รหัสโครงการ : | R000000504 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | รูปแบบการจัดการบึงบอระเพ็ดอย่างบูรณาการที่ตอบสนองต่อการพัฒนาและการ ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Bung Boraphet management model integration of Responding to sustainable development and utilization |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | - |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชารัฐศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | - |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 1067400 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 1,067,400.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 09 พฤศจิกายน 2561 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 08 พฤศจิกายน 2562 |
ประเภทของโครงการ : | การวิจัยและพัฒนา |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขาสังคมวิทยา |
กลุ่มวิชาการ : | ปัญหาสังคมและสังคมศาสตร์ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | ในปัจจุบันสถานการณ์และปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วและส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องจากการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างไม่มีประสิทธิภาพ ขาดการบำรุงรักษาเพื่อความยั่งยืน และการบริหารจัดการของรัฐที่ผ่านมายังไม่สามารถป้องกันและแก้ไขปัญหาได้ ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมลงอย่างต่อเนื่อง (National Research Council, 2019) ปัญหาและอุปสรรคในการจัดการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ผ่านมานั้นมีสาเหตุมาจาก (1) ด้านกฎหมายและการเมือง (2) ด้านเจ้าหน้าที่ของรัฐ และ (3) ด้านประชาชน (Natthawat, 2013)
บึงบอระเพ็ดเป็นบึงทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่มีเนื้อที่ 132,737 ไร่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดนครสวรรค์ กลางบึงบอระเพ็ดมีตำหนักแพที่สร้างขึ้นครั้งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินแปรพระราชฐาน เดิมบึงบอระเพ็ดแห่งนี้มีชื่อว่า "ทะเลเหนือ" หรือ "จอมบึง" เนื่องจากมีสัตว์และพันธุ์พืชน้ำเป็นจำนวนมาก จากการศึกษาของ Bueng Boraphed Research and Training Center (2015) พบว่ามีสภาพปัญหาสำคัญๆ ได้แก่ (1) ปัญหาข้อกฎหมายเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและการปฏิบัติหน้าที่ (2) ขอบเขตบึงบอระเพ็ดทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคประชาชนไม่ทราบของเขตที่ชัดเจน (3) ด้านการบริหารจัดการ และ (4) การใช้ประโยชน์ที่ทับซ้อนกัน
ประกอบกับ รัฐบาลมีนโยบายที่สำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยดำเนินการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากหรือเศรษฐกิจท้องถิ่น (Local economy) ซึ่งมีความสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งมุ่งเน้นการยกระดับรายได้ให้กับผู้มีรายได้น้อยอย่างทั่วถึง เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศมีการเจริญเติบโตอย่างมั่นคง มั่นคั่งและยั่งยืน รวมทั้งปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจการค้าของประเทศที่มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน เพื่อเป็นพลังสำคัญในการเร่งรัดการกระตุ้นระบบเศรษฐกิจภายใต้แนวทางการขับเคลื่อนโดย “ประชารัฐ” ที่มีการบูรณาการงานของภาครัฐ เอกชนและชุมชน มีส่วนร่วมคิด ร่วมทำในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนหรือเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยอาศัยกลไกการพัฒนาระบบตลาดในการดูแลและดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการยกระดับความสามารถและเพิ่มศักยภาพการประกอบธุรกิจตลาดอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนและกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคให้มีความมั่นคงและยั่งยืน
ทั้งนี้ในการส่งเสริมและพัฒนาตลาดเพื่อให้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าได้ตามบริบทในเชิงพื้นที่โดยรอบบึงบอระเพ็ดของจังหวัดนครสวรรค์นั้น ต้องอาศัยจุดเด่นของท้องถิ่นมาผสมผสานเพื่อสร้างอัตลักษณ์ของพื้นที่เป็นจุดเด่นสำคัญให้กับสินค้าและบริการที่พึ่งพาอาศัยแหล่งวัตถุดิบจากบึงบอระเพ็ด สามารถเชื่อมโยงการท่องเที่ยวที่มีความน่าสนใจดึงดูดนักท่องเที่ยวต้องแวะไปชม ดังนั้นการวางแผนพัฒนาต้องใช้ความต้องการของตลาดเป็นตัวตั้ง (Demand-driven) และค้นหาจุดแข็งและศักยภาพเชิงพื้นที่โดยรอบบึงบอระเพ็ดของจังหวัดนครสวรรค์ (Strategic position) รวมทั้งยกระดับผู้ประกอบการในท้องถิ่นให้สอดคล้องกับการค้ายุคใหม่ที่เปลี่ยนไป โดยการสร้างและพัฒนาตลาด เพราะที่ใดมีตลาด ที่นั่นจะเกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้า การขายในลักษณะการเชื่อมโยงและขยายความร่วมมือ (Collaborative) ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคในรูปแบบการตลาดชุมชนจนเกิดเป็นห่วงโซ่คุณค่า (Value chain) ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชนเชื่อมโยงในทุกระดับต่อไป
จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นทำให้คณะผู้วิจัยเห็นว่าบึงบอระเพ็ดเป็นแหล่งน้ำจืดธรรมชาติขนาดใหญ่ ที่มีความหลากหลายทางธรรมชาติและผู้อยู่อาศัยและมีการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่มีอยู่ในบึงบอระเพ็ดอย่างกว้างขวางไม่มีขีดจำกัด ที่ผ่านมาในอดีตจนถึงปัจจุบันบึงบอระเพ็ดมีปัญหาในการจัดการด้านต่าง ๆ มากมายและยังไม่สามารถหาทางออกที่เหมาะสมได้ ทำให้การพัฒนาบึงบอระเพ็ดไม่ได้รับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่มาจากการขาดความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ การแย่งชิงทรัพยากรภายในบึงบอระเพ็ด ความไม่ชัดเจนและไม่เข้าใจในกฎหมายที่มีอยู่ทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชน ในการพัฒนาอาชีพของกลุ่มอาชีพหรือประชาชนที่อาศัยอยู่ในบึงบอระเพ็ดยังไม่มีความเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างแท้จริง ยังขาด กลยุทธ์ด้านการตลาด ทำให้อาชีพที่ต้องพึ่งพาอาศัยทรัพยากรในบึงบอระเพ็ดไม่ประสบความสำเร็จของธุรกิจชุมชน ดังนั้นคณะผู้วิจัยจึงเล็งเห็นความสำคัญที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น จึงสนใจที่จะศึกษาเรื่อง “รูปแบบการจัดการบึงบอระเพ็ดอย่างบูรณาการที่ตอบสนองต่อการพัฒนาและใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน” และเมือได้ดำเนินการศึกษาแล้วผลที่ได้รับจะทำให้การจัดการปัญหาภายในบึงบอระเพ็ดสามารถแก้ไขลงได้ มีคู่มือการใช้กฎหมายเป็นการเฉพาะสำหรับบึงบอระเพ็ดโดยตรง ลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้น ประชาชนที่อาศัยอยู่ในบึงบอระเพ็ดประกอบอาชีพแบบพึ่งพาอาศัยทรัพยากรในบึงบอระเพ็ดได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ส่งผลให้การพัฒนาและใช้ทรัพยากรเป็นไปอย่างยั่งยืนในอนาคตต่อไป |
จุดเด่นของโครงการ : | แก้ไขปัญหาการใช้ทรัพยากรในบึงบอระเพ็ด |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาและใช้ประโยชน์ทรัพยากรในบึงบอระเพ็ดอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน หน่วยงาน และภาคีเครือข่าย
2. เพื่อสำรวจและวิเคราะห์กฎหมายเพื่อจัดทำคู่มือการใช้กฎหมายเกี่ยวกับบึงบอระเพ็ดอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
3. การพัฒนาศักยภาพการประกอบธุรกิจชุมชนและการพึ่งพาอาศัยบึงบอระเพ็ดอย่างยั่งยืน
กรอบแนวคิดในการวิจัย |
ขอบเขตของโครงการ : | - |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | - |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | - |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | การวิจัยครั้งนี้มีวิธีการวิจัยแบ่งออกเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาแนวทางการพัฒนาและใช้ประโยชน์ทรัพยากรในบึงบอระเพ็ดอย่างยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน หน่วยงาน และภาคีเครือข่าย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ผู้วิจัยได้กำหนดประชากรตามลักษณะการเก็บข้อมูล โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง ดังนี้
(1) การสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะการใช้ประโยชน์ทรัพยากรในบึงบอระเพ็ด ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่สำคัญในการให้ข้อมูลได้แก่ ตัวแทนประชาชน จำนวน 62 คน ตัวแทนผู้นำชุมชน จำนวน 62 คน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ จำนวน 14 คน รวมสัมภาษณ์ทั้งสิ้น 138 คน
(2) การสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) เพื่อเป็นการรวบรวมข้อมูลและระดมความคิดเห็นจากกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งเป็นตัวแทนประชาชน จำนวน 15 คน ตัวแทนผู้นำชุมชน จำนวน 15 คน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ จำนวน 15 คน และตัวแทนหน่วยงาน จำนวน 15 คน รวมจำนวนสนทนากลุ่มทั้งสิ้น 60 คน ในการสนทนากลุ่มจะจัดกลุ่มออกเป็น 4 กลุ่มย่อยตามลักษณะของกลุ่มตัวอย่างที่มีความแตกต่างกัน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เพื่อรวบรวมข้อมูลที่มีรายละเอียดและเนื้อหาสาระตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย (Cooper & Schindler, 2001) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion)
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลควบคู่ไปกับการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคล และภายหลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ครบถ้วนแล้ว ผู้วิจัยวิเคราะห์โดยเลือกวิธีใช้ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ขั้นตอนที่ 2 สำรวจและวิเคราะห์กฎหมายเพื่อจัดทำคู่มือการใช้กฎหมายเกี่ยวกับบึงบอระเพ็ดอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ผู้วิจัยได้กำหนดประชากรตามลักษณะการเก็บข้อมูล โดยการคัดเลือกแบบเจาะจง ดังนี้
(1) การค้นหาประเด็นข้อขัดแย้งของกฎหมาย จะเป็นการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key information) ในประเด็นของปัญหาข้อขัดข้องที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาบึงบอระเพ็ด และข้อขัดแย้งระหว่างประชาชน และหน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐด้วยกันเอง ใช้วิธีเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) จากแกนนำชุมชน จำนวน 31 คน ตัวแทนประชาชน จำนวน 31 คน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ จำนวน 35 คนและตัวแทนหน่วยงาน จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น 112 คน
(2) การวิเคราะห์ข้อกฎหมาย ในขั้นตอนนี้การวิเคราะห์ข้อกฎหมายที่ได้ทำสำรวจและรวบรวมจากหน่วยงานต่าง ๆ มาดำเนินการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion) จากตัวแทน ประชาชน กลุ่มอาชีพ ผู้นำชุมชน นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จำนวน 5 คน และตัวแทนแต่ละหน่วยงานที่อยู่ในบึงบอระเพ็ด จำนวน 15 คน รวมทั้งสิ้น 20 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เพื่อรวบรวมข้อมูลที่มีรายละเอียดและเนื้อหาสาระตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย (Cooper & Schindler, 2001) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion)
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลควบคู่ไปกับการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคล และภายหลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ครบถ้วนแล้ว ผู้วิจัยวิเคราะห์โดยเลือกวิธีใช้ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ขั้นตอนที่ 3 การพัฒนาศักยภาพการประกอบธุรกิจชุมชนและการพึ่งพาอาศัยบึงบอระเพ็ดอย่างยั่งยืน
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างแบ่งออกเป็นกลุ่ม ดังนี้
(1) กลุ่มอาชีพที่ถูกคัดเลือกในการศึกษา ในพื้นที่โดยรอบบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์โดยมุ่งศึกษาที่ประธานกลุ่ม/หัวหน้า คณะกรรมการ สมาชิก ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ชาวบ้านในพื้นที่ จำนวนแห่งละ 10 คน รวม 20 คน
(2) กลุ่มสมาชิก ในการศึกษาสภาพปัญหา จุดแข็ง จุดอ่อน และปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกอบการกลุ่มอาชีพ ประกอบด้วย ประธานกลุ่ม คณะกรรมการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวนแห่งละ 5 คน รวม 10 คน
(3) ผู้เชี่ยวชาญในการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน จำนวน 3 คน
(4) กลุ่มอาชีพที่ถูกคัดเลือกในการศึกษา เพื่อเข้าสู่กระบวนการอบรมให้ความรู้แก่ประธานกลุ่ม/หัวหน้า คณะกรรมการ สมาชิกในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน จำนวน 3 แห่ง แห่งละ 8 คน รวม 24 คน
(5) ผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำด้านการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ จำนวน 3 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เพื่อรวบรวมข้อมูลที่มีรายละเอียดและเนื้อหาสาระตามวัตถุประสงค์ของการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth interview) และการสนทนากลุ่ม (Focus group discussion)
การวิเคราะห์ข้อมูล
ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลควบคู่ไปกับการเก็บรวบรวมข้อมูล ซึ่งเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลรายบุคคล และภายหลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ครบถ้วนแล้ว ผู้วิจัยวิเคราะห์โดยเลือกวิธีใช้ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | - |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 376 ครั้ง |