รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000505
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :แนวทางในการเสริมสร้างมาตรการทางกฎหมายในการขับเคลื่อนการบริหารท้องถิ่นทางอิเล็กทรอนิกส์ สู่การปกครองแบบสมาร์ท
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The Improvement of Legal Measures of Electronic Local Government towards Smart Local Government
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :-
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชารัฐศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :280000
งบประมาณทั้งโครงการ :280,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :09 พฤศจิกายน 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :08 พฤศจิกายน 2562
ประเภทของโครงการ :การวิจัยพื้นฐาน
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :อื่นๆ
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : ไม่สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ปัจจุบันโลกกำลังขับเคลื่อนเข้าสู่ยุค Internet of Things ที่มีลักษณะของการพัฒนานวัตกรรมการควบคุมแบบจักรกลไปยังจักรกล (Machine to Machine) รวมทั้งเทคโนโลยีล้ำสมัยต่างๆ ที่เข้ามาเกี่ยวข้องและมีบทบาทต่อชีวิตเราครอบคลุมไลฟ์สไตล์ตั้งแต่ตื่นจนเข้านอน เมื่อเทคโนโลยีเชื่อมต่อกับไลฟ์สไตล์มนุษย์ ก็จะส่งผลต่อการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตของคนสังคมในบริบทที่กว้างกว่าเดิม โดยแนวคิด สมาร์ท ซิตี้ (Smart City) ได้มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงชุมชนให้มีความเป็นสังคมอัจฉริยะ สามารถเชื่อมโยงข้อมูล และใช้งานประโยชน์จากข้อมูลได้มีประโยชน์มากที่สุด โดยครอบคลุมทั้งเรื่องของความปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นการเดินทางเข้าออกเมือง หรือการเดินทางภายในเมือง การเข้าพักที่พักอาศัย รวมถึงการพัฒนารูปแบบของทำธุรกิจที่ตรงกับวิถีชีวิตของกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นซึ่งในแต่ละชุมชนได้กลายเป็นชุมชนเมืองและมีความหลากหลายมากขึ้น รัฐบาลปัจจุบันจึงได้ให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการพัฒนา และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มาใช้ในภาครัฐ (e-Government) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หน่วยงานภาครัฐที่ให้บริการและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อประชาชน จะต้องเร่งดำเนินการพัฒนานำมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการเป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว ถูกต้อง แม่นยำ ทันสมัยและโปร่งใส เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงสารสนเทศและการบริการภาครัฐอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ขณะเดียวกันสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศการสื่อสารมาใช้ เพื่อทำการปฏิรูประบบบริหารองค์กรของรัฐให้ไปสู่การเป็นองค์กรภาครัฐสมาร์ท(SMART) อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยการเริ่มต้นของกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเป็นหน่วยงานรับผิดชอบหลักในการดูแลและจัดการกำหนดแผนทิศทาง (ROADMAP) ในการพัฒนาระบบการบริการอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ (e-Services) ที่เชื่อมโยงเป็นเครือข่ายความรู้สำหรับรองรับประชาชนให้ได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพและแผนดำเนินการพัฒนารัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยในอนาคต เพื่อให้สามารถบรรลุการพัฒนาไปสู่onlineinformation interactive transaction โดยสมบูรณ์ สำหรับการปกครองส่วนท้องถิ่นถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นองค์กรที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนที่สุด รวมทั้งมีความรับผิดชอบในงานพัฒนาท้องถิ่นทุกด้าน จึงควรให้ความสำคัญในการพัฒนาระบบสารสนเทศของท้องถิ่นให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ดังกล่าวข้างต้น จำเป็นต้องทำการศึกษาถึงความพร้อมในองค์ประกอบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น บุคลากร เทคโนโลยี อุปกรณ์ รวมถึงงบประมาณที่จะนำมาจัดสรรให้เกิดความคุ้มค่าและบริหารจัดการได้อย่างลงตัว เพื่อให้ผู้เข้าใช้งานระบบ e-Service เกิดความสะดวก รวดเร็ว มั่นใจในด้านความปลอดภัยน่าเชื่อถือไว้วางใจ และมีประสิทธิภาพดียิ่งๆ ขึ้นไป ซึ่งในการพัฒนาระบบบริหารที่เน้นเทคโนโลยีจำเป็นต้องให้สำคัญทั้งในองค์กร และนอกองค์กร ความสนใจในองค์กรในที่นี้มีความหมายในเชิงการพัฒนาระบบบริหารงานบริหารเงิน บริหารคน อาทิเช่น ระบบบริหารงานบุคคลอิเล็กทรอนิกส์ (e-Personal) ระบบสารสนเทศเพื่อการวางแผนและประเมินผลทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Plan) และระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐทางอิเล็กทรอนิกส์(e-Procurement) ส่วนความสนใจประเด็นนอกองค์กรจะมุ่งเน้นไปยังกลุ่มประชาชนที่จำเป็นต้องได้รับความรู้ความเข้าใจ และการเข้าถึงบริการสาธารณะของภาครัฐอย่างเท่าเทียมกันและทั่วถึงเป็นธรรม โดยประชาชนสามารถเข้ามาใช้งานหน้าเว็บเดียวแล้วเข้าไปใช้งานบริการภาครัฐได้ทุกที่ เพื่อเป็นการบริการด้านข้อมูลและสารสนเทศ ส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้ประชาชนมีความใกล้ชิดกับภาครัฐมากขึ้น ในขณะเดียวกันมาตรการการบังคับใช้ของกฎหมายที่เกี่ยวกับการบริหารงานอิเล็กทรอนิกส์ไมว่าจะเป็นพระราชบัญญัติระเบียบปฏิบัติราชการแผ่นดินพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารพระราชบัญญัติการกระทำผิดทางคอมพิวเตอร์ เป็นต้น มีความสำคัญต่อการบริหารงานอย่างมาก ซึ่งความรู้ความเข้าใจต่อกฎหมายที่เกี่ยวกับการกระทำของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และการสร้างความชัดเจนในระเบียบการปฏิบัติจึงมีความสำคัญในการทำให้การดำเนินการบริหารท้องถิ่นทางอิเล็กทรอนิกส์เกิดประสิทธิภาพขึ้นได้ ซึ่งหากมาตรการทางกฎหมายยังไม่ครบถ้วนหรือตกหล่นในสาระสำคัญบางประการไป อาจทำให้เกิดผลกระทบต่อการปฏิบัติงานในวงกว้างได้ ดังนั้น การศึกษาหาแนวทางในการเสริมสร้างมาตรการทางกฎหมายในการขับเคลื่อนการบริหารงานท้องถิ่นทางอิเล็กทรอนิกส์ สู่การปกครองท้องถิ่นแบบสมาร์ท (SMART Local Government) เพื่อให้เกิดการพัฒนาการบริหารงานให้เกิดความเป็นรูปธรรมในการขับเคลื่อนงานพัฒนาท้องถิ่นมากยิ่ง และเป็นต้นแบบในการขยายฐานความรู้ไปยังพื้นที่อื่นๆต่อไป
จุดเด่นของโครงการ :-
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อศึกษาสภาพปัญหาข้อกฎมายและการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวการบริหารงานท้องถิ่นทางอิเล็กทรอนิกส์ 2. เพื่อหาแนวทางในการเสริมสร้างมาตรการทางกฎหมายในการขับเคลื่อนการบริหารท้องถิ่นทางอิเล็กทรอนิกส์ สู่การปกครองแบบสมาร์ทการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สู่การปกครองท้องถิ่นแบบสมาร์ท (Smart Local Government)
ขอบเขตของโครงการ :-
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. ได้ทราบสภาพปัญหาข้อกฎมายและการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวการบริหารงานท้องถิ่นทางอิเล็กทรอนิกส์ 2. ได้แนวทางเสริมสร้างมาตรการทางกฎหมายในการขับเคลื่อนบริหารท้องถิ่นทางอิเล็กทรอนิกส์ สู่การปกครองท้องถิ่นแบบสมาร์ท (Smart Local Government) 3. นำไปพัฒนาเป็นข้อเสนอเชิงนโยบายและมาตรการทางกฎหมายในการขับเคลื่อนการบริหารท้องถิ่นทางอิเล็กทรอนิกส์ สู่การปกครองท้องถิ่นแบบสมาร์ท
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :-
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :-
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :การวิจัยครั้งนี้ ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ระยะที่ 1 ศึกษาและสังเคราะห์องค์ความรู้เกี่ยวกับมาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจาก เอกสารแนวคิดทฤษฎีและงานที่เกี่ยวข้อง ระยะที่ 2 การลงพื้นที่ศึกษาสภาพปัญหาข้อกฎมายและการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวการบริหารงานท้องถิ่นทางอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ คือ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับสภาพปัญหาข้อกฎมายและการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวการบริหารงานท้องถิ่นทางอิเล็กทรอนิกส์ 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับ 2 ตอน ดังนี้ ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป ตอนที่ 2 แบบสอบถามเกี่ยวกับระดับความสำคัญของปัญหาข้อกฎมายและการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวการบริหารงานท้องถิ่นทางอิเล็กทรอนิกส์ ประมาณค่า 5 ระดับ การสร้างและพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามเกี่ยวกับสำรวจสภาพปัญหา อุปสรรค มีขั้นตอนในการสร้างและพัฒนา ดังต่อไปนี้ 1. ศึกษาค้นคว้า และสังเคราะห์เอกสาร งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิเกี่ยวกับปัญหามาตรการทางกฎหมายทางอิเล็กทรอนิกส์ในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อกำหนดแนวทางในการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 2. ดำเนินการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล 3. นำเครื่องมือที่สร้างขึ้นไปให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบความเที่ยงตรง (Validity) โดยการหาค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับจุดประสงค์ (Index of Item Objective Congruence : IOC) และความครอบคลุมของเนื้อหา จำนวน 5 ท่าน โดยแบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อคำถามกับจุดประสงค์ 4. ปรับปรุงแก้ไขเครื่องมือ หลังจากที่ผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบแล้ว โดยปรับปรุง ภาษาและข้อความบางตอนของเครื่องมือ 5. นำเครื่องมือที่ได้ปรับปรุงแล้วไปทดลองใช้ (Tryouts) กับกลุ่มตัวอย่างที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเพื่อหาคุณภาพของเครื่องมือ โดยการหาค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ โดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค 6. นำแบบสอบถามที่ได้ปรับปรุงแก้ไขโดยสมบูรณ์แล้ว ไปดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มตัวอย่างเพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลต่อไป การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. สังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวกับการการบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ 2. ลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ประเด็นมาสู่การสร้างแบบสอบถาม 3. ลงพื้นที่สำรวจสภาพปัญหาข้อกฎมายและการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวการบริหารงานท้องถิ่นทางอิเล็กทรอนิกส์ การวิเคราะห์ข้อมูล คณะผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย และข้อมูลเชิงปริมาณ สถิติได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ความเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 3 เพื่อแนวทางในการเสริมสร้างมาตรการทางกฎหมายในการขับเคลื่อนการบริหารท้องถิ่นทางอิเล็กทรอนิกส์ สู่การปกครองท้องถิ่นแบบสมาร์ท (Smart Local Government) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ คือ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับแนวทางในการเสริมสร้างมาตรการทางกฎหมายในการขับเคลื่อนการบริหารท้องถิ่นทางอิเล็กทรอนิกส์ สู่การปกครองท้องถิ่นแบบสมาร์ท (Smart Local Government) 2) การประชุมกลุ่ม เพื่อหาแนวร่วมกันในการเสริมสร้างมาตรการทางกฎหมายในการขับเคลื่อนการบริหารท้องถิ่นทางอิเล็กทรอนิกส์ สู่การปกครองท้องถิ่นแบบสมาร์ท (Smart Local Government) การเก็บรวบรวมข้อมูล 1. สังเคราะห์แนวคิด ทฤษฎี และเอกสารที่เกี่ยวกับแนวทางการเสริมสร้างมาตรการทางกฎหมายในการพัฒนาบริหารจัดการทางอิเล็กทรอนิกส์ 2. ลงพื้นที่สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) ผู้เชี่ยวชาญและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 3. การลงพื้นที่ประชุมกลุ่ม การวิเคราะห์ข้อมูล คณะผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูล โดยข้อมูลเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการวิเคราะห์แบบอุปนัย
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :335 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
นางสาวอรทัย อินต๊ะไชยวงค์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย50
นางสาวคุณากร กรสิงห์ บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยผู้ร่วมวิจัย50

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด