต่างๆ มาช่วยในการจัดการ ส่งผลให้เกิดการผลิตสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพและปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด ซึ่งประเทศไทยเองจัดเป็นประเทศที่มีความเกี่ยวพันกับการเกษตรมาตั้งแต่สมัยโบราณ ประชากรในประเทศประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ภาครัฐจึงควรหันมาให้ความสำคัญในด้านการทำการเกษตรแบบอัจฉริยะ และควรนำเอาเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้กับภาคเกษตรให้มากขึ้น นำไปสู่การเกษตรยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อไปในอนาคต การให้ปุ๋ยในฟาร์มอัจฉริยะมีแนวคิด วิเคราะห์ความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ปลูกพืชก่อน จากนั้นจัดทำแผนที่ดิน (Soil Mapping) เพื่อเก็บเป็นข้อมูลเบื้องต้นว่าดินในบริเวณนั้นๆ มีความอุดมสมบูรณ์ในระดับใด มีแร่ธาตุอะไรบ้างและมีในปริมาณที่เพียงพอ ขาด หรือเกิน จากนั้นข้อมูลจะถูกส่งไปเก็บไว้ในฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับแผนที่ดินของฟาร์ม เข้าสู่ขั้นตอนการประมวลผล และส่งต่อไปยังเครื่องหยอดปุ๋ยบนรถไถที่ติดตั้งระบบ GPS (Global Positioning System) ทำให้การหยอดปุ๋ยสามารถกำหนดได้ว่าจะหยอดปุ๋ยชนิดใด ปริมาณเท่าใด และจะหยอดลงบริเวณตำแหน่งใดในฟาร์ม เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของพืช และช่วยลดอัตราการสูญเสียปุ๋ยหรือลดระดับความเป็นพิษของปุ๋ยที่มีต่อพืชปลูกนั้นด้วย เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบควบคุมการให้น้ำพืชเพาะปลูกแบบอัตโนมัติ ในภาคครัวเรือนและชุมชน ลดรายจ่ายในภาคครัวเรือน ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมมีความเข้มแข็งและยั่งยืน สอดคล้องตามการสนองพระบรมราโช บายด้านการศึกษาในรัชกาลที่ ๑๐ ทรงมอบให้มหาวิทยาลัยราชภัฏในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อออกแบบและพัฒนานวัตกรรมระบบควบคุมการให้น้ำพืชแบบอัตโนมัติที่สามารถตรวจวัดและควบคุมปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชได้ 2. เพื่อถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ด้านระบบการตรวจวัดและการควบคุมปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชให้กับประชาชน องค์กรภายนอก ชุมชนในท้องถิ่น วิสาหกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
ขอบเขตของโครงการ :งานวิจัยนี้จะทำศึกษาและออกแบบระบบควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ที่สามารถตรวจวัดและควบคุมปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชด้วยอุปกรณ์เซนเซอร์ที่สามารถอ่านและบันทึกค่าได้ตามเวลาจริง Real-time มีเป้าหมายเพื่อสร้างและพัฒนาระบบการตรวจวัดและควบคุมที่ทำงานได้อย่างชาญฉลาด โดยสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่น้อยลง (Doing more with Lass) มีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือ มีความปลอดภัย ยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถทำให้เกิดขึ้นได้โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสื่อสารสารสนเทศ (ICT) ระบบเซนเซอร์ ระบบเก็บข้อมูล และเทคโนโลยีทางด้านการควบคุมอัตโนมัติเพื่อทำให้สามารถรับรู้ข้อมูลสถานะต่างๆ ในระบบมากขึ้นเพื่อใช้ในการตัดสินใจอย่างอัตโนมัติ ถือเป็นส่วนหนึ่งของพันธะกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและการพัฒนาท้องถิ่น โดยทำให้เครือข่ายชุมชนและสังคมใกล้เคียงได้รับความรู้ที่เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในด้านวิชาการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ตอบสนองกับความต้องการของชุมชนในท้องถิ่น
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :เพื่อถ่ายทอดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบควบคุมการให้น้ำพืชเพาะปลูกแบบอัตโนมัติ ในภาคครัวเรือนและชุมชน ลดรายจ่ายในภาคครัวเรือน ทำให้ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดี สังคมมีความเข้มแข็งและยั่งยืน สอดคล้องตามการสนองพระบรมราโชบายด้านการศึกษาในรัชกาลที่ ๑๐ ทรงมอบให้มหาวิทยาลัยราชภัฏในการยกระดับคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ควบคู่ไปกับการพัฒนาท้องถิ่นอย่างมีประสิทธิภาพ
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :ตัวอย่างประโยชน์ของการใช้งานในระบบของเซ็นเซอร์ Smart farm ในไร่อ้อย ที่มีระบบท่อน้ำหยดใต้ดินที่มีการเฝ้าระวังแบบเรียลไทม์ (Real-time Irrigation Monitoring System) จะมี Pressure Sensor ติดตั้งในท่อน้ำหยด เพื่อคอยตรวจสอบความสมบูรณ์ของท่อว่าไม่มีการรั่วไหลในท่อตั้งแต่ต้นทางจน ถึงปลายท่อ โดยมีการให้ปุ๋ยผ่านระบบน้ำหยดนี้ ซึ่งควบคุมระบบจ่ายน้ำและปุ๋ย ผ่าน เซ็นเซอร์วัด N-P-K ซึ่งถูกพัฒนาจากเซ็นเซอร์ ISFET ทำให้การใช้ทรัพยากรน้ำและสารเคมี (ปุ๋ย) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การจ่ายน้ำนั้นยังต้องได้ข้อมูลจากสภาพความชื้นในอากาศและในดิน ผ่านการส่งข้อมูลจาก เซ็นเซอร์วัดความชื้น (Humidity Sensor) ที่ถูกติดตั้งเหนือดินและใต้ดิน ระบบ Smart Farm นั้นได้รับพลังงานไฟฟ้าจากระบบ Solar Cell Panels หรือ แผงโซล่าร์เซลล์ ในการจ่ายพลังงานไฟฟ้าให้กับระบบสื่อสาร ระบบเซ็นเซอร์ ปั๊มน้ำและระบบกลไกต่างๆ ทั้งหมด เพื่อให้ประสิทธิผลในการรับแสงดีที่สุด Solar Tracker Sensor ถูกนำมาใช้ในการปรับทิศทางของ Solar Cell Panels ให้ได้รับแสงอาทิตย์ได้มากที่สุดตลอดทั้งวันประดิษฐ์ เป็นพีเอชโพรบที่สามารถใช้งานได้อย่างทนทาน ทั้งในห้องปฏิบัติการและภาคสนาม ตอบสนองต่อการวัดอย่างรวดเร็ว แม่นยำ เหมาะสำหรับใช้วัดตัวอย่างจำนวนมากต่อวัน สามารถวัดค่าพีเอชในตัวอย่างที่เป็นของเหลวมีความหนืดสูงตลอดจนสารกึ่งแข็ง กึ่งเหลว ในงานด้านการเกษตร สิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม การประยุกต์ใช้เซ็นเซอร์ตรวจสภาพอากาศแบบ Micro-climate Monitoring ได้แก่ ข้อมูลอุณหภูมิในดินและในอากาศ ความชื้นในดินและในอากาศ ความเข้มแสง ความเร็วลม ความดันอากาศ และการนำไปใช้ หาความสัมพันธ์กับสภาพผลผลิต ซึ่งคณะผู้วิจัย ได้พัฒนาซอฟต์แวร์สำหรับใช้วิเคราะห์ข้อมูล พยากรณ์อากาศ ณ ตำแหน่งของฟาร์มว่าจะเกิดอะไรขึ้น รวมไปถึงการสื่อสารข้อมูลผ่านระบบอินเตอร์เน็ต เทคโนโลยี Micro-climate Monitoring นี้ สามารถนำมาใช้ควบคุม และจัดการการเปิดปิดระบบรดน้ำสำหรับพืชได้ โดยวิเคราะห์จากความต้องการน้ำของพืช ภายใต้สภาพอากาศแบบนั้นๆ หากเป็นฟาร์มปศุสัตว์ ก็สามารถนำมาใช้ตัดสินใจเปิด-ปิดระบบระบายอากาศ หรือ ยาฆ่าเชื้อโรค เป็นต้น
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :การนำเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำของอุปกรณ์ประสิทธิภาพสูงผสานกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงเพื่อรองรับการพัฒนา ประเทศไทย 4.0 (Thailand 4.0) วิสัยทัศน์เชิงนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยอุตสาหกรรมเกษตรเป็นอุตสาหกรรมที่มีการนำเทคโนโลยีมาประยุกต์หลายศาสตร์ด้วยกัน เราอาจจะได้ยินเกี่ยวกับเทคโนโลยีเหล่านี้ ในชื่อต่างๆ เช่น สมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm) ฟาร์มอัจฉริยะ (Intelligent Farming, Autonomous Farming) เกษตรกรรมความแม่นยำสูง (Precision Farming, Precision Agriculture) รวมไปถึง การบริหารจัดการน้ำ (Water Resources Management) ทางด้านการเกษตร ทั้งหมดนี้ ประกอบด้วยเทคโนโลยีหลักๆ ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์และเซ็นเซอร์ (ซึ่งถือเป็น Hardware) การจัดส่งและรับข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นแบบมีสาย (LAN) หรือไร้สาย (Wireless LAN) และการประเมินผลด้วยโปรแกรมหรือระบบงาน (Software or Application) ซึ่งก็เป็น IOT อย่างหนึ่งSmart farming หรือฟาร์มอัจฉริยะ คือ การนำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาผสมผสานเข้ากับ งานด้านการเกษตรเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ให้กับเกษตรกร เทคโนโลยีฟาร์มอัจฉริยะนั้นตั้งอยู่บนแนวคิด ของการทำเกษตรสมัยใหม่ที่เรียกว่า เกษตรแม่นยำสูง เป็นกลยุทธ์ในการทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยทำให้เกษตรกรสามารถปรับการใช้ทรัพยากรให้สอดคล้องกับสภาพของพื้นที่มากที่สุด รวมไปถึงเรื่องการดูแล อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแนวคิดนี้สามารถนำไปปรับใช้ได้ทั้งฟาร์มพืชและสัตว์ ฟาร์มอัจฉริยะนี้จะมีความแตกต่าง กับฟาร์มธรรมดาอยู่ตรงที่ การใช้ทรัพยากรนั้นทำได้อย่างแม่นยำและตรงต่อความต้องการของพืชและสัตว์ ซึ่งช่วยลดการสูญเสียทรัพยากรและได้ผลผลิตที่ออกมาตรงตามความต้องการของผู้ดูแลมากที่สุด
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การดำเนินงานวิจัยนี้จะมีการกำหนดรูปแบบการทำงานออกเป็นขั้นตอน เพื่อทำหน้าที่ในการจัดการฟาร์ม ทำให้ผู้ใช้งานสามารถดำเนินการและตรวจสอบได้ทุกขั้นตอนการทำงานของฟาร์มอัจฉริยะแยกได้เป็น 5 ขั้นตอน ดังนี้ (ธีรพงศ์ มังคะวัฒน์, 2554) 1. การเก็บรวบรวมข้อมูล (Data Collection) คือ การเก็บข้อมูลของดิน น้ำแสง ภูมิอากาศ ผลผลิต เป็นต้น ด้วยวิธีการและเทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น เครือข่ายเซ็นเซอร์ สถานีตรวจวัดอากาศ ภาพถ่ายดาวเทียม เครื่องสแกนสภาพดิน เป็นต้น 2. การวินิจฉัยข้อมูล (Diagnostics) คือ การสร้าง กรอง และเก็บข้อมูลที่เป็นประโยชน์เข้าสู่ฐานข้อมูลซึ่งมักจะใช้เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ (GIS) 3. การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis) คือ การวิเคราะห์ข้อมูล การทำนายผลผลิตเชิงพื้นที่ รวมไปถึงการวางแผนจัดการ เช่น เทคโนโลยี Crop Modeling ซึ่งจะนำข้อมูลต่างๆ มาทำโมเดลเพื่อหาความสัมพันธ์กับผลผลิตได้ 4. การดำเนินการตามแผนปฏิบัติงาน (Precision Field Operations) คือ การปฏิบัติการตามแผนที่วางไว้ เช่น การหยอดปุ๋ยด้วยรถขับเคลื่อนด้วย GPS การติดตั้งโปรแกรมการให้น้ำการให้ปุ๋ยหรือยาฆ่าแมลงด้วยแคปซูลนาโน ซึ่งสามารถควบคุมการปลดปล่อยตามเงื่อนไขที่กำหนด เป็นต้น 5. การประเมินผล (Evaluation) คือ การประเมินผลการปฏิบัติงานว่ามีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงใด คุ้มค่าแก่การลงทุนหรือไม่ โดยใช้เทคโนโลยีด้านการเงินและเศรษฐศาสตร์อุตสาหกรรม การนำเอาข้อมูลทางด้านภูมิศาสตร์ และสภาพภูมิอากาศ มาหาความสัมพันธ์ กับผลผลิตที่เกิดขึ้นจากเกษตรกรรม โดยมีสมมติฐานว่าปัจจัยเหล่านั้นมีผลโดยตรงกับปริมาณและคุณภาพของผลผลิต ข้อมูลที่น่าจะเกี่ยวข้อง กับการผลิต ได้แก่ ปริมาณแสงที่พืชได้รับ ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงไป และปริมาณน้ำที่ระเหยขึ้นมา ลักษณะของดินที่เพาะปลูก ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ สามารถได้มาจากดาวเทียมและสถานีวัด เป็นงานที่น่าจะพัฒนาขึ้นในประเทศไทยให้เกิดความเข้มแข็ง ตัวอย่างที่คณะวิจัยของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้เคยศึกษาได้แก่การศึกษารอบการปลูกของมังคุด โดยนำข้อมูลภูมิศาสตร์ และสภาพภูมิอากาศของสวนมังคุด ในแปลงปลูกภาคใต้ ภาคตะวันออก และภาคอีสานตอนล่าง มาหาความสัมพันธ์กับผลผลิตมังคุด โดยการสร้างโมเดลที่เรียกว่า “โมเดลของน้ำที่พืชใช้งานได้จริง” (Plant Avaliable Water – PAW) นำมาสู่การสนับสนุนสมมติฐานที่ว่ามังคุดเป็นพืชที่เก็บเกี่ยวได้เพียงปีละหนึ่งครั้งเท่านั้น และสามารถทำนายได้ว่า หากปีใดมีฝนตกและมีการทิ้งช่วงที่ดีพอ จะมีผลผลิตมังคุดที่ดี และผลผลิตมังคุดจะแย่หากมีฝนชุกจนเกินไป
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :งานวิจัยนี้จะทำศึกษาและออกแบบระบบควบคุมด้วยไมโครคอนโทรลเลอร์ที่สามารถตรวจวัดและควบคุมปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืชด้วยอุปกรณ์เซนเซอร์ที่สามารถอ่านและบันทึกค่าได้ตามเวลาจริง Real-time มีเป้าหมายเพื่อสร้างและพัฒนาระบบการตรวจวัดและควบคุมที่ทำงานได้อย่างชาญฉลาด โดยสามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่น้อยลง (Doing more with Lass) มีประสิทธิภาพ มีความน่าเชื่อถือ มีความปลอดภัย ยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถทำให้เกิดขึ้นได้โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีระบบสื่อสารสารสนเทศ (ICT) ระบบเซนเซอร์ ระบบเก็บข้อมูล และเทคโนโลยีทางด้านการควบคุมอัตโนมัติเพื่อทำให้สามารถรับรู้ข้อมูลสถานะต่างๆ ในระบบมากขึ้นเพื่อใช้ในการตัดสินใจอย่างอัตโนมัติ ถือเป็นส่วนหนึ่งของพันธะกิจที่สำคัญของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ การให้ความช่วยเหลือทางวิชาการและการพัฒนาท้องถิ่น โดยทำให้เครือข่ายชุมชนและสังคมใกล้เคียงได้รับความรู้ที่เกิดการเรียนรู้ร่วมกันในด้านวิชาการด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ตอบสนองกับความต้องการของชุมชนในท้องถิ่น
จำนวนเข้าชมโครงการ :394 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นายเทิดพันธุ์ ชูกร บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด