รหัสโครงการ : | R000000503 |
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) : | การพัฒนาศักยภาพการประกอบธุรกิจชุมชนและการพึ่งพาอาศัยบึงบอระเพ็ดอย่างยั่งยืน |
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) : | Development of Community Business Potential and Sustainable Dependency on Bung Boraphet |
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) : | การพัฒนา, ศักยภาพ, ธุรกิจชุมชน, บึงบอระเพ็ด |
หน่วยงานเจ้าของโครงการ : | คณะวิทยาการจัดการ > สาขาวิชาการตลาด |
ลักษณะโครงการวิจัย : | แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย |
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย : | - |
ประเภทโครงการ : | โครงการวิจัยใหม่ |
สถานะของโครงการ : | propersal |
งบประมาณที่เสนอขอ : | 318500 |
งบประมาณทั้งโครงการ : | 318,500.00 บาท |
วันเริ่มต้นโครงการ : | 30 พฤศจิกายน 2561 |
วันสิ้นสุดโครงการ : | 01 สิงหาคม 2563 |
ประเภทของโครงการ : | งานวิจัยประยุกต์ |
กลุ่มสาขาวิชาการ : | สังคมศาสตร์ |
สาขาวิชาการ : | สาขาการตลาด |
กลุ่มวิชาการ : | อื่นๆ |
ลักษณะโครงการวิจัย : | ระดับชาติ |
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : | สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ |
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : | ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ |
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา : | ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา |
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : | เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต |
ความสำคัญและที่มาของปัญหา : | สังคมปัจจุบันภายใต้สถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ
สังคม และรัฐบาลมีนโยบายที่สำคัญในการขับเคลื่อนและพัฒนาเศรษฐกิจภายในประเทศ การประกอบธุรกิจเกิดขึ้นอย่างอย่างแพร่หลาย ส่งผลให้ธุรกิจมีการแข่งขันกันมากขึ้น ด้วยแนวทางการพัฒนาประเทศของไทย เน้นหนักที่การกระจายความเจริญไปสู่ท้องถิ่น โดยดำเนินการสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานรากหรือเศรษฐกิจท้องถิ่น (Local Economy) ซึ่งมีความสอดคล้องกับหลักเศรษฐกิจพอเพียง รวมทั้งมุ่งเน้นการยกระดับรายได้ให้กับผู้มีรายได้น้อยอย่างทั่วถึง เพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศมีการเจริญเติบโตอย่างมั่นคง มั่นคั่งและยั่งยืน รวมทั้งปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจการค้าของประเทศที่มุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน เพื่อเป็นพลังสำคัญในการเร่งรัด การกระตุ้นระบบเศรษฐกิจภายใต้แนวทางการขับเคลื่อนโดย “ประชารัฐ” ที่มีการบูรณาการงานของภาครัฐ เอกชนและชุมชน มีส่วนร่วมคิด ร่วมทำในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนหรือเศรษฐกิจท้องถิ่น โดยอาศัยกลไกการพัฒนาระบบตลาดในการดูแลและดำเนินการส่งเสริมสนับสนุนให้เกิด การขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้าในท้องถิ่น เพื่อให้เกิดการยกระดับความสามารถและเพิ่มศักยภาพ การประกอบธุรกิจตลาดอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยสร้างรายได้ให้แก่ประชาชนและกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาคให้มีความมั่นคงและยั่งยืน
ทางรัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาเศรษฐกิจระดับรากหญ้า คือการพัฒนา
ต่อยอดโดยให้การสนับสนุนโครงการตามนโยบายต่างๆ ประการหนึ่งก็คือ กลุ่มอาชีพในชุมชน
คือ การเริ่มพัฒนากลุ่มรูปแบบผู้ประกอบการธุรกิจที่อาศัยความเป็นอยู่ปัจจุบัน ได้แก่ การกิน การจับจ่าย การผลิตสินค้าที่นำวัตถุดิบมาจากแหล่งต่างๆในชุมชน และเกิดการรวมตัวกันเกิดขึ้น จนสามารถจัดตั้งเป็นกลุ่มอาชีพในชุมชน ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐทำให้คนไทยหลายๆ กลุ่มได้รวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มอาชีพในชุมชนจนสามารถพึ่งตนเองได้
แม้ว่าผู้ประกอบการชุมชน หรือวิสาหกิจชุมชนจะเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนา
เศรษฐกิจของประเทศ แต่อย่างไรก็ตาม กลุ่มอาชีพก็ยังเป็นกลุ่มธุรกิจที่มีขนาดไม่ถึงกลุ่มธุรกิจ
ขนาดกลางและขนาดย่อม หรือสหกรณ์ อีกทั้งมีผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนจำนวนหนึ่งที่ยังขาดความพร้อมในการแข่งขันทางการค้าทั้งในระดับภายในประเทศและระหว่างประเทศ (สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน, 2559)
การประกอบธุรกิจชุมชนได้มีการสร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบ จากความคิดมนุษย์ นำมาสู่ธุรกิจเกิดเป็นสินค้าและบริการบนฐานความรู้และนวัตกรรมซึ่งได้ขับเคลื่อนการพัฒนาตั้งแต่แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 จนถึงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 11 ทั้งนี้ในระยะเริ่มต้นของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจจำเป็นต้องให้ความสำคัญต่อการขยายองค์ความรู้และสร้างความร่วมมือกับภาคีการพัฒนาทั้งหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนและขับเคลื่อนการพัฒนาอย่างจริงจัง และมีบูรณาการเพื่อให้เกิดผลการปฏิบัติและสามารถปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศไปสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ได้อย่างเป็นรูปธรรม (ศุภชัย เหมือนโพธิ์, 2559)
ทั้งนี้การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน จะเป็นส่วนในการส่งเสริมให้ กลุ่มอาชีพสามารถดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของตนเองทั้งด้านการบริหารจัดการ การผลิต การจัดจำหน่าย รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ และพร้อมที่จะเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ต่างๆ ทางสังคม ทั้งการเปิดเสรีทางการค้าในเศรษฐกิจประชาคมอาเซียน (ASEAN Economic Community: AEC)
จากที่กล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงได้ออกแบบงานวิจัย การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชนและการพึ่งพาอาศัยบึงบอระเพ็ดอย่างยั่งยืน โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการพัฒนา ด้านเศรษฐกิจ อาศัยสิ่งที่ประเทศของเรามีความโดดเด่น นั่นคือ วัฒนธรรม วิถีชีวิต ความเป็นอยู่เริ่มจากการสังเคราะห์องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง ทำการศึกษาบริบทเบื้องต้นสำหรับผู้ประกอบการชุมชน จัดทำรูปแบบและเข้าสู่กระบวนการการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน เพื่อให้เกิดความสามารถทางการแข่งขัน และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับกลุ่มอาชีพ และเป็นต้นแบบในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชนให้แก่ชุมชนอื่นๆต่อไป ทั้งนี้ผู้จัดทำได้เลือกพื้นที่ในการศึกษาวิจัย คือ พื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพในพื้นที่โดยรอบบึงบอระเพ็ดและพึ่งพาอาศัยวัตถุดิบจากบึงบอระเพ็ด
หากพิจาณาถึงกลุ่มอาชีพพื้นที่โดยรอบบึงบอระเพ็ดของจังหวัดนคสวรรค์นั้น พบว่า มีกลุ่มอาชีพในชุมชนประเภทแปรรูปพืช สัตว์ และทำการเกษตร ซึ่งกลุ่มอาชีพมีแนวโน้มในการพัฒนาเพื่อต่อยอดธุรกิจและเป็นการสร้างความอยู่รอดให้แก่ชุมชนได้ ซึ่งหากพิจารณาเบื้องต้นถึงศักยภาพของผู้ประกอบการชุมชน แต่ละชุมชนจะมีความชำนาญในด้านการผลิตเป็นอย่างดี แต่ยังขาด องค์ความรู้ในด้านการบริหารจัดการ และการพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จึงควรมีหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องให้การส่งเสริม โดยเฉพาะในเรื่องการหาตลาดจำหน่ายและการจัดฝึกอบรมทางด้าน การพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ที่เป็นเอกลักษณ์และสอดคล้องกับความต้องการของตลาดที่มีรูปแบบการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้งยกระดับผู้ประกอบการในท้องถิ่นให้สอดคล้องกับการค้า ยุคใหม่ที่เปลี่ยนไป โดยการสร้างและพัฒนาตลาด เพราะที่ใดมีตลาด ที่นั่นจะเกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้า การขายในลักษณะการเชื่อมโยงและขยายความร่วมมือ (collaborative) ระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภคในรูปแบบการตลาดชุมชนจนเกิดเป็นห่วงโซ่คุณค่า (value chain) ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้ให้กับชุมชน เชื่อมโยงในทุกระดับต่อไป |
จุดเด่นของโครงการ : | การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชนในท้องถิ่นให้มีความอยู่รอดแบบยั่งยืนได้ |
วัตถุประสงค์ของโครงการ : | 1. เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ประเมินศักยภาพ และจัดทำแนวทางการบริหารจัดการและ การส่งเสริมพัฒนาศักยภาพการประกอบธุรกิจของตลาดเป้าหมาย ทั้งในด้านกายภาพ การบริหารจัดการและด้านบุคลากร
2. เพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์และแนวทางปรับปรุงตลาดเป้าหมาย ให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค กลุ่มนักท่องเที่ยว สนับสนุนการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของตลาดให้เกิดการพัฒนาสู่การค้าที่ยั่งยืน
3. เพื่อส่งเสริมและพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการตลาดเป้าหมาย เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นในด้านการบริหารจัดการ การตลาด การผลิต การจำหน่าย และการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ
4. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการประกอบธุรกิจและถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาสินค้าที่มีความหลากหลายของตลาดโดยรอบบึงบอระเพ็ดแต่ละแห่ง ให้มีจุดเด่น และมีคุณภาพตามมาตรฐานที่ผู้บริโภคต้องการ โดยกระบวนการฝึกอบรมผู้ประกอบการในตลาดด้วยหลักสูตรที่มีความเหมาะสม
5. เพื่อให้คำปรึกษาในการพัฒนาและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจหลักการดำเนินธุรกิจและ
การส่งเสริมกลุ่มผู้ค้าในตลาดสู่การพัฒนาสินค้า รวมทั้งการสนับสนุนการวางกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ |
ขอบเขตของโครงการ : | 1. เพื่อศึกษา วิเคราะห์ ประเมินศักยภาพ และจัดทำแนวทางการบริหารจัดการและ การส่งเสริมพัฒนาศักยภาพการประกอบธุรกิจของตลาดเป้าหมาย ทั้งในด้านกายภาพ การบริหารจัดการและด้านบุคลากร
2. เพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์และแนวทางปรับปรุงตลาดเป้าหมาย ให้สอดรับกับความต้องการของผู้บริโภค กลุ่มนักท่องเที่ยว สนับสนุนการปรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจของตลาดให้เกิดการพัฒนาสู่การค้าที่ยั่งยืน
3. เพื่อส่งเสริมและพัฒนากลุ่มผู้ประกอบการตลาดเป้าหมาย เกษตรกร กลุ่มเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน ให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้นในด้านการบริหารจัดการ การตลาด การผลิต การจำหน่าย และการพัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ
4. เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านการประกอบธุรกิจและถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพัฒนาสินค้าที่มีความหลากหลายของตลาดโดยรอบบึงบอระเพ็ดแต่ละแห่ง ให้มีจุดเด่น และมีคุณภาพตามมาตรฐานที่ผู้บริโภคต้องการ โดยกระบวนการฝึกอบรมผู้ประกอบการในตลาดด้วยหลักสูตรที่มีความเหมาะสม
5. เพื่อให้คำปรึกษาในการพัฒนาและเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจหลักการดำเนินธุรกิจและ
การส่งเสริมกลุ่มผู้ค้าในตลาดสู่การพัฒนาสินค้า รวมทั้งการสนับสนุนการวางกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีประสิทธิภาพ |
ผลที่คาดว่าจะได้รับ : | 1. เพื่อให้ทราบถึงองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน
2. เพื่อให้ทราบถึงศักยภาพและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกอบธุรกิจชุมชนของกลุ่มอาชีพ
3. เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการธุรกิจชุมชน และนำมาปรับให้ใช้ในการพัฒนากลุ่มอาชีพประเภทอื่นๆ ก่อให้เกิดความสามารถทางการแข่งขัน และสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจให้กับกลุ่มอาชีพได้อย่างยั่งยืน |
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ : | 1. แนวคิดความเป็นผู้ประกอบการ
2. แนวคิดธุรกิจชุมชน
3. แนวคิด ทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์
4. แนวคิดทุนทางสังคม
5. แนวคิดเครือข่ายทางสังคม
6. แนวคิดกระบวนการพัฒนา
7. การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม
8. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง |
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด : | - |
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล : | การรวบรวมข้อมูลวิจัย โดยวิธีการสัมภาษณ์ ประชุมกลุ่ม/สนทนากลุ่มย่อย การจัดอบรมให้ความรู้ และการลงพื้นที่ให้คำปรึกษา ในพื้นที่การศึกษา 3 กลุ่ม ได้แก่
1. กลุ่มข้าวหอมมะลิเกษตรอินทรีย์ ปลอดสารพิษ 100% จังหวัดนครสวรรค์ อยู่ในพื้นที่ตำบลพนมเศษ อำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์
2. กลุ่มอาชีพแปรรูปปลาและทำปลาย่าง ในพื้นที่ตำบลพระนอน อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์
3. กลุ่มอาชีพผลิตภัณฑ์จากรากบัว ในพื้นที่ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ |
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) : | การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชนที่ยังมีศักยภาพน้อยได้มีโอกาสพัฒนาสร้างความอยู่รอดได้ โดยการศึกษาข้อมูลปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้น จัดอบรมบริการให้ความรู้ ออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์และช่องทางการจัดจำหน่าย และให้คำปรึกษาเชิงลึกในด้านการตลาดและการบริหารทรัพยากรมนุษย์ |
จำนวนเข้าชมโครงการ : | 605 ครั้ง |