รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000511
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การประเมินการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานและพฤติกรรม การป้องกันตนเองในกลุ่มคนงานเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ จ.นครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :An assessment of exposure to health threats from work and self-defense behavior among the pottery workers of Ban Mon Nakhonsawan
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :การประเมินการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงาน
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี > ภาควิชาวิทยาศาสตร์ประยุกต์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :40000
งบประมาณทั้งโครงการ :40,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :01 ตุลาคม 2563
วันสิ้นสุดโครงการ :01 กันยายน 2564
ประเภทของโครงการ :การวิจัยพื้นฐาน
กลุ่มสาขาวิชาการ :วิทยาศาสตร์การแพทย์
สาขาวิชาการ :สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์
กลุ่มวิชาการ :สังคมศาสตร์การแพทย์
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ความสำคัญและที่มาของการวิจัย : เนื่องจากรัฐบาลได้ส่งเสริมให้แต่ละหมู่บ้านมีผลิตภัณฑ์ประจำท้องถิ่น (One Tambon One Product : OTOP) เพื่อเพิ่มอาชีพและกระตุ้นให้เกิดรายได้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้น จึงส่งผลให้แต่ละท้องถิ่นต้องมีแผนยุทธศาสตร์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในท้องถิ่นให้ได้คุณภาพและให้ได้ตามมาตรฐานสากล เครื่องปั้นดินเผาเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่มีลักษณะดังกล่าว นอกจากเป็นการผลิตเพื่อใช้ในครัวเรือนแล้ว ยังได้มีการผลิตเพื่อจัดจำหน่ายภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ ชุมชนเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ ตำบลบ้านเก่ง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ ก็เป็นอีกหนึ่งชุมชนที่มีการผลิตเครื่องปั้นดินเผา เป็นงานที่สืบทอดต่อกันมาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีวิวัฒนาการในด้านเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาเป็นเครื่องมือช่วยพัฒนาและเพิ่มความน่าสนใจให้กับผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้น แต่เนื่องจากกลุ่มอาชีพเครื่องปั้นดินเผาส่วนใหญ่นั้น จะมีการผลิตในรูปแบบอุตสาหกรรมครัวเรือน ที่เน้นใช้แรงงานคนเป็นหลักตลอดกระบวนการผลิต ซึ่งยังขาดความรู้และความเข้าใจในการดูแลสุขภาพอนามัยและ ความปลอดภัยที่เกี่ยวเนื่องกับลักษณะการทำงาน ทำให้ในทุกขั้นตอนการผลิตอาจจะทำให้พบความเสี่ยงและอันตรายที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของคนงานกลุ่มอาชีพเครื่องปั้นดินเผา ได้แก่ ฝุ่นจากขั้นตอนการเตรียมดิน เสียงดังจากขั้นตอนการเตรียมดิน โดยเฉพาะการบดดินผสมดินและโม่ดิน ความร้อนจากเตาเผาซึ่งมีความร้อนสูง การขัดมัน การทาสี เครื่องปั้นดินเผาทำให้ผู้ปฏิบัติงานมีโอกาสสัมผัสกับสารระเหย (เช่น โทลูอีน ไซลีน) ซึ่งก่อให้เกิดความผิดปกติ ต่อระบบทางเดินหายใจและรบกวนสมาธิในการทำงานได้ ความเสี่ยงหรืออันตรายทางด้านการยศาสตร์ เนื่องจากคนงานกลุ่มอาชีพเครื่องปั้นดินเผามีลักษณะการทำงานซ้ำซาก (Repetitive Task) โดยมีการทำงานในท่านั่งหรือท่ายืนตลอดเวลาการทำงาน นอกจากนี้ผู้ปฏิบัติงานที่ใส่เสื้อผ้า ไม่รัดกุม เสื้อผ้าอาจเข้าไปเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือเครื่องมือก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ความเสี่ยงหรืออันตรายทางด้านเคมีจากวัตถุดิบที่ใช้ในเคลือบอาจเป็นสารประกอบออกไซด์ของทองแดง ตะกั่ว ซิลิกา โครเมียม และแบเรียม เป็นต้น น้ำยาเคลือบที่มีโลหะหนักเป็นส่วนผสม เมื่อเกิดความร้อนที่โลหะบางส่วนจะกลายเป็นไอออกมา ทำให้เกิดความเสี่ยงในการสูดดมไอของโลหะหนัก ซึ่งมีผลต่อสุขภาพในระยะยาว เพราะสารเหล่านี้จะเข้าไปสะสมในร่างกาย โดยพิษของโลหะแต่ละชนิดนั้นมีความแตกต่างกันออกไป เช่น พิษตะกั่วที่เป็นอันตรายมากที่สุดนั้นเพราะสามารถทำลายระบบประสาท ทำให้สมองพิการได้ เป็นต้น ดังนั้น การประเมินการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหาดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น รวมไปถึงการค้นหาอันตรายและความเสี่ยงจากการทำงาน เพื่อสร้างพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการงานเครื่องปั้นดินเผาได้อย่างมีประสิทธิภาพอันจะนำมาซึ่งสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของกลุ่มคนงานอาชีพเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ จ.นครสวรรค์
จุดเด่นของโครงการ : เพื่อทราบถึงสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานและการวิธีการป้องกันอันตรายในกลุ่มคนงานเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ จ.นครสวรรค์
วัตถุประสงค์ของโครงการ : เพื่อศึกษาสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานและพฤติกรรมการป้องกันตนเองในกลุ่มคนงานเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ จ.นครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ : ประชากร คือ กลุ่มคนงานเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ จ.นครสวรรค์ สิ่งคุกคามประกอบไปด้วย ด้านกายภาพ ชีวภาพ เคมี การยศาสตร์ จิตสังคม และความปลอดภัยในการทำงาน
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : คนงานเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ จ.นครสวรรค์ ที่เข้าร่วมโครงการมีความเข้าใจเรื่องความปลอดภัย สามารถรับรู้ถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น สามารถป้องกันอันตรายจากการทำงานได้ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือวิธีการทำเครื่องปั้นดินเผาให้มีความเสี่ยงและความเป็นอันตรายลดลง
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : การศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล บุคลิกภาพ ความรู้ ความตระหนักและการรับรู้ความปลอดภัย ต่อสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองในกลุ่มคนงานเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ จ.นครสวรรค์นั้น ได้มีการทบทวนเอกสารและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องซึ่งประกอบไปด้วยแนวคิดและทฤษฎีในด้านต่าง ๆ
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัยประกอบด้วยปัจจัยส่วนบุคคล บุคลิกภาพ ความรู้ ความตระหนักและการรับรู้ความปลอดภัย ต่อสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกันตนเองในกลุ่มคนงานเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ จ.นครสวรรค์
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : เป็นการการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Study) วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานและพฤติกรรมการป้องกันตนเองในกลุ่มคนงานเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ จ.นครสวรรค์
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : การประเมินการสัมผัสสิ่งคุกคามสุขภาพจากการทำงานนั้นเป็นจุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหาดังที่ได้กล่าวมาข้างต้น รวมไปถึงการค้นหาอันตรายและความเสี่ยงจากการทำงาน เพื่อสร้างพฤติกรรมการป้องกันตนเองจากการงานเครื่องปั้นดินเผาได้อย่างมีประสิทธิภาพอันจะนำมาซึ่งสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยของกลุ่มคนงานอาชีพเครื่องปั้นดินเผาบ้านมอญ จ.นครสวรรค์
จำนวนเข้าชมโครงการ :414 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวชนกานต์ สกุลแถว บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย80
นายสุชา นุ่มเกลี้ยง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย5
นางสาวละออง อุปมัย บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย5
นางสาวณธิดา อินทร์แป้น บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย5
นางสาวกนกวรรณ อาจแก้ว บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย5

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด