รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000506
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาด้านความฉลาดทางอารมณ์ด้วยกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :Development of Teaching Model for developing Emotional Intelligence with Experience-enhancement Activity in Child Development Center
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :ความฉลาดทางอารมณ์ กิจกรรมเสริมประสบการณ์ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะครุศาสตร์ > ภาควิชาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :65000
งบประมาณทั้งโครงการ :65,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :26 เมษายน 2562
วันสิ้นสุดโครงการ :25 เมษายน 2563
ประเภทของโครงการ :การวิจัยและพัฒนา
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขาการศึกษา
กลุ่มวิชาการ :หลักสูตรและการสอนการวัดและประเมิณผลการศึกษา
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :เด็กจำนวนหนึ่งเติบโตมาด้วยการเลี้ยงดูที่อยู่ในสภาพอารมณ์ที่รุนแรง ในระดับที่เบี่ยงเบนไปจากลักษณะทางอารมณ์และพฤติกรรมของเด็กปกติทั่วไป ทำให้เด็กกลุ่มนี้ถูกจัดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษกลุ่มหนึ่ง ซึ่งต้องได้รับการช่วยเหลือแก้ไขก่อนที่จะสายเกินแก้ เพราะถ้าไม่ได้รับการช่วยเหลือแก้ไขให้ทันท่วงที จะทำให้กลายเป็นเด็กที่มีปัญหากับตนเอง และก่อปัญหาเป็นภัยต่อผู้อื่นในสังคม ซึ่งอาจเรียกได้ว่า เป็นเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม ซึ่งลักษณะของเด็กกลุ่มนี้ จะไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพอันลึกซึ้งกับใคร ๆ ไม่รู้สึกผูกพันกับใคร มักมีเพื่อนในจินตนาการ ผู้ใหญ่ไม่ค่อยอยากจะมีสัมพันธภาพกับเด็ก สาเหตุที่ทำให้เด็กเป็นเช่นนี้ยังไม่ทราบชัดเจน แต่การศึกษาค้นคว้าวิจัยในปัจจุบัน อธิบายว่า เกิดจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับสิ่งแวดล้อมเชิงสังคมที่ ไม่เอื้อต่อวุฒิภาวะทางสังคม และความผิดปกติในแง่ชีววิทยา ซึ่งเด็กจะมีพฤติกรรมที่เก็บตัว ถอยหนีสังคม ไม่มีสัมพันธภาพกับใครแบบรู้จักให้และรู้จักรับ มีพฤติกรรมต่อต้านสังคมในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ก้าวร้าว ชอบทำตัวเป็นนาย ชอบครอบงำคนอื่น ชอบหาเรื่องทะเลาะกัน อิจฉา ขาดความรับผิดชอบ มักทำลายและทำร้ายผู้อื่น (ศรีเรือน แก้วกังวาล. 2545 : 168-169) เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมนั้น ย่อมพบเห็นอยู่ในทุกโรงเรียนทุกสถาบันการศึกษา ตั้งแต่ระดับอนุบาลขึ้นไป จะต่างกันก็ตรงที่มีจำนวนมากหรือน้อยและมีปัญหาทางพฤติกรรมในขั้นรุนแรงเพียงใด เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรมในโรงเรียนมักก่อปัญหาให้แก่ครูประจำชั้น ผู้ปกครอง เพื่อนนักเรียนด้วยกัน ตลอดจนผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ และปัญหาต่าง ๆ นี้ย่อมส่งผลต่อตัวเด็กเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส่งผลกระทบต่อผลการเรียนของเด็ก เด็กจะมีผลการเรียนต่ำ เข้ากับเพื่อนไม่ได้ มักก่อกวนและสร้างความวุ่นวายในชั้นเรียน ล้อเลียนเพื่อน เพื่อความสนุกสนานของตนเอง ส่งเสียงดังและเสียงหัวเราะเป็นที่รำคาญ ในการเรียนการสอน เด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม ครูจะต้องเผชิญกับปัญหาทางพฤติกรรมของเด็กมากมาย ที่จะต้องคอยแก้ไขปัญหาต่างๆ ซึ่งเด็กบางคนจะมีพฤติกรรมรุนแรงขึ้นเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้นด้วยเช่นกัน จากลักษณะที่ได้กล่าวมา แสดงให้เห็นว่าเด็กที่มีปัญหาทางพฤติกรรม มีความบกพร่องทางอารมณ์ ไม่สามารถควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเองได้ ขาดสติความยับยั้งอารมณ์และพฤติกรรม การไม่รู้จักเห็นใจผู้อื่น และขาดความรับผิดชอบต่อส่วนรวม เรียกว่า ขาดทักษะ ความฉลาดทางอารมณ์ ดังที่โกแมน (Goleman. 1995 : 317) กล่าวว่า ความฉลาดทางอารมณ์ คือ ความสามารถในการตระหนักถึงความรู้สึกของตนเอง และความรู้สึกของผู้อื่น สามารถบริหารจัดการกับอารมณ์เพื่อเป็นที่จูงใจในการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น ได้อย่างประสบความสำเร็จ เพื่อให้เกิดความตระหนักรู้จักตนเอง การควบคุมอารมณ์ การเอาใจเขามาใส่ใจเรา และมีทักษะทางสังคมที่ดี กิจกรรมเสริมประสบการณ์มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาการคิดของเด็กปฐมวัย เพราะลักษณะการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์อยู่บนพื้นฐานตามแนวคิดว่า เด็กทุกคนมีศักยภาพในการสร้างองค์ความรู้ โดยอาศัยสภาพจริงที่สอดคล้องกับบริบทของสังคมและวัฒนธรรมของคน โดยจัดอย่างสอดคล้องกับธรรมชาติของเด็กปฐมวัย ซึ่งเป็นวัยแห่งการเรียนรู้ผ่านการสัมผัส การซึมซับ การเลียนแบบ การกระทำ การเล่นอย่างมีความสุข เพราะการที่เด็กได้ทดลองด้วยตนเองนั้นจะส่งผลต่อการพัฒนาความสามารถในการสรุปข้อค้นพบหรือเรียกว่า องค์ความรู้ ได้จากประสบการณ์ตรง เด็กได้มีโอกาสปฏิบัติโดยวิธีการที่หลากหลาย อีกทั้งยังเป็นการฝึกเด็กให้ได้คิดแก้ ปัญหา ใช้เหตุผลและฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับเรื่องที่เรียนด้วยวิธีการต่างๆ ได้แก่ การสนทนา การอภิปราย การเล่านิทาน การสาธิต การใช้คำถาม การทดลอง ปฏิบัติการ ศึกษานอกสถานที่ การเล่านิทาน บทบาทสมมติ การร้องเพลง เล่นเกม ท่องคำคล้องจอง ฯลฯ เนื่องจากวิธีการดังกล่าว เด็กได้มีโอกาสคิด ได้ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรมซึ่งส่งเสริมให้เด็กได้มีโอกาสอยู่ในสังคมและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น เด็กได้ทดลองปฏิบัติ ให้เด็กได้สังเกตได้ค้นพบด้วยตนเอง ช่วยส่งเสริมการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยอยู่ในระดับที่ดี ทั้งนี้เพราะรูปแบบการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เด็กเป็นผู้ลงมือปฏิบัติการทดลองด้วยตนเอง เด็กได้สำรวจวัสดุ บอกความเหมือนความแตกต่างของวัสดุอุปกรณ์ตามลักษณะและคุณสมบัติ จากปัญหาและความสำคัญดังกล่าว ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาและพัฒนารูปแบบการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์โดยการใช้กิจกรรมประสบการณ์ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ใน อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์
จุดเด่นของโครงการ :เป็นการบูรณาการการจัดการเรียนการสอนโดยครูร่วมกับการจัดกิจกรรมที่บ้านด้วยผู้ปกครอง ในการเพื่อช่วยพัฒนาด้านความฉลาดทางอารมณ์ให้กับเด็ก
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1.เพื่อศึกษารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาด้านความฉลาดทางอารมณ์ด้วยกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2. เพื่อพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาด้านความฉลาดทางอารมณ์ด้วยกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 3. เพื่อประเมินรูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาด้านความฉลาดทางอารมณ์ด้วยกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
ขอบเขตของโครงการ :ในการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา เพื่อศึกษาและรูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาด้านความฉลาดทางอารมณ์ด้วยกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก การดำเนินการเป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม นักวิจัยประกอบด้วย อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ นักศึกษา และครูผู้สอนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อ. เมือง จ.นครนครสวรรค์ ร่วมดำเนินการซึ่งแบ่งขอบเขตได้ดังต่อไปนี้ 1. ขอบเขตด้านพื้นที่ พื้นที่ที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อ. เมือง จ.นครนครสวรรค์ 2. ขอบเขตด้านประชากร ครูผู้สอนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อ. เมือง จ.นครนครสวรรค์ 3. ขอบเขตด้านเนื้อหา ได้แก่ กิจกรรมเสริมประสบการณ์
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1.ได้รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาด้านความฉลาดทางอารมณ์ด้วยกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 2. ผู้สอนใช้รูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาด้านความฉลาดทางอารมณ์ด้วยกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :1. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับความฉลาดทางอารมณ์ 1.1 ความหมายของความฉลาดทางอารมณ์ วิลาสลักษณ์ ชัววัลลี (2542 : 175) กล่าวว่า ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถทางอารมณ์ของบุคคลที่เป็นปัจจัยสำคัญของการทำงานให้ประสบความสำเร็จอย่างมีความสุข และอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ดี กล่าวว่า ความฉลาดทางอารมณ์ เป็นสิ่งที่สามารถพัฒนาได้ตลอดชีวิต คือ การพัฒนาจิตของตนให้มีสติ มีระบบ และมีพลังก่อน เมื่อบุคคลสามารถรู้จักตนเองควบคุมตนเองได้ พัฒนาตนเองอยู่เสมอ บุคคลจะสามารถพัฒนาความสามารถในการทางานและสัมพันธภาพกับผู้อื่นได้ดียิ่งขึ้น อารี พันธ์มณี (2542 : 125-127) ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถของบุคคลในการรับรู้อารมณ์ของตนเอง รู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง สามารถควบคุมอารมณ์ จัดการกับอารมณ์ของตนเองและแสดงพฤติกรรมที่เหมาะสม และรับรู้อารมณ์ของผู้อื่น ตอบสนองอารมณ์และความต้องการของผู้อื่นได้ถูกต้อง กรมสุขภาพจิต (2543 : 1) กล่าวว่า ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถทางอารมณ์ในการดำเนินชีวิตอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข ฉันทนา ภาคบงกช (2544 : 160) กล่าวว่า ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ศักยภาพของแต่ละคนที่จะตอบสนองอารมณ์ตนเอง ความต้องการของผู้อื่นได้อย่างถูกต้อง เป็นความสามารถในการรับรู้อารมณ์ของตนเองที่จะจัดการกับอารมณ์ เพื่อนำไปสู่พฤติกรรมที่เหมาะสมและสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เทิดศักดิ์ เดชคง (2545 : 15) ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถในการรับรู้และเข้าใจตนเอง เข้าใจเห็นใจผู้อื่น มีความมุ่งมั่น อดทน รอคอยเพื่อไปยังเป้าหมาย มองโลกในด้านที่เป็นบวก และรู้จักการจัดการกับปัญหาและความขัดแย้งของตนเอง กล่าวโดยสรุปว่า ความฉลาดทางอารมณ์ หมายถึง ความสามารถทางอารมณ์ของบุคคล ในการตอบสนองต่อตนเองและผู้อื่น เพื่อนำไปสู่พฤติกรรมที่เหมาะสมและสามารถดำเนินชีวิตอย่างสร้างสรรค์และมีความสุข
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :1. ระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยครั้งนี้ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (PAR) ของผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อเก็บข้อมูล และสร้างรูปแบบที่สามารถนำไปใช้ในศูนย์เด็กเล็ก 2. แหล่งข้อมูล 2.1 แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ เป็นการศึกษาข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ สิ่งพิมพ์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและข้อมูลระดับสถานศึกษาเพื่อให้ได้แนวคิดทฤษฎีที่สามารถนำไปใช้ในการวางแนวทางในการศึกษาพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาและการอภิปรายอ้างอิง 2.2 ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลที่ศึกษาได้จากการเก็บข้อมูลโดยตรงจากประชากรที่ศึกษา และเป็นการศึกษารายละเอียดต่อเนื่องจากข้อมูลทุติยภูมิ 3. กลุ่มประชากร ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูผู้สอนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในจังหวัดนครสวรรค์ 4. วิธีการเก็บข้อมูล ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลดังนี้ 4.1 การศึกษาบทบาทของครูผู้สอนในการพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาด้านความฉลาดทางอารมณ์ด้วยกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4.2 การศึกษาปัญหาที่พบในใช้ในการสอน 4.3 สอบถามจากแบบสอบถามครูผู้สอนเกี่ยวกับการสอนความฉลาดทางอารมณ์ 4.4 จัดทำรูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาด้านความฉลาดทางอารมณ์ด้วยกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก มีขั้นตอนดังนี้ - วิเคราะห์ระดับปัญหาเกี่ยวกับความฉลาดทางอารมณ์ที่พบเปรียบเทียบ และจัดกลุ่มปัญหาเพื่อกำหนดประเด็นในการพัฒนา - กำหนดองค์ประกอบของรูปแบบโดยวิเคราะห์ให้สอดคล้องกับกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งองค์ประกอบของรูปแบบจะประกอบด้วย ประเด็นปัญหาที่ต้องการพัฒนา ขั้นตอนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ เอกสารความรู้ สื่อประกอบการเรียนรู้ และการประมวลการเรียนรู้ 4.5 พัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนาด้านความฉลาดทางอารมณ์ด้วยกิจกรรมเสริมประสบการณ์ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 5. การวิเคราะห์ข้อมูลและแปลผล การวิเคราะห์ข้อมูลจากแบบสำรวจ แบบสัมภาษณ์ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และจัดระบบข้อมูลและสังเคราะห์ตามวัตถุประสงค์การวิจัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :667 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวนิพัทธา สังข์ยก บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย70
นางสาวเนรัญชลา จารุจิตร บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย30

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด