รายละเอียดโครงการวิจัย
กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด

รหัสโครงการ :R000000496
ชื่อโครงการ (ภาษาไทย) :กระบวนการสร้างจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรของประชาชนที่อาศัย อยู่ในเขตบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
ชื่อโครงการ (ภาษาอังกฤษ) :The process of raising consciousness in resource management of people residing in Bungboraped area NakhonSawan Province
คำสำคัญของโครงการ(Keyword) :จิตสำนึก ทรัพยากร บึงบอระเพ็ด
หน่วยงานเจ้าของโครงการ :คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ > สาขาวิชารัฐศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :โครงการวิจัยเดี่ยว
ลักษณะย่อยโครงการวิจัย :ไม่อยู่ภายใต้แผนงานวิจัย/ชุดโครงการวิจัย
ประเภทโครงการ :โครงการวิจัยใหม่
สถานะของโครงการ :propersal
งบประมาณที่เสนอขอ :205000
งบประมาณทั้งโครงการ :205,000.00 บาท
วันเริ่มต้นโครงการ :09 พฤศจิกายน 2561
วันสิ้นสุดโครงการ :08 พฤศจิกายน 2562
ประเภทของโครงการ :การวิจัยพื้นฐาน
กลุ่มสาขาวิชาการ :สังคมศาสตร์
สาขาวิชาการ :สาขารัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์
กลุ่มวิชาการ :รัฐประศาสนศาสตร์
ลักษณะโครงการวิจัย :ระดับชาติ
สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์ : สะท้อนถึงการใช้ความรู้เชิงอัตลักษณ์
สร้างความร่วมมือประหว่างประเทศ GMS : ไม่สร้างความร่วมมือทางการวิจัยระหว่างประเทศ
นำไปใช้ในการพัฒนาคุณภาพการศึกษา :ไม่นำไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาณภาพการศึกษา
เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต : ไม่เกิดจากความร่วมมือกับภาคการผลิต
ความสำคัญและที่มาของปัญหา :ทรัพยากรธรรมชาติเป็นต้นทุนของมนุษย์ที่ถูกนำมาใช้เพื่อความอยู่รอดและเพื่อความเจริญทางเศรษฐกิจและสังคม ยิ่งมนุษย์กอบโกยประโยชน์จากธรรมชาติได้รวดเร็วขึ้นด้วยวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีที่ก้าวหน้า ธรรมชาติก็ฟื้นตัวไม่ทัน การนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้อย่างไม่ถูกวิธีทำให้ทรัพยากรธรรมชาติบางชนิดหมดสิ้นไป ดังนั้นเพื่อความอยู่รอดของมนุษย์ในอนาคต การปลูกฝังให้คนเกิดจิตสำนึกในความสำคัญ เรียนรู้ถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติ และเข้าใจถึงวิธีการบริหารจัดการกับทรัพยากรธรรมชาติที่เหลืออยู่อย่างมีคุณภาพ จึงมีความสำคัญยิ่งในปัจจุบัน ผลของการขาดจิตสำนึกสาธารณะก่อให้เกิดปัญหาสืบเนื่องตามมามากมาย โลกเผชิญกับภาวะโลกร้อนซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีสาเหตุมาจากการขาดจิตสำนึกสาธารณะ การขาดจิตสำนึกสาธารณะต่อสังคมส่วนรวมทำให้เกิดผลกระทบต่อสถาบันทางสังคมต่าง ๆ จากความสำคัญของการมีจิตสำนึกสาธารณะถ้าสามารถปลูกฝังและส่งเสริมการสร้างจิตสำนึกสาธารณะปัญหาดังกล่าวที่กล่าวมาแล้วจะลดลงอย่างน้อยที่สุด การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนและประโยชน์พวกพ้องก็จะลดน้อยลงและจะนำมาสู่สังคมที่พัฒนาแล้วฉะนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษาจิตสำนึกสาธารณะอย่างจริงจัง (แก่นฟ้า แสนเมือง, 2554, หน้า 2) บึงบอระเพ็ดเป็นบึงทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทยมีเนื้อที่ 132,737 ไร่ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่บางส่วนได้รับการประกาศให้เป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่า มีหมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในเขตบึงบอระเพ็ดตามประกาศพระราชกฤษฎีกาทั้ง 3 อำเภอ จำนวน 31 หมู่บ้าน ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 4,286 ครัวเรือน (ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมบึงบอระเพ็ด, 2558, หน้า 6) และจากการศึกษาของศูนย์วิจัยและฝึกอบรมบึงบอระเพ็ด (2558, หน้า 11–15) พบว่ามีสภาพปัญหาสำคัญๆ ได้แก่ (1) ด้านการบริหารจัดการ การสื่อสารของกลุ่มคนทุกกลุ่ม ทั้งภาครัฐและภาคประชาชน โดยรอบบึงบอระเพ็ด การขาดเอกภาพในการบริหารจัดการ โดยการบริหารที่ต่างคนต่างบริหารงานตามภาระหน้าที่รับผิดชอบ ไม่มีเจ้าภาพที่รับผิดชอบ ทำให้ขาดเอกภาพในการดำเนินงานที่เป็นไปตามแนวทางเดียวกัน การขาดอิสระในการดำเนินงาน โดยหน่วยงานต้องรอฟังคาสั่งจากผู้บังคับบัญชาเบื้องสูง ซึ่งในระดับพื้นที่ตัดสินใจไม่ได้ ทำให้เกิดปัญหาตามมา เช่น การเปิดปิดประตูน้ำ เป็นต้น (2) การใช้ประโยชน์ที่ทับซ้อนกัน การใช้ประโยชน์ที่ดินและการประกอบอาชีพในบึงบอระเพ็ดมีการใช้ประโยชน์ที่ทับซ้อนและเชื่อมโยงกันกันในหลายมิติ เนื่องจากเป็นระบบนิเวศน์เดียวกันมีระบบน้ำที่เชื่อมถึงกัน ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐที่ซ้อนทับกันในบางอย่าง จนทำให้เกิดความขัดแย้งในบึงบอระเพ็ดอย่างกว้างขวาง นอกจากนี้ยังพบว่าที่ผ่านมาประชาชนที่อยู่อาศัยรอบ ๆ บึงบอระเพ็ดยังขาดจิตสำนึกด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมต่อบึงบอระเพ็ด เนื่องจากที่ผ่านมาบึงบอระเพ็ดทรุดโทรมและได้รับผลกระทบต่อระบบนิเวศจากการทำประมงเป็นอย่างมาก จะเห็นได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นภายในบึงบอระเพ็ดเป็นผลของการขาดจิตสำนึกของประชาชนที่อยู่รอบบึงบอระเพ็ดยังไม่เห็นความสำคัญและช่วยกันอนุรักษ์ดูแลบึงบอระเพ็ด ต่างคนต่างแย่งชิงใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่โดยไม่คำนึงถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาในอนาคต ดังนั้นผู้วิจัยได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการสร้างจิตสำนึกต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในบึงบอระเพ็ดจึงทำการศึกษาเรื่อง "กระบวนการสร้างจิตสำนึกในกาจัดการทรัพยากรของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตบึงบอระเพ็ดจังหวัดนครสวรรค์" เพื่อจะได้ใช้เป็นแนวทางเสริมสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนที่อาศัยอยู่ในบึงบอระเพ็ดให้เห็นคุณค่าของทรัพยากรและช่วยกันดูแลและใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่าและไม่เป็นการทำลายทรัพยากรที่มีอยู่เพื่อจะได้มีใช้อย่างยั่งยืน
จุดเด่นของโครงการ :แนวทางการพัฒนาความมิีจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ
วัตถุประสงค์ของโครงการ :1. เพื่อวิเคราะห์ความต้องการใช้ประโยชน์ทรัพยากรของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขต บึงบอระเพ็ด 2. เพื่อศึกษากระบวนการสร้างจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ 3. เพื่อหาแนวทางการพัฒนาจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์
ขอบเขตของโครงการ :ขอบเขตด้านเนื้อหา: เน้นศึกษาที่วิเคราะห์ความต้องการใช้ประโยชน์ทรัพยากรที่มีอยู่ในบึงบอระเพ็ด และกระบวนการสร้างจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาจิตสำนึกให้กับประชาชน ขอบเขตด้านประชากรและกลุ่มตัวอย่าง 1. การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive selection) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) 2 กลุ่มดังนี้ กลุ่มที่ 1 การศึกษาความต้องการของชุมชน ประเมินทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน เป็นการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการและจิตสำนึกการใช้ทรัพยากรในบึงบอระเพ็ด โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการให้ข้อมูลได้แก่ ตัวแทนประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง 7 แห่งในบึงบอระเพ็ด แห่งละ 15 คน (ตัวแทนประชาชนทั่วไป ตัวแทนผู้นำชุมชน และตัวแทนกลุ่มอาชีพ กลุ่มละ 5 คน) รวมสัมภาษณ์ทั้งสิ้น 105 คน กลุ่มที่ 2 ร่วมกันค้นหาและสร้างกระบวนการสร้างจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรของประชาชน ตลอดจนหาแนวทางการพัฒนาจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากร มีวิธีการเก็บรวบรวมด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากตัวแทนประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง 7 แห่งในบึงบอระเพ็ด แห่งละ 20 คน (ตัวแทนประชาชนทั่วไป ตัวแทนผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ และตัวแทนหน่วยงานต่าง กลุ่มละ 5 คน) รวมสัมภาษณ์ทั้งสิ้น 140 คน 2. การจัดประชุมเพื่อสรุปผลและร่างกระบวนการสร้างจิตสำนึกสำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในบึงบอระเพ็ดฉบับสมบูรณ์ ได้แก่ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนชุมชน ผู้แทนกลุ่มอาชีพ ผู้แทนหน่วยงาน และผู้แทนประชาชน รวมทั้งสิ้น จำนวน 15 คน ขอบเขตด้านพื้นที่ บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ (ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนตำบล ทั้ง 7 แห่งในบึงบอระเพ็ด ประกอบด้วย องค์การบริหารส่วนตำบลพระนอน องค์การบริหารส่วนตำบลพนมเศษ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง องค์การบริหารส่วนตำบลหนองปลิง องค์การบริหารส่วนตำบลเกรียงไกร องค์การบริหารส่วนตำบลทับกฤช องค์การบริหารส่วนตำบลแควใหญ่ และองค์การบริหารส่วนตำบลวังมหากร)
ผลที่คาดว่าจะได้รับ :1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นนำกระบวนการสร้างจิตสำนึกที่ได้ไปใช้ดำเนินการสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของตนเองได้ 2. หน่วยงานที่อยู่ในบึงบอระเพ็ดนำไปใช้สร้างจิตสำนึกให้กับประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของตนเองได้ 3. โรงเรียนในเขตบึงบอระเพ็ดสามารถนำไปใช้บูรณาการในการเรียนการสอนเพื่อสร้างจิตสำนึกให้กับเด็กและเยาวชนมีจิตสำนึกที่ดีต่อทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม
การทบทวนวรรณกรรม/สารสนเทศ :การวิจัยเรื่อง กระบวนการสร้างจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรของประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ผู้วิจัยได้ทำการทบทวนแนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแล้วนำมาใช้สำหรับเป็นแนวคิด ทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องสำหรับการวิจัยครั้งนี้ ซึ่งประกอบด้วยหัวข้อต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 1. แนวคิดเกี่ยวกับจิตสำนึกสาธารณะ 2. แนวคิดเกี่ยวกับความตระหนัก 3. แนวคิดเกี่ยวกับการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 4. แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการทรัพยากรตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน 5. แนวคิดเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ 6. นโยบายการจัดการทรัพยากรสิ่งแวดล้อม 7. การวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม 8. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 9. กรอบแนวความคิดการวิจัย
ทฤษฎี สมมุติฐาน กรอบแนวความคิด :ไม่มี
วิธีการดำเนินการวิจัย และสถานที่ทำการทดลอง/เก็บข้อมูล :ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ดังนี้ 1. การสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้วิจัยได้กำหนดกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive selection) ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) 2 กลุ่ม ดังต่อไปนี้ กลุ่มที่ 1 การศึกษาปัญหาและความต้องการของชุมชน ประเมินทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชน เป็นการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความต้องการและจิตสำนึกการใช้ทรัพยากรในบึงบอระเพ็ด โดยมีกลุ่มตัวอย่างที่สำคัญในการให้ข้อมูลได้แก่ ตัวแทนประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง 7 แห่งในบึงบอระเพ็ด แห่งละ 15 คน (ตัวแทนประชาชนทั่วไป ตัวแทนผู้นำชุมชน และตัวแทนกลุ่มอาชีพ กลุ่มละ 5 คน) รวมสัมภาษณ์ทั้งสิ้น 105 คน กลุ่มที่ 2 ร่วมกันค้นหาและสร้างกระบวนการสร้างจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากรของประชาชน ตลอดจนหาแนวทางการพัฒนาจิตสำนึกในการจัดการทรัพยากร มีวิธีการเก็บรวบรวมด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากตัวแทนประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบลทั้ง 7 แห่งในบึงบอระเพ็ด แห่งละ 20 คน (ตัวแทนประชาชนทั่วไป ตัวแทนผู้นำชุมชน ตัวแทนกลุ่มอาชีพ และตัวแทนหน่วยงานต่าง กลุ่มละ 5 คน) รวมสัมภาษณ์ทั้งสิ้น 140 คน 2. การประชุมระดมความคิดเห็น เพื่อสรุปผลและร่างกระบวนการสร้างจิตสำนึกสำหรับประชาชนที่อาศัยอยู่ในบึงบอระเพ็ดฉบับสมบูรณ์ ได้แก่ นักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนชุมชน ผู้แทนกลุ่มอาชีพ ผู้แทนหน่วยงาน และผู้แทนประชาชน รวมทั้งสิ้น จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย การสัมภาษณ์แบบลึก (In-Depth Interview) และ การจัดสนทนากลุ่ม (Group Discussion) การเก็บรวบรวมข้อมูล การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลจะเป็นการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key information) โดยทำหนังสือประสานไปยังองค์การบริหารส่วนตำบลในพื้นที่และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือในลงพื้นที่และเก็บรวบรวมข้อมูล โดยผู้วิจัยและคณะเดินทางไปพบและอธิบายวัตถุประสงค์ วิธีการดำเนินการด้วยตนเอง ใช้วิธีเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการจัดสนทนากลุ่ม (Focus Group Discussion) นำข้อมูลทั้งหมดมาทำการถอดเทปและวิเคราะห์จัดเป็นหมวดหมู่ สำหรับจัดทำรายงานการวิจัย และเขียนบทความวิจัยเพื่อนำไปเผยแพร่ในวารสารทางวิชาการต่อไป การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยเลือกวิธีใช้ขั้นตอนการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา (Content Analysis) ซึ่งเป็นการตีความสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย โดยบรรยายเป็นเนื้อหาตามที่ปรากฏในข้อความและเนื้อหาโดยผู้วิจัย ไม่มีอคติหรือความรู้สึกส่วนตัวเข้าไปพัวพัน
คำอธิบายโครงการวิจัย (อย่างย่อ) :-
จำนวนเข้าชมโครงการ :356 ครั้ง
รายชื่อนักวิจัยในโครงการ
ชื่อนักวิจัยประเภทนักวิจัยบทบาทหน้าที่นักวิจัยสัดส่วนปริมาณงาน(%)
ว่าที่ร้อยตรีเอกลักษณ์ นาคพ่วง บุคลากรภายในมหาวิทยาลัยหัวหน้าโครงการวิจัย100

กลับไปหน้าโครงการวิจัยทั้งหมด