รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000512
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :ชนิดและปริมาณของแพลงก์ตอนและคุณภาพน้ำในบ่อโคลนสำหรับกระบือ กรณีศึกษา ตำบลท่าน้ำอ้อย อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Species and distribution of phytoplankton and water quality in the swamp water buffalo in mud pond : Case study Tha Nam Oi Subdistrict Phayuha Khiri District Nakhon Sawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :แพลงก์ตอน คุณภาพน้ำ บ่อโคลนสำหรับกระบือ
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :25000
งบประมาณทั้งโครงการ :0.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :02 พฤศจิกายน 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :30 มิถุนายน 2564
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยเชิงสำรวจ
กลุ่มสาขาวิชาการ :เกษตรศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาเกษตรศาสตร์และชีววิทยา
กลุ่มวิชาการ :ทรัพยากรประมง
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :กระบือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองที่เลี้ยงกันในประเทศไทยมาช้านาน ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรมโดยเฉพาะการปลูกข้าวซึ่งต้องอาศัยกระบือเป็นหลักในด้านแรงงาน คือ ใช้ไถ คราด ลากเข็น ข้าวหลังเก็บเกี่ยว และนวดข้าว เนื่องจากกระบือมีขนาดใหญ่ มีแรงมาก มีกีบเท้าขนาดใหญ่จึงเหมาะที่จะใช้ทำนาในราบลุ่มและมีน้ำหนักมากได้ดี การเลี้ยงกระบือยังเหมาะกับระบบการเกษตรแบบพอเพียง หรือเกษตรยั่งยืน สำหรับเกษตรกรที่มีพื้นที่ทำกินน้อย เพราะเกษตรกรมีภูมิปัญญาและพื้นที่เลี้ยงอยู่แล้ว ใช้มูลเป็นปุ๋ยปรับปรุงดิน และผลิตลูกขายเพิ่มรายได้ (กรมปศุสัตว์, 2556) ในปัจจุบันอาชีพการเลี้ยงกระบือเพื่อการอนุรักษ์สายพันธุ์ได้รับความนิยมอย่างมาก แต่การเลี้ยงกระบือในบางช่วงสภาพอากาศร้อนมาก ทำให้ควายที่เลี้ยงไว้มีอาการหงุดหงิดไม่กินหญ้า จำเป็นอย่างยิ่งเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือจะต้องจัดหาบ่อน้ำเพื่อให้กระบือลง เล่นน้ำและนอนปลัก นับเป็นการผ่อนคลายของกระบือได้อย่างดี น้ำในบ่อนอนของกระบือนอกจากสามารถนำมารดผัก ผลไม้ต่าง ๆ ได้ หากต้องการใช้ประโยชน์ในบ่อเลี้ยงให้เต็มที่ น่าจะสามารถเลี้ยงสัตว์น้ำให้เจริญเติบโตในบ่อที่มีปริมาณน้ำเพียงพอ ซึ่งสัตว์น้ำที่นำมาเลี้ยงในบ่อต้องทนได้ในสภาพแวดล้อมที่จำกัด ซึ่งยังไม่พบการรายงานการนำเอาสัตว์น้ำไปเลี้ยงในพื้นที่ดังกล่าว มีเพียงสัตว์น้ำที่อยู่ตามธรรมชาติเท่านั้น ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความคิดใช้ประโยชน์จากน้ำที่บ่อกระบือนอนนั้นนำมาเลี้ยงสัตว์น้ำที่เหมาะสม จึงสนใจศึกษาข้อมูลคุณภาพน้ำในบ่อโคลนสำหรับกระบือ รวมทั้งปริมาณแพลงก์ตอนที่เป็นอาหารธรรมชาติของสัตว์น้ำ เพื่อนำเอาข้อมูลดังกล่าวมาวางแผนเลี้ยงสัตว์น้ำที่เหมาะสมกับบ่อดังกล่าว หากสามารถเลี้ยงสัตว์น้ำได้จะทำให้เกษตรกรมีอาหารจำพวกโปรตีนอีกทางหนึ่ง หรือหากมีปริมาณมากพอจะสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ทำให้เกิดความยั่งยืนในชุมชนต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :ข้อมูลคุณภาพน้ำในบ่อโคลนสำหรับกระบือ รวมทั้งปริมาณแพลงก์ตอนที่เป็นอาหารธรรมชาติของสัตว์น้ำ เพื่อนำเอาข้อมูลดังกล่าวมาวางแผนเลี้ยงสัตว์น้ำที่เหมาะสมกับบ่อดังกล่าว หากสามารถเลี้ยงสัตว์น้ำได้จะทำให้เกษตรกรมีอาหารจำพวกโปรตีนอีกทางหนึ่ง หรือหากมีปริมาณมากพอจะสามารถสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ทำให้เกิดความยั่งยืนในชุมชนต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาชนิดและปริมาณของแพลงก์ตอนในบ่อโคลนสำหรับกระบือ 2. เพื่อศึกษาคุณภาพน้ำในบ่อโคลนสำหรับกระบือเพื่อเป็นข้อมูลในการนำสัตว์น้ำมาเลี้ยงต่อไป
ขอบเขตของโครงการ :โครงการวิจัยนี้ดำเนินการร่วมกับเกษตรกร โดยใช้น้ำจากบ่อโคลนสำหรับกระบือ โหนก หลุม ควาย ต. ท่าน้ำอ้อย อ. พยุหะคีรี จ. นครสวรรค์ เพื่อศึกษาชนิดของแพลงก์ตอนที่เป็นแพลงก์ตอนที่ผ่านการกรองด้วยถุงกรองขนาดตา 60 ไมครอน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ทราบชนิดและปริมาณของแพลงก์ตอนในบ่อโคลนสำหรับกระบือ 2. ทราบคุณภาพน้ำในบ่อโคลนสำหรับกระบือเพื่อเป็นข้อมูลในการนำสัตว์น้ำมาเลี้ยงต่อไป 3. เกษตรกรนำข้อมูลที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :กระบือ เป็นสัตว์ที่เลี้ยงง่าย มีความทนทานและอยู่ในสภาพแวดล้อมของประเทศไทยได้ดี โดยทั่วไปเกษตรกรเลี้ยงกระบือแบบปล่อยหากินเองตามธรรมชาติ เช่น ทุ่งหญ้าสาธารณะ ทุ่งนา แปลงพืชไร่ หรือปล่อยแทะเล็มกินหญ้าพื้นเมืองในที่รกร้างต่าง ๆ สามารถเจริญเติบโตได้ตามปกติ (กรมปศุสัตว์, 2560) กระบือเป็นสัตว์ที่ไม่ทนร้อน เนื่องจากมีต่อมเหงื่อใต้ผิวหนังระบายความร้อนน้อยกว่าโค มีหนังที่หนาระบายความร้อนได้ยาก และผิวหนังสีดำทำให้ดูดซับความร้อนสู่ร่างกาย ดังนั้นเกษตรกรจึงจำเป็นต้องปล่อยกระบือลงนอนแช่ปลักหรือสระน้ำเพื่อเป็นการคายความร้อน นอกจากนี้ กระบือ 1 ตัว จะให้มูลเฉลี่ย 11 กิโลกรัมต่อตัวต่อวัน ซึ่งบางครั้งอาจมีการปล่อยมูลดังกล่าวลงไปในปลักหรือสระน้ำที่กระบือนอน ซึ่งน้ำในบ่อก็จะถูกนำไปใช้ในการเกษตรอื่น ๆ เช่น รดน้ำผัก มีการปล่อยสัตว์น้ำ หากเป็นบ่อขนาดใหญ่และมีปริมาณน้ำเพียงพอ มีรายงานของ จุรีรัตน์ (2553) กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดทำโครงการส่งเสริมการเลี้ยงปลาดุกปี 2551 มีการเลี้ยงปลาดุกในบ่อดิน (บวกควาย) แล้ว ยังมีการผลิตผำ ซึ่งเป็นสาหร่ายน้ำจืดชนิดหนึ่งอีกด้วย แต่ทั้งนี้ได้มีการสร้างขึ้นไม่ได้ใช้ปลักกระบือจริง การเจริญเติบโตของสัตว์น้ำนั้นคุณภาพน้ำนับเป็นปัจจัยที่สำคัญคุณภาพน้ำที่เหมาะสมสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ได้แก่ ความเป็นกรดด่าง-ด่าง 6.5-8.5 ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ อุณหภูมิ 25-32 องศาเซลเซียส (ไมตรี และจารุวรรณ, 2528) ค่าแอมโมเนียไนโตรเจนที่ปลอดภัยต่อสัตว์น้ำคือไม่เกิน 0.2 มิลลิกรัมต่อลิตร (วิรัช, 2544) ปริมาณไนไตรท์ไนโตรเจนเฉลี่ยตลอดการเลี้ยงมีค่าอยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อสัตว์น้ำคือ 0.33 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งปริมาณไนไตรท์ไนโตรเจนที่ปลอดภัยต่อปลาคือไม่เกิน 1 มิลลิกรัมต่อลิตร (Lin and Wu, 1995) นอกจากนี้แพลงก์ตอนพืชเป็นดัชนีบ่งชี้คุณภาพน้ำได้เช่นเดียวกัน (ศรีสมร และจงกลนี, 2560) แพลงก์ตอนพืช (Phytoplankton) แต่ละชนิดมีความสามารถเจริญต่อสภาพแวดล้อมที่ต่างกัน สามารถพบแพลงก์ตอนพืชได้ทั้งในน้ำทะเล น้ำกร่อยและน้ำจืด การกระจายของแพลงก์ตอนพืชพบว่า มีการกระจายอยู่ทั่วโลก พบได้ทั่วไปทั้งในเขตอบอุ่นและเขตร้อน นอกจากนี้ชนิดของแพลงก์ตอนพืชยังสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้คุณภาพน้ำได้เหตุผลเนื่องจากแพลงก์ตอนพืชมีวงจรชีวิตสั้น จึงตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว (APHA , 2005) สอดคล้องกับ ยุวดี (2550) ที่กล่าวว่า แพลงก์ตอนพืช มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของอินทรีย์สารที่มีปริมาณน้อยซึ่งวิธีทางเคมีตรวจวัดไม่ได้ และ สามารถตรวจสภาพแวดล้อมที่ดำเนินมาก่อนวันที่ทำการศึกษาได้ ดังนั้นจึงสนใจชนิดและปริมาณรวมถึงคุณภาพน้ำของบ่อนอนของกระบือ ซึ่งยังไม่มีไม่มีการรายงาน หากมีความเหมาะสมจะสามารถเป็นข้อมูลให้เกษตรกรสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำจืดต่อไป
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ศึกษาชนิด ความหนาแน่นของแพลงก์ตอน และคุณภาพน้ำจากบ่อโคลนสำหรับกระบือ ดำเนินการโดยเก็บตัวอย่างน้ำ จากเกษตรกรผู้เลี้ยงกระบือจำนวน 3 ราย โดยเก็บตัวอย่างเดือนละ 1 ครั้งๆ เป็นเวลา 1 ปี โดยใช้กระบอกตวงน้ำขนาดความจุ 1 ลิตรเก็บน้ำทิ้งจากบ่อ แล้วกรองผ่านถุงกรองขนาดตา 60 ไมครอน จากนั้นนำตัวอย่างแพลงก์ตอนที่เก็บได้มาวิเคราะห์เพื่อแยกชนิดโดยใช้คู่มือการแยกชนิดแพลงก์ตอนพืช และ แพลงก์ตอนสัตว์ของ ลัดดา (2542) และบันทึกภาพของแพลงก์ตอน ด้วยกล้องจุลทรรศน์ Olympus DP12 ส่วนการวิเคราะห์ปริมาณแพลงก์ตอนทำโดยการนับจำนวนแพลงก์ตอนด้วย Sedgewick-Rafter แล้วนำมาคำนวณหาความหนาแน่นตามวิธีของ ลัดดา (2542) การวิเคราะห์สมบัติทางกายภาพ สมบัติทางเคมี ตามหลักการวิเคราะห์น้ำของ APHA (2005) โดยวิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ดังนี้ ความเป็นกรด-ด่าง อุณหภูมิ ค่าความนำไฟฟ้า ความเป็นด่าง ความกระด้าง ออกซิเจนที่ละลายในน้ำ ปริมาณของแข็งทั้งหมด ฟอสฟอรัสที่ละลายในน้ำ แอมโมเนีย และไนไตรท์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :491 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวจามรี เครือหงษ์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางสาวจงดี ศรีนพรัตน์วัฒน บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย25
นางสาวสุรภี ประชุมพล บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย25

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด