รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000508
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :ปัจจัยที่ส่งผลในการเตรียมความพร้อมของหน่วยรับตรวจต่อการตรวจสอบภายใน
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Factors affecting the preparation of the audited agency to audit
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :หน่วยรับตรวจ หน่วยงานตรวจสอบภายใน งานตรวจสอบภายใน
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :สำนักงานอธิการบดี > หน่วยตรวจสอบภายใน
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :แผนงานวิจัยหรือชุดโครงการวิจัยและโครงการวิจัยที่เสร็จสิ้นแล้ว
งบประมาณที่เสนอขอ :12000
งบประมาณทั้งโครงการ :12,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :07 พฤษภาคม 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :06 พฤษภาคม 2562
ประเภทของโครงการ :งานวิจัยเชิงปริมาณ
กลุ่มสาขาวิชาการ :อื่นๆ
สาขาวิชาการ :อื่นๆ
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ไม่ระบุ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2546 มาตรา 11 ความว่า “ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการ เพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมต่อสถานการณ์รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถสร้างวิสัยทัศน์ และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัด ให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน...” ในการบริหารงานผู้บริหารจะต้องคำนึงถึงความสำคัญของกระบวนการบริหารที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งเริ่มจากแผนการปฏิบัติงานทั้งระยะสั้นและระยะยาว ให้สอดคล้องกับนโยบาย เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ มีการจัดการโครงสร้างการบริหารงานให้สอดคล้องกับแผนงานที่กำหนด ไว้ เพื่อให้การควบคุมภายในให้เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดจึงมีการจัดตั้งสำนักงานตรวจสอบภายในขึ้น เพื่อทำหน้าที่ตรวจสอบ และประเมินผลการปฏิบัติงานกิจกรรมต่างภายในองค์กรๆ พร้อมทั้งให้ข้อมูล ข้อเสนอแนะและให้คำปรึกษา เพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล และมีความคุ้มค่ามากที่สุด ดังนั้น การตรวจสอบภายในจึงเป็นวิชาชีพที่มีการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันในแต่ละองค์กร นอกจากนี้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง กฎหมาย ความล้มเหลวขององค์กรต่างๆ ตลอดจนการเรียกร้องของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทำให้องค์กรจำเป็นต้องมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี มีการบริหารงานที่โปรงใสตรวจสอบได้ ปัจจัยดังกล่าวจึงผลักดันให้วิชาชีพตรวจสอบภายในต้องมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขยายขอบเขตความรับผิดชอบ และมีบทบาทที่ชัดเจนยิ่งขึ้น เพื่อช่วยให้องค์กรมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี เกิดองค์ความรู้และความร่วมมืออันดีระหว่างหน่วยงาน อีกทั้งช่วยให้กระบวนการการตรวจสอบภายในมีความรวดเร็ว ฉับไว และทันการณ์ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลในการเตรียมความพร้อมของหน่วยรับตรวจต่อการตรวจสอบภายใน เพื่อให้ทราบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความรู้ความเข้าใจต่อบทบาทหน้าที่และแนวปฏิบัติของผู้ตรวจสอบภายใน ซึ่งผู้ตรวจสอบภายในต้องสามารถถ่ายทอดให้ผู้รับการตรวจสอบรับทราบถึงมาตรฐานงานตรวจสอบภายใน อีกทั้งงานวิจัยฉบับนี้จะส่งผลดีต่อหน่วยงานตรวจสอบภายในให้สามารถนำข้อมูลที่ได้รับจากการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานการตรวจสอบภายใน ช่วยให้หน่วยรับตรวจมีความสามารถในการเตรียมความพร้อมในการรับการตรวจสอบในลำดับต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :ศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้รับตรวจต่อบทบาท และแนวทางการปฏิบัติงานของตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :การวิจัยครั้งนี้ต้องการศึกษาปัจจัยที่ส่งผลในการเตรียมความพร้อมของหน่วยรับตรวจต่อการตรวจสอบภายใน(Factors affecting the preparation of the audited agency to audit)” ของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยมีขอบเขตดังนี้ 1. ขอบเขตด้านเนื้อหา ตัวแปรอิสระ (Independent Variables) ได้แก่ ปัจจัยด้านประชากร คือ เพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ระยะเวลาการทำงาน และตัวแปรตาม (dependent Variables) ได้แก่ บทบาทผู้ตรวจสอบภายใน คือ การให้สารสนเทศและคำปรึกษา แนวทางการปฏิบัติงาน ประสบการณ์ผู้ตรวจสอบภายใน จริยธรรมผู้ตรวจสอบภายใน และการรับรู้แนวทางการปฏิบัติของผู้ตรวจสอบภายใน คือ การวางแผนการตรวจสอบ การปฏิบัติงานตรวจสอบ การรายงานผลการปฏิบัติการตรวจสอบ การติดตามผลการตรวจสอบ 2. ขอบเขตด้านตัวอย่าง ตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จำนวน 347 คน โดยระบุกลุ่มตัวอย่างแบบวิธีเฉพาะเจาะจงเป็นผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ของแต่ละหน่วยงานจำนวน หน่วยงานละ 2 คน จำนวนทั้งสิ้น 120 คน 3. ขอบเขตด้านเวลาที่ใช้ศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ และสรุปผลจากแบบสอบถาม ตั้งแต่ วันที่ 7 พฤษภาคม 2561 – 6 พฤษภาคม 2562
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :เสริมสร้างประสิทธิภาพของงานตรวจสอบภายใน และหน่วยรับตรวจมีความรู้และเข้าใจในการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน และหน่วยรับตรวจสามารถเตรียมความพร้อมในการรับการตรวจสอบภายใน
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1. แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการรับรู้ 2. แนวการตรวจสอบภายในและการควบคุมภายในหน่วยงานภาครัฐ 3. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการรับรู้ แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ แนวคิดเกี่ยวกับการตรวจสอบภายในและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานตรวจสอบภายใน
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงปริมาณ (Qualititative Research) เพื่อศึกษาเรื่อง “ปัจจัยที่ส่งผลในการเตรียมความพร้อมของหน่วยรับตรวจต่อการตรวจสอบภายใน (Factors affecting the preparation of the audited agency to audit)” โดยมีขั้นตอนการวิจัยและรายละเอียด ดังนี้ 1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 2. เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย 3. การเก็บรวบรวมข้อมูล 4. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) แบบเจาะจงผู้เกี่ยวข้องในการตรวจสอบภายใน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้รับตรวจต่อบทบาท และแนวทางการปฏิบัติงานของตรวจสอบภายในของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ โดยสอบถามจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบภายในโดยตรง จำนวน 120 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยไม่ได้วิเคราะห์การถดถอย
จำนวนเข้าชมโครงการ :63 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวดารณี เพ็ชรากูล บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด